วานนี้(17 ส.ค.54) มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม โดยที่ประชุมได้มีการพิจารณากำหนดวันและเวลาการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีตัวแทนจากพรรคการเมืองเสนอ 3 ญัตติให้ที่ประชุมลงมติโหวตเลือกว่าจะให้ที่ประชุมสภาฯเริ่มและปิดในเวลาใด
โดยนายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย เสนอว่าจากเดิมตนเสนอญัตติให้มีการประชุมในวันพุธ โดยเริ่มประชุมในเวลา 13.30 น.ไม่มีกำหนดเวลาปิดประชุม และวันพฤหัสเริ่มเวลา10.00 น.ส่วนเวลาปิดประชุมก็เป็นดุลพินิจของประธาน ทั้งนี้ ตนขอถอนญัตติประชุมวันพุธเวลา 13.30 น.ส่วนวันพฤหัสฯยังเป็นญัตติเดิมคือเริ่มประชุมเวลา 10.00 น.โดยไม่กำหนดเวลาเลิกประชุม
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย เสนอญัตติวันพุธให้เปิดประชุมสภาฯเวลา13.00-21.00 น.และวันพฤหัสบดี เวลา10.00-18.00 น.ส่วนนพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ เสนอญัตติวันพุธให้เปิดประชุมสภาฯเวลา09.00-17.00น.และวันพฤหัสบดี เวลา09.00-17.00 น. ขณะที่นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา ตัวแทนจากพรรคภูมิใจไทย เสนอญัตติวันพุธให้เปิดประชุมสภาฯเวลา 09.00 -19.00 น.และวันพฤหัสบดีเวลา 09.00 -17.00น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าตัวแทนที่เสนอญัตติต่างก็อภิปรายถึงข้อดีข้อเสียของการการเปิดปิดสภาฯในช่วงที่ตัวเองเสนอ ซึ่งบางช่วงได้มีการตอบโต้ เพราะต่างฝ่ายก็ต่างยืนยันว่าเวลาที่ตัวเองเสนอนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
อย่างไรก็ตามซึ่งหลังจากถกเถียงกันนานกว่า 1ชั่วโมง นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครักประเทศไทยได้ขอเสนอปิดอภิปราย จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติเห็นด้วยกับญัตติของนพ.ชลน่าน คือ วันพุธให้เปิดประชุมสภาฯเวลา 13.00-21.00น. และวันพฤหัสบดี เวลา 10.00-18.00 น.ด้วยคะแนน273 ต่อ155งดออกเสียง 26
ขณะที่สมัยประชุมสภาฯนั้นที่ประชุมเห็นชอบให้สมัยสามัญนิติบัญญัติเริ่มต้นวันที่ 21 ธ.ค.- 18 เม.ย.ส่วนสมัยสามัญทั่วไปเริ่มต้นวันที่1 ส.ค.-28 พ.ย. โดยไม่มีใครคัดค้าน ที่ประชุมจึงสรุปให้ใช้ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นสมัยประชุมนิติบัญญัติ จากนั้นประธานในที่ประชุมได้สั่งปิดการประชุมไปเวลา 11.45 น. ทันที
** วิปฝ่ายค้านเหน็บพท.กลัวซักฟอก
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานคณะกรรมการประสานงาน (วิป) พรรคร่วมฝ่ายค้าน กล่าวว่า ทางพรรคประชาธิปัตย์ยืนยันที่จะให้มีการประชุมตั้งแต่ช่วงเช้าเหมือนที่เคยปฏิบัติมา ส่วนจะตกลงกันได้หรือไม่นั้นก็อยู่ที่ที่ประชุมว่า จะดำเนินการอย่างไร
ทั้งนี้แม้ฝ่ายค้านจะเสียเปรียบ เพราะรัฐบาลมีเสียงข้างมาก แต่รัฐบาลก็ควรที่จะพิจารณาถึงความเหมาะสมว่าอะไรเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์สูงสุด เพราะถ้าประชุมเหมือนที่เคยปฎิบัติ ก็จะช่วยให้งานในสภาฯเดินหน้าไปได้ เพราะเชื่อว่าจะมีกฎหมายหลายฉบับที่จะเข้าสู่สภาฯ และสภาฯก็จะทำเรื่องที่มีประโยชน์ต่อประชาชน นอกจากนี้ตนยังเป็นห่วงเรื่องอยู่ในห้องประชุมแล้วไม่ยอมกดบัตรเหมือนที่เคยเกิดขึ้นมาในอดีต
