ASTVผู้จัดการรายวัน – ธุรกิจท่องเที่ยว ชี้เปลี่ยนเวลาปิดภาคเรียน ต้องปรับปฎิทินงานส่งเสริมการตลาดชี้ระยะสั้นมีผลกระทบ วอนหากมีนโยบายจริงบอกกันล่วงหน้า 1 ปี ติงรัฐดูแผนบริหารจัดการด้วย ด้าน ททท.นักถกผู้เกี่ยวข้องสิ้นเดือนสิงหาคม
น.ส.มัยรัตน์ พีระญาณ์โกเศส นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ หรือ สทน. กล่าวว่า จากกรณีที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.) มีมติ เลื่อนช่วงเวลาปิด-เปิดภาคเรียนในระดับอุดมศึกษาให้ตรงกับประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อความเป็นสากล และเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ในส่วนของภาคธุรกิจการท่องเที่ยว มองว่า ระยะยาวจะเป็นผลดี เพราะทำให้
คนไทยมีช่วงเวลาที่เดินทางท่องเที่ยวต่อปีได้นานขึ้นจาก 6 เดือนเป็น 9 เดือน ขณะที่ช่วงเดือน เม.ย. จะมีช่วงวันหยุดยาวซึ่งทำให้คนไทยเดินทางท่องเที่ยวกันอยู่แล้ว
หากภาครัฐจะเริ่มแผนนี้จริงควรแจ้งเป็นนโยบายล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ปี เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ปรับแผนธุรกิจรองรับได้ เพราะหากเปลี่ยนช่วงปิด-เปิดเทอม ผู้ประกอบการต้องปรับการกำหนดการจัดกิจกรรม ส่งเสริมการตลาด ให้มีช่วงเวลาที่สอดคล้อง เช่น งานส่งเสริมการท่องเที่ยวและส่งเสริมการขาย(งานแฟร์) ก็ต้องเปลี่ยนช่วงเวลา เพราะปกติหากเป็นงานแฟร์ตลาดในประเทศต้องจัดล่วงหน้าก่อนเดินทาง 1 เดือน ส่วนการแฟร์ที่ส่งเสริมเดินทางไปต่างประเทศ ต้องจัดงานล่วงหน้า 3 เดือน เผื่อเวลาที่จะใช้ในกระบวนการขอวีซ่า
ทั้งนี้ ช่วงปิดเทอม การเดินทางท่องเที่ยวจะสูงกว่าช่วงเวลาปกติกว่าเท่าตัว กล่าวคือช่วงเวลาปกติ จะขายทัวร์ได้ราว 40% ของจำนวนแพกเกจทัวร์ที่มีรองรับทั้งหมด หากเป็นช่วงปิดเทอม ยอดขายจะพุ่งขึ้นไปอยู่ที่ 90-100% ของจำนวนแพกเกจทัวร์ที่เตรียมไว้ เช่น ช่วงปิดเทอมเดือน ต.ค. ก็จะเริ่มจัดงานหรือทำกิจกรรมส่งเสริมในช่วงเดือน สิงหาคม อย่างไรก็ตามผลกระทบระยะสั้นช่วงรอยต่อของการปรับเปลี่ยน คงต้องเกิดขึ้นแน่นอน เพราะต้องวางแผนและจองพื้นที่กันข้ามปี อย่างงานที่จะจัดในปี 2555 ก็ต้องจองพื้นที่จัดงานกันแล้วปีนี้
นายเจริญ วังอนานนท์ นายกสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว หรือ ทีทีเอเอ กล่าวว่า คงต้องรอความชัดเจนของนโยบายเลื่อนเปิด-ปิดภาคเรียนที่ให้แน่นอนก่อน ว่าจะทำจริงหรือไม่อย่างไร หากดำเนินการจริง ภาคเอกชนก็ต้องปรับแผนการตลาดให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น แต่เชื่อว่าไม่กระทบต่อธุรกิจ ซึ่งหากมีการปรับเวลาปิดเทอมจริง รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องมาดูเรื่องการบริหารจัดการด้วยว่า การที่มีช่วงเวลาปิด-เปิดเทอม พร้อมๆกัน เรามีความพร้อมแค่ไหนในการรองรับกำลังซื้อที่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาปิดเทอม หากไม่พร้อม ต้องจัดการแผนรองรับอย่างไร
อย่างไรก็ตามกรณีเหตุจลาจลในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ล่าสุด ตามรายงาน ยังไม่มีผลกระทบต่อการเดินทางของคนไทย เพราะช่วงนี้เป็นโลว์ซีซั่น ในเส้นทางดังกล่าวอยู่แล้ว ส่วนกรุ๊ปอินเซนทีฟ ที่กำลังจะเดินทางไปขณะนี้ก็ยังไม่มีการยกเลิก เพราะอยู่คนละพื้นที่กับที่เกิดเหตุ
