สภาพทางสังคมและสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
1. ประเทศไทยได้พัฒนาเข้าสู่ความเป็นสังคมทุนนิยมอย่างเต็มตัว โครงสร้างเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศถูกยึดกุม และครอบงำ โดยกลุ่มทุนขนาดใหญ่ไม่กี่ราย รายได้หลักของประเทศมาจากอุตสาหกรรม, การค้าการลงทุน, การส่งออก และธุรกิจบริการ ภาคการเกษตรก็ได้พัฒนาเป็นเกษตรอุตสาหกรรม หรือถูกครอบงำโดยกลุ่มทุนภาคเกษตรและอาหาร การดำรงชีวิตของประชาชน และการหารายได้เพื่อการดำรงชีพของประชาชน หรือผู้ประกอบการขนาดกลางหรือรายย่อย ต้องอาศัยและพึ่งพาธุรกิจขนาดใหญ่ และเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก
พรรคการเมืองที่เกิดขึ้น และดำรงอยู่ในขณะนี้ จึงเป็นองค์กรตัวแทนของกลุ่มทุนต่างๆ เงินทุนได้เข้ามามีอำนาจ และอิทธิพลเหนือพรรค พรรคการเมืองที่มีส่วนผสมระหว่างการเป็นตัวแทนผลประโยชน์กลุ่มทุนต่างๆ และประชาชนกลุ่มสาขาอาชีพต่างๆ คงมีเพียงพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้นที่ยังหลงเหลืออยู่ พรรคการเมืองอื่นๆ ล้วนถูกครอบงำ โดยกลุ่มทุนอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด การเกิดขึ้นของพรรคไทยรักไทย-พลังประชาชน และเพื่อไทย คือการเกิดขึ้นของพรรคการเมือง ตัวแทนกลุ่มทุนผูกขาด และกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ในประเทศที่เชื่อมโยงกับทุนนิยมของโลก โดยมีทักษิณเป็นผู้นำ และตัวแทนของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ในสังคมไทย
2. ผลของการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ที่พรรคเพื่อไทยสามารถกวาดจำนวน ส.ส.ไปได้ 265 ที่นั่ง พรรคเราได้เพียง 165 ที่นั่ง พรรคภูมิใจไทยได้ 34 ที่นั่ง พรรคชาติไทยพัฒนาได้ 19 ที่นั่ง พรรคพลังชล และพรรคพัฒนาเพื่อแผ่นดินได้พรรคละ 7 ที่นั่ง แสดงให้เห็นว่า นี่คือชัยชนะโดยเด็ดขาด และน่ากลัวที่สุดของพรรคการเมืองตัวแทนกลุ่มทุนขนาดใหญ่ นำมาซึ่งความล่มสลาย หรือการกลืนกินพื้นที่ของพรรคขนาดเล็ก ขนาดกลาง จนไม่อาจเหลือพื้นที่ทางการเมืองได้อีก หากการเมืองพัฒนาไปในรูปแบบ และทิศทางนี้ต่อไป
การเมืองไทย ณ สถานการณ์นี้ จึงเป็นการต่อสู้และแข่งขันกันด้วยระบบการเมืองสองพรรค สองขั้วใหญ่ๆ ทางการเมืองเท่านั้น คือ ระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ การสร้างพรรคประชาธิปัตย์ให้มีความเข้มแข็ง ยิ่งใหญ่ เป็นธงนำของพรรคการเมืองอีกขั้วหนึ่ง ที่เป็นอนาคตและความหวังของประเทศชาติและประชาชน มีความพร้อม มีศักยภาพในการต่อสู้ และแข่งขันกับพรรคการเมืองตัวแทนกลุ่มทุนขนาดใหญ่ จึงเป็นความจำเป็นและภารกิจเร่งด่วน เพราะการก้าวสู่อำนาจ และความเติบโตเข้มแข็งของพรรคเพื่อไทย หากปราศจากการต่อสู้ที่เข้มแข็งของพรรคการเมืองอื่น พรรคเพื่อไทย ตัวแทนกลุ่มทุนขนาดใหญ่อาจผูกขาดยึดอำนาจประเทศไทยต่อไปอย่างยาวนานได้ จึงมีเพียงประชาธิปัตย์เท่านั้น อยู่ในฐานะที่จะเป็นคู่ต่อสู้ และคู่แข่งขันในสนามการเมืองการเลือกตั้งกับพรรคเพื่อไทยได้