เมื่อถามถึงท่าทีของพรรคเพื่อไทย ที่พยายามบีบให้การประชุมมีเวลาน้อยลง นายจุรินทร์ กล่าวว่า คิดว่ามันสะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลกลัวการประชุมสภาฯ ทั้งที่เมื่อสภาฯเป็นเวทีควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินแล้ว หากรัฐบาลถ้าไม่คิดที่จะไปทำอะไรที่ไม่ถูกต้องก็ไม่จำเป็นต้องไปกลัว
**แบ่งเค้กหัวโต๊ะ กมธ.ถ้วนหน้า
วันเดียวกัน ที่รัฐสภา มีการประชุมหารือถึงหลักการการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญของสภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 เป็นประธานในที่ประชุม พร้อมด้วยตัวแทนพรรคการเมืองต่างๆเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง โดยที่ประชุมได้สรุปสัดส่วนตำแหน่งประธาน กมธ.ทั้ง 35 คณะของแต่ละพรรคการเมือง ดังนี้ พรรคเพื่อไทยได้รับสัดส่วนประธาน กมธ. 19 คณะ พรรคประชาธิปัตย์ 11 คณะ พรรคภูมิใจไทย 2 คณะ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน และพรรคพลังชล พรรคละ 1 คณะ ขณะที่พรรคอื่นจำนวน ส.ส.ไม่ถึงเกณฑ์ได้รับตำแหน่ง ทั้งนี้ในระหว่างการประชุมได้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง
ทั้งนี้ก่อนหน้านี้พรรคการเมืองขนาดเล็กได้แก่ พรรครักประเทศไทยที่มี ส.ส. 4 คน พรรคมาตุภูมิที่มี ส.ส. 2 คน และพรรครักษ์สันติที่มี ส.ส. 1 คน ได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มการเมืองเพื่อต่อรองตำแหน่งประธาน กมธ. 1 คณะ โดยอ้างว่าในกลุ่มมี ส.ส. 7 คนเท่ากับพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน และพรรคพลังชลที่ได้ตำแหน่งประธาน กมธ. 1 คณะเช่นกัน แต่ฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาลได้ให้พรรคมหาชนแจ้งความประสงค์เข้ารวมกับพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน และพรรคประชาธิปไตยใหม่เข้ารวมกลุ่มกับพรรคพลังชล ทำให้ทั้ง 2 พรรคมีจำนวน ส.ส.เพิ่มขึ้นเป็น 8 คน ส่งผลให้กลุ่มของพรรคร่วมฝ่ายค้านมีจำนวน ส.ส.ไม่ถึงเกณฑ์ที่จะได้รับตำแหน่งประธาน กมธ. 1 คณะ ข้อเสนอดังกล่าวจึงตกไป
ต่อมาที่ประชุมได้พิจารณาถึงวิธีการเลือกประธาน กมธ.ของแต่ละพรรค ซึ่งที่ประชุมไม่สามารถหาข้อสรุปในเรื่องการกำหนดวิธีการเลือกประธาน กมธ.ได้ เนื่องจากพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์มีความเห็นที่ไม่ตรงกัน ทำให้บรรยากาศในห้องประชุมเป็นไปอย่างตรึงเครียด โดยตัวแทนฝ่ายพรรคเพื่อไทย ที่นำโดยนายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม และนายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กทม.ได้เสนอให้แต่ละพรรคผลัดกันเลือกประธาน กมธ. ตามสัดส่วนของ ส.ส.โดยให้พรรคที่มี ส.ส.มากที่สุดเป็นผู้เลือกก่อนเป็นรอบๆ
ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ นำโดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะประธาน (วิป) พรรคร่วมฝ่ายค้าน ได้แสดงความไม่พอใจต่อแนวทางดังกล่าว โดยระบุว่า สภาฯควรมีหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร เป็นกลไกตรวจสอบไม่ใช่กลไกปกป้อง เหตุใดพรรคเพื่อไทยจึงเสนอวิธีการแบบนี้ ที่เป็นการขัดขวางการตรวจสอบรัฐบาล จึงอยากขอให้พรรคร่วมรัฐบาลพิจารณาเจตนารมณ์ตรงนี้ด้วย จากนั้นนายจุรินทร์ได้เสนอแนวทางให้แต่ละพรรคการเมืองแสดงความจำนงค์ต่อที่ประชุมว่าต้องการตำแหน่งประธาน กมธ.คณะใด หากเสนอไม่ตรงกันก็ให้พรรคการเมืองนั้นได้รับตำแหน่งทันที แต่ถ้ามีความประสงค์ต้องการตำแหน่งประธาน กมธ.เดียวกัน เบื้องต้นให้มีการเจรจากันก่อน หากไม่สามารถตกลงกันได้ก็ให้ชี้ขาดด้วยการจับฉลาก
