เริ่มต้นของรัฐบาลใหม่ ซึ่งเป็นของใครผมไม่ทราบเพราะผมไม่ได้เลือกและไม่เคยยอมรับระบบการเลือกตั้งเส็งเคร็งแบบนี้ เมื่อไม่ฟังกันก็ได้รัฐบาลแบบนี้ สภาแบบนี้ นายกรัฐมนตรี เลขารัฐมนตรีอย่างที่เห็นๆ กัน ฝ่ายหนึ่งก็ดีใจไชโย อีกหลายๆ ฝ่ายวิ่งหากระโถนสำหรับอาเจียน อดใจมาหลายสัปดาห์ที่ไม่พูดถึงการเมืองเพราะมันอดสูใจกับบ้านเมือง ประวัติศาสตร์ชาติไทยจะได้จารึกกันไว้ว่า 2554 คือยุคไพร่ครองเมือง ยังจะมีอะไรที่ให้ได้ดูได้เห็นกันอีกถ้าอดใจไหว และจะเห็นบทสุดท้ายความอหังการของนักการเมือง เลือดไทยจะไหลนองแผ่นดินอีกครั้งกระนั้นหรือ?
รัฐบาลยังไม่เข้าทำงานก็เริ่มมีการเรียกร้องขอเงินชดเชยค่าศพ คนที่เสียชีวิตในเหตุการณ์เผาบ้านเผาเมืองในปี 2553 ศพละ 10 ล้าน โดยอ้างว่าจะจ่ายให้ทุกคนทั้งทหาร ตำรวจ และประชาชนที่เสียชีวิต มีคนที่เสียภาษีให้กับรัฐบาลซึ่งจะต้องนำมาจ่ายให้คนตายเหล่านี้ฝากถามว่า ทหารที่เสียชีวิตชายแดนเขมร และตำรวจทหารที่เสียชีวิตใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะได้ศพละ 10 ล้านด้วยหรือไม่ คนที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 พฤษภาทมิฬ 2535 6 ตุลาคม 2519 และ 14 ตุลาคม 2516 เหล่านี้ควรจะต้องเรียกร้องขอเพิ่มเติมเงินชดเชยอีกได้หรือไม่? เพราะที่จ่ายไปแล้วมันเป็นเงินเพียงเล็กน้อยถ้าเทียบกับเงินที่คนเสื้อแดงเรียกร้อง คนเหล่านี้เป็นวีรบุรุษของใครและสมควรเอาเงินภาษีของคนทั้งประเทศไปจ่ายชดเชยตามที่ถูกข่มขู่กระนั้นหรือ? หรือคิดว่าอำนาจคือธรรม
ในเรื่องของการช่วยเหลือเกษตรกรที่ถูกน้ำท่วมก็เช่นเดียวกัน รัฐบาลได้เพิ่มเงินชดเชยน้ำท่วมนาข้าวจากเดิมไร่ละ 600 บาท เป็นไร่ละ 2,222 บาท บ่อกุ้ง หอย ได้ไร่ละ 10,920 บาท พืชสวนไร่ละ 5,098 บาท ถ้าเสียหายสิ้นเชิงชดเชย 55% ในฤดูการผลิตข้าวที่จะถึงนี้จะเปลี่ยนจากการประกันราคามาเป็นการจำนำข้าวแทนตันละ 15,000 – 20,000 บาท ฤานี่เรามาถึงยุคพระศรีอาริย์แล้วกระมัง รัฐบาลนี้คงพิมพ์ธนบัตรได้เองเช่นเดียวกับรัฐบาลสหรัฐฯ หรือ?
