ASTVผู้จัดการรายวัน - บิ๊ก ดุสิตธานี หวั่นวิกฤตเศรษฐกิจยุโรปลุกลาม ตั้งหลัก คิดให้มากขึ้นก่อนลงทุน แต่ยันยังใช้แผนเดิม 5 ปี เพิ่มการบริหารโรงแรมเป็น 20 แห่ง ปรับสัดส่วนรายได้ต่างประเทศและในประเทศเป็นอย่างละ 50% ชี้โรงแรมเล็ก 3-4 ดาวเหนื่อย ส่วน 5 ดาว พอไหว ย้ำปีนี้ขอโต 15% มีกำไรครั้งแรกรอบ 3 ปี จี้รัฐคิดใหม่ เจาะนักท่องเที่ยวคุณภาพให้มากกว่าปริมาณ
นายชนินทร์ โทณวณิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดุสิต อินเตอร์เนชั่นแนล ผู้บริหาร โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ เปิดเผยว่า จากวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศยุโรปและกำลังขยายวงกว้าง ทำให้กลุ่มดุสิตฯต้องเพิ่มความระมัดระวังในการตัดสินใจลงทุนขยายธุรกิจ แต่ยังไม่ถึงกับต้องชะลอแผนการลงทุนในระยะ 3-5ปีนับจากนี้
ทั้งนี้จากแผนที่วางไว้ ดุสิต อินเตอร์เนชั่นแนล จะรุกขยายธุรกิจ ทั้งในส่วนของรับบริหาร และ การลงทุนใหม่ๆ เน้น เข้าซื้อกิจการเดิมที่ลักษณะธุรกิจไปกันได้กับแบรนด์”ดุสิต” ซึ่งผลจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในยุโรปตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ช่วงแรก เรามองเป็นโอกาส แต่ถึงวันนี้ต้องกลับมาคิดและพิจารณาให้มากขึ้น
เพราะวิกฤตครั้งนี้มีแนวโน้มลุกลามไปในหลายประเทศ
“ขณะนี้ 3 ประเทศในยุโรปที่มีปัญหาหนักคือ กรีซ ไอแลนด์ เบลเยี่ยม ซึ่งถ้าลามเข้าอิตาลี ก็จะเข้าไปในยุโรปทั้งหมดรวมถึงอเมริกา และลามไปทั่วโลก ซึ่งเอเชียก็คงได้รับผลกระทบบ้างแต่ไม่มากนัก ส่วนการฟื้นตัวต้องใช้เวลานาน 2-3 ปี ไม่ใช่แค่ 6 เดือน อย่างที่ประเมินไว้ “
อย่างไรก็ตามในส่วนของประเทศไทย มองว่า วิกฤตครั้งนี้คงไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่โรงแรมระดับ 3-4 ดาว ที่รองรับตลาดระดับกลาง จะต้องเหนื่อยมากขึ้นจากกำลังซื้อที่หดหาย ส่วนตลาด 5 ดาว ลูกค้ากลุ่มนี้ ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจน้อย จึงพอมีกำลังจับจ่าย ประกอบกับ ไทยเองก้เจอวิกฤตทาการเมืองมา 3 ปีแล้ว
จึงมองว่าคงไม่มีสิ่งได้กระทบที่ร้ายแรงมากไปกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในปี 2553 ซึ่งถือว่าร้ายแรงสุดในรอบ 30 ปี ตั้งแต่ผมอยู่ในวงการธุรกิจมา
นายชนินทร์ กล่าวว่า ในส่วนของ ผลประกอบการ ดุสิต อินเตอร์เนชั่นแนล ประเมินจากอัตราการจองช่วงไฮซีซั่นปีนี้ที่เริ่มดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน จึงคาดว่าตลอดปีนี้ บริษัทจะเติบโตจากปีก่อน 15-20% และมีกำไรครั้งแรกในรอบ 3 ปี ส่วนในปี 2554 ตั้งเป้าหมายเติบโตอีก 10% ทั้งนี้ต้องไม่มีเหตุความวุ่นวายภายในประเทศ โดยขณะนี้เตรียมพิจารณาปรับขึ้นค่าห้องพัก อีก 5-10%
ให้เป็นไปตามต้นทุนที่แท้จริง เพราะปัจจุบัน โดยเฉลี่ยราคาห้องพักโรงแรมทั้งภาพรวมของธุรกิจ ถอยไปอยู่ในอัตราเท่ากับปี 2545 จึงสามารถปรับขึ้นได้อีก