ล่าสุด สมาคม ได้จัดงาน เที่ยวทัวร์ไทย ไปทั่วโลก ซึ่งเป็นการจัดงาน กลางปีช่วงโลว์ซีซั่นครั้งแรก ตามดีมานด์ของตลาด ที่ทำการสำรวจไว้ โดยกำหนดจัด 18-21 ส.ค. 54 ที่ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีผู้ประกอบการทัวร์ สายการบิน ทั้งในประเทศและต่างประเทศร่วมออกบูท กว่า 800 บูท คาดจะมีผู้เข้าชมงาน กว่า 300,000 คน เกิดการซื้อขายเงินสะพัดในงานราว 400 ล้านบาท
***ททท.เรียกผู้เกี่ยวข้องหารือปลายสิงหาคม***
ทางด้านนายธวัชชัย อรัญญิก รองผู้ว่าการตลาดในประเทศ กล่าวว่า ททท.เตรียมเรียกประชุมหัวหน้างานที่เกี่ยวข้องในองค์กร 23 ส.ค.ศกนี้ เพื่อนำรายละเอียดของการเลื่อนปิด-เปิดภาคเรียนมาหารือ จากนั้นจะเรียกภาคเอกชนเข้ามาหารือร่วมกันเพื่อรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะในวันที่ 25 ส.ค.ศกนี้ กัน เพื่อเตรียมจัดทำแผนงานด้านการตลาดให้สอดคล้อง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเลื่อนปิด-เปิดภาคเรียน มาจาก มติที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.) ที่ เห็นชอบ เลื่อนช่วงเวลาเปิดปิดภาคเรียนในระดับอุดมศึกษาให้ตรงกับประเทศสมาชิกอาเซียน โดยภาคเรียนที่ 1 จะเปิด-ปิด ในช่วงเดือน ก.ย.- ธ.ค. และภาคเรียนที่ 2 เดือน ม.ค.- พ.ค. เริ่มใช้ปีการศึกษา 2555 จากปัจจุบัน ช่วงปิด-เปิดภาคเรียน จะอยู่ในช่วง ภาคเรียนที่ 1 มิ.ย.-ต.ค.
และภาคเรียนที่ 2 เดือนพ.ย.-มี.ค ทั้งนี้มติดังกล่าว จะมีการลงนามความร่วมมือกับประเทศในสมาชิก อาทิ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงค์โปร เวียดนาม เป็นต้น
น.ส.มัยรัตน์ พีระญาณ์โกเศส นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ หรือ สทน. กล่าวว่า จากกรณีที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.) มีมติ เลื่อนช่วงเวลาปิด-เปิดภาคเรียนในระดับอุดมศึกษาให้ตรงกับประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อความเป็นสากล และเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ในส่วนของภาคธุรกิจการท่องเที่ยว มองว่า ระยะยาวจะเป็นผลดี เพราะทำให้
คนไทยมีช่วงเวลาที่เดินทางท่องเที่ยวต่อปีได้นานขึ้นจาก 6 เดือนเป็น 9 เดือน ขณะที่ช่วงเดือน เม.ย. จะมีช่วงวันหยุดยาวซึ่งทำให้คนไทยเดินทางท่องเที่ยวกันอยู่แล้ว
หากภาครัฐจะเริ่มแผนนี้จริงควรแจ้งเป็นนโยบายล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ปี เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ปรับแผนธุรกิจรองรับได้ เพราะหากเปลี่ยนช่วงปิด-เปิดเทอม ผู้ประกอบการต้องปรับการกำหนดการจัดกิจกรรม ส่งเสริมการตลาด ให้มีช่วงเวลาที่สอดคล้อง เช่น งานส่งเสริมการท่องเที่ยวและส่งเสริมการขาย(งานแฟร์) ก็ต้องเปลี่ยนช่วงเวลา เพราะปกติหากเป็นงานแฟร์ตลาดในประเทศต้องจัดล่วงหน้าก่อนเดินทาง 1 เดือน ส่วนการแฟร์ที่ส่งเสริมเดินทางไปต่างประเทศ ต้องจัดงานล่วงหน้า 3 เดือน เผื่อเวลาที่จะใช้ในกระบวนการขอวีซ่า
