ASTVผู้จัดการรายวัน -สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างฯ ระบุปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/วัน วัสดุก่อสร้างปรับขึ้น ฉุดต้นทุนก่อสร้างเพิ่มขึ้นกว่า 10% วอนรัฐเพิ่มค่างานก่อสร้างก่อนเอกชนเจ๊ง ขณะที่ 3 สมาคมอสังหาฯเตรียมยืนหนังสือภายใน 1 เดือนหลังจัดตั้งรัฐบาล ทบทวนขึ้นค่าแรงแบบค่อยเป็นค่อยไป
นายพลพัฒ กรรณสูต นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวภายในงานสัมมนา ของ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เรื่อง ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยชี้ทิศทางตลาด ปี 2554 ว่า ที่ผ่านมาราคาวัสดุปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากตัวเลขดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างพบว่าปัจจุบันปรับขึ้นมา 5.8% หรือคิดเป็น 3% ของต้นทุนก่อสร้าง ในขณะเดียวกันรัฐบาลใหม่ยังมีนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนค่าแรงปรับขึ้นถึง 30% ส่งผลต่อต้นทุนก่อสร้างอย่างน้อย 6% ขึ้นอยู่กับประเภทของงาน ซึ่งทั้งสองส่วนจะทำให้ต้นทุนของผู้รับเหมาปรับขึ้นอย่างน้อย 9-10%
นอกจากนี้ภาคอุตสาหกรรมของไทยยังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งแรงงานไร้ฝีมือและแรงงานฝีมือรวมแล้วประมาณ 1 แสนคน ในขณะที่ปัจจุบันมีแรงงานในระบบประมาณ 2.9 ล้านคน ซึ่งแม้ว่ารัฐบาลจะปรับขึ้นค่าแรงก็จะไม่ทำให้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานลดลง เพราะปัจจุบันแรงงานในภาคอุตสากรรมมาจากภาคการเกษตร เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวก็จะกลับไปสู่ภาคเกษตร ดังนั้นจึงควรพิจารณาให้นำเข้าแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมายด้วย
“การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/วัน จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนธุรกิจโดยรวมอย่างมาก เฉพาะธุรกิจรับเหมาต้นทุนปรับขึ้นแน่ๆ อย่างน้อย 6% และยิ่งธุรกิจมีกำไรน้อยอยู่แล้วก็จะทำให้การรับงานขาดทุน หากรัฐบาลยังยืนยันที่จะปรับขึ้นก็ควรจะมีแนวทางช่วยเหลือมากกว่าแค่ลดภาษีรายได้นิติบุคคล ด้วยการเพิ่มค่างานก่อสร้างอย่างน้อยๆต้องเท่ากับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมากคือ 6% เพราะบางธุรกิจที่มีกำไรน้อยหรือเพียงประคองตัวเอง ไม่ต้อยจ่ายภาษีหรือจ่ายน้อยอยู่แล้วก็จะไม่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษี”นายพลพัฒน์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างของไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องนับจากปี 2550 โดยเฉพาะในปีนี้ผู้รับเหมาหลายรายมีงานเต็มมือไปจนถึง 6 เดือนข้างหน้า เนื่องจากการเติบโตของเศรษฐกิจและโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐที่เริ่มมีการก่อสร้างในช่วงต้นปีนี้ และเชื่อว่าในช่วงครึ่งปีหลังนี้จะมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีเช่นกัน
ด้านนายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า สามสมาคมอสังหาริมทรัพย์ เตรียมหารือร่วมกันเพื่อแสดงจุดยืนและเสนอต่อรัฐบาลเกี่ยวกับมาตรการของภาครัฐ ที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาฯ โดยรวม อาทิ มาตรการสินเชื่อ 0% นาน 5 ปี แม้ว่าจะช่วยส่งเสริมธุรกิจให้คนซื้อบ้านได้ง่ายขึ้น แต่สิ่งที่ตามมาคือเกิดการเก็งกำไรในตลาดอสังหาฯได้ เพราะไม่มีต้นทุนการเงินนานถึง 5 ปี อาจทำให้เกิดภาวะฟองสบู่และหากสถาบันการเงินไม่ควบคุมการปล่อยสินเชื่อให้ดีก็อาจทำให้เกิดปัญหา NPL ตามมาได้ โดยคาดว่าภายใน 1 เดือนหลังจากจัดตั้งรัฐบาลจะทำหนังสือท้วงติงไปยังรัฐบาลให้ระมัดระวังในการออกมาตรการ รวมถึงการปรับขึ้นค่าแรงควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไปในรอบ 4 ปีที่เป็นรัฐบาล ซึ่งหากปรับขึ้นในครั้งเดียวจะกระทบต่อการจ้างงานและต้นทุนของผู้ประกอบการทุกๆด้าน