ทุกโครงการดังกล่าวรัฐบาลนี้ได้ใช้เงินมาเป็นตัวนำ เพื่อสร้างความนิยมชมชอบในระบอบประชานิยมสุดขั้ว โดยใช้เงินจากภาษีของประชาชนทั้งประเทศมาถลุงอย่างมหาศาล และทุกครั้งที่มีการช่วยเหลือประชาชนก็จะมีคนกลุ่มหนึ่งที่หน้าไม่มียางอายกินหัวคิวกับความทุกข์ยากของประชาชน แม้แต่เงินที่ช่วยซื้ออาหารให้สุนัขยังมีมนุษย์แย่งสุนัขกิน ข้าราชการ และนักการเมืองจะร่วมมือกันหากินกันเกือบทุกโครงการ ข้าราชการที่ประพฤติชั่วจะสอนให้ประชาชนเรียนรู้วิธีหากินร่วมกันจากงบประมาณต่างๆ ของรัฐ ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ไปจนถึงระดับประเทศ แต่นักการเมืองก็ยังคงอ้างแค่เพียงว่าผ่านการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยมาแล้ว ข้าพเจ้าย่อมมีสิทธิที่จะกินตามน้ำใต้ดินและบนดินที่เป็นวัตรปฏิบัติของนักการเมืองไทยตลอดมานับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 79 ปีที่ผ่านมา
ยินดีด้วยที่ชาวนาจะขายข้าวหรือจำนำข้าวได้ราคาดี ในขณะที่ข้าวเปลือกราคาสูงขึ้น ข้าวสารก็ขึ้นราคาตาม หมู ไข่ ไก่ เนื้อ ก็พาเหรดกันขึ้นราคาไปด้วย ไม่เว้นแม้แต่ผักหญ้า เงินที่จะได้ 300 บาทต่อวัน ยังไม่ทันได้ขึ้น สินค้าทุกชนิดและอาหารการกินขึ้นราคาไปรออยู่ก่อนแล้ว สมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าน้ำท่วมเป็นสาธารณภัยนั้นจริงหรือ? ทั้งๆ ที่แผ่นดินนี้อยู่กับน้ำท่วมมาก่อนสมัยสุโขทัยเสียอีก นั่นคือน้ำไหลของมันมาอย่างนั้นเองท่วมบ้างแล้งบ้างเป็นธรรมชาติ มนุษย์ต้องรู้จักปรับตัวที่จะเรียนรู้และอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ รัฐจะโอบอุ้มกับภัยพิบัติที่เพิ่มมากขึ้นๆ ต่อไปอีกได้สักเท่าไหร่ ข้าวนาลอยที่เคยพุ่งยอดแข่งกับน้ำหายไปไหน? เราพัฒนาพันธุ์ข้าวไวแสงออกรวงเร็วแต่ไม่ทนน้ำท่วม ทั้งหมดเป็นผลพวงของการพัฒนากว่า 50 ปีที่ผ่านมา
ถามจริงชาวนามีชีวิตที่ดีขึ้นตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือยัง ชาวนากับ ธ.ก.ส. (ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) ใครรวยกันแน่? ชาวนาทั่วประเทศมีหนี้สินเพิ่มขึ้นมากกว่า 4 แสนล้านบาท เจ้าหนี้รายใหญ่ที่รวยฟู้ฟ่าจากกระดูกสันหลังของชาติคือ ธ.ก.ส. สร้างตึกใหญ่โต มีโบนัสแบ่งกันทุกปี ผู้บริหารมีเงินเดือนกินนับแสนบาทต่อเดือน ขณะที่ชาวนายังกินข้าวคลุกน้ำปลา ข้าวเหนียวจิ้มแจ่วกับปลาร้า ใช้หนี้ไม่ไหวก็ขายที่นาเข้าไปเป็นกรรมกร บางรายต้องส่งลูกสาวไปขายตัวหาเงินส่งดอกเบี้ยธนาคาร
