ผลสรุปของอนุกรรมการที่สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติเรื่องซื้อสื่อของพรรคเพื่อไทยยังคงเป็นประเด็นที่ค่ายมติชนนำมาเสนออย่างต่อเนื่อง ค่ายมติชนส่งคอลัมนิสต์หลายคนออกมาปูพรมถล่ม และเว็บไซต์ของมติชนออนไลน์ถึงกับอุทิศพื้นที่ส่วนหนึ่งให้กับเรื่องนี้โดยเฉพาะ
ทั้งยังมีสื่อเสื้อแดงต่างค่าย นักวิชาการเสื้อแดงออกโรงมารุมอัดสภาการหนังสือพิมพ์และอนุกรรมการชนิดเลอะเป็นโจ๊ก แต่ผมไม่ให้น้ำหนักของพวกที่ออกมาให้ท้ายเครือมติชน เพราะสังคมตอนนี้เป็นสังคมลูกตุ้มที่เหวี่ยงไปมาระหว่างซ้ายกับขวาพวกใครพวกมันไม่มีค่ามาตรฐานกลาง
แต่ที่น่าประหลาดก็คือว่า สมาชิกของสภาการหนังสือพิมพ์ที่ร่วมกันแถลงเจตนารมย์ว่าจะตั้งองค์กรกลางขึ้นมาเพื่อควบคุมตรวจสอบกันเองต่างพากันนิ่งเฉย หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ไม่นำเสนอข่าวนี้ ไม่มีใครออกมาปกป้ององค์กรวิชาชีพที่ร่วมกันก่อตั้งขึ้นมา พูดกันง่ายๆตรงๆว่า สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติแทบจะกลายเป็นหมาหัวเน่าในเวลานี้
พูดไปก็น่าขัน ผมคิดว่า สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติเองนั่นแหละที่ได้ลิ้มรสบทบาทของสื่อและอิทธิพลของสื่ออย่างชัดเจนที่สุด
ก่อนหน้านี้ผมเคยแสดงความเห็นไว้แล้วว่า ต้องยอมรับว่าในเงื่อนไขที่จำกัดนั้น คณะอนุกรรมการที่สภาการหนังสือพิมพ์ตั้งขึ้นมาสอบสวนทำงานได้ดีพอสมควร แม้ว่า ผลจะออกมาว่า เนื้อหาในอีเมลน่าจะจริง แต่ไม่มีคนผิด แต่ขณะเดียวกันมันก็สะท้อนถึงความล้มเหลวรูปแบบการก่อตั้งสภาการหนังสือพิมพ์ที่ไม่มีกฎหมายรองรับ
เพราะสุดท้ายแล้วสภาการหนังสือพิมพ์ไม่ได้มีสภาพแตกต่างไปจากสมาคมและองค์กรสื่อต่างๆที่มีอยู่แล้วมากมายก่ายกอง
แต่อย่าลืมว่า สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นสภาการไม่เพียงแต่เป็นองค์กรที่รับผิดชอบเฉพาะคนในวิชาชีพ แต่ต้องร่วมรับผิดชอบต่อประเทศชาติ และสังคมด้วย
คำถามก็คือว่า ทำไมเราไม่ยอมรับการตรวจสอบจากสังคม ทำไมเราจึงคิดว่าวิชาชีพนี้สามารถปกครองและตรวจสอบกันได้ด้วยหลักจริยธรรม โดยไม่ต้องมีกฎกติการองรับนอกเหนือจากหลักจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ และทำไมเราจึงคิดว่าคนในวิชาชีพถึงวิเศษวิโสกว่าคนอาชีพอื่น
ผมจึงเสนอมายังสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติอีกครั้งว่า ถ้าเราคำนึงถึงการพัฒนาวิชาชีพ รับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ ทบทวนบทบาทและรูปแบบของสภาการหนังสือพิมพ์เถอะครับ หรือไม่เช่นนั้นก็ยุบทิ้งไปเสีย
