ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - แม่ฮ่องสอนยังวิกฤต น้ำป่าทะลักเข้าศูนย์ที่พักพิงผู้หนีภัยจากการสูรบบ้านแม่ละอูน-แม่ลามาหลวง 346 ครอบครัวผู้อพยพเดือดร้อนหนัก ขณะที่ จนท.ยังเดินทางเข้าไม่ถึงหลังมีดินสไลด์ปิดทับเส้นทาง ส่วนเหยื่อดินโคลนถล่มบ้านปู่ทาอีก 1 ยังหาไม่พบ ด้าน ฉก.ทพ.35 ออกล่องเรือลาดตระเวนริมแม่น้ำเมยชายแดนไทย-พม่าช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยต่อเนื่อง "กรุงเก่า"เริ่มจมแล้ว หลังน้ำก้อนใหญ่จากเขื่อนเจ้าพระยาไหลบ่าเข้าท่วม 3 อำเภอ สำนักศิลปากรฯ สั่งเรับมือน้ำท่วมวัดไชยวัฒนารามเต็มที่ "กทม."สั่งรับมือน้ำเหนือหลาก-ทะเลหนุน 10 