ผมได้มีโอกาสทำงานวิจัยให้กับ ศอ.บต. (ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้) เกี่ยวกับประมงพื้นบ้านภาคใต้ 3 จังหวัด คือ สงขลา ปัตตานี นราธิวาส บางส่วนของงานวิจัยได้พบว่าในฤดูมรสุมชาวประมงพื้นบ้านไม่สามารถออกไปหากินได้ตามปกติ ในขณะที่บนบกก็ไม่มีที่นา ไม่มีสวนยาง ไม่มีมะพร้าว เขาก็จะต้องดิ้นรนเพื่อหาเงินเลี้ยงครอบครัวโดยส่วนใหญ่ออกไปรับจ้างที่มาเลเซีย ก็มักจะถูกเพ่งเล็ง และบางรายถูกขึ้นบัญชีดำ เขาเคยถามในที่ประชุมว่ารัฐเคยเหลียวแลพวกเขาบ้างหรือไม่ “ชาวนาน้ำท่วมรัฐจ่ายชดเชยให้ทุกปี แต่พวกเราถูกมรสุมออกทะเลไม่ได้ไม่มีเงินไม่มีข้าวกิน รัฐไม่เคยให้เงินเลยสักบาทเดียว ไปหาเงินต่างประเทศไม่ยอมอดตาย ก็ถูกกล่าวหาว่าไปฝึกอาวุธ หรือไปอบรมก่อการร้าย” นี่คือเสี้ยวเดียวของปัญหาความขัดแย้งในภาคใต้ที่หยั่งรากลึกและสั่งสมมาตลอด ปัญหาใหญ่คือรัฐไม่สามารถแก้ปัญหาความยากจน ระบบการศึกษา และความอยุติธรรมในสังคมได้ มีเรื่องราวมากมายของคนกลุ่มเล็กๆ เหล่านี้ซึ่งจะมีโอกาสนำเสนอต่อไป
สังคมไทยกำลังเดินมาสู่ทางสามแพร่ง ระบบรัฐสภาและกลไกรัฐล้มเหลว ข้าราชการแทนที่จะมุ่งรับใช้ประเทศชาติและประชาชน กลับตกเป็นทาสและสยบยอมกับนักการเมือง การชดเชยที่ไม่มีมาตรฐาน การแต่งตั้งข้าราชการที่ไม่เป็นธรรมจะกัดกร่อนรัฐบาลนี้เอง แม้แต่คนระดับผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติยังไม่รักศักดิ์ศรีของตนเอง พูดเหมือนปกป้องศักดิ์ศรีของตำรวจ แต่สุดท้ายก็ขอตำแหน่งใหม่ที่เหมาะสมกับหน้าตาตัวเอง ช่างน่าสมเพชจริงหนอบ้านนี้เมืองนี้ ประชาชนไทยจะไปทางไหนกัน? จุดใต้จุดเทียนหาทางเดินกันเองเถิด เอวัง!
รัฐบาลยังไม่เข้าทำงานก็เริ่มมีการเรียกร้องขอเงินชดเชยค่าศพ คนที่เสียชีวิตในเหตุการณ์เผาบ้านเผาเมืองในปี 2553 ศพละ 10 ล้าน โดยอ้างว่าจะจ่ายให้ทุกคนทั้งทหาร ตำรวจ และประชาชนที่เสียชีวิต มีคนที่เสียภาษีให้กับรัฐบาลซึ่งจะต้องนำมาจ่ายให้คนตายเหล่านี้ฝากถามว่า ทหารที่เสียชีวิตชายแดนเขมร และตำรวจทหารที่เสียชีวิตใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะได้ศพละ 10 ล้านด้วยหรือไม่ คนที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 พฤษภาทมิฬ 2535 6 ตุลาคม 2519 และ 14 ตุลาคม 2516 เหล่านี้ควรจะต้องเรียกร้องขอเพิ่มเติมเงินชดเชยอีกได้หรือไม่? เพราะที่จ่ายไปแล้วมันเป็นเงินเพียงเล็กน้อยถ้าเทียบกับเงินที่คนเสื้อแดงเรียกร้อง คนเหล่านี้เป็นวีรบุรุษของใครและสมควรเอาเงินภาษีของคนทั้งประเทศไปจ่ายชดเชยตามที่ถูกข่มขู่กระนั้นหรือ? หรือคิดว่าอำนาจคือธรรม
ในเรื่องของการช่วยเหลือเกษตรกรที่ถูกน้ำท่วมก็เช่นเดียวกัน รัฐบาลได้เพิ่มเงินชดเชยน้ำท่วมนาข้าวจากเดิมไร่ละ 600 บาท เป็นไร่ละ 2,222 บาท บ่อกุ้ง หอย ได้ไร่ละ 10,920 บาท พืชสวนไร่ละ 5,098 บาท ถ้าเสียหายสิ้นเชิงชดเชย 55% ในฤดูการผลิตข้าวที่จะถึงนี้จะเปลี่ยนจากการประกันราคามาเป็นการจำนำข้าวแทนตันละ 15,000 – 20,000 บาท ฤานี่เรามาถึงยุคพระศรีอาริย์แล้วกระมัง รัฐบาลนี้คงพิมพ์ธนบัตรได้เองเช่นเดียวกับรัฐบาลสหรัฐฯ หรือ?