สำหรับมติชนนั้นผมคิดว่า การออกมาปกป้องตัวเองเป็นธรรมชาติของมนุษย์ เป็นสิทธิอันชอบธรรม แต่การแสดงออกของมติชนอีกด้านหนึ่งนั้นมันก็สะท้อนบทบาทอำนาจและอิทธิพลของสื่อไปในตัวด้วย
เท่าที่ผมพยายามรับฟังการโต้แย้งของมติชนมีประเด็นสำคัญอยู่เพียง 2-3 ประเด็น ประเด็นแรกคือ กล่าวหาว่า คณะอนุกรรมการดำเนินการสอบสวนนอกเหนือไปจากขอบเขตที่ได้รับมอบหมาย โดยกล่าวหาว่าเพิ่มประเด็น "หนังสือพิมพ์ที่ถูกพาดพิงแต่ละฉบับมีการนำเสนอข่าวอย่างไร ในช่วงเวลาการหาเสียงเลือกตั้ง" ขึ้นมา และไม่เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจง ประเด็นที่สอง คือ ไม่เห็นด้วยกับวิธีการใช้มอนิเตอร์มีเดียมาตัดสินความเอนเอียงหรือเที่ยงตรงของข่าว และประเด็นที่กล่าวหาว่า คณะอนุกรรมการบางคนมีอคติต่อเครือมติชน
นอกเหนือจากนั้นเป็นประเด็นเบี้ยไบ้รายทางเช่นว่า ไม่มีคนของข่าวสดที่ถูกกล่าวหา คณะอนุกรรมการไม่เข้าใจหลักการของการทำหนังสือพิมพ์ คณะอนุกรรมการเลือกใช้ข้อมูลเฉพาะส่วนที่สนับสนุนความคิดของตนเองเท่านั้นเป็นเครื่องตัดสิน ซึ่งผมคิดว่าเป็นเพียงข้อโต้แย้งในการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเองไม่ได้มีน้ำหนักอะไรเพราะคณะอนุกรรมการได้อธิบายการนำสืบให้เห็นกระจ่างอยู่แล้ว
อาจจะมีข้อผิดพลาดของอนุกรรมการที่ไปเปิดเผยนามปากกา ซึ่งขัดกับข้อบังคับด้านจริยธรรมของสภาการหนังสือพิมพ์ หมวด 2 จริยธรรมของหนังสือพิมพ์ข้อ 14 ระบุว่า "หนังสือพิมพ์ต้องปกปิดชื่อและฐานะของบุคคลที่ให้ข่าวไว้เป็นความลับ หากได้ให้คำมั่นแก่แหล่งข่าวนั้นไว้ หนังสือพิมพ์ต้องปกปิดนามปากกาหรือนามแฝงที่ปรากฎในหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น เป็นความลับ"
แต่ผมคิดว่า ถ้าเรื่องนี้เป็นความผิดเพราะเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ ก็เป็นความผิดเฉพาะตัวของอนุกรรมการ แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือไปลดทอนน้ำหนักข้อกล่าวหาที่อนุกรรมการได้รับมอบหมายให้สอบสวน
เหมือนตำรวจสอบสวนผู้ต้องหาที่ข่มขืนเด็ก แต่ตำรวจเผลอไปเปิดเผยชื่อของเด็กที่กฎหมายห้าม ก็ไม่ได้ทำให้ความผิดของผู้ต้องหาคดีข่มขืนหายไป แต่ตำรวจก็ต้องรับผิดชอบต่อการละเมิดกฎหมายข้อนี้ไป
ถ้าเรามาไล่เรียงข้อข้องใจของเครือมติชนในแต่ละประเด็น เราจะพบว่า มติชนไม่ได้ปฏิเสธผลการสอบสวนทั้งหมดของอนุกรรมการ ดังคำให้สัมภาษณ์ของนายปิยะชาติ มงคลไชยสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการมติชน ผลการสอบระบุว่า บุคคลที่ถูกพาดพิงในอีเมล์ ไม่ได้กระทำผิด ข้อหารับสินบนตามอีเมล์นั้นตกไป เป็นเรื่องเข้าใจได้ และมติชนได้ยืนยันความบริสุทธิ์มาตั้งแต่ต้น แต่การตั้งประเด็นตรวจสอบการเสนอข่าวของสื่อ มีข้อน่าสงสัยในวิธีการและเจตนาหลายประการ โดยเฉพาะการสรุปว่า สื่อในเครือมติชน ได้แก่ ข่าวสด มติชน เสนอข่าวเอนเอียงเข้าข้างพรรคเพื่อไทย
คำสัมภาษณ์นี้ยืนยันได้ว่า มติชนรับผลการสอบสวนครึ่งหนึ่งที่เป็นบวกกับตัวเอง แต่ไม่รับการสอบสวนครึ่งหนึ่งที่เป็นลบกับตัวเอง
การโต้แย้งว่า อนุกรรมการไม่ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องไปชี้แจงก็ตลกมาก เพราะอนุกรรมการบอกว่าได้ทำหนังสือเชิญไปถึง 2 ครั้ง แต่เครือมติชนได้ทำหนังสือตอบกลับมาว่า “เป็นหน้าที่โดยตรงของสื่อแต่ละฉบับที่ถูกพาดพิงที่จะบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเอง”
ตอนแรกผมก็งงว่า ทำไมมติชนยังกล่าวหาว่า อนุกรรมการไม่เชิญไปชี้แจงอีก พอไปอ่านบทความของคุณนฤตย์ เสกธีระ บรรณาธิการของมติชน ก็พบข้ออ้างว่า "คณะอนุกรรมการฯได้ทำหนังสือขอให้ "บุคคล" ไปชี้แจง ไม่เคยทำหนังสือให้ "หนังสือพิมพ์" ไปชี้แจงข้อกล่าวหาที่ว่า "หนังสือพิมพ์เอนเอียง" แต่อย่างใด"
คือไปเบี่ยงว่า อนุกรรมการเชิญ"บุคคล"ที่ถูกกล่าวหาไป ไม่เชิญ"หนังสือพิมพ์" แต่คงลืมไปว่า คนที่ตอบว่าไม่ไปชี้แจงก็คือ "หนังสือพิมพ์"นั่นแหละ
การกล่าวหาว่า อนุกรรมการชุดนี้สอบสวนนอกเหนือไปจากขอบเขตที่ได้รับมอบหมาย ผมคิดว่านี่เป็นประเด็นที่ตลกที่สุด เพราะการตรวจสอบที่เป็นธรรมนั้น เราต้องศึกษาหาหลักฐานจากพยานแวดล้อม ภูมิหลัง จึงจะสามารถนำมาสู่บทสรุปได้
หลักการนี้ไม่ใช่ผมคิดขึ้นเอง แต่มาจากบทความในหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 22 ส.ค. หน้า 3 ที่ออกมาขุดคุ้ยว่า น.พ.วิชัย โชควิวัฒน์ มีอคติกับตัวเองและฝักใฝ่พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมติชนอ้างว่า
"หากไม่ "แหย่ง" ลงไปอย่างลึกซึ้งถึงรากฐานอันเป็น "ภูมิหลัง" ก็ยากเป็นอย่างยิ่งที่จะทำความเข้าใจใน "บทสรุป" อันปรากฏต่อสาธารณะ"
ดังนั้นเมื่อใช้ตรรกะเดียวกันนี้วิธีการสอบสวนของอนุชุดหมอวิชัยที่สอบไปถึง "ภูมิหลัง"การนำเสนอข่าวของแต่ละค่ายที่ถูกกล่าวหาก็ถูกต้องแล้วซิครับ
เอาเถอะครับ เรื่องนี้ถึงจะมีคนผิดหรือไม่มีคนผิด สุดท้ายก็เอาผิดใครไม่ได้ นอกจากมาตรการทางสังคมซึ่งก่อตัวขึ้นแล้ว
ทั้งยังมีสื่อเสื้อแดงต่างค่าย นักวิชาการเสื้อแดงออกโรงมารุมอัดสภาการหนังสือพิมพ์และอนุกรรมการชนิดเลอะเป็นโจ๊ก แต่ผมไม่ให้น้ำหนักของพวกที่ออกมาให้ท้ายเครือมติชน เพราะสังคมตอนนี้เป็นสังคมลูกตุ้มที่เหวี่ยงไปมาระหว่างซ้ายกับขวาพวกใครพวกมันไม่มีค่ามาตรฐานกลาง
แต่ที่น่าประหลาดก็คือว่า สมาชิกของสภาการหนังสือพิมพ์ที่ร่วมกันแถลงเจตนารมย์ว่าจะตั้งองค์กรกลางขึ้นมาเพื่อควบคุมตรวจสอบกันเองต่างพากันนิ่งเฉย หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ไม่นำเสนอข่าวนี้ ไม่มีใครออกมาปกป้ององค์กรวิชาชีพที่ร่วมกันก่อตั้งขึ้นมา พูดกันง่ายๆตรงๆว่า สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติแทบจะกลายเป็นหมาหัวเน่าในเวลานี้
พูดไปก็น่าขัน ผมคิดว่า สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติเองนั่นแหละที่ได้ลิ้มรสบทบาทของสื่อและอิทธิพลของสื่ออย่างชัดเจนที่สุด
ก่อนหน้านี้ผมเคยแสดงความเห็นไว้แล้วว่า ต้องยอมรับว่าในเงื่อนไขที่จำกัดนั้น คณะอนุกรรมการที่สภาการหนังสือพิมพ์ตั้งขึ้นมาสอบสวนทำงานได้ดีพอสมควร แม้ว่า ผลจะออกมาว่า เนื้อหาในอีเมลน่าจะจริง แต่ไม่มีคนผิด แต่ขณะเดียวกันมันก็สะท้อนถึงความล้มเหลวรูปแบบการก่อตั้งสภาการหนังสือพิมพ์ที่ไม่มีกฎหมายรองรับ
เพราะสุดท้ายแล้วสภาการหนังสือพิมพ์ไม่ได้มีสภาพแตกต่างไปจากสมาคมและองค์กรสื่อต่างๆที่มีอยู่แล้วมากมายก่ายกอง
แต่อย่าลืมว่า สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้นสภาการไม่เพียงแต่เป็นองค์กรที่รับผิดชอบเฉพาะคนในวิชาชีพ แต่ต้องร่วมรับผิดชอบต่อประเทศชาติ และสังคมด้วย
คำถามก็คือว่า ทำไมเราไม่ยอมรับการตรวจสอบจากสังคม ทำไมเราจึงคิดว่าวิชาชีพนี้สามารถปกครองและตรวจสอบกันได้ด้วยหลักจริยธรรม โดยไม่ต้องมีกฎกติการองรับนอกเหนือจากหลักจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ และทำไมเราจึงคิดว่าคนในวิชาชีพถึงวิเศษวิโสกว่าคนอาชีพอื่น
ผมจึงเสนอมายังสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติอีกครั้งว่า ถ้าเราคำนึงถึงการพัฒนาวิชาชีพ รับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ ทบทวนบทบาทและรูปแบบของสภาการหนังสือพิมพ์เถอะครับ หรือไม่เช่นนั้นก็ยุบทิ้งไปเสีย
สำหรับมติชนนั้นผมคิดว่า การออกมาปกป้องตัวเองเป็นธรรมชาติของมนุษย์ เป็นสิทธิอันชอบธรรม แต่การแสดงออกของมติชนอีกด้านหนึ่งนั้นมันก็สะท้อนบทบาทอำนาจและอิทธิพลของสื่อไปในตัวด้วย
เท่าที่ผมพยายามรับฟังการโต้แย้งของมติชนมีประเด็นสำคัญอยู่เพียง 2-3 ประเด็น ประเด็นแรกคือ กล่าวหาว่า คณะอนุกรรมการดำเนินการสอบสวนนอกเหนือไปจากขอบเขตที่ได้รับมอบหมาย โดยกล่าวหาว่าเพิ่มประเด็น "หนังสือพิมพ์ที่ถูกพาดพิงแต่ละฉบับมีการนำเสนอข่าวอย่างไร ในช่วงเวลาการหาเสียงเลือกตั้ง" ขึ้นมา และไม่เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจง ประเด็นที่สอง คือ ไม่เห็นด้วยกับวิธีการใช้มอนิเตอร์มีเดียมาตัดสินความเอนเอียงหรือเที่ยงตรงของข่าว และประเด็นที่กล่าวหาว่า คณะอนุกรรมการบางคนมีอคติต่อเครือมติชน
นอกเหนือจากนั้นเป็นประเด็นเบี้ยไบ้รายทางเช่นว่า ไม่มีคนของข่าวสดที่ถูกกล่าวหา คณะอนุกรรมการไม่เข้าใจหลักการของการทำหนังสือพิมพ์ คณะอนุกรรมการเลือกใช้ข้อมูลเฉพาะส่วนที่สนับสนุนความคิดของตนเองเท่านั้นเป็นเครื่องตัดสิน ซึ่งผมคิดว่าเป็นเพียงข้อโต้แย้งในการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเองไม่ได้มีน้ำหนักอะไรเพราะคณะอนุกรรมการได้อธิบายการนำสืบให้เห็นกระจ่างอยู่แล้ว
อาจจะมีข้อผิดพลาดของอนุกรรมการที่ไปเปิดเผยนามปากกา ซึ่งขัดกับข้อบังคับด้านจริยธรรมของสภาการหนังสือพิมพ์ หมวด 2 จริยธรรมของหนังสือพิมพ์ข้อ 14 ระบุว่า "หนังสือพิมพ์ต้องปกปิดชื่อและฐานะของบุคคลที่ให้ข่าวไว้เป็นความลับ หากได้ให้คำมั่นแก่แหล่งข่าวนั้นไว้ หนังสือพิมพ์ต้องปกปิดนามปากกาหรือนามแฝงที่ปรากฎในหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น เป็นความลับ"
แต่ผมคิดว่า ถ้าเรื่องนี้เป็นความผิดเพราะเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ ก็เป็นความผิดเฉพาะตัวของอนุกรรมการ แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือไปลดทอนน้ำหนักข้อกล่าวหาที่อนุกรรมการได้รับมอบหมายให้สอบสวน
เหมือนตำรวจสอบสวนผู้ต้องหาที่ข่มขืนเด็ก แต่ตำรวจเผลอไปเปิดเผยชื่อของเด็กที่กฎหมายห้าม ก็ไม่ได้ทำให้ความผิดของผู้ต้องหาคดีข่มขืนหายไป แต่ตำรวจก็ต้องรับผิดชอบต่อการละเมิดกฎหมายข้อนี้ไป
ถ้าเรามาไล่เรียงข้อข้องใจของเครือมติชนในแต่ละประเด็น เราจะพบว่า มติชนไม่ได้ปฏิเสธผลการสอบสวนทั้งหมดของอนุกรรมการ ดังคำให้สัมภาษณ์ของนายปิยะชาติ มงคลไชยสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการมติชน ผลการสอบระบุว่า บุคคลที่ถูกพาดพิงในอีเมล์ ไม่ได้กระทำผิด ข้อหารับสินบนตามอีเมล์นั้นตกไป เป็นเรื่องเข้าใจได้ และมติชนได้ยืนยันความบริสุทธิ์มาตั้งแต่ต้น แต่การตั้งประเด็นตรวจสอบการเสนอข่าวของสื่อ มีข้อน่าสงสัยในวิธีการและเจตนาหลายประการ โดยเฉพาะการสรุปว่า สื่อในเครือมติชน ได้แก่ ข่าวสด มติชน เสนอข่าวเอนเอียงเข้าข้างพรรคเพื่อไทย
คำสัมภาษณ์นี้ยืนยันได้ว่า มติชนรับผลการสอบสวนครึ่งหนึ่งที่เป็นบวกกับตัวเอง แต่ไม่รับการสอบสวนครึ่งหนึ่งที่เป็นลบกับตัวเอง
การโต้แย้งว่า อนุกรรมการไม่ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องไปชี้แจงก็ตลกมาก เพราะอนุกรรมการบอกว่าได้ทำหนังสือเชิญไปถึง 2 ครั้ง แต่เครือมติชนได้ทำหนังสือตอบกลับมาว่า “เป็นหน้าที่โดยตรงของสื่อแต่ละฉบับที่ถูกพาดพิงที่จะบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นเอง”
ตอนแรกผมก็งงว่า ทำไมมติชนยังกล่าวหาว่า อนุกรรมการไม่เชิญไปชี้แจงอีก พอไปอ่านบทความของคุณนฤตย์ เสกธีระ บรรณาธิการของมติชน ก็พบข้ออ้างว่า "คณะอนุกรรมการฯได้ทำหนังสือขอให้ "บุคคล" ไปชี้แจง ไม่เคยทำหนังสือให้ "หนังสือพิมพ์" ไปชี้แจงข้อกล่าวหาที่ว่า "หนังสือพิมพ์เอนเอียง" แต่อย่างใด"
คือไปเบี่ยงว่า อนุกรรมการเชิญ"บุคคล"ที่ถูกกล่าวหาไป ไม่เชิญ"หนังสือพิมพ์" แต่คงลืมไปว่า คนที่ตอบว่าไม่ไปชี้แจงก็คือ "หนังสือพิมพ์"นั่นแหละ
การกล่าวหาว่า อนุกรรมการชุดนี้สอบสวนนอกเหนือไปจากขอบเขตที่ได้รับมอบหมาย ผมคิดว่านี่เป็นประเด็นที่ตลกที่สุด เพราะการตรวจสอบที่เป็นธรรมนั้น เราต้องศึกษาหาหลักฐานจากพยานแวดล้อม ภูมิหลัง จึงจะสามารถนำมาสู่บทสรุปได้
หลักการนี้ไม่ใช่ผมคิดขึ้นเอง แต่มาจากบทความในหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 22 ส.ค. หน้า 3 ที่ออกมาขุดคุ้ยว่า น.พ.วิชัย โชควิวัฒน์ มีอคติกับตัวเองและฝักใฝ่พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมติชนอ้างว่า
"หากไม่ "แหย่ง" ลงไปอย่างลึกซึ้งถึงรากฐานอันเป็น "ภูมิหลัง" ก็ยากเป็นอย่างยิ่งที่จะทำความเข้าใจใน "บทสรุป" อันปรากฏต่อสาธารณะ"
ดังนั้นเมื่อใช้ตรรกะเดียวกันนี้วิธีการสอบสวนของอนุชุดหมอวิชัยที่สอบไปถึง "ภูมิหลัง"การนำเสนอข่าวของแต่ละค่ายที่ถูกกล่าวหาก็ถูกต้องแล้วซิครับ
เอาเถอะครับ เรื่องนี้ถึงจะมีคนผิดหรือไม่มีคนผิด สุดท้ายก็เอาผิดใครไม่ได้ นอกจากมาตรการทางสังคมซึ่งก่อตัวขึ้นแล้ว