ตลาดหลักทรัพย์ฯจับมือ 3 หน่วยงานหนุนธุรกิจพลังงานเข้าระดมทุน หลังรัฐบาลส่งเสริมใช้พลังงานทดแทนเป็น 25% ของพลังงานรวมในอีก 10 ปีข้างหน้า แจงอยู่ระหว่างหารือก.ล.ต.ลดเกณฑ์มาร์เกตแคป-กำไรของธุรกิจหมุนเวียน “จรัมพร” คาด อีก 12 เดือนข้างหน้า บจ.พลังงานทดแทนเพิ่มทุนขายพีโอ 1 หมื่นล้านบาทขยายธุรกิจ
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในการสนับสนุนธุรกิจพลังงานทดแทนเข้ามาระดมทุนในตลาดทุนมีผล 29 สิงหาคมเป็นต้นเป็นระยะเวลา 2 ปี โดยมีนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธานในพิธีฯ ว่า "ธุรกิจพลังงานทดแทนเป็นธุรกิจที่ได้รับความสนใจจากผู้ลงทุนทั้งในและต่างประเทศโดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์โดยมีโอกาสการเติบโตจากความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศที่ขยายตัวต่อเนื่องตามอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจถึง5% ต่อปี
ทั้งนี้ธุรกิจพลังงานทดแทนยังได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานควบคู่ไปกับการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการผลิตไฟฟ้าในปัจจุบัน โดยธุรกิจดังกล่าวต้องการเงินทุนจำนวนมากตลาดทุนจึงพร้อมให้การสนับสนุนการระดมทุนของธุรกิจพลังงานทดแทนอย่างเต็มที่โดยอยู่ระหว่างการพัฒนาหลักเกณฑ์เพื่อรองรับการนำธุรกิจพลังงานทดแทนเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯได้มากยิ่งขึ้น
โดยขณะนี้อยู่ระหว่างหารือกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.).ในการแก้เกณฑ์บริษัทที่ทำธุรกิจพลังงานหมุนเวียนให้เข้ามาจดทะเบียนได้สะดวกขึ้น และมีขนาดที่เล็กลงจากเดิมที่จะต้องมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป)ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท และหากมีกำไรสุทธิ 1 ปีสามารถเข้าจดทะเบียนได้จากเดิมต้องมีกำไรสุทธิติดต่อกัน 3 ปี
สำหรับปัจจุบันบริษัทที่ทำธุรกิจพลังงานทดแทนจำนวน 100 บริษัท แต่ที่อยู่ระหว่างการเตรียมตัวเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯจำนวนหลาย 10 บริษัท ซึ่งทำธุรกิจไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โดยคาดว่าจะมีมูลค่าระดมทุบริษัทละ 500-1,000 ล้านบาทต่อบซึ่งปัจจุบันมีบริษัทที่ประกอบธุรกิจพลังงานทดแทนที่เข้าจดทะเบียนแล้วมีจำนวน 12 บริษัท ซึ่งคาดว่าบริษัทดังกล่าวจะมีการเพิ่มทุนจดทะเบียนในการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป (PO)ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ภายใน12 เดือนจากนี้ เพื่อใช้ในการลงทุนในโครงการใหม่เพิ่มขึ้น และมีการระดมทุนนอกตลาดอีกจำนวน 3 หมื่นล้านบาทเพื่อนำไปลงทุนในโครงการ
นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า นโยบายส่งเสริมพลังงานทดแทนของรัฐบาล ที่จะมีปรับเป้าหมายให้มีการใช้เพิ่มมากขึ้นเป็น 25% ภายใน 10 ปีนับจากนี้ นอกจากจะสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน เพิ่มเม็ดเงินลงทุนและการจ้างงานในประเทศ แล้ว ยังก่อให้เกิดประโยชน์ในทางอ้อมต่อเสถียรภาพของราคาสินค้าเกษตร พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยให้ดีขึ้น โดยการลงนามความร่วมมือ ฯ ในวันนี้ จะเป็นการร่วมผลักดันให้ประเทศไทยเกิดการลงทุน และผลิตพลังงานทดแทนขึ้นใช้เองได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต รวมทั้งจะก้าวไปสู่ศูนย์กลางด้านพลังงานทดแทนในการผลิตและการใช้ในระดับภูมิภาคต่อไป”
นายกวิน ทังสุพานิช เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน กล่าวว่า นับเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมประสิทธิภาพแก่ผู้ประกอบกิจการพลังงานและพลังงานทางเลือก ทั้งด้านการเพิ่มความเข้มแข็งของธุรกิจโดยระดมทุนผ่านตลาดทุน และด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance) ผ่านกิจกรรมให้ความรู้ความเข้าใจต่างๆ อาทิ ความรู้ความเข้าใจในธุรกิจพลังงาน หลักเกณฑ์การอนุญาต และการกำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงาน แก่ผู้ประกอบธุรกิจที่สนใจ รวมถึงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ (SET)และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)เพื่อเพิ่มศักยภาพและความเข้มแข็งของธุรกิจไทย อันจะส่งผลต่อการพัฒนา เศรษฐกิจ และสังคมได้ในอนาคต และเชื่อมั่นว่าจะก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพ คุณภาพ ความมั่นคง และเชื่อถือได้ในกิจการพลังงานของประเทศต่อไป
นายณรงค์ศักดิ์ กำมเลศ ผู้ว่าการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กล่าวว่า การร่วมมือกันครั้งนี้ นอกจากจะเน้นส่งเสริมความรู้ด้านการระดมทุนแก่ผู้ประกอบกิจการพลังงานไฟฟ้าแล้ว ยังร่วมสนับสนุนให้บริษัทในเครือของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งเป็นแนวทางให้บริษัทในเครือสามารถระดมทุนเพื่อขยายการลงทุนในธุรกิจด้านพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมั่นคง มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาความสามารถผู้ประกอบกิจการพลังงานไทยทั้งในระดับประเทศและระดับนานาประเทศ
นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในการสนับสนุนธุรกิจพลังงานทดแทนเข้ามาระดมทุนในตลาดทุนมีผล 29 สิงหาคมเป็นต้นเป็นระยะเวลา 2 ปี โดยมีนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธานในพิธีฯ ว่า "ธุรกิจพลังงานทดแทนเป็นธุรกิจที่ได้รับความสนใจจากผู้ลงทุนทั้งในและต่างประเทศโดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์โดยมีโอกาสการเติบโตจากความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศที่ขยายตัวต่อเนื่องตามอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจถึง5% ต่อปี
ทั้งนี้ธุรกิจพลังงานทดแทนยังได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานควบคู่ไปกับการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการผลิตไฟฟ้าในปัจจุบัน โดยธุรกิจดังกล่าวต้องการเงินทุนจำนวนมากตลาดทุนจึงพร้อมให้การสนับสนุนการระดมทุนของธุรกิจพลังงานทดแทนอย่างเต็มที่โดยอยู่ระหว่างการพัฒนาหลักเกณฑ์เพื่อรองรับการนำธุรกิจพลังงานทดแทนเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯได้มากยิ่งขึ้น
โดยขณะนี้อยู่ระหว่างหารือกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.).ในการแก้เกณฑ์บริษัทที่ทำธุรกิจพลังงานหมุนเวียนให้เข้ามาจดทะเบียนได้สะดวกขึ้น และมีขนาดที่เล็กลงจากเดิมที่จะต้องมีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป)ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท และหากมีกำไรสุทธิ 1 ปีสามารถเข้าจดทะเบียนได้จากเดิมต้องมีกำไรสุทธิติดต่อกัน 3 ปี
สำหรับปัจจุบันบริษัทที่ทำธุรกิจพลังงานทดแทนจำนวน 100 บริษัท แต่ที่อยู่ระหว่างการเตรียมตัวเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯจำนวนหลาย 10 บริษัท ซึ่งทำธุรกิจไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โดยคาดว่าจะมีมูลค่าระดมทุบริษัทละ 500-1,000 ล้านบาทต่อบซึ่งปัจจุบันมีบริษัทที่ประกอบธุรกิจพลังงานทดแทนที่เข้าจดทะเบียนแล้วมีจำนวน 12 บริษัท ซึ่งคาดว่าบริษัทดังกล่าวจะมีการเพิ่มทุนจดทะเบียนในการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป (PO)ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ภายใน12 เดือนจากนี้ เพื่อใช้ในการลงทุนในโครงการใหม่เพิ่มขึ้น และมีการระดมทุนนอกตลาดอีกจำนวน 3 หมื่นล้านบาทเพื่อนำไปลงทุนในโครงการ
นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า นโยบายส่งเสริมพลังงานทดแทนของรัฐบาล ที่จะมีปรับเป้าหมายให้มีการใช้เพิ่มมากขึ้นเป็น 25% ภายใน 10 ปีนับจากนี้ นอกจากจะสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน เพิ่มเม็ดเงินลงทุนและการจ้างงานในประเทศ แล้ว ยังก่อให้เกิดประโยชน์ในทางอ้อมต่อเสถียรภาพของราคาสินค้าเกษตร พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยให้ดีขึ้น โดยการลงนามความร่วมมือ ฯ ในวันนี้ จะเป็นการร่วมผลักดันให้ประเทศไทยเกิดการลงทุน และผลิตพลังงานทดแทนขึ้นใช้เองได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต รวมทั้งจะก้าวไปสู่ศูนย์กลางด้านพลังงานทดแทนในการผลิตและการใช้ในระดับภูมิภาคต่อไป”
นายกวิน ทังสุพานิช เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน กล่าวว่า นับเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมประสิทธิภาพแก่ผู้ประกอบกิจการพลังงานและพลังงานทางเลือก ทั้งด้านการเพิ่มความเข้มแข็งของธุรกิจโดยระดมทุนผ่านตลาดทุน และด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance) ผ่านกิจกรรมให้ความรู้ความเข้าใจต่างๆ อาทิ ความรู้ความเข้าใจในธุรกิจพลังงาน หลักเกณฑ์การอนุญาต และการกำกับดูแลการประกอบกิจการพลังงาน แก่ผู้ประกอบธุรกิจที่สนใจ รวมถึงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ (SET)และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)เพื่อเพิ่มศักยภาพและความเข้มแข็งของธุรกิจไทย อันจะส่งผลต่อการพัฒนา เศรษฐกิจ และสังคมได้ในอนาคต และเชื่อมั่นว่าจะก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพ คุณภาพ ความมั่นคง และเชื่อถือได้ในกิจการพลังงานของประเทศต่อไป
นายณรงค์ศักดิ์ กำมเลศ ผู้ว่าการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กล่าวว่า การร่วมมือกันครั้งนี้ นอกจากจะเน้นส่งเสริมความรู้ด้านการระดมทุนแก่ผู้ประกอบกิจการพลังงานไฟฟ้าแล้ว ยังร่วมสนับสนุนให้บริษัทในเครือของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งเป็นแนวทางให้บริษัทในเครือสามารถระดมทุนเพื่อขยายการลงทุนในธุรกิจด้านพลังงานไฟฟ้าได้อย่างมั่นคง มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาความสามารถผู้ประกอบกิจการพลังงานไทยทั้งในระดับประเทศและระดับนานาประเทศ