วานนี้ ( 18 ส.ค. ) สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต ได้เผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,174 คน ระหว่างวันที่ 13-17 ส.ค.ในหัวข้อ "ศาลรัฐธรรมนูญในสายตาประชาชน" โดยเป็นการสอบถามความคิดเห็น เนื่องในโอกาสที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจัดโครงการสัมมนาระหว่างศาลรัฐธรรมนูญ และสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 18 ส.ค. ที่ รร.เดอะ กรีนเนอรี่ รีสอร์ท เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา
ทั้งนี้ ผลสำรวจมีคำถามเกี่ยวกับการรับรู้ของประชาชนต่อบทบาทหน้าที่ของศาล รัฐธรรมนูญ ซึ่งมีร้อยละ 62.44 ระบุว่า รู้ คือเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินคดีเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 37.56 ระบุว่า ไม่รู้ เพราะยังขาดความรู้ความเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง
เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อศาลรัฐธรรมนูญ ณ วันนี้ ปรากฏว่า ร้อยละ 37.62 ไม่ค่อยเชื่อมั่น เพราะการตัดสินคดีที่ผ่านมา มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย บางคดีมองว่าเป็นการตัดสินแบบ 2 มาตรฐาน อาจได้รับความกดดันจากสังคม ร้อยละ 25.53 ค่อนข้างเชื่อมั่น เพราะเชื่อมั่นในกระบวนการตัดสิน การพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ การตัดสินคดีความในแต่ละครั้งล้วนเป็นเรื่องที่สังคมต่างให้ความสนใจ ศาลรัฐธรรมนูญ ต้องยึดมั่นในความยุติธรรม ส่วนร้อยละ 19.31 ไม่เชื่อมั่น เพราะการพิจารณาคดีในแต่ละเรื่อง จะต้องใช้เวลานาน หากมีคดีเข้ามาพร้อมกันหลายเรื่อง อาจพิจารณาไม่ทัน อีกทั้งยังมีการถูกแทรกแซงทางการเมือง
ขณะที่ ร้อยละ 17.54 เชื่อมั่นมาก เพราะศาลมีหน้าที่รักษากฎหมายสูงสุดของประเทศ ทั้งประธานและตุลาการล้วนเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์มานาน ยึดมั่นในคำสัตย์ ปฎิญาณที่ให้ไว้
เมื่อถามถึงผลงานของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา เรื่องใดที่ทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น ร้อยละ 42.86 เห็นว่า คดีทุจริตในหน่วยงานภาครัฐ ร้อยละ 32.14 เห็นว่าการยื่นบัญชีตรวจสอบทรัพย์สินของข้าราชการ ร้อยละ 25 เห็นว่าการสิ้นสมาชิกภาพทางการเมืองของนักการเมือง ส่วนผลงานของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา เรื่องใดทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นลด ลง ร้อยละ 47.82 เห็นว่า การตัดสินเกี่ยวกับการชุมนุมประท้วงของกลุ่มต่างๆ ร้อยละ 43.47 เห็นว่าเป็นการตัดสินคดียุบพรรคการเมือง ร้อยละ 8.71 เห็นว่าการตัดสินคดีซุกหุ้นชินวัตร
เมื่อถามถึงศาลรัฐธรรมนูญ จะสามารถแก้ปัญหาของบ้านได้อย่างไร โดย ร้อยละ 30.63 เห็นว่าการพิจารณาตัดสินคดีความต่างๆ จะต้องยึดหลักความถูกต้อง ยุติธรรม โปร่งใส ตรงไปตรงมา ร้อยละ 21.17 เห็นว่า มีอิสระในการดำเนินการงานไม่ถูกแทรกแซงจากการเมืองหรือผู้มีอิทธิพล ร้อยละ 17.65 เห็นว่าการสร้างความรู้ ความเข้าใจในสิทธิเสรีภาพของประชาชน และร้อยละ 15.12 เห็นว่าศาลจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจึงจะสามารถแก้ไขปัญหาบ้าน เมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ ผลสำรวจมีคำถามเกี่ยวกับการรับรู้ของประชาชนต่อบทบาทหน้าที่ของศาล รัฐธรรมนูญ ซึ่งมีร้อยละ 62.44 ระบุว่า รู้ คือเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินคดีเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 37.56 ระบุว่า ไม่รู้ เพราะยังขาดความรู้ความเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง
เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อศาลรัฐธรรมนูญ ณ วันนี้ ปรากฏว่า ร้อยละ 37.62 ไม่ค่อยเชื่อมั่น เพราะการตัดสินคดีที่ผ่านมา มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย บางคดีมองว่าเป็นการตัดสินแบบ 2 มาตรฐาน อาจได้รับความกดดันจากสังคม ร้อยละ 25.53 ค่อนข้างเชื่อมั่น เพราะเชื่อมั่นในกระบวนการตัดสิน การพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ การตัดสินคดีความในแต่ละครั้งล้วนเป็นเรื่องที่สังคมต่างให้ความสนใจ ศาลรัฐธรรมนูญ ต้องยึดมั่นในความยุติธรรม ส่วนร้อยละ 19.31 ไม่เชื่อมั่น เพราะการพิจารณาคดีในแต่ละเรื่อง จะต้องใช้เวลานาน หากมีคดีเข้ามาพร้อมกันหลายเรื่อง อาจพิจารณาไม่ทัน อีกทั้งยังมีการถูกแทรกแซงทางการเมือง
ขณะที่ ร้อยละ 17.54 เชื่อมั่นมาก เพราะศาลมีหน้าที่รักษากฎหมายสูงสุดของประเทศ ทั้งประธานและตุลาการล้วนเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์มานาน ยึดมั่นในคำสัตย์ ปฎิญาณที่ให้ไว้
เมื่อถามถึงผลงานของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา เรื่องใดที่ทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น ร้อยละ 42.86 เห็นว่า คดีทุจริตในหน่วยงานภาครัฐ ร้อยละ 32.14 เห็นว่าการยื่นบัญชีตรวจสอบทรัพย์สินของข้าราชการ ร้อยละ 25 เห็นว่าการสิ้นสมาชิกภาพทางการเมืองของนักการเมือง ส่วนผลงานของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา เรื่องใดทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นลด ลง ร้อยละ 47.82 เห็นว่า การตัดสินเกี่ยวกับการชุมนุมประท้วงของกลุ่มต่างๆ ร้อยละ 43.47 เห็นว่าเป็นการตัดสินคดียุบพรรคการเมือง ร้อยละ 8.71 เห็นว่าการตัดสินคดีซุกหุ้นชินวัตร
เมื่อถามถึงศาลรัฐธรรมนูญ จะสามารถแก้ปัญหาของบ้านได้อย่างไร โดย ร้อยละ 30.63 เห็นว่าการพิจารณาตัดสินคดีความต่างๆ จะต้องยึดหลักความถูกต้อง ยุติธรรม โปร่งใส ตรงไปตรงมา ร้อยละ 21.17 เห็นว่า มีอิสระในการดำเนินการงานไม่ถูกแทรกแซงจากการเมืองหรือผู้มีอิทธิพล ร้อยละ 17.65 เห็นว่าการสร้างความรู้ ความเข้าใจในสิทธิเสรีภาพของประชาชน และร้อยละ 15.12 เห็นว่าศาลจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจึงจะสามารถแก้ไขปัญหาบ้าน เมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