ASTVผู้จัดการรายวัน - “ซีคอน” เผยธุรกิจก่อสร้างยังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน ชี้ ไซส์งานแข่งขึ้นค่าจ้างดูดคนงานเข้า คาดปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทช่วยแรงงานเพิ่มเล็กน้อย แต่ทำต้นทุนสร้างบ้านขึ้นแน่ 8% ยอมรับยอดขายปีนี้พลาดเป้า 7 เดือนทำได้ 650 ล้านบาท แต่ยังมั่นใจครึ่งปีหลังตลาดรับสร้างบ้านกระเตื้อง หลังสัญญาการเมืองและเศรษฐกิจภายในประเทศดีขึ้น
นางสาวศุภิชชา ชัยพิพัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ซีคอน จำกัด เปิดเผยว่า สถานการณ์ตลาดรับสร้างบ้านในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ในภาวะชะลอตัว ส่วนหนึ่งเกิดจากความไม่เชื่อมั่นของผู้บริโภค เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและอยู่ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง ทำให้ชะลอการตัดสินใจสร้างบ้านออกไป เพื่อรอความชัดเจนของรัฐบาลใหม่
โดยรายได้ของกลุ่มซีคอน โฮม ซึ่งประกอบด้วย ซีคอน คอมแพค และบัดเจท โฮม ในช่วง7 เดือนที่ผ่านมามีรายได้ 650 ล้านบาท จากเป้าหมายทั้งปี 800 ล้านบาท โดยตลาดรับสร้างบ้านระดับบนแบรนด์ซีคอนยังพอไปได้ เนื่องจากกลุ่มลูกค้าไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ แต่สำหรับบ้านในระดับกลาง คอมแพคนั้นได้รับผลกระทบ เพราะลูกค้าส่วนใหญ่กู้เงินเพื่อสร้างบ้านกว่า 70% ทำให้เกิดความกังวลต่อรายได้ในอนาคต แต่สำหรับบ้านขนาดเล็กแบรนด์ บัดเจท โฮม ที่เปิดตัวในช่วงต้นปีที่ผ่านมามีกระแสตอบรับที่ดี เนื่องจากมีราคาถูก เริ่มต้น 9 แสน - 2 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งเป็นฐานลูกค้ากลุ่มใหญ่ในตลาด
อย่างไรก็ตามเชื่อว่า ในช่วงครึ่งปีหลังสถานการณ์ตลาดรับสร้างบ้านจะปรับตัวดีขึ้นกว่าครึ่งปีแรก ทั้งจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น ความมั่นคงทางการเมือง นอกจากนี้ ยังมีการจัดงาน “ รับสร้างบ้าน 2011 ” ระหว่างวันที่ 25-28 สิงหาคมนี้ ที่จะสร้างความคึกคักให้แก่ธุรกิจรับสร้างบ้านรวมถึงยอดขายของบริษัทอีกด้วย
สำหรับปัญหาของต้นทุนของธุรกิจก่อสร้างนั้น มีอยู่อย่างเนื่อง โดยเฉพาะการปรับขึ้นของราคาวัสดุก่อสร้างและต้นทุนพลังงานตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ประกอบการรับสร้างบ้านได้ทยอยปรับขึ้นค่าก่อสร้างไปแล้วในช่วงต้นปี อย่างไรก็ตามภาวะของต้นทุนก่อสร้างยังคงกดดันธุรกิจอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้ประกอบการยังคงสามารถควบคุมได้ แต่เชื่อว่าภาวะต้นทุนจะกดดันต่อธุรกิจมากขึ้นโดยเฉพาะนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาล แม้ว่าในภาคการ ก่อสร้างจะมีแรงงานไร้ฝีมือเพียง 20% แต่การปรับขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำจะไปดันให้ค่าแรง ระดับอื่นๆปรับขึ้นไปด้วย ซึ่งโดยรวมแล้วจะทำให้ต้นทุนของการก่อสร้างปรับขึ้นไม่น้อยกว่า 8% ในช่วงไตรมาส 4 หรือต้นปีหน้า
ทั้งนี้ บริษัทได้วางนโยบายรับมือด้วยการขยายพื้นที่โรงงานพรีแฟบเพิ่มในช่วงก่อนหน้านี้ ผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปมาใช้ในงานก่อสร้างมากขึ้น รวมถึงเครื่องมือในงานก่อสร้าง เช่น เครื่องพ่นฉาบปู เครื่องพ่นสี เป็นต้น โดยปัจจุบันโรงงานพรีแฟบมีกำลังการผลิตที่ 60 หลังต่อเดือน และสามารถขยายได้ถึง 90 หลังต่อเดือน
“ ที่ผ่านมา แม้ไม่มีปัญหาปรับค่าแรง 300 บาท ธุรกิจก่อสร้างก็ประสบกับปัญหาขาดแคลนแรงงาน ทำให้ไซน์งานก่อสร้างจำนวนมากปรับขึ้นค่าแรงเพื่อดึงดูดแรงงานให้เข้าทำงาน โดยในส่วนของบริษัทได้ปรับขึ้นให้แก่ผู้จ้างเหมาไปแล้ว 10% แต่ยังขาดแคลนแรงงานอยู่ประมาณ 15% หรือ 350 คน ทำให้งานก่อสร้างล่าช้าออกไปบ้าง ปัจจุบันกลุ่มบริษัทใช้แรงงานประมาณ 1,000 คน ซึ่งการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอาจทำให้มีแรงงานเพิ่มขึ้นบ้าง”