ภายหลังจากที่ได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางนานกว่า 2 ชั่วโมง ทำให้ นายเจริญสรุปต่อที่ประชุมว่า เบื้องต้นจะมีการเลือกประธาน กมธ.เป็น 3 รอบตามสัดส่วนของ ส.ส.แต่ละพรรคจนครบทั้ง 35 คณะ ส่วนวิธีการเลือกจะเป็นรูปแบบการเสนอพร้อมกันของแต่ละพรรคตามข้อเสนอของนายจุรินทร์ แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่องจำนวนการเสนอในแต่ละรอบของพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทยที่ยังเห็นไม่ตรงกัน จึงขอให้ทั้ง 2 ฝ่ายนำหลักการดังกล่าวหารือเป็นการภายในพรรค และให้นำข้อสรุปของพรรคมาเสนอต่อที่ประชุมอีกครั้ง ในวันที่ 31 ส.ค. เวลา 13.00 น.
**อภิวันท์ ปัดประธาน ส.ส.ปธ.วิปรัฐ
พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า พรรคเพื่อไทยจะมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งประธานส.ส.พรรคเพื่อไทย ว่า หากพรรคมอบหมายให้ตนเป็นประธานส.ส.ก็ยินดีรับทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุม แต่ไม่จำเป็นต้องตั้งตนเป็นประธานส.ส.พรรค เพราะเป็นส.ส.ธรรมดาก็สามารถทำงานได้ ทั้งนี้ สำหรับตำแหน่งประธานวิปรัฐบาลนั้น คาดว่าน่าจะมีความชัดเจนภายในสัปดาห์นี้
ส่วนกรณีที่มีการคาดการณ์ว่านายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร หรือนายไพจิตร ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย อาจจะดำรงตำแหน่งประธานวิปรัฐบาลนั้น พ.อ.อภิวันท์ กล่าวว่า ที่มีการเสนอชื่อมานั้นก็เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ เชื่อว่าสามารถทำหน้าที่ประธานวิปรัฐบาลได้ทั้งนั้น แต่ก็คงจะต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกพรรคได้ลงมติกันในที่ประชุมส.ส.พรรคด้วย อย่างไรก็ตาม บังเอิญว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เมตตาตน จะให้ดำรงตำแหน่งประธานวิปรัฐบาล แต่ตนได้ตอบกลับไปแล้วว่าไม่เป็นไร ตนพร้อมที่จะทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมให้โดยไม่ต้องให้ตำแหน่งใดๆ ทั้งสิ้น
** เผยมีรมต.สมัครใจออกจากส.ส.แล้ว
พ.อ.อภิวันท์ กล่าวถึงกรณีที่รัฐมนตรีพรรคเพื่อไทยจะต้องลาออกจากการเป็นส.ส.เพื่อเปิดทางให้ผู้สมัครส.ส.บัญชีรายชื่อในลำดับถัดไปได้เลื่อนขึ้นมาเป็นส.ส.แทนว่า รัฐมนตรีบางคนอาจมีความจำเป็นที่จะต้องดำรงตำแหน่งส.ส.ไว้ เนื่องจากคนเหล่านี้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ เช่น นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย และร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ที่เก่งงานด้านสภาด้วย แต่ก็คงไม่ใช่ทุกคน ทั้งนี้ พรรคคงต้องหารือกันว่าใครบ้างที่ไม่ต้องลาออกจากตำแหน่งส.ส. อย่างไรก็ตาม ทราบว่ามีหลายคนที่สมัครใจจะลาออกด้วย แต่บางคนก็ไม่อยากจะลาออกเหมือนกัน ดังนั้นคงต้องรอมติพรรคอย่างเป็นทางการก่อน ซึ่งขณะนี้ก็มีการคุยกันกว้างๆ ว่า หากมีรัฐมนตรีลาออกจากส.ส.แล้วจะทำให้ปริมาณส.ส.ของพรรคเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ คาดว่าส.ส.บัญชีรายชื่ออาจจะเลื่อนไปถึงลำดับที่ 70
โดยนายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย เสนอว่าจากเดิมตนเสนอญัตติให้มีการประชุมในวันพุธ โดยเริ่มประชุมในเวลา 13.30 น.ไม่มีกำหนดเวลาปิดประชุม และวันพฤหัสเริ่มเวลา10.00 น.ส่วนเวลาปิดประชุมก็เป็นดุลพินิจของประธาน ทั้งนี้ ตนขอถอนญัตติประชุมวันพุธเวลา 13.30 น.ส่วนวันพฤหัสฯยังเป็นญัตติเดิมคือเริ่มประชุมเวลา 10.00 น.โดยไม่กำหนดเวลาเลิกประชุม