“เดสติเนชั่นที่ปรับขึ้นราคาได้ จะอยู่แถว ภูเก็ต สมุย พัทยา หัวหิน ส่วนเชียงใหม่ และ พื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน ยังทรงตัว ต้องรอดูนโยบายรัฐบาลใหม่ มีอาจมีแผนกระตุ้ยวท่องเที่ยวให้เชียงใหม่ กลับมาคึกคักได้อีกครั้ง ส่วนพื้นที่กรุงเทพ โดยเฉพาะย่านสุขุมวิท โอเวอร์ซัพพลายสูง “
สำหรับพอร์ตรายได้ของดุสิต อินเตอร์เนชั่นแนล 80% ยังมาจากรายได้ในประเทศ อีก 20%มาจากต่างประเทศ โดยรายได้รวมทั้งหมด 90% เป็นรายได้จากธุรกิจที่ลงทุนเอง อีก 10% มาจากรับบริหารจัดการ ตั้งเป้าหมายอีก 3-5 ปีหน้า จะมีสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศ 50% ในประเทศ 50% โดยรายได้จากการรับบริหารจะต้องเพิ่มสัดส่วนเป็น 25% มีโรงแรมที่รับบริหารรวมกว่า 20 แห่ง จากปัจจุบันมีอยู่ 5 แห่ง
ส่วนที่ลงทุนเอง ปลายปีนี้จะเปิดที่ มัลดีฟ ในอีก 5 ปี จะรุกการลงทุนเป็นเจ้าของโรงแรมดุสิตในต่างประเทศ 5 แห่งจากขณะนี้มีอยู่แล้ว 2 แห่ง ซึ่ง 3 แห่งที่เพิ่มขึ้น จะมีทั้งในประเทศและในเอเชีย
นายชนินทร์ กล่าวว่า จากแนวโน้มการเติบโตเศรษฐกิจ ที่มาอยู่โซนเอเชีย มากกว่ายุโรป จึงต้องการให้ ททท. กระทรวงการท่องเที่ยวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งพิจารณาให้มากขึ้น เพราะนักท่องเที่ยวเอเชีย 5 คน มีการใช้จ่ายรวมเท่ากับนักท่องเที่ยวยุโรปเพียง 1 คน เท่ากับต้องทำงานหนักมากขึ้น เพื่อการเติบโตทั้งรายได้และจำนวน
ซึ่งภาพลักษณ์ประเทศไทยตอนนี้เป็นเดสติเนชั่นตลาดแมส เพราะคุ้มค่าเงิน จึงต้องการให้คิดวิธี เพิ่มรายได้จากการจับจ่ายของนักท่องเที่ยวต่อคนอีก 30% ดีกว่ามาเพิ่มจำนวน 30% อย่างน้อย แหล่งท่องเที่ยวก็ไม่เสื่อมโทรม ถ้าเราเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ
นายชนินทร์ โทณวณิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดุสิต อินเตอร์เนชั่นแนล ผู้บริหาร โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ เปิดเผยว่า จากวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศยุโรปและกำลังขยายวงกว้าง ทำให้กลุ่มดุสิตฯต้องเพิ่มความระมัดระวังในการตัดสินใจลงทุนขยายธุรกิจ แต่ยังไม่ถึงกับต้องชะลอแผนการลงทุนในระยะ 3-5ปีนับจากนี้
ทั้งนี้จากแผนที่วางไว้ ดุสิต อินเตอร์เนชั่นแนล จะรุกขยายธุรกิจ ทั้งในส่วนของรับบริหาร และ การลงทุนใหม่ๆ เน้น เข้าซื้อกิจการเดิมที่ลักษณะธุรกิจไปกันได้กับแบรนด์”ดุสิต” ซึ่งผลจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในยุโรปตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ช่วงแรก เรามองเป็นโอกาส แต่ถึงวันนี้ต้องกลับมาคิดและพิจารณาให้มากขึ้น
เพราะวิกฤตครั้งนี้มีแนวโน้มลุกลามไปในหลายประเทศ
“ขณะนี้ 3 ประเทศในยุโรปที่มีปัญหาหนักคือ กรีซ ไอแลนด์ เบลเยี่ยม ซึ่งถ้าลามเข้าอิตาลี ก็จะเข้าไปในยุโรปทั้งหมดรวมถึงอเมริกา และลามไปทั่วโลก ซึ่งเอเชียก็คงได้รับผลกระทบบ้างแต่ไม่มากนัก ส่วนการฟื้นตัวต้องใช้เวลานาน 2-3 ปี ไม่ใช่แค่ 6 เดือน อย่างที่ประเมินไว้ “