ทุกโครงการดังกล่าวรัฐบาลนี้ได้ใช้เงินมาเป็นตัวนำ เพื่อสร้างความนิยมชมชอบในระบอบประชานิยมสุดขั้ว โดยใช้เงินจากภาษีของประชาชนทั้งประเทศมาถลุงอย่างมหาศาล และทุกครั้งที่มีการช่วยเหลือประชาชนก็จะมีคนกลุ่มหนึ่งที่หน้าไม่มียางอายกินหัวคิวกับความทุกข์ยากของประชาชน แม้แต่เงินที่ช่วยซื้ออาหารให้สุนัขยังมีมนุษย์แย่งสุนัขกิน ข้าราชการ และนักการเมืองจะร่วมมือกันหากินกันเกือบทุกโครงการ ข้าราชการที่ประพฤติชั่วจะสอนให้ประชาชนเรียนรู้วิธีหากินร่วมกันจากงบประมาณต่างๆ ของรัฐ ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ไปจนถึงระดับประเทศ แต่นักการเมืองก็ยังคงอ้างแค่เพียงว่าผ่านการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยมาแล้ว ข้าพเจ้าย่อมมีสิทธิที่จะกินตามน้ำใต้ดินและบนดินที่เป็นวัตรปฏิบัติของนักการเมืองไทยตลอดมานับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 79 ปีที่ผ่านมา
ยินดีด้วยที่ชาวนาจะขายข้าวหรือจำนำข้าวได้ราคาดี ในขณะที่ข้าวเปลือกราคาสูงขึ้น ข้าวสารก็ขึ้นราคาตาม หมู ไข่ ไก่ เนื้อ ก็พาเหรดกันขึ้นราคาไปด้วย ไม่เว้นแม้แต่ผักหญ้า เงินที่จะได้ 300 บาทต่อวัน ยังไม่ทันได้ขึ้น สินค้าทุกชนิดและอาหารการกินขึ้นราคาไปรออยู่ก่อนแล้ว สมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าน้ำท่วมเป็นสาธารณภัยนั้นจริงหรือ? ทั้งๆ ที่แผ่นดินนี้อยู่กับน้ำท่วมมาก่อนสมัยสุโขทัยเสียอีก นั่นคือน้ำไหลของมันมาอย่างนั้นเองท่วมบ้างแล้งบ้างเป็นธรรมชาติ มนุษย์ต้องรู้จักปรับตัวที่จะเรียนรู้และอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ รัฐจะโอบอุ้มกับภัยพิบัติที่เพิ่มมากขึ้นๆ ต่อไปอีกได้สักเท่าไหร่ ข้าวนาลอยที่เคยพุ่งยอดแข่งกับน้ำหายไปไหน? เราพัฒนาพันธุ์ข้าวไวแสงออกรวงเร็วแต่ไม่ทนน้ำท่วม ทั้งหมดเป็นผลพวงของการพัฒนากว่า 50 ปีที่ผ่านมา
