“ปราโมทย์” ผุดคู่มือจริยธรรม ขู่ชงถอดถอนคนละเมิด
ASTVผู้จัดการรายวัน – วานนี้ (14 ส.ค.) นายปราโมทย์ โชติมงคล ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยว่า สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้จัดทำคู่มือมาตรฐานทางจริยธรรม 9 ประการ ประกอบด้วย 1.การยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม 2.การมีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริตและรับผิดชอบ 3.การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตนและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน 4.การยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฎหมาย 5.การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัย และไม่เลือกปฏิบัติ 6.การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้องและไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง 7.การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ 8.การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 9.การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์กร ซึ่งคู่มือดังกล่าว หน่วยงานภาครัฐจะต้องนำไปเป็นแนวทางในการไปจัดทำประมวลจริยธรรมของหน่วยงานนั้นๆ โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก 6 กลุ่ม ในการส่งเสริมจริยธรรม คือ สถาบันครอบครัว การศึกษา ชุมชนและสังคม ศาสนา ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเครือข่ายด้านจริยธรรม
นายปราโมทย์ กล่าวต่อไปว่า การจัดทำประมวลจริยธรรมของหน่วยงานต่างๆ ต้องจัดทำโดยใช้แนวทางมาตรฐานที่ทางสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้จัดทำขึ้น ซึ่งหากพบว่ามีการฝ่าฝืนอย่างร้ายแรง โดยเฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น รัฐมนตรี ข้าราชการทางการเมือง ทางผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 279 และมาตรา 280 จะดำเนินการส่งข้อมูลไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ดำเนินการสอบสวน และหากว่า ป.ป.ช.ชี้ว่ามีมูลความผิดจริงก็ต้องดำเนินการถอดถอนออกจากตำแหน่ง โดย ป.ป.ช.ต้องส่งเรื่องดังกล่าวไปยังวุฒิสภาเพื่อเข้าสู่กระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยจะใช้เสียง 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้ก็มีกรณีตัวอย่างมาแล้ว อย่างกรณีนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกฯเรื่องทำรายการชิมไปบ่นไป หรือกรณีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกฯกรณีสลายการชุมนุม แต่ในเรื่องนี้เป็นการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม
“นักการเมือง ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าสู่กระบวนการถอดถอนแล้า หากว่าพ้นจากตำแหน่งไปก็ไม่สามารถที่จะหลีกหนีกระบวนการดังกล่าวได้ และเมื่อวุฒิสภามีมติถอดถอน ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองคนดังกล่าวจะถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี” นายปราโมทย์ กล่าว
ASTVผู้จัดการรายวัน – วานนี้ (14 ส.ค.) นายปราโมทย์ โชติมงคล ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยว่า สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้จัดทำคู่มือมาตรฐานทางจริยธรรม 9 ประการ ประกอบด้วย 1.การยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม 2.การมีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริตและรับผิดชอบ 3.การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตนและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน 4.การยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฎหมาย 5.การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็ว มีอัธยาศัย และไม่เลือกปฏิบัติ 6.การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้องและไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง 7.การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ 8.การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 9.การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์กร ซึ่งคู่มือดังกล่าว หน่วยงานภาครัฐจะต้องนำไปเป็นแนวทางในการไปจัดทำประมวลจริยธรรมของหน่วยงานนั้นๆ โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก 6 กลุ่ม ในการส่งเสริมจริยธรรม คือ สถาบันครอบครัว การศึกษา ชุมชนและสังคม ศาสนา ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเครือข่ายด้านจริยธรรม
นายปราโมทย์ กล่าวต่อไปว่า การจัดทำประมวลจริยธรรมของหน่วยงานต่างๆ ต้องจัดทำโดยใช้แนวทางมาตรฐานที่ทางสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้จัดทำขึ้น ซึ่งหากพบว่ามีการฝ่าฝืนอย่างร้ายแรง โดยเฉพาะผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น รัฐมนตรี ข้าราชการทางการเมือง ทางผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 279 และมาตรา 280 จะดำเนินการส่งข้อมูลไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ดำเนินการสอบสวน และหากว่า ป.ป.ช.ชี้ว่ามีมูลความผิดจริงก็ต้องดำเนินการถอดถอนออกจากตำแหน่ง โดย ป.ป.ช.ต้องส่งเรื่องดังกล่าวไปยังวุฒิสภาเพื่อเข้าสู่กระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยจะใช้เสียง 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด ซึ่งการดำเนินการเช่นนี้ก็มีกรณีตัวอย่างมาแล้ว อย่างกรณีนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกฯเรื่องทำรายการชิมไปบ่นไป หรือกรณีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกฯกรณีสลายการชุมนุม แต่ในเรื่องนี้เป็นการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรม
“นักการเมือง ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าสู่กระบวนการถอดถอนแล้า หากว่าพ้นจากตำแหน่งไปก็ไม่สามารถที่จะหลีกหนีกระบวนการดังกล่าวได้ และเมื่อวุฒิสภามีมติถอดถอน ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองคนดังกล่าวจะถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี” นายปราโมทย์ กล่าว