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย เสนอญัตติวันพุธให้เปิดประชุมสภาฯเวลา13.00-21.00 น.และวันพฤหัสบดี เวลา10.00-18.00 น.ส่วนนพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ เสนอญัตติวันพุธให้เปิดประชุมสภาฯเวลา09.00-17.00น.และวันพฤหัสบดี เวลา09.00-17.00 น. ขณะที่นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา ตัวแทนจากพรรคภูมิใจไทย เสนอญัตติวันพุธให้เปิดประชุมสภาฯเวลา 09.00 -19.00 น.และวันพฤหัสบดีเวลา 09.00 -17.00น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าตัวแทนที่เสนอญัตติต่างก็อภิปรายถึงข้อดีข้อเสียของการการเปิดปิดสภาฯในช่วงที่ตัวเองเสนอ ซึ่งบางช่วงได้มีการตอบโต้ เพราะต่างฝ่ายก็ต่างยืนยันว่าเวลาที่ตัวเองเสนอนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
อย่างไรก็ตามซึ่งหลังจากถกเถียงกันนานกว่า 1ชั่วโมง นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครักประเทศไทยได้ขอเสนอปิดอภิปราย จากนั้นที่ประชุมได้ลงมติเห็นด้วยกับญัตติของนพ.ชลน่าน คือ วันพุธให้เปิดประชุมสภาฯเวลา 13.00-21.00น. และวันพฤหัสบดี เวลา 10.00-18.00 น.ด้วยคะแนน273 ต่อ155งดออกเสียง 26
ขณะที่สมัยประชุมสภาฯนั้นที่ประชุมเห็นชอบให้สมัยสามัญนิติบัญญัติเริ่มต้นวันที่ 21 ธ.ค.- 18 เม.ย.ส่วนสมัยสามัญทั่วไปเริ่มต้นวันที่1 ส.ค.-28 พ.ย. โดยไม่มีใครคัดค้าน ที่ประชุมจึงสรุปให้ใช้ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นสมัยประชุมนิติบัญญัติ จากนั้นประธานในที่ประชุมได้สั่งปิดการประชุมไปเวลา 11.45 น. ทันที
** วิปฝ่ายค้านเหน็บพท.กลัวซักฟอก
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานคณะกรรมการประสานงาน (วิป) พรรคร่วมฝ่ายค้าน กล่าวว่า ทางพรรคประชาธิปัตย์ยืนยันที่จะให้มีการประชุมตั้งแต่ช่วงเช้าเหมือนที่เคยปฏิบัติมา ส่วนจะตกลงกันได้หรือไม่นั้นก็อยู่ที่ที่ประชุมว่า จะดำเนินการอย่างไร
ทั้งนี้แม้ฝ่ายค้านจะเสียเปรียบ เพราะรัฐบาลมีเสียงข้างมาก แต่รัฐบาลก็ควรที่จะพิจารณาถึงความเหมาะสมว่าอะไรเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์สูงสุด เพราะถ้าประชุมเหมือนที่เคยปฎิบัติ ก็จะช่วยให้งานในสภาฯเดินหน้าไปได้ เพราะเชื่อว่าจะมีกฎหมายหลายฉบับที่จะเข้าสู่สภาฯ และสภาฯก็จะทำเรื่องที่มีประโยชน์ต่อประชาชน นอกจากนี้ตนยังเป็นห่วงเรื่องอยู่ในห้องประชุมแล้วไม่ยอมกดบัตรเหมือนที่เคยเกิดขึ้นมาในอดีต
เมื่อถามถึงท่าทีของพรรคเพื่อไทย ที่พยายามบีบให้การประชุมมีเวลาน้อยลง นายจุรินทร์ กล่าวว่า คิดว่ามันสะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลกลัวการประชุมสภาฯ ทั้งที่เมื่อสภาฯเป็นเวทีควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินแล้ว หากรัฐบาลถ้าไม่คิดที่จะไปทำอะไรที่ไม่ถูกต้องก็ไม่จำเป็นต้องไปกลัว
**แบ่งเค้กหัวโต๊ะ กมธ.ถ้วนหน้า
วันเดียวกัน ที่รัฐสภา มีการประชุมหารือถึงหลักการการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญของสภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 เป็นประธานในที่ประชุม พร้อมด้วยตัวแทนพรรคการเมืองต่างๆเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง โดยที่ประชุมได้สรุปสัดส่วนตำแหน่งประธาน กมธ.ทั้ง 35 คณะของแต่ละพรรคการเมือง ดังนี้ พรรคเพื่อไทยได้รับสัดส่วนประธาน กมธ. 19 คณะ พรรคประชาธิปัตย์ 11 คณะ พรรคภูมิใจไทย 2 คณะ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน และพรรคพลังชล พรรคละ 1 คณะ ขณะที่พรรคอื่นจำนวน ส.ส.ไม่ถึงเกณฑ์ได้รับตำแหน่ง ทั้งนี้ในระหว่างการประชุมได้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง
ทั้งนี้ก่อนหน้านี้พรรคการเมืองขนาดเล็กได้แก่ พรรครักประเทศไทยที่มี ส.ส. 4 คน พรรคมาตุภูมิที่มี ส.ส. 2 คน และพรรครักษ์สันติที่มี ส.ส. 1 คน ได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มการเมืองเพื่อต่อรองตำแหน่งประธาน กมธ. 1 คณะ โดยอ้างว่าในกลุ่มมี ส.ส. 7 คนเท่ากับพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน และพรรคพลังชลที่ได้ตำแหน่งประธาน กมธ. 1 คณะเช่นกัน แต่ฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาลได้ให้พรรคมหาชนแจ้งความประสงค์เข้ารวมกับพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน และพรรคประชาธิปไตยใหม่เข้ารวมกลุ่มกับพรรคพลังชล ทำให้ทั้ง 2 พรรคมีจำนวน ส.ส.เพิ่มขึ้นเป็น 8 คน ส่งผลให้กลุ่มของพรรคร่วมฝ่ายค้านมีจำนวน ส.ส.ไม่ถึงเกณฑ์ที่จะได้รับตำแหน่งประธาน กมธ. 1 คณะ ข้อเสนอดังกล่าวจึงตกไป
ต่อมาที่ประชุมได้พิจารณาถึงวิธีการเลือกประธาน กมธ.ของแต่ละพรรค ซึ่งที่ประชุมไม่สามารถหาข้อสรุปในเรื่องการกำหนดวิธีการเลือกประธาน กมธ.ได้ เนื่องจากพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์มีความเห็นที่ไม่ตรงกัน ทำให้บรรยากาศในห้องประชุมเป็นไปอย่างตรึงเครียด โดยตัวแทนฝ่ายพรรคเพื่อไทย ที่นำโดยนายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม และนายวิชาญ มีนชัยนันท์ ส.ส.กทม.ได้เสนอให้แต่ละพรรคผลัดกันเลือกประธาน กมธ. ตามสัดส่วนของ ส.ส.โดยให้พรรคที่มี ส.ส.มากที่สุดเป็นผู้เลือกก่อนเป็นรอบๆ
ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ นำโดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะประธาน (วิป) พรรคร่วมฝ่ายค้าน ได้แสดงความไม่พอใจต่อแนวทางดังกล่าว โดยระบุว่า สภาฯควรมีหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร เป็นกลไกตรวจสอบไม่ใช่กลไกปกป้อง เหตุใดพรรคเพื่อไทยจึงเสนอวิธีการแบบนี้ ที่เป็นการขัดขวางการตรวจสอบรัฐบาล จึงอยากขอให้พรรคร่วมรัฐบาลพิจารณาเจตนารมณ์ตรงนี้ด้วย จากนั้นนายจุรินทร์ได้เสนอแนวทางให้แต่ละพรรคการเมืองแสดงความจำนงค์ต่อที่ประชุมว่าต้องการตำแหน่งประธาน กมธ.คณะใด หากเสนอไม่ตรงกันก็ให้พรรคการเมืองนั้นได้รับตำแหน่งทันที แต่ถ้ามีความประสงค์ต้องการตำแหน่งประธาน กมธ.เดียวกัน เบื้องต้นให้มีการเจรจากันก่อน หากไม่สามารถตกลงกันได้ก็ให้ชี้ขาดด้วยการจับฉลาก
ภายหลังจากที่ได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวางนานกว่า 2 ชั่วโมง ทำให้ นายเจริญสรุปต่อที่ประชุมว่า เบื้องต้นจะมีการเลือกประธาน กมธ.เป็น 3 รอบตามสัดส่วนของ ส.ส.แต่ละพรรคจนครบทั้ง 35 คณะ ส่วนวิธีการเลือกจะเป็นรูปแบบการเสนอพร้อมกันของแต่ละพรรคตามข้อเสนอของนายจุรินทร์ แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่องจำนวนการเสนอในแต่ละรอบของพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทยที่ยังเห็นไม่ตรงกัน จึงขอให้ทั้ง 2 ฝ่ายนำหลักการดังกล่าวหารือเป็นการภายในพรรค และให้นำข้อสรุปของพรรคมาเสนอต่อที่ประชุมอีกครั้ง ในวันที่ 31 ส.ค. เวลา 13.00 น.