ทั้งนี้ ช่วงปิดเทอม การเดินทางท่องเที่ยวจะสูงกว่าช่วงเวลาปกติกว่าเท่าตัว กล่าวคือช่วงเวลาปกติ จะขายทัวร์ได้ราว 40% ของจำนวนแพกเกจทัวร์ที่มีรองรับทั้งหมด หากเป็นช่วงปิดเทอม ยอดขายจะพุ่งขึ้นไปอยู่ที่ 90-100% ของจำนวนแพกเกจทัวร์ที่เตรียมไว้ เช่น ช่วงปิดเทอมเดือน ต.ค. ก็จะเริ่มจัดงานหรือทำกิจกรรมส่งเสริมในช่วงเดือน สิงหาคม อย่างไรก็ตามผลกระทบระยะสั้นช่วงรอยต่อของการปรับเปลี่ยน คงต้องเกิดขึ้นแน่นอน เพราะต้องวางแผนและจองพื้นที่กันข้ามปี อย่างงานที่จะจัดในปี 2555 ก็ต้องจองพื้นที่จัดงานกันแล้วปีนี้
นายเจริญ วังอนานนท์ นายกสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว หรือ ทีทีเอเอ กล่าวว่า คงต้องรอความชัดเจนของนโยบายเลื่อนเปิด-ปิดภาคเรียนที่ให้แน่นอนก่อน ว่าจะทำจริงหรือไม่อย่างไร หากดำเนินการจริง ภาคเอกชนก็ต้องปรับแผนการตลาดให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น แต่เชื่อว่าไม่กระทบต่อธุรกิจ ซึ่งหากมีการปรับเวลาปิดเทอมจริง รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องมาดูเรื่องการบริหารจัดการด้วยว่า การที่มีช่วงเวลาปิด-เปิดเทอม พร้อมๆกัน เรามีความพร้อมแค่ไหนในการรองรับกำลังซื้อที่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาปิดเทอม หากไม่พร้อม ต้องจัดการแผนรองรับอย่างไร
อย่างไรก็ตามกรณีเหตุจลาจลในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ล่าสุด ตามรายงาน ยังไม่มีผลกระทบต่อการเดินทางของคนไทย เพราะช่วงนี้เป็นโลว์ซีซั่น ในเส้นทางดังกล่าวอยู่แล้ว ส่วนกรุ๊ปอินเซนทีฟ ที่กำลังจะเดินทางไปขณะนี้ก็ยังไม่มีการยกเลิก เพราะอยู่คนละพื้นที่กับที่เกิดเหตุ
ล่าสุด สมาคม ได้จัดงาน เที่ยวทัวร์ไทย ไปทั่วโลก ซึ่งเป็นการจัดงาน กลางปีช่วงโลว์ซีซั่นครั้งแรก ตามดีมานด์ของตลาด ที่ทำการสำรวจไว้ โดยกำหนดจัด 18-21 ส.ค. 54 ที่ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีผู้ประกอบการทัวร์ สายการบิน ทั้งในประเทศและต่างประเทศร่วมออกบูท กว่า 800 บูท คาดจะมีผู้เข้าชมงาน กว่า 300,000 คน เกิดการซื้อขายเงินสะพัดในงานราว 400 ล้านบาท
***ททท.เรียกผู้เกี่ยวข้องหารือปลายสิงหาคม***
ทางด้านนายธวัชชัย อรัญญิก รองผู้ว่าการตลาดในประเทศ กล่าวว่า ททท.เตรียมเรียกประชุมหัวหน้างานที่เกี่ยวข้องในองค์กร 23 ส.ค.ศกนี้ เพื่อนำรายละเอียดของการเลื่อนปิด-เปิดภาคเรียนมาหารือ จากนั้นจะเรียกภาคเอกชนเข้ามาหารือร่วมกันเพื่อรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะในวันที่ 25 ส.ค.ศกนี้ กัน เพื่อเตรียมจัดทำแผนงานด้านการตลาดให้สอดคล้อง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเลื่อนปิด-เปิดภาคเรียน มาจาก มติที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.) ที่ เห็นชอบ เลื่อนช่วงเวลาเปิดปิดภาคเรียนในระดับอุดมศึกษาให้ตรงกับประเทศสมาชิกอาเซียน โดยภาคเรียนที่ 1 จะเปิด-ปิด ในช่วงเดือน ก.ย.- ธ.ค. และภาคเรียนที่ 2 เดือน ม.ค.- พ.ค. เริ่มใช้ปีการศึกษา 2555 จากปัจจุบัน ช่วงปิด-เปิดภาคเรียน จะอยู่ในช่วง ภาคเรียนที่ 1 มิ.ย.-ต.ค.
และภาคเรียนที่ 2 เดือนพ.ย.-มี.ค ทั้งนี้มติดังกล่าว จะมีการลงนามความร่วมมือกับประเทศในสมาชิก อาทิ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงค์โปร เวียดนาม เป็นต้น