ASTVผู้จัดการรายวัน- กบง.รีดเงินดีเซลเข้ากองทุนน้ำมันฯอีก 90 สตางค์ต่อลิตรส่งผลให้เงินไหลเข้ากองทุนฯเพิ่มเป็นวันละ 104 ล้านบาทฐานะกองทุนฯ เริ่มเป็นบวกทันทีวันนี้
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)วานนี้ (9ก.ย.) ว่า กบง.มีมติให้เรียกเก็บเงินจากน้ำมันดีเซลเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่ม 90 สตางค์ต่อลิตร เป็น 2.80 บาทต่อลิตรจากเดิมที่เรียกเก็บอยู่ 1.90 บาทต่อลิตร ทำให้มีเงินไหลเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพิ่มจากเดิมที่ไหลเข้าวันละ 55 ล้านบาทเป็นวันละ 104 ล้านบาท หรือเดือนละ 3,200 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้ฐานะกองทุนน้ำมันฯ เริ่มกลับมาเป็นบวกจากปัจจุบันที่ติดลบอยู่ 55 ล้านบาททันทีในวันที่ 10 ส.ค.นี้
สาเหตุที่เก็บเงินเพิ่ม เนื่องจากราคาน้ำมันตลาดโลกปรับลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะดีเซลลดลงถึง 6.28 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ส่งผลให้ค่าการตลาดผู้ค้าสูงถึง 2.34 บาทต่อลิตร อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา มีการใช้เงินจากกองทุนน้ำมันฯ ในการชดเชยราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่ให้เกินเพดาน 30 บาทต่อลิตรตั้งแต่วันที่ 17 ธ.ค.2553 ถึงวันที่ 6 พ.ค.2554 รวมแล้ว 24,005 ล้านบาท
นายณอคุณกล่าวว่า แม้ว่าราคาน้ำมันตลาดโลกจะเริ่มปรับตัวลดลง เนื่องจากมีการเทขายเพื่อนำไปซื้อทอง เพราะไม่แน่ใจในภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่เชื่อว่าจะเป็นกรลดลงในระยะสั้น ระดับราคาน้ำมันจะกลับมาเพิ่มขึ้นอีกเนื่องจากราคาที่ลงแรงย่อมจะขึ้นแรงด้วยประกอบกับช่วงสิ้นปีราคาดีเซลจะมีความต้องการสูง
“ราคาน้ำมันที่ลงแรงแบบนี้ ถ้าไม่ทำอะไรเลย ก็จะทำให้ค่าการตลาดน้ำมันสูงเกินไป ที่ประชุมกบง. จึงมีมติให้เก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเพิ่ม 90สตางค์ต่อลิตร ทำให้ค่าการตลาดน้ำมันลงมาอยู่ที่ระดับ 1.44 บาทต่อลิตร หรือเฉลี่ย 5 วันอยู่ที่ 1.58 บาทต่อลิตร ซึ่งจะทำให้ฐานะกองทุนน้ำมันกลับมาเป็นบวกทันที”นายณอคุณกล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า นโยบายการลดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ปัจจุบันเงินที่เก็บเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อไว้ชดเชยราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) เป็นหลัก หากมีการยกเลิกจริงก็จะทำให้กองทุนขาดสภาพคล่อง ดังนั้น คงจะต้องขอความชัดเจนถึงโครงสร้างราคาพลังงานภาพรวม
“หากจะยกเลิกการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ส่วนของกลุ่มเบนซินตามนโยบายเพื่อไทยจริงแล้วจะนำเงินที่ไหนมาดูแลราคาแอลพีจีและเอ็นจีวี ขณะเดียวกันปตท.เองก็เสนอที่จะขึ้นราคาเอ็นจีวีเข้ามา แต่แอลพีจีภาคขนส่งหลักการจะต้องขึ้นด้วย เพราะมติเดิมกำหนดตรึงถึงก.ย. ก็คงจะต้องมาตัดสินใจเรื่องนี้ รวมถึงมาตรการลดภาษีสรรพสามิตดีเซลด้วย”แหล่งข่าวกล่าว