**อภิวันท์ ปัดประธาน ส.ส.ปธ.วิปรัฐ
พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่า พรรคเพื่อไทยจะมอบหมายให้ดำรงตำแหน่งประธานส.ส.พรรคเพื่อไทย ว่า หากพรรคมอบหมายให้ตนเป็นประธานส.ส.ก็ยินดีรับทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุม แต่ไม่จำเป็นต้องตั้งตนเป็นประธานส.ส.พรรค เพราะเป็นส.ส.ธรรมดาก็สามารถทำงานได้ ทั้งนี้ สำหรับตำแหน่งประธานวิปรัฐบาลนั้น คาดว่าน่าจะมีความชัดเจนภายในสัปดาห์นี้
ส่วนกรณีที่มีการคาดการณ์ว่านายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร หรือนายไพจิตร ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย อาจจะดำรงตำแหน่งประธานวิปรัฐบาลนั้น พ.อ.อภิวันท์ กล่าวว่า ที่มีการเสนอชื่อมานั้นก็เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ เชื่อว่าสามารถทำหน้าที่ประธานวิปรัฐบาลได้ทั้งนั้น แต่ก็คงจะต้องเปิดโอกาสให้สมาชิกพรรคได้ลงมติกันในที่ประชุมส.ส.พรรคด้วย อย่างไรก็ตาม บังเอิญว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เมตตาตน จะให้ดำรงตำแหน่งประธานวิปรัฐบาล แต่ตนได้ตอบกลับไปแล้วว่าไม่เป็นไร ตนพร้อมที่จะทำหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมให้โดยไม่ต้องให้ตำแหน่งใดๆ ทั้งสิ้น
** เผยมีรมต.สมัครใจออกจากส.ส.แล้ว
พ.อ.อภิวันท์ กล่าวถึงกรณีที่รัฐมนตรีพรรคเพื่อไทยจะต้องลาออกจากการเป็นส.ส.เพื่อเปิดทางให้ผู้สมัครส.ส.บัญชีรายชื่อในลำดับถัดไปได้เลื่อนขึ้นมาเป็นส.ส.แทนว่า รัฐมนตรีบางคนอาจมีความจำเป็นที่จะต้องดำรงตำแหน่งส.ส.ไว้ เนื่องจากคนเหล่านี้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ เช่น นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย และร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ที่เก่งงานด้านสภาด้วย แต่ก็คงไม่ใช่ทุกคน ทั้งนี้ พรรคคงต้องหารือกันว่าใครบ้างที่ไม่ต้องลาออกจากตำแหน่งส.ส. อย่างไรก็ตาม ทราบว่ามีหลายคนที่สมัครใจจะลาออกด้วย แต่บางคนก็ไม่อยากจะลาออกเหมือนกัน ดังนั้นคงต้องรอมติพรรคอย่างเป็นทางการก่อน ซึ่งขณะนี้ก็มีการคุยกันกว้างๆ ว่า หากมีรัฐมนตรีลาออกจากส.ส.แล้วจะทำให้ปริมาณส.ส.ของพรรคเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ คาดว่าส.ส.บัญชีรายชื่ออาจจะเลื่อนไปถึงลำดับที่ 70