ถามจริงชาวนามีชีวิตที่ดีขึ้นตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือยัง ชาวนากับ ธ.ก.ส. (ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) ใครรวยกันแน่? ชาวนาทั่วประเทศมีหนี้สินเพิ่มขึ้นมากกว่า 4 แสนล้านบาท เจ้าหนี้รายใหญ่ที่รวยฟู้ฟ่าจากกระดูกสันหลังของชาติคือ ธ.ก.ส. สร้างตึกใหญ่โต มีโบนัสแบ่งกันทุกปี ผู้บริหารมีเงินเดือนกินนับแสนบาทต่อเดือน ขณะที่ชาวนายังกินข้าวคลุกน้ำปลา ข้าวเหนียวจิ้มแจ่วกับปลาร้า ใช้หนี้ไม่ไหวก็ขายที่นาเข้าไปเป็นกรรมกร บางรายต้องส่งลูกสาวไปขายตัวหาเงินส่งดอกเบี้ยธนาคาร
ผมได้มีโอกาสทำงานวิจัยให้กับ ศอ.บต. (ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้) เกี่ยวกับประมงพื้นบ้านภาคใต้ 3 จังหวัด คือ สงขลา ปัตตานี นราธิวาส บางส่วนของงานวิจัยได้พบว่าในฤดูมรสุมชาวประมงพื้นบ้านไม่สามารถออกไปหากินได้ตามปกติ ในขณะที่บนบกก็ไม่มีที่นา ไม่มีสวนยาง ไม่มีมะพร้าว เขาก็จะต้องดิ้นรนเพื่อหาเงินเลี้ยงครอบครัวโดยส่วนใหญ่ออกไปรับจ้างที่มาเลเซีย ก็มักจะถูกเพ่งเล็ง และบางรายถูกขึ้นบัญชีดำ เขาเคยถามในที่ประชุมว่ารัฐเคยเหลียวแลพวกเขาบ้างหรือไม่ “ชาวนาน้ำท่วมรัฐจ่ายชดเชยให้ทุกปี แต่พวกเราถูกมรสุมออกทะเลไม่ได้ไม่มีเงินไม่มีข้าวกิน รัฐไม่เคยให้เงินเลยสักบาทเดียว ไปหาเงินต่างประเทศไม่ยอมอดตาย ก็ถูกกล่าวหาว่าไปฝึกอาวุธ หรือไปอบรมก่อการร้าย” นี่คือเสี้ยวเดียวของปัญหาความขัดแย้งในภาคใต้ที่หยั่งรากลึกและสั่งสมมาตลอด ปัญหาใหญ่คือรัฐไม่สามารถแก้ปัญหาความยากจน ระบบการศึกษา และความอยุติธรรมในสังคมได้ มีเรื่องราวมากมายของคนกลุ่มเล็กๆ เหล่านี้ซึ่งจะมีโอกาสนำเสนอต่อไป
สังคมไทยกำลังเดินมาสู่ทางสามแพร่ง ระบบรัฐสภาและกลไกรัฐล้มเหลว ข้าราชการแทนที่จะมุ่งรับใช้ประเทศชาติและประชาชน กลับตกเป็นทาสและสยบยอมกับนักการเมือง การชดเชยที่ไม่มีมาตรฐาน การแต่งตั้งข้าราชการที่ไม่เป็นธรรมจะกัดกร่อนรัฐบาลนี้เอง แม้แต่คนระดับผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติยังไม่รักศักดิ์ศรีของตนเอง พูดเหมือนปกป้องศักดิ์ศรีของตำรวจ แต่สุดท้ายก็ขอตำแหน่งใหม่ที่เหมาะสมกับหน้าตาตัวเอง ช่างน่าสมเพชจริงหนอบ้านนี้เมืองนี้ ประชาชนไทยจะไปทางไหนกัน? จุดใต้จุดเทียนหาทางเดินกันเองเถิด เอวัง!