ASTVผู้จัดการรายวัน – กสทคาดปี 57 ขาดทุนหนัก 2 พันล้าน เพราะไม่มีรายได้จากส่วนแบ่งสัญญาสัมปทาน แต่ยังหวัง 2 ธุรกิจใหม่พลิกฟื้นฐานะการเงิน ส่วนการเปิด 3G HSPA แบรนด์มาย เจอโรคเลื่อนไปสิ้นเดือนก.ย.นี้หลังระบบหลังบ้านยังไม่สมบูรณ์
นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่าหากกสทต้องนำส่งรายได้จากสัญญาสัมปทานเข้ากระทรวงการคลัง ตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กำกับดูแลกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ในเดือนธ.ค.ปี 2556 จะส่งผลให้ผลประกอบการของกสท ในปี 2557 ขาดทุนสุทธิมากกว่า 2,000 ล้านบาท
เนื่องจากผลประกอบการของกสทแต่ละปีมีรายได้ราว 50,000 ล้านบาท มีกำไรราว 6,000 ล้านบาท โดยรายได้ส่วนใหญ่มาจากส่วนแบ่งรายได้จากสัญญาสัมปทานราว 60% หรือประมาณ 30,000 ล้านบาท แบ่งเป็นจากบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น(ดีแทค) ราว 55% ประมาณ 16,000 ล้านบาท บริษัท ทรูมูฟ ราว 30% และบริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) ประมาณ 10%
‘รายได้จากการดำเนินธุรกิจของกสทเอง ในตอนนี้มีผลขาดทุนอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมายังมีรายได้จากสัมปทานเข้ามาช่วย จึงทำให้ทุกปียังมีกำไรอยู่ แต่ในปี 2556 ที่พ.ร.บ.กสทช.เริ่มบังคับใช้ เราก็ต้องส่งส่วนแบ่งรายได้จากสัญญาสัมปทานทั้งหมดเข้าคลังทันที ซึ่งก็จะทำให้กสทขาดทุนสุทธิมากกว่า 2,000 ล้านบาท ทำให้เราต้องพยายามหารายได้จากธุรกิจอื่นๆเข้ามาเสริม ซึ่งเชื่อว่าในปี 2558 กสทก็น่าจะพลิกกลับมาทำกำไรได้’
กสทเชื่อว่าธุรกิจในอนาคตที่จะเป็นตัวพยุงองค์กรได้ เมื่อหมดรายได้จากสัมปทาน คือการให้บริการ 3G HSPA และการทำสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือแบบใหม่ร่วมกับกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น รวมไปถึงบริการไฟเบอร์ทูเดอะเอ็กซ์ (FTTX) มูลค่าโครงการตามคณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้อนุมัติงบมาจำนวน 6,000 ล้านบาท แต่ก็ยังติดปัญหาล่าช้าไม่สามารถดำเนินการได้อยู่ในขณะนี้ เนื่องจากรัฐบาลชุดที่แล้วให้กลับไปเสนอแผนงานใหม่ เพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนกับของบริษัท ทีโอที
ดังนั้น กสทจึงแบ่งงานออกเป็น 2 ระยะโดยเฟสแรก ให้บริการได้ในกทม.และปริมณฑลมูลค่า 1,200 ล้านบาท ส่วนเนื้องานที่เหลือก็ต้องรออนุมัติจากครม.ต่อไป ซึ่งจากธุรกิจทั้ง 2 ประเภทนี้ จะมาช่วยลดอัตราขาดทุน และเพิ่มรายได้ให้กับกสทตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นไป
รวมทั้ง กสทยังต้องหารายได้จากนโยบายของรัฐบาล ทั้งการกระจายการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไปสู่ประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งตามแผนงานของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ต้องการให้เกิดบริการอินเทอร์เน็ตครอบคลุม 85% ในปี 2558 และแผนการจัดตั้งรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (อี-กอฟเวอร์เม้นท์)
‘คาดว่าจากเดิมที่กำหนดจะเปิดตัวบริการ 3G HSPA ภายใต้แบรนด์มายอย่างเป็นทางการของกสทภายในเดือนส.ค.นี้พร้อมกับทรูมูฟ เอช อาจจะต้องเลื่อนไปเป็นสิ้นเดือนก.ย. ในขณะที่ทรูมูฟ เอช น่าจะเดินหน้าเปิดตัวบริการ 3Gภายในวันที่ 30 ส.ค.นี้’
ทั้งนี้สาเหตุที่เลื่อนการเปิดตัวไปเนื่องจากเป็นเพราะระบบหลังบ้านไม่สมบูรณ์ ดังนั้นจึงขอเวลาพัฒนาระบบ และเครือข่ายก่อน โดยความคืบหน้าในการเปิดบริการ 3G HSPA ภายใต้แบรนด์มาย ในตอนนี้มีลูกค้าในระบบไม่ถึง 10,000 ราย หลังจากเปิดบริการได้ตั้งแต่ปลายเดือนก.ค.อย่างไม่เป็นทางการซึ่งยอมรับว่าต่ำกว่าเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้มาก
นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่าหากกสทต้องนำส่งรายได้จากสัญญาสัมปทานเข้ากระทรวงการคลัง ตามพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กำกับดูแลกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ในเดือนธ.ค.ปี 2556 จะส่งผลให้ผลประกอบการของกสท ในปี 2557 ขาดทุนสุทธิมากกว่า 2,000 ล้านบาท
เนื่องจากผลประกอบการของกสทแต่ละปีมีรายได้ราว 50,000 ล้านบาท มีกำไรราว 6,000 ล้านบาท โดยรายได้ส่วนใหญ่มาจากส่วนแบ่งรายได้จากสัญญาสัมปทานราว 60% หรือประมาณ 30,000 ล้านบาท แบ่งเป็นจากบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น(ดีแทค) ราว 55% ประมาณ 16,000 ล้านบาท บริษัท ทรูมูฟ ราว 30% และบริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) ประมาณ 10%
‘รายได้จากการดำเนินธุรกิจของกสทเอง ในตอนนี้มีผลขาดทุนอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมายังมีรายได้จากสัมปทานเข้ามาช่วย จึงทำให้ทุกปียังมีกำไรอยู่ แต่ในปี 2556 ที่พ.ร.บ.กสทช.เริ่มบังคับใช้ เราก็ต้องส่งส่วนแบ่งรายได้จากสัญญาสัมปทานทั้งหมดเข้าคลังทันที ซึ่งก็จะทำให้กสทขาดทุนสุทธิมากกว่า 2,000 ล้านบาท ทำให้เราต้องพยายามหารายได้จากธุรกิจอื่นๆเข้ามาเสริม ซึ่งเชื่อว่าในปี 2558 กสทก็น่าจะพลิกกลับมาทำกำไรได้’
กสทเชื่อว่าธุรกิจในอนาคตที่จะเป็นตัวพยุงองค์กรได้ เมื่อหมดรายได้จากสัมปทาน คือการให้บริการ 3G HSPA และการทำสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือแบบใหม่ร่วมกับกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น รวมไปถึงบริการไฟเบอร์ทูเดอะเอ็กซ์ (FTTX) มูลค่าโครงการตามคณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้อนุมัติงบมาจำนวน 6,000 ล้านบาท แต่ก็ยังติดปัญหาล่าช้าไม่สามารถดำเนินการได้อยู่ในขณะนี้ เนื่องจากรัฐบาลชุดที่แล้วให้กลับไปเสนอแผนงานใหม่ เพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนกับของบริษัท ทีโอที
ดังนั้น กสทจึงแบ่งงานออกเป็น 2 ระยะโดยเฟสแรก ให้บริการได้ในกทม.และปริมณฑลมูลค่า 1,200 ล้านบาท ส่วนเนื้องานที่เหลือก็ต้องรออนุมัติจากครม.ต่อไป ซึ่งจากธุรกิจทั้ง 2 ประเภทนี้ จะมาช่วยลดอัตราขาดทุน และเพิ่มรายได้ให้กับกสทตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นไป
รวมทั้ง กสทยังต้องหารายได้จากนโยบายของรัฐบาล ทั้งการกระจายการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตไปสู่ประชาชนในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งตามแผนงานของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ต้องการให้เกิดบริการอินเทอร์เน็ตครอบคลุม 85% ในปี 2558 และแผนการจัดตั้งรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (อี-กอฟเวอร์เม้นท์)
‘คาดว่าจากเดิมที่กำหนดจะเปิดตัวบริการ 3G HSPA ภายใต้แบรนด์มายอย่างเป็นทางการของกสทภายในเดือนส.ค.นี้พร้อมกับทรูมูฟ เอช อาจจะต้องเลื่อนไปเป็นสิ้นเดือนก.ย. ในขณะที่ทรูมูฟ เอช น่าจะเดินหน้าเปิดตัวบริการ 3Gภายในวันที่ 30 ส.ค.นี้’
ทั้งนี้สาเหตุที่เลื่อนการเปิดตัวไปเนื่องจากเป็นเพราะระบบหลังบ้านไม่สมบูรณ์ ดังนั้นจึงขอเวลาพัฒนาระบบ และเครือข่ายก่อน โดยความคืบหน้าในการเปิดบริการ 3G HSPA ภายใต้แบรนด์มาย ในตอนนี้มีลูกค้าในระบบไม่ถึง 10,000 ราย หลังจากเปิดบริการได้ตั้งแต่ปลายเดือนก.ค.อย่างไม่เป็นทางการซึ่งยอมรับว่าต่ำกว่าเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้มาก