อย่างไรก็ตามในส่วนของประเทศไทย มองว่า วิกฤตครั้งนี้คงไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่โรงแรมระดับ 3-4 ดาว ที่รองรับตลาดระดับกลาง จะต้องเหนื่อยมากขึ้นจากกำลังซื้อที่หดหาย ส่วนตลาด 5 ดาว ลูกค้ากลุ่มนี้ ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจน้อย จึงพอมีกำลังจับจ่าย ประกอบกับ ไทยเองก้เจอวิกฤตทาการเมืองมา 3 ปีแล้ว
จึงมองว่าคงไม่มีสิ่งได้กระทบที่ร้ายแรงมากไปกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในปี 2553 ซึ่งถือว่าร้ายแรงสุดในรอบ 30 ปี ตั้งแต่ผมอยู่ในวงการธุรกิจมา
นายชนินทร์ กล่าวว่า ในส่วนของ ผลประกอบการ ดุสิต อินเตอร์เนชั่นแนล ประเมินจากอัตราการจองช่วงไฮซีซั่นปีนี้ที่เริ่มดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน จึงคาดว่าตลอดปีนี้ บริษัทจะเติบโตจากปีก่อน 15-20% และมีกำไรครั้งแรกในรอบ 3 ปี ส่วนในปี 2554 ตั้งเป้าหมายเติบโตอีก 10% ทั้งนี้ต้องไม่มีเหตุความวุ่นวายภายในประเทศ โดยขณะนี้เตรียมพิจารณาปรับขึ้นค่าห้องพัก อีก 5-10%
ให้เป็นไปตามต้นทุนที่แท้จริง เพราะปัจจุบัน โดยเฉลี่ยราคาห้องพักโรงแรมทั้งภาพรวมของธุรกิจ ถอยไปอยู่ในอัตราเท่ากับปี 2545 จึงสามารถปรับขึ้นได้อีก
“เดสติเนชั่นที่ปรับขึ้นราคาได้ จะอยู่แถว ภูเก็ต สมุย พัทยา หัวหิน ส่วนเชียงใหม่ และ พื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน ยังทรงตัว ต้องรอดูนโยบายรัฐบาลใหม่ มีอาจมีแผนกระตุ้ยวท่องเที่ยวให้เชียงใหม่ กลับมาคึกคักได้อีกครั้ง ส่วนพื้นที่กรุงเทพ โดยเฉพาะย่านสุขุมวิท โอเวอร์ซัพพลายสูง “
สำหรับพอร์ตรายได้ของดุสิต อินเตอร์เนชั่นแนล 80% ยังมาจากรายได้ในประเทศ อีก 20%มาจากต่างประเทศ โดยรายได้รวมทั้งหมด 90% เป็นรายได้จากธุรกิจที่ลงทุนเอง อีก 10% มาจากรับบริหารจัดการ ตั้งเป้าหมายอีก 3-5 ปีหน้า จะมีสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศ 50% ในประเทศ 50% โดยรายได้จากการรับบริหารจะต้องเพิ่มสัดส่วนเป็น 25% มีโรงแรมที่รับบริหารรวมกว่า 20 แห่ง จากปัจจุบันมีอยู่ 5 แห่ง
ส่วนที่ลงทุนเอง ปลายปีนี้จะเปิดที่ มัลดีฟ ในอีก 5 ปี จะรุกการลงทุนเป็นเจ้าของโรงแรมดุสิตในต่างประเทศ 5 แห่งจากขณะนี้มีอยู่แล้ว 2 แห่ง ซึ่ง 3 แห่งที่เพิ่มขึ้น จะมีทั้งในประเทศและในเอเชีย
นายชนินทร์ กล่าวว่า จากแนวโน้มการเติบโตเศรษฐกิจ ที่มาอยู่โซนเอเชีย มากกว่ายุโรป จึงต้องการให้ ททท. กระทรวงการท่องเที่ยวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งพิจารณาให้มากขึ้น เพราะนักท่องเที่ยวเอเชีย 5 คน มีการใช้จ่ายรวมเท่ากับนักท่องเที่ยวยุโรปเพียง 1 คน เท่ากับต้องทำงานหนักมากขึ้น เพื่อการเติบโตทั้งรายได้และจำนวน
ซึ่งภาพลักษณ์ประเทศไทยตอนนี้เป็นเดสติเนชั่นตลาดแมส เพราะคุ้มค่าเงิน จึงต้องการให้คิดวิธี เพิ่มรายได้จากการจับจ่ายของนักท่องเที่ยวต่อคนอีก 30% ดีกว่ามาเพิ่มจำนวน 30% อย่างน้อย แหล่งท่องเที่ยวก็ไม่เสื่อมโทรม ถ้าเราเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