นางสาวศุภิชชา ชัยพิพัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ซีคอน จำกัด เปิดเผยว่า สถานการณ์ตลาดรับสร้างบ้านในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ในภาวะชะลอตัว ส่วนหนึ่งเกิดจากความไม่เชื่อมั่นของผู้บริโภค เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและอยู่ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง ทำให้ชะลอการตัดสินใจสร้างบ้านออกไป เพื่อรอความชัดเจนของรัฐบาลใหม่
โดยรายได้ของกลุ่มซีคอน โฮม ซึ่งประกอบด้วย ซีคอน คอมแพค และบัดเจท โฮม ในช่วง7 เดือนที่ผ่านมามีรายได้ 650 ล้านบาท จากเป้าหมายทั้งปี 800 ล้านบาท โดยตลาดรับสร้างบ้านระดับบนแบรนด์ซีคอนยังพอไปได้ เนื่องจากกลุ่มลูกค้าไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ แต่สำหรับบ้านในระดับกลาง คอมแพคนั้นได้รับผลกระทบ เพราะลูกค้าส่วนใหญ่กู้เงินเพื่อสร้างบ้านกว่า 70% ทำให้เกิดความกังวลต่อรายได้ในอนาคต แต่สำหรับบ้านขนาดเล็กแบรนด์ บัดเจท โฮม ที่เปิดตัวในช่วงต้นปีที่ผ่านมามีกระแสตอบรับที่ดี เนื่องจากมีราคาถูก เริ่มต้น 9 แสน - 2 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งเป็นฐานลูกค้ากลุ่มใหญ่ในตลาด
อย่างไรก็ตามเชื่อว่า ในช่วงครึ่งปีหลังสถานการณ์ตลาดรับสร้างบ้านจะปรับตัวดีขึ้นกว่าครึ่งปีแรก ทั้งจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น ความมั่นคงทางการเมือง นอกจากนี้ ยังมีการจัดงาน “ รับสร้างบ้าน 2011 ” ระหว่างวันที่ 25-28 สิงหาคมนี้ ที่จะสร้างความคึกคักให้แก่ธุรกิจรับสร้างบ้านรวมถึงยอดขายของบริษัทอีกด้วย
สำหรับปัญหาของต้นทุนของธุรกิจก่อสร้างนั้น มีอยู่อย่างเนื่อง โดยเฉพาะการปรับขึ้นของราคาวัสดุก่อสร้างและต้นทุนพลังงานตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้ประกอบการรับสร้างบ้านได้ทยอยปรับขึ้นค่าก่อสร้างไปแล้วในช่วงต้นปี อย่างไรก็ตามภาวะของต้นทุนก่อสร้างยังคงกดดันธุรกิจอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้ประกอบการยังคงสามารถควบคุมได้ แต่เชื่อว่าภาวะต้นทุนจะกดดันต่อธุรกิจมากขึ้นโดยเฉพาะนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาล แม้ว่าในภาคการ ก่อสร้างจะมีแรงงานไร้ฝีมือเพียง 20% แต่การปรับขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำจะไปดันให้ค่าแรง ระดับอื่นๆปรับขึ้นไปด้วย ซึ่งโดยรวมแล้วจะทำให้ต้นทุนของการก่อสร้างปรับขึ้นไม่น้อยกว่า 8% ในช่วงไตรมาส 4 หรือต้นปีหน้า
ทั้งนี้ บริษัทได้วางนโยบายรับมือด้วยการขยายพื้นที่โรงงานพรีแฟบเพิ่มในช่วงก่อนหน้านี้ ผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปมาใช้ในงานก่อสร้างมากขึ้น รวมถึงเครื่องมือในงานก่อสร้าง เช่น เครื่องพ่นฉาบปู เครื่องพ่นสี เป็นต้น โดยปัจจุบันโรงงานพรีแฟบมีกำลังการผลิตที่ 60 หลังต่อเดือน และสามารถขยายได้ถึง 90 หลังต่อเดือน
“ ที่ผ่านมา แม้ไม่มีปัญหาปรับค่าแรง 300 บาท ธุรกิจก่อสร้างก็ประสบกับปัญหาขาดแคลนแรงงาน ทำให้ไซน์งานก่อสร้างจำนวนมากปรับขึ้นค่าแรงเพื่อดึงดูดแรงงานให้เข้าทำงาน โดยในส่วนของบริษัทได้ปรับขึ้นให้แก่ผู้จ้างเหมาไปแล้ว 10% แต่ยังขาดแคลนแรงงานอยู่ประมาณ 15% หรือ 350 คน ทำให้งานก่อสร้างล่าช้าออกไปบ้าง ปัจจุบันกลุ่มบริษัทใช้แรงงานประมาณ 1,000 คน ซึ่งการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอาจทำให้มีแรงงานเพิ่มขึ้นบ้าง”