เมื่อเวลา 09.00 น. วานนี้ (29ส.ค.) ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.)พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.) ให้สัมภาษณ์กรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศ ระบุกรณีผู้เสียชีวิต 91 ศพ เมื่อปี 2553 ผู้ นำทางทหารและรัฐบาลชุดก่อนต้องรับผิดชอบ ว่า เป็นเรื่องตามกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่ต้องดำเนินการไปเพื่อหาคนที่ กระทำผิดหรือกระทำถูก ถ้าใครผิดต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายไม่มีใครถูกละเว้น ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ถ้าทำผิดกฎหมาย การกระทำผิดกฎหมายไม่ว่าจะทำเมื่อไหร่ก็ตาม จะทำมากหรือทำน้อยผิดหมด ถ้าเขาตัดสินว่าผิด
เมื่อถามว่า ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้ชดเชย 2 แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)ที่ถูกยิงจนพิการ จะทำให้กำลังพลเสียขวัญหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศต้องมีการแก้ปัญหาโดยมี 2 ประการ คือ 1.ผู้ ที่ได้รับบาดเจ็บได้รับผลกระทบมีทุกภาคส่วน ต้องดูแลทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชน เพราะเป็นการปฏิบัติโดยการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งมีผู้ที่ได้รับผลกระทบ ดังนั้นเมื่อใครได้รับผลกระทบต้องได้รับการเยี่ยวยาทุกฝ่าย ตราบใดยังไม่ชัดเจนว่าใครได้รับบาดเจ็บจากใคร เป็นเรื่องทางกฎหมายที่ต้องดำเนินการ
“คงไม่มีผลกระทบต่อกำลังพลที่ปฏิบัติหน้าที่ เพราะผู้บังคับบัญชาหรืออย่างน้อยผบ.ทบ.ต้องรับผิดชอบอยู่แล้ว เพราะเป็นเรื่องการสั่งการตามลำดับชั้น การสั่งการทุกอย่างต้องมีผู้บังคับบัญชาในการสั่งการ มีกฎระเบียบและมีข้อบังคับ ซึ่งกำลังพลเรามีระเบียบมีวินัย ถ้าสั่งแล้วเขาก็ตั้งใจพยายามทำดีที่สุดพยายามทำอย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย” ผบ.ทบ.ระบุ
พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการมอบนโยบายเกี่ยวกับเรื่องความขัดแย้งว่า รัฐบาลจะพยายามลดความขัดแย้งและสร้างความสามัคคี เมื่อถามว่า ในส่วนของคดี 91 ศพ จะดำเนินการอย่างไร รองนายกฯกล่าวว่า กระทรวงยุติธรรมกำลังดำเนินการอยู่ ทั้งนี้ ในส่วนคดีนั้นจะมีกระทรวงต่างๆดูแลอยู่ ซึ่งหากเจ้าภาพมีปัญหาอะไรต่างๆ เราก็จะไปเสริม หากเรื่องมีปัญหาอยู่ตรงจุดใดก็ต้องไปเร่งตรงจุดนั้น
นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ได้คุยในรายละเอียด แต่ยืนยันว่าให้เป็นไปตามกฎหมาย ถ้าเจ้าหน้าที่ปฎิบัติไม่ถูกต้อง ก็ต้องดำเนินการทางกฎหมาย ซึ่งต้องรับผิดชอบมากกว่าคนทั่วไป
ต่อข้อถามว่า ทางญาติของผู้เสียชีวิตเรียกร้องให้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อตรวจสอบเรื่องดังกล่าว นายถวิล กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี ได้พูดชัดเจนแล้ว โดยมอบหมายให้ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อแนวทางปรองดองแห่งชาติ( คอป.) เป็นผู้ดูแล ทั้งนี้นายกฯ ก็ระบุชัดเจนว่า จะไม่เข้ามาแทรกแซงในเรื่องดังกล่าวด้วย ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสที่ดี โดยทั้งนี้ คอป.ก็ต้องทำหน้าที่ในการตรวจสอบเรื่องดังกล่าว อย่างชัดเจน โดยอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง อย่าปล่อยให้เกิดข้อสงสัยขึ้นได้
วันเดียวกัน ที่รัฐสภาได้มีการประชุมของคณะกรรมการติดตามสถานการณ์บ้านเมือง วุฒิสภา ที่มีนายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ เป็นประธาน โดยเชิญ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เข้าให้ข้อมูลต่อที่ประชุม โดยนายจิตติพจน์ได้สอบถามถึงเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. 53 รวมทั้งสาเหตุที่รัฐบาลในสมัยนั้นตัดสินใจส่งเจ้าหน้าที่เข้าสลายการชุมนุม
แต่นายอภิสิทธิ์ ได้แย้งว่าข้อถามดังกล่าวเป็นการให้แสดงความคิดเห็น อีกทั้งคณะกรรมการชุดนี้ก็ไม่ได้มีอำนาจคุ้มครองการชี้แจงของตน เพราะไม่ใช่คณะกรรมาธิการที่มีอำนาจคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นจึงเห็นควรให้เป็นการประชุมลับ เพื่อป้องกันการถูกนำถ้อยคำไปใช้ในทางกฎหมาย และหากรูปแบบการประชุมไม่สามารถที่จะรักษาสิทธิ์ตนได้ ก็มีความลังเลที่จะให้ข้อมูล เพราะพูดไปแล้วก็จะมีแต่คนมาหาเรื่องตน
ทั้งนี้ในช่วงเดือน มี.ค.53 มีการระดมมวลชนเข้ามา ก่อนขยายไปอีกเวทีที่ราชประสงค์ โดยการชุมนุมดังกล่าวได้ถูกวินิจฉัยของศาลแพ่งว่า เป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามคำสั่งของศาลแพ่ง เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 53 ดังนั้นการที่คณะกรรมการจะไปตรวจสอบข้อเท็จจริง ต้องแยกแยะว่าการชุมนุมของประชาชนโดยสิทธิตามรัฐธรรมนูญ หรือการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่ต้องทำหน้าที่รักษากฎหมายอย่างเคร่งครัด เพราะเหตุที่ศาลตัดสินว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น คือ การที่มีการใช้อาวุธ เห็นได้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคูขนาน นับตั้งแต่คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในคดียึดทรัพย์ ที่มีการปาระเบิดหลายสถานที่
“รัฐบาลในขณะนั้นอยู่ในฐานะที่ต้องรักษากติกาของบ้านเมือง โดยระมัดระวังไม่ให้เกิดการสูญเสีย หากไม่มีการดำเนินการเพื่อรักษากฎหมาย ต่อจากนี้ใครก็ตามที่ไม่หวังดีกับบ้านเมือง สามารถนำมวลชนออกมาพร้อมกับกลุ่มติดอาวุธ ทำให้บ้านเมืองไม่สามารถที่จะอยู่ในภายใต้กฎหมายได้” นายอภิสิทธิ์ ระบุ
ส่วนกรณีผลการศึกษาของหน่วยงานต่างประเทศ คือ กลุ่มวิกฤตระหว่างประเทศ (International Crisis Group : ไอซีจี) ที่ระบุว่าการควบคุมฝูงชนควรใช้กำลัง ไม่ควรใช้ทหารอย่างที่เกิดขึ้นที่นายจิตติพจน์สอบถามนั้น นายอภิสิทธิ์ ชี้แจงว่า หากเป็นการควบคุมฝูงชนโดยปกติ และไม่มีบุคคลติดอาวุธแฝงอยู่ในฝูงชน จะไม่มีปัญหาใดๆ โดยสังเกตว่าหากไม่มีการโจมตีออกมาจากฝูงชน การควบคุมทำได้โดยไม่มีปัญหา ยกตัวอย่างในประเทศอังกฤษ ที่มีการจลาจลเมื่อเร็วๆนี้ ทั้งที่ฝูงชนไม่ได้อาวุธ แต่ก็ต้องมีการตัดสินใจว่าจะนำมหารออกมาทำหน้าที่หรือไม่ แต่ท้ายที่สุดเหตุการณ์ก็สงบลงก่อน จึงขอยืนยันว่า หากไม่มีกลุ่มคนที่แฝงตัวอยู่แล้วมีอาวุธ จะไม่มีปัญหาเกิดขึ้นเลย
ขณะที่ นางนฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว.อุตรดิตถ์ ได้สอบถามนายอภิสิทธิ์ถึงการแสดงความรับผิดชอบ ซึ่งที่ผ่านมาอดีตนายกฯระบุเพียงเสียใจ แต่ไม่เคยกล่าวคำขอโทษ นายอภิสิทธิ์ชี้แจงว่า คำว่าเสียใจนั้นคงไม่ต้องอธิบาย เพราะเป็นความรู้สึกที่ไม่ต้องการให้เกิดความสูญเสีย ส่วนคำว่าขอโทษนั้น อยากใช้ในเวลาที่เหมาะสม ตนไม่ได้กังวลที่จะพูดคำว่าขอโทษ หากผลสอบออกมาแล้วจำเป็นที่จะพูด ตนก็พร้อม สำหรับการแก้ไขปัญหายังคงต้องมีการเยียวยาผู้เสียหายเรื่องตัวเลขเงินชดเชย และคิดว่าคอป.ต้องมีข้อเสนอออกมา แต่ควรเป็นข้อเสนอจากคนกลาง แม้จะมีกระบวนการกดดันขึ้นมาและต้องไม่ตั้งธง
“ส่วนเรื่องใครผิดถูกอย่างไร ขอให้กระบวนการยุติธรรม และหน่วยงานอิสระทำหน้าที่ แล้วค่อยๆให้การเมืองกลับเข้าสู่ภาวะที่ควรเป็น หากไม่ยอมแยกแยะก็จะเกิดปัญหา เพราะมีคนในโลกนี้ที่เลวพอที่เอาชีวิตคนมาเล่นเป็นเกมการเมือง เราต้องตัดวงจรนี้ให้ได้”อดีตนายกฯกล่าว
เมื่อถามว่า ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้ชดเชย 2 แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)ที่ถูกยิงจนพิการ จะทำให้กำลังพลเสียขวัญหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศต้องมีการแก้ปัญหาโดยมี 2 ประการ คือ 1.ผู้ ที่ได้รับบาดเจ็บได้รับผลกระทบมีทุกภาคส่วน ต้องดูแลทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชน เพราะเป็นการปฏิบัติโดยการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งมีผู้ที่ได้รับผลกระทบ ดังนั้นเมื่อใครได้รับผลกระทบต้องได้รับการเยี่ยวยาทุกฝ่าย ตราบใดยังไม่ชัดเจนว่าใครได้รับบาดเจ็บจากใคร เป็นเรื่องทางกฎหมายที่ต้องดำเนินการ
“คงไม่มีผลกระทบต่อกำลังพลที่ปฏิบัติหน้าที่ เพราะผู้บังคับบัญชาหรืออย่างน้อยผบ.ทบ.ต้องรับผิดชอบอยู่แล้ว เพราะเป็นเรื่องการสั่งการตามลำดับชั้น การสั่งการทุกอย่างต้องมีผู้บังคับบัญชาในการสั่งการ มีกฎระเบียบและมีข้อบังคับ ซึ่งกำลังพลเรามีระเบียบมีวินัย ถ้าสั่งแล้วเขาก็ตั้งใจพยายามทำดีที่สุดพยายามทำอย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย” ผบ.ทบ.ระบุ
พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการมอบนโยบายเกี่ยวกับเรื่องความขัดแย้งว่า รัฐบาลจะพยายามลดความขัดแย้งและสร้างความสามัคคี เมื่อถามว่า ในส่วนของคดี 91 ศพ จะดำเนินการอย่างไร รองนายกฯกล่าวว่า กระทรวงยุติธรรมกำลังดำเนินการอยู่ ทั้งนี้ ในส่วนคดีนั้นจะมีกระทรวงต่างๆดูแลอยู่ ซึ่งหากเจ้าภาพมีปัญหาอะไรต่างๆ เราก็จะไปเสริม หากเรื่องมีปัญหาอยู่ตรงจุดใดก็ต้องไปเร่งตรงจุดนั้น
นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ได้คุยในรายละเอียด แต่ยืนยันว่าให้เป็นไปตามกฎหมาย ถ้าเจ้าหน้าที่ปฎิบัติไม่ถูกต้อง ก็ต้องดำเนินการทางกฎหมาย ซึ่งต้องรับผิดชอบมากกว่าคนทั่วไป
ต่อข้อถามว่า ทางญาติของผู้เสียชีวิตเรียกร้องให้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อตรวจสอบเรื่องดังกล่าว นายถวิล กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี ได้พูดชัดเจนแล้ว โดยมอบหมายให้ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อแนวทางปรองดองแห่งชาติ( คอป.) เป็นผู้ดูแล ทั้งนี้นายกฯ ก็ระบุชัดเจนว่า จะไม่เข้ามาแทรกแซงในเรื่องดังกล่าวด้วย ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสที่ดี โดยทั้งนี้ คอป.ก็ต้องทำหน้าที่ในการตรวจสอบเรื่องดังกล่าว อย่างชัดเจน โดยอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง อย่าปล่อยให้เกิดข้อสงสัยขึ้นได้
วันเดียวกัน ที่รัฐสภาได้มีการประชุมของคณะกรรมการติดตามสถานการณ์บ้านเมือง วุฒิสภา ที่มีนายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ เป็นประธาน โดยเชิญ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เข้าให้ข้อมูลต่อที่ประชุม โดยนายจิตติพจน์ได้สอบถามถึงเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. 53 รวมทั้งสาเหตุที่รัฐบาลในสมัยนั้นตัดสินใจส่งเจ้าหน้าที่เข้าสลายการชุมนุม
แต่นายอภิสิทธิ์ ได้แย้งว่าข้อถามดังกล่าวเป็นการให้แสดงความคิดเห็น อีกทั้งคณะกรรมการชุดนี้ก็ไม่ได้มีอำนาจคุ้มครองการชี้แจงของตน เพราะไม่ใช่คณะกรรมาธิการที่มีอำนาจคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นจึงเห็นควรให้เป็นการประชุมลับ เพื่อป้องกันการถูกนำถ้อยคำไปใช้ในทางกฎหมาย และหากรูปแบบการประชุมไม่สามารถที่จะรักษาสิทธิ์ตนได้ ก็มีความลังเลที่จะให้ข้อมูล เพราะพูดไปแล้วก็จะมีแต่คนมาหาเรื่องตน
ทั้งนี้ในช่วงเดือน มี.ค.53 มีการระดมมวลชนเข้ามา ก่อนขยายไปอีกเวทีที่ราชประสงค์ โดยการชุมนุมดังกล่าวได้ถูกวินิจฉัยของศาลแพ่งว่า เป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามคำสั่งของศาลแพ่ง เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 53 ดังนั้นการที่คณะกรรมการจะไปตรวจสอบข้อเท็จจริง ต้องแยกแยะว่าการชุมนุมของประชาชนโดยสิทธิตามรัฐธรรมนูญ หรือการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่ต้องทำหน้าที่รักษากฎหมายอย่างเคร่งครัด เพราะเหตุที่ศาลตัดสินว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น คือ การที่มีการใช้อาวุธ เห็นได้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคูขนาน นับตั้งแต่คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในคดียึดทรัพย์ ที่มีการปาระเบิดหลายสถานที่
“รัฐบาลในขณะนั้นอยู่ในฐานะที่ต้องรักษากติกาของบ้านเมือง โดยระมัดระวังไม่ให้เกิดการสูญเสีย หากไม่มีการดำเนินการเพื่อรักษากฎหมาย ต่อจากนี้ใครก็ตามที่ไม่หวังดีกับบ้านเมือง สามารถนำมวลชนออกมาพร้อมกับกลุ่มติดอาวุธ ทำให้บ้านเมืองไม่สามารถที่จะอยู่ในภายใต้กฎหมายได้” นายอภิสิทธิ์ ระบุ
ส่วนกรณีผลการศึกษาของหน่วยงานต่างประเทศ คือ กลุ่มวิกฤตระหว่างประเทศ (International Crisis Group : ไอซีจี) ที่ระบุว่าการควบคุมฝูงชนควรใช้กำลัง ไม่ควรใช้ทหารอย่างที่เกิดขึ้นที่นายจิตติพจน์สอบถามนั้น นายอภิสิทธิ์ ชี้แจงว่า หากเป็นการควบคุมฝูงชนโดยปกติ และไม่มีบุคคลติดอาวุธแฝงอยู่ในฝูงชน จะไม่มีปัญหาใดๆ โดยสังเกตว่าหากไม่มีการโจมตีออกมาจากฝูงชน การควบคุมทำได้โดยไม่มีปัญหา ยกตัวอย่างในประเทศอังกฤษ ที่มีการจลาจลเมื่อเร็วๆนี้ ทั้งที่ฝูงชนไม่ได้อาวุธ แต่ก็ต้องมีการตัดสินใจว่าจะนำมหารออกมาทำหน้าที่หรือไม่ แต่ท้ายที่สุดเหตุการณ์ก็สงบลงก่อน จึงขอยืนยันว่า หากไม่มีกลุ่มคนที่แฝงตัวอยู่แล้วมีอาวุธ จะไม่มีปัญหาเกิดขึ้นเลย
ขณะที่ นางนฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว.อุตรดิตถ์ ได้สอบถามนายอภิสิทธิ์ถึงการแสดงความรับผิดชอบ ซึ่งที่ผ่านมาอดีตนายกฯระบุเพียงเสียใจ แต่ไม่เคยกล่าวคำขอโทษ นายอภิสิทธิ์ชี้แจงว่า คำว่าเสียใจนั้นคงไม่ต้องอธิบาย เพราะเป็นความรู้สึกที่ไม่ต้องการให้เกิดความสูญเสีย ส่วนคำว่าขอโทษนั้น อยากใช้ในเวลาที่เหมาะสม ตนไม่ได้กังวลที่จะพูดคำว่าขอโทษ หากผลสอบออกมาแล้วจำเป็นที่จะพูด ตนก็พร้อม สำหรับการแก้ไขปัญหายังคงต้องมีการเยียวยาผู้เสียหายเรื่องตัวเลขเงินชดเชย และคิดว่าคอป.ต้องมีข้อเสนอออกมา แต่ควรเป็นข้อเสนอจากคนกลาง แม้จะมีกระบวนการกดดันขึ้นมาและต้องไม่ตั้งธง
“ส่วนเรื่องใครผิดถูกอย่างไร ขอให้กระบวนการยุติธรรม และหน่วยงานอิสระทำหน้าที่ แล้วค่อยๆให้การเมืองกลับเข้าสู่ภาวะที่ควรเป็น หากไม่ยอมแยกแยะก็จะเกิดปัญหา เพราะมีคนในโลกนี้ที่เลวพอที่เอาชีวิตคนมาเล่นเป็นเกมการเมือง เราต้องตัดวงจรนี้ให้ได้”อดีตนายกฯกล่าว