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)วานนี้ (9ก.ย.) ว่า กบง.มีมติให้เรียกเก็บเงินจากน้ำมันดีเซลเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่ม 90 สตางค์ต่อลิตร เป็น 2.80 บาทต่อลิตรจากเดิมที่เรียกเก็บอยู่ 1.90 บาทต่อลิตร ทำให้มีเงินไหลเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพิ่มจากเดิมที่ไหลเข้าวันละ 55 ล้านบาทเป็นวันละ 104 ล้านบาท หรือเดือนละ 3,200 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้ฐานะกองทุนน้ำมันฯ เริ่มกลับมาเป็นบวกจากปัจจุบันที่ติดลบอยู่ 55 ล้านบาททันทีในวันที่ 10 ส.ค.นี้
สาเหตุที่เก็บเงินเพิ่ม เนื่องจากราคาน้ำมันตลาดโลกปรับลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะดีเซลลดลงถึง 6.28 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ส่งผลให้ค่าการตลาดผู้ค้าสูงถึง 2.34 บาทต่อลิตร อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา มีการใช้เงินจากกองทุนน้ำมันฯ ในการชดเชยราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่ให้เกินเพดาน 30 บาทต่อลิตรตั้งแต่วันที่ 17 ธ.ค.2553 ถึงวันที่ 6 พ.ค.2554 รวมแล้ว 24,005 ล้านบาท
นายณอคุณกล่าวว่า แม้ว่าราคาน้ำมันตลาดโลกจะเริ่มปรับตัวลดลง เนื่องจากมีการเทขายเพื่อนำไปซื้อทอง เพราะไม่แน่ใจในภาวะเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่เชื่อว่าจะเป็นกรลดลงในระยะสั้น ระดับราคาน้ำมันจะกลับมาเพิ่มขึ้นอีกเนื่องจากราคาที่ลงแรงย่อมจะขึ้นแรงด้วยประกอบกับช่วงสิ้นปีราคาดีเซลจะมีความต้องการสูง
“ราคาน้ำมันที่ลงแรงแบบนี้ ถ้าไม่ทำอะไรเลย ก็จะทำให้ค่าการตลาดน้ำมันสูงเกินไป ที่ประชุมกบง. จึงมีมติให้เก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเพิ่ม 90สตางค์ต่อลิตร ทำให้ค่าการตลาดน้ำมันลงมาอยู่ที่ระดับ 1.44 บาทต่อลิตร หรือเฉลี่ย 5 วันอยู่ที่ 1.58 บาทต่อลิตร ซึ่งจะทำให้ฐานะกองทุนน้ำมันกลับมาเป็นบวกทันที”นายณอคุณกล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า นโยบายการลดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ปัจจุบันเงินที่เก็บเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อไว้ชดเชยราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) เป็นหลัก หากมีการยกเลิกจริงก็จะทำให้กองทุนขาดสภาพคล่อง ดังนั้น คงจะต้องขอความชัดเจนถึงโครงสร้างราคาพลังงานภาพรวม
“หากจะยกเลิกการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ส่วนของกลุ่มเบนซินตามนโยบายเพื่อไทยจริงแล้วจะนำเงินที่ไหนมาดูแลราคาแอลพีจีและเอ็นจีวี ขณะเดียวกันปตท.เองก็เสนอที่จะขึ้นราคาเอ็นจีวีเข้ามา แต่แอลพีจีภาคขนส่งหลักการจะต้องขึ้นด้วย เพราะมติเดิมกำหนดตรึงถึงก.ย. ก็คงจะต้องมาตัดสินใจเรื่องนี้ รวมถึงมาตรการลดภาษีสรรพสามิตดีเซลด้วย”แหล่งข่าวกล่าว