นายพลพัฒ กรรณสูต นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวภายในงานสัมมนา ของ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เรื่อง ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยชี้ทิศทางตลาด ปี 2554 ว่า ที่ผ่านมาราคาวัสดุปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากตัวเลขดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างพบว่าปัจจุบันปรับขึ้นมา 5.8% หรือคิดเป็น 3% ของต้นทุนก่อสร้าง ในขณะเดียวกันรัฐบาลใหม่ยังมีนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท/วัน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนค่าแรงปรับขึ้นถึง 30% ส่งผลต่อต้นทุนก่อสร้างอย่างน้อย 6% ขึ้นอยู่กับประเภทของงาน ซึ่งทั้งสองส่วนจะทำให้ต้นทุนของผู้รับเหมาปรับขึ้นอย่างน้อย 9-10%
นอกจากนี้ภาคอุตสาหกรรมของไทยยังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งแรงงานไร้ฝีมือและแรงงานฝีมือรวมแล้วประมาณ 1 แสนคน ในขณะที่ปัจจุบันมีแรงงานในระบบประมาณ 2.9 ล้านคน ซึ่งแม้ว่ารัฐบาลจะปรับขึ้นค่าแรงก็จะไม่ทำให้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานลดลง เพราะปัจจุบันแรงงานในภาคอุตสากรรมมาจากภาคการเกษตร เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวก็จะกลับไปสู่ภาคเกษตร ดังนั้นจึงควรพิจารณาให้นำเข้าแรงงานต่างด้าวอย่างถูกกฎหมายด้วย
“การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/วัน จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนธุรกิจโดยรวมอย่างมาก เฉพาะธุรกิจรับเหมาต้นทุนปรับขึ้นแน่ๆ อย่างน้อย 6% และยิ่งธุรกิจมีกำไรน้อยอยู่แล้วก็จะทำให้การรับงานขาดทุน หากรัฐบาลยังยืนยันที่จะปรับขึ้นก็ควรจะมีแนวทางช่วยเหลือมากกว่าแค่ลดภาษีรายได้นิติบุคคล ด้วยการเพิ่มค่างานก่อสร้างอย่างน้อยๆต้องเท่ากับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นมากคือ 6% เพราะบางธุรกิจที่มีกำไรน้อยหรือเพียงประคองตัวเอง ไม่ต้อยจ่ายภาษีหรือจ่ายน้อยอยู่แล้วก็จะไม่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษี”นายพลพัฒน์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างของไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องนับจากปี 2550 โดยเฉพาะในปีนี้ผู้รับเหมาหลายรายมีงานเต็มมือไปจนถึง 6 เดือนข้างหน้า เนื่องจากการเติบโตของเศรษฐกิจและโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐที่เริ่มมีการก่อสร้างในช่วงต้นปีนี้ และเชื่อว่าในช่วงครึ่งปีหลังนี้จะมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีเช่นกัน
ด้านนายธำรง ปัญญาสกุลวงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า สามสมาคมอสังหาริมทรัพย์ เตรียมหารือร่วมกันเพื่อแสดงจุดยืนและเสนอต่อรัฐบาลเกี่ยวกับมาตรการของภาครัฐ ที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาฯ โดยรวม อาทิ มาตรการสินเชื่อ 0% นาน 5 ปี แม้ว่าจะช่วยส่งเสริมธุรกิจให้คนซื้อบ้านได้ง่ายขึ้น แต่สิ่งที่ตามมาคือเกิดการเก็งกำไรในตลาดอสังหาฯได้ เพราะไม่มีต้นทุนการเงินนานถึง 5 ปี อาจทำให้เกิดภาวะฟองสบู่และหากสถาบันการเงินไม่ควบคุมการปล่อยสินเชื่อให้ดีก็อาจทำให้เกิดปัญหา NPL ตามมาได้ โดยคาดว่าภายใน 1 เดือนหลังจากจัดตั้งรัฐบาลจะทำหนังสือท้วงติงไปยังรัฐบาลให้ระมัดระวังในการออกมาตรการ รวมถึงการปรับขึ้นค่าแรงควรทำแบบค่อยเป็นค่อยไปในรอบ 4 ปีที่เป็นรัฐบาล ซึ่งหากปรับขึ้นในครั้งเดียวจะกระทบต่อการจ้างงานและต้นทุนของผู้ประกอบการทุกๆด้าน