**การประชุมวุฒิสภาในวันจันทร์ที่ 5 กันยายนนี้ มีวาระสำคัญเรื่องหนึ่งคือ จะมีการลงมติลับเลือก 11 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.
โฉมหน้าทั้ง 11 คนจะมีใครบ้างที่เข้าไปทำหน้าที่เป็นกสทช. ที่มีภารกิจหลักๆ ก็คือการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียง วิทยุ โทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เช่น การออกใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม และการออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์
โผว่าที่กสทช. ที่มีการกะเก็งกันในหมู่ส.ว.และคนที่สนใจติดตามเรื่องนี้ ยังเป็นแค่การคาดการณ์เท่านั้น เพราะจะไปกะเก็งกันให้ถูกหมดทั้ง 11 รายชื่อ มันเป็นไปไม่ได้แน่นอน
ต้องรอดูว่า ส.ว.ทั้ง 150 คนจะลงมติเลือกใครมาเป็นกสทช. แม้จะมีข่าวว่าหลายคนมีความเป็นไปได้ว่าน่าจะติดโผ อาทิเช่น
สายผู้มีผลงานหรือมีความรู้และความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ในสาขาด้านกิจการกระจายเสียงที่หลายคนคาดกันว่าบางชื่อน่าจะมีลุ้น อาทิ
พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานกรรมการบริหาร สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม อดีตบิ๊กทัพฟ้า ที่มีพรรคพวกมากมายในหมู่ส.ว.สายสรรหา ทั้งทหาร-ตำรวจ
หรือสายผู้ที่มีผลงาน หรือมีความรู้และมีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ด้านกิจการโทรคมนาคม ที่หลายคนเก็งชื่อ พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคม ปฏิบัติหน้าที่รักษาการกรรมการ กสทช.อยู่ในตอนนี้
ขณะที่สายเอ็นจีโอ เป็นอีกสายหนึ่งที่ข่าวว่า ผู้ติดโผอาจต้องตัดคะแนนกันเองเช่นในสายผู้ที่มีผลงาน หรือมีความรู้และมีความเชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองผู้บริภาคอันเป็นประโยชน์ต่อการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงฯ ที่มีชื่อ อดีตส.ว.กรุงเทพมหานคร อย่าง จอน อึ้งภากรณ์ พี่ชาย ใจ อึ้งภากรณ์ ที่หนีคดีหมิ่นสถาบันฯ อยู่ในต่างประเทศ รองประธานมูลนิธิคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ และอดีตส.ว. กรุงเทพมหานคร รวมอยู่ด้วย และอาจต้องชิงกันเองกับ นางสาว สุภิญญา กลางณรงค์ จากคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ แต่ก็ยังไม่แน่
**เพราะอาจมีตัวสอดแทรกอื่นๆ มาก็ได้ในสาขานี้อย่าง นางสุวรรณา จิตประภัสสร์ กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
เหตุที่บอกว่ายากต่อการฟันธงว่าใครในจำนวน 44 รายชื่อที่ส.ว.จะต้องเลือกให้เหลือ 11 คนก็เพราะปัจจุบันพบว่า ส.ว.ชุดนี้ไม่ได้มีการเกาะกลุ่มรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่เหมือนในอดีต เพราะแยกย้ายกันเกาะกลุ่มเล็กๆ ที่ตอนนี้มีอย่างกลุ่ม ส.ว.อีสาน, ส.ว.ที่แนบชิดกับเพื่อไทย, ส.ว.สรรหา , กลุ่มอดีต 40 ส.ว.เดิม
ดังนั้น การเช็คเสียงส.ว.ในเบื้องต้นว่าใครจะเข้าวิน 11 คน จึงประเมินได้ค่อนข้างยาก
**ทุกอย่างจะรอทีเดียวตอนลง“มติลับ”เลย
ทั้งนี้กระบวนการเลือก กสทช.จะเป็นไปดังนี้ คือเมื่อเริ่มประชุมวุฒิสภา ทางคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติและ พฤติกรรมทางจริยธรรมของผู้สมควรได้รับการรับเลือกเป็น กสทช.ของวุฒิสภา ก็จะเสนอ “ข้อมูลลับ”ทุกอย่างของผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้ง 44 คน ในเอกสารลับที่แจกเฉพาะในห้องประชุม ที่จะมีประวัติโดยละเอียดของทั้ง 44 คน
เช่น เคยรับราชการที่ไหนบ้าง เคยถูกตั้งกรรมการสอบวินัยหรือไม่ มีประวัติเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไหนหรือไม่ เคยทำงานในบริษัทเอกชนที่เกี่ยวกับกิจการสื่อสารมวลชนหรือกิจการโทรคมนาคมหรือไม่
เพราะแม้กฎหมายจะบัญญัติข้อห้ามไว้ว่าผู้จะเป็นกสทช. ต้องไม่เป็น หรือเคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ ผู้บริหาร ที่ปรึกษา พนักงาน ผู้ถือหุ้นในบริษัทหรือนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจด้านกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคม แต่กฎหมายก็ห้ามเอาไว้แค่หนึ่งปีก่อนได้รับการเสนอชื่อเท่านั้น
จึงอาจมีผู้ได้รับการเสนอชื่อบางคนเคยทำงานในกิจการเอกชน ที่ทำธุรกิจด้านนี้มาก่อนหลายปีที่อาจจะไปเกื้อหนุนกันภายหลังก็ได้ ตรงส่วนนี้ก็คาดว่า ส.ว.คงมีการถามกันเยอะพอสมควรในประเด็นนี้ว่า กมธ.ได้ตรวจสอบละเอียดหรือไม่ ?
รวมถึงการซักถามในเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับประวัติส่วนตัวของทั้ง 44 คน เช่น เคยถูกฟ้องร้องหรือถูกดำเนินคดีอาญาอะไรหรือไม่ ประวัติคนในครอบครัวของทั้ง 44 คน มีใครบ้างที่ทำงานอยู่กับบริษัทเอกชนที่ทำธุรกิจด้านกิจการสื่อสารมวลชน หรือกิจการโทรคมนาคม เป็นต้น
ข้อมูลทั้งหมดเหล่านี้ คือข้อมูลลับที่จะคุยกันในห้องประชุมเท่านั้น และกรรมาธิการตรวจสอบประวัติจะต้องพร้อมในการตอบข้อซักถาม และข้อสงสัยของ ส.ว.ทุกคนที่อาจลุกขึ้นถามกรรมาธิการฯ อย่างละเอียดถึงผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้ง 44 คน ซึ่งเป็นสาเหตุที่การประชุมจะใช้เวลานาน ก็เพราะจะกินเวลาในส่วนนี้ค่อนข้างนานมาก
หลังจากซักถามกันละเอียดแล้ว ส.ว.แต่ละคนจะได้รับบัตรลงคะแนนที่แยกรายชื่อออกเป็นแต่ละสาขาแล้วก็ต้องเลือกให้เหลือตัวแทนแต่ละด้านตามที่ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 บัญญัติไว้ จะไปเลือกผิดหลักเกณฑ์ไม่ได้ หากลงผิดก็กลายเป็นบัตรเสียไป
หลังจากนั้นก็เข้าสู่การนับคะแนน ซึ่งคนที่จะได้รับเลือกเป็น กสทช.ในแต่ละสาขา กฎหมายบัญญัติว่า ผู้ได้คะแนนสูงสุดเรียงตามลำดับเป็นผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการ
**เมื่อได้รายชื่อทั้ง 11 คนแล้ว วุฒิสภาก็ต้องแจ้งให้ผู้ได้รับการเลือกทราบ แล้วก็ให้ว่าที่ กสทช.ทั้งหมดนัดประชุมร่วมกันภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับเลือก เพื่อโหวตเลือกประธาน กสทช.และรองประธาน อีกสองคน
จากนั้นก็แจ้งผลให้นายกรัฐมนตรีทราบ และให้นายกรัฐมนตรี นำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งต่อไป
**11 อรหันต์ กสทช. จะมีใครบ้าง ก็รอเฝ้าติดตามกันไป น่าจะรู้กันแน่ในวันนี้
โฉมหน้าทั้ง 11 คนจะมีใครบ้างที่เข้าไปทำหน้าที่เป็นกสทช. ที่มีภารกิจหลักๆ ก็คือการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียง วิทยุ โทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เช่น การออกใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม และการออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์
โผว่าที่กสทช. ที่มีการกะเก็งกันในหมู่ส.ว.และคนที่สนใจติดตามเรื่องนี้ ยังเป็นแค่การคาดการณ์เท่านั้น เพราะจะไปกะเก็งกันให้ถูกหมดทั้ง 11 รายชื่อ มันเป็นไปไม่ได้แน่นอน
ต้องรอดูว่า ส.ว.ทั้ง 150 คนจะลงมติเลือกใครมาเป็นกสทช. แม้จะมีข่าวว่าหลายคนมีความเป็นไปได้ว่าน่าจะติดโผ อาทิเช่น
สายผู้มีผลงานหรือมีความรู้และความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ในสาขาด้านกิจการกระจายเสียงที่หลายคนคาดกันว่าบางชื่อน่าจะมีลุ้น อาทิ
พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานกรรมการบริหาร สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม อดีตบิ๊กทัพฟ้า ที่มีพรรคพวกมากมายในหมู่ส.ว.สายสรรหา ทั้งทหาร-ตำรวจ
หรือสายผู้ที่มีผลงาน หรือมีความรู้และมีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ด้านกิจการโทรคมนาคม ที่หลายคนเก็งชื่อ พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคม ปฏิบัติหน้าที่รักษาการกรรมการ กสทช.อยู่ในตอนนี้
ขณะที่สายเอ็นจีโอ เป็นอีกสายหนึ่งที่ข่าวว่า ผู้ติดโผอาจต้องตัดคะแนนกันเองเช่นในสายผู้ที่มีผลงาน หรือมีความรู้และมีความเชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองผู้บริภาคอันเป็นประโยชน์ต่อการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงฯ ที่มีชื่อ อดีตส.ว.กรุงเทพมหานคร อย่าง จอน อึ้งภากรณ์ พี่ชาย ใจ อึ้งภากรณ์ ที่หนีคดีหมิ่นสถาบันฯ อยู่ในต่างประเทศ รองประธานมูลนิธิคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ และอดีตส.ว. กรุงเทพมหานคร รวมอยู่ด้วย และอาจต้องชิงกันเองกับ นางสาว สุภิญญา กลางณรงค์ จากคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ แต่ก็ยังไม่แน่
**เพราะอาจมีตัวสอดแทรกอื่นๆ มาก็ได้ในสาขานี้อย่าง นางสุวรรณา จิตประภัสสร์ กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
เหตุที่บอกว่ายากต่อการฟันธงว่าใครในจำนวน 44 รายชื่อที่ส.ว.จะต้องเลือกให้เหลือ 11 คนก็เพราะปัจจุบันพบว่า ส.ว.ชุดนี้ไม่ได้มีการเกาะกลุ่มรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่เหมือนในอดีต เพราะแยกย้ายกันเกาะกลุ่มเล็กๆ ที่ตอนนี้มีอย่างกลุ่ม ส.ว.อีสาน, ส.ว.ที่แนบชิดกับเพื่อไทย, ส.ว.สรรหา , กลุ่มอดีต 40 ส.ว.เดิม
ดังนั้น การเช็คเสียงส.ว.ในเบื้องต้นว่าใครจะเข้าวิน 11 คน จึงประเมินได้ค่อนข้างยาก
**ทุกอย่างจะรอทีเดียวตอนลง“มติลับ”เลย
ทั้งนี้กระบวนการเลือก กสทช.จะเป็นไปดังนี้ คือเมื่อเริ่มประชุมวุฒิสภา ทางคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติและ พฤติกรรมทางจริยธรรมของผู้สมควรได้รับการรับเลือกเป็น กสทช.ของวุฒิสภา ก็จะเสนอ “ข้อมูลลับ”ทุกอย่างของผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้ง 44 คน ในเอกสารลับที่แจกเฉพาะในห้องประชุม ที่จะมีประวัติโดยละเอียดของทั้ง 44 คน
เช่น เคยรับราชการที่ไหนบ้าง เคยถูกตั้งกรรมการสอบวินัยหรือไม่ มีประวัติเคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไหนหรือไม่ เคยทำงานในบริษัทเอกชนที่เกี่ยวกับกิจการสื่อสารมวลชนหรือกิจการโทรคมนาคมหรือไม่
เพราะแม้กฎหมายจะบัญญัติข้อห้ามไว้ว่าผู้จะเป็นกสทช. ต้องไม่เป็น หรือเคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ ผู้บริหาร ที่ปรึกษา พนักงาน ผู้ถือหุ้นในบริษัทหรือนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจด้านกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคม แต่กฎหมายก็ห้ามเอาไว้แค่หนึ่งปีก่อนได้รับการเสนอชื่อเท่านั้น
จึงอาจมีผู้ได้รับการเสนอชื่อบางคนเคยทำงานในกิจการเอกชน ที่ทำธุรกิจด้านนี้มาก่อนหลายปีที่อาจจะไปเกื้อหนุนกันภายหลังก็ได้ ตรงส่วนนี้ก็คาดว่า ส.ว.คงมีการถามกันเยอะพอสมควรในประเด็นนี้ว่า กมธ.ได้ตรวจสอบละเอียดหรือไม่ ?
รวมถึงการซักถามในเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับประวัติส่วนตัวของทั้ง 44 คน เช่น เคยถูกฟ้องร้องหรือถูกดำเนินคดีอาญาอะไรหรือไม่ ประวัติคนในครอบครัวของทั้ง 44 คน มีใครบ้างที่ทำงานอยู่กับบริษัทเอกชนที่ทำธุรกิจด้านกิจการสื่อสารมวลชน หรือกิจการโทรคมนาคม เป็นต้น
ข้อมูลทั้งหมดเหล่านี้ คือข้อมูลลับที่จะคุยกันในห้องประชุมเท่านั้น และกรรมาธิการตรวจสอบประวัติจะต้องพร้อมในการตอบข้อซักถาม และข้อสงสัยของ ส.ว.ทุกคนที่อาจลุกขึ้นถามกรรมาธิการฯ อย่างละเอียดถึงผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้ง 44 คน ซึ่งเป็นสาเหตุที่การประชุมจะใช้เวลานาน ก็เพราะจะกินเวลาในส่วนนี้ค่อนข้างนานมาก
หลังจากซักถามกันละเอียดแล้ว ส.ว.แต่ละคนจะได้รับบัตรลงคะแนนที่แยกรายชื่อออกเป็นแต่ละสาขาแล้วก็ต้องเลือกให้เหลือตัวแทนแต่ละด้านตามที่ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 บัญญัติไว้ จะไปเลือกผิดหลักเกณฑ์ไม่ได้ หากลงผิดก็กลายเป็นบัตรเสียไป
หลังจากนั้นก็เข้าสู่การนับคะแนน ซึ่งคนที่จะได้รับเลือกเป็น กสทช.ในแต่ละสาขา กฎหมายบัญญัติว่า ผู้ได้คะแนนสูงสุดเรียงตามลำดับเป็นผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการ
**เมื่อได้รายชื่อทั้ง 11 คนแล้ว วุฒิสภาก็ต้องแจ้งให้ผู้ได้รับการเลือกทราบ แล้วก็ให้ว่าที่ กสทช.ทั้งหมดนัดประชุมร่วมกันภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับเลือก เพื่อโหวตเลือกประธาน กสทช.และรองประธาน อีกสองคน
จากนั้นก็แจ้งผลให้นายกรัฐมนตรีทราบ และให้นายกรัฐมนตรี นำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งต่อไป
**11 อรหันต์ กสทช. จะมีใครบ้าง ก็รอเฝ้าติดตามกันไป น่าจะรู้กันแน่ในวันนี้