3. ความสำเร็จของพรรคเพื่อไทยจะได้มาอย่างไร มีความชอบธรรมหรือไม่ สังคมไทยควรจะยอมรับวิถีการเมืองแบบนี้หรือไม่ เป็นปัญหาหนึ่งที่อาจเป็นคำถามอยู่ในใจประชาชนที่รักความถูกต้องเป็นธรรม และไม่นิยมความรุนแรง รับไม่ได้กับพฤติกรรมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยกับกลุ่มคนเสื้อแดง แต่ภายใต้บริบทของสังคมไทยที่ยังมีทัศนะ ความคิดง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ยังมองว่าไม่มีใครสนใจผู้แพ้ หรือผู้ได้อันดับสอง ต่างยกย่องผู้ชนะ และลืมคิดถึงว่า เขาชนะมาได้อย่างไร
แต่อย่างไรก็ตาม หากจะมองอย่างเป็นบทเรียน และกรณีศึกษาแล้ว ต้องยอมรับว่า การดำเนินงานทางการเมือง และบริหารจัดการเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทย มีความได้เปรียบและเหนือกว่าคู่แข่งทุกพรรค ด้วยเหตุปัจจัยต่างๆ ที่นำไปสู่ชัยชนะ มีดังนี้
1. สร้างพรรคที่เป็นตัวแทนของทุกกลุ่มอาชีพ ที่หลากหลายในสังคม และมีศักยภาพในแต่ละด้านมารวมกันให้มากที่สุด
2. เป็นพรรคที่รวบรวมเอา ส.ส. นักเลือกตั้ง ทั้งในระดับชาติ และระดับท้องถิ่น (อบต., อบจ., เทศบาล, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน) ไว้มากที่สุด เพราะบุคคลเหล่านี้เป็นฐานคะแนนที่สำคัญในการเลือกตั้ง
3. รวบรวมเอาบรรดาข้าราชการ, อดีตข้าราชการทุกส่วนมาร่วมงานกับพรรคให้มากที่สุด จนสร้างผลสะเทือน และทำให้บรรดาข้าราชการเชื่อว่าพรรคเพื่อไทยจะได้รับชัยชนะกลับมาเป็นรัฐบาล ทุกคนที่ช่วยพรรคจะได้รับบำเหน็จตอบแทน
4. พรรคเพื่อไทยได้เป็นศูนย์รวมของนักกิจกรรม, NGO, ผู้นำการเคลื่อนไหวทางการเมืองทั้งในอดีตและปัจจุบัน ให้เข้ามามีบทบาทในพรรค และเป็นผู้นำในการจัดตั้งกลุ่มองค์กรมวลชนต่างๆ ภายใต้ชื่อ นปช.หรือชื่อต่างๆ รวมเป็นพลังกลุ่มคนเสื้อแดงเพื่อสร้างฐานมวลชนให้กับพรรค ก่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เป็นประโยชน์กับพรรค โน้มนำกระแสสังคม หรือมวลชนในพื้นที่ฐานเสียงของพรรคให้มีความผูกพัน เชื่อมั่นต่อพรรค และแปรเป็นคะแนนเสียงเลือกตั้ง
5. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อมวลชน, นักวิชาการในทุกรูปแบบ มีการจัดการดูแลความสัมพันธ์ กระทั่งซื้อหรือติดสินบน เพื่อให้ทำงานสนับสนุน และเอื้อประโยชน์กับตน
6. กลไกรัฐ, เจ้าหน้าที่ กกต. และผู้เกี่ยวข้องในขบวนเลือกตั้งทั้งหมด กระทั่งนักเลง อันธพาล มาเฟีย ถูกระดมมารับใช้การเมือง การเลือกตั้งของพรรค เพื่อชัยชนะในการเลือกตั้ง
7. ใช้โลกล้อมประเทศ โดยระดมนักคิด นักการเมือง นักการทูต ล็อบบี้ยิสต์ สื่อต่างประเทศต่างๆ เคลื่อนไหวสอดประสานเพื่อสนับสนุน อาศัยแนวร่วมทางการเมืองในสากล โอบล้อม สร้างกระแส และสร้างความชอบธรรมให้กับพรรค
8. ขบวนการอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งเปิดเผยและปกปิด เช่น การสร้างราคาในตลาดหุ้น, ปั่นกระแสธุรกิจเพื่อผลทางจิตวิทยา และอื่นๆ อย่างยากที่พรรคประชาธิปัตย์จะต้านทาน
เหล่านี้ คือเหตุปัจจัยบางส่วนที่ทำให้พรรคเพื่อไทยมีชัยเหนือคู่แข่ง ส่วนขบวนการซื้อเสียงหรือโกงเลือกตั้ง คงมีทุกพรรค พรรคเพื่อไทยก็มิได้เป็นรองในเรื่องดังกล่าว
สรุป พรรคประชาธิปัตย์ กำลังเผชิญหน้ากับพรรคการเมืองคู่แข่งที่มีความพร้อมทุกด้าน เปรียบดังกิจการค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่ จึงไม่อาจเอาการบริหารจัดการแบบร้านโชวห่วยไปรับมือได้ (อ่านต่อวันศุกร์หน้า)
1. ประเทศไทยได้พัฒนาเข้าสู่ความเป็นสังคมทุนนิยมอย่างเต็มตัว โครงสร้างเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศถูกยึดกุม และครอบงำ โดยกลุ่มทุนขนาดใหญ่ไม่กี่ราย รายได้หลักของประเทศมาจากอุตสาหกรรม, การค้าการลงทุน, การส่งออก และธุรกิจบริการ ภาคการเกษตรก็ได้พัฒนาเป็นเกษตรอุตสาหกรรม หรือถูกครอบงำโดยกลุ่มทุนภาคเกษตรและอาหาร การดำรงชีวิตของประชาชน และการหารายได้เพื่อการดำรงชีพของประชาชน หรือผู้ประกอบการขนาดกลางหรือรายย่อย ต้องอาศัยและพึ่งพาธุรกิจขนาดใหญ่ และเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก
พรรคการเมืองที่เกิดขึ้น และดำรงอยู่ในขณะนี้ จึงเป็นองค์กรตัวแทนของกลุ่มทุนต่างๆ เงินทุนได้เข้ามามีอำนาจ และอิทธิพลเหนือพรรค พรรคการเมืองที่มีส่วนผสมระหว่างการเป็นตัวแทนผลประโยชน์กลุ่มทุนต่างๆ และประชาชนกลุ่มสาขาอาชีพต่างๆ คงมีเพียงพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้นที่ยังหลงเหลืออยู่ พรรคการเมืองอื่นๆ ล้วนถูกครอบงำ โดยกลุ่มทุนอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด การเกิดขึ้นของพรรคไทยรักไทย-พลังประชาชน และเพื่อไทย คือการเกิดขึ้นของพรรคการเมือง ตัวแทนกลุ่มทุนผูกขาด และกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ในประเทศที่เชื่อมโยงกับทุนนิยมของโลก โดยมีทักษิณเป็นผู้นำ และตัวแทนของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ในสังคมไทย
2. ผลของการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ที่พรรคเพื่อไทยสามารถกวาดจำนวน ส.ส.ไปได้ 265 ที่นั่ง พรรคเราได้เพียง 165 ที่นั่ง พรรคภูมิใจไทยได้ 34 ที่นั่ง พรรคชาติไทยพัฒนาได้ 19 ที่นั่ง พรรคพลังชล และพรรคพัฒนาเพื่อแผ่นดินได้พรรคละ 7 ที่นั่ง แสดงให้เห็นว่า นี่คือชัยชนะโดยเด็ดขาด และน่ากลัวที่สุดของพรรคการเมืองตัวแทนกลุ่มทุนขนาดใหญ่ นำมาซึ่งความล่มสลาย หรือการกลืนกินพื้นที่ของพรรคขนาดเล็ก ขนาดกลาง จนไม่อาจเหลือพื้นที่ทางการเมืองได้อีก หากการเมืองพัฒนาไปในรูปแบบ และทิศทางนี้ต่อไป
การเมืองไทย ณ สถานการณ์นี้ จึงเป็นการต่อสู้และแข่งขันกันด้วยระบบการเมืองสองพรรค สองขั้วใหญ่ๆ ทางการเมืองเท่านั้น คือ ระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ การสร้างพรรคประชาธิปัตย์ให้มีความเข้มแข็ง ยิ่งใหญ่ เป็นธงนำของพรรคการเมืองอีกขั้วหนึ่ง ที่เป็นอนาคตและความหวังของประเทศชาติและประชาชน มีความพร้อม มีศักยภาพในการต่อสู้ และแข่งขันกับพรรคการเมืองตัวแทนกลุ่มทุนขนาดใหญ่ จึงเป็นความจำเป็นและภารกิจเร่งด่วน เพราะการก้าวสู่อำนาจ และความเติบโตเข้มแข็งของพรรคเพื่อไทย หากปราศจากการต่อสู้ที่เข้มแข็งของพรรคการเมืองอื่น พรรคเพื่อไทย ตัวแทนกลุ่มทุนขนาดใหญ่อาจผูกขาดยึดอำนาจประเทศไทยต่อไปอย่างยาวนานได้ จึงมีเพียงประชาธิปัตย์เท่านั้น อยู่ในฐานะที่จะเป็นคู่ต่อสู้ และคู่แข่งขันในสนามการเมืองการเลือกตั้งกับพรรคเพื่อไทยได้
3. ความสำเร็จของพรรคเพื่อไทยจะได้มาอย่างไร มีความชอบธรรมหรือไม่ สังคมไทยควรจะยอมรับวิถีการเมืองแบบนี้หรือไม่ เป็นปัญหาหนึ่งที่อาจเป็นคำถามอยู่ในใจประชาชนที่รักความถูกต้องเป็นธรรม และไม่นิยมความรุนแรง รับไม่ได้กับพฤติกรรมทางการเมืองของพรรคเพื่อไทยกับกลุ่มคนเสื้อแดง แต่ภายใต้บริบทของสังคมไทยที่ยังมีทัศนะ ความคิดง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ยังมองว่าไม่มีใครสนใจผู้แพ้ หรือผู้ได้อันดับสอง ต่างยกย่องผู้ชนะ และลืมคิดถึงว่า เขาชนะมาได้อย่างไร
แต่อย่างไรก็ตาม หากจะมองอย่างเป็นบทเรียน และกรณีศึกษาแล้ว ต้องยอมรับว่า การดำเนินงานทางการเมือง และบริหารจัดการเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทย มีความได้เปรียบและเหนือกว่าคู่แข่งทุกพรรค ด้วยเหตุปัจจัยต่างๆ ที่นำไปสู่ชัยชนะ มีดังนี้
1. สร้างพรรคที่เป็นตัวแทนของทุกกลุ่มอาชีพ ที่หลากหลายในสังคม และมีศักยภาพในแต่ละด้านมารวมกันให้มากที่สุด
2. เป็นพรรคที่รวบรวมเอา ส.ส. นักเลือกตั้ง ทั้งในระดับชาติ และระดับท้องถิ่น (อบต., อบจ., เทศบาล, กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน) ไว้มากที่สุด เพราะบุคคลเหล่านี้เป็นฐานคะแนนที่สำคัญในการเลือกตั้ง
3. รวบรวมเอาบรรดาข้าราชการ, อดีตข้าราชการทุกส่วนมาร่วมงานกับพรรคให้มากที่สุด จนสร้างผลสะเทือน และทำให้บรรดาข้าราชการเชื่อว่าพรรคเพื่อไทยจะได้รับชัยชนะกลับมาเป็นรัฐบาล ทุกคนที่ช่วยพรรคจะได้รับบำเหน็จตอบแทน
4. พรรคเพื่อไทยได้เป็นศูนย์รวมของนักกิจกรรม, NGO, ผู้นำการเคลื่อนไหวทางการเมืองทั้งในอดีตและปัจจุบัน ให้เข้ามามีบทบาทในพรรค และเป็นผู้นำในการจัดตั้งกลุ่มองค์กรมวลชนต่างๆ ภายใต้ชื่อ นปช.หรือชื่อต่างๆ รวมเป็นพลังกลุ่มคนเสื้อแดงเพื่อสร้างฐานมวลชนให้กับพรรค ก่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เป็นประโยชน์กับพรรค โน้มนำกระแสสังคม หรือมวลชนในพื้นที่ฐานเสียงของพรรคให้มีความผูกพัน เชื่อมั่นต่อพรรค และแปรเป็นคะแนนเสียงเลือกตั้ง
5. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับสื่อมวลชน, นักวิชาการในทุกรูปแบบ มีการจัดการดูแลความสัมพันธ์ กระทั่งซื้อหรือติดสินบน เพื่อให้ทำงานสนับสนุน และเอื้อประโยชน์กับตน
6. กลไกรัฐ, เจ้าหน้าที่ กกต. และผู้เกี่ยวข้องในขบวนเลือกตั้งทั้งหมด กระทั่งนักเลง อันธพาล มาเฟีย ถูกระดมมารับใช้การเมือง การเลือกตั้งของพรรค เพื่อชัยชนะในการเลือกตั้ง
7. ใช้โลกล้อมประเทศ โดยระดมนักคิด นักการเมือง นักการทูต ล็อบบี้ยิสต์ สื่อต่างประเทศต่างๆ เคลื่อนไหวสอดประสานเพื่อสนับสนุน อาศัยแนวร่วมทางการเมืองในสากล โอบล้อม สร้างกระแส และสร้างความชอบธรรมให้กับพรรค
8. ขบวนการอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งเปิดเผยและปกปิด เช่น การสร้างราคาในตลาดหุ้น, ปั่นกระแสธุรกิจเพื่อผลทางจิตวิทยา และอื่นๆ อย่างยากที่พรรคประชาธิปัตย์จะต้านทาน
เหล่านี้ คือเหตุปัจจัยบางส่วนที่ทำให้พรรคเพื่อไทยมีชัยเหนือคู่แข่ง ส่วนขบวนการซื้อเสียงหรือโกงเลือกตั้ง คงมีทุกพรรค พรรคเพื่อไทยก็มิได้เป็นรองในเรื่องดังกล่าว
สรุป พรรคประชาธิปัตย์ กำลังเผชิญหน้ากับพรรคการเมืองคู่แข่งที่มีความพร้อมทุกด้าน เปรียบดังกิจการค้าปลีกข้ามชาติขนาดใหญ่ จึงไม่อาจเอาการบริหารจัดการแบบร้านโชวห่วยไปรับมือได้ (อ่านต่อวันศุกร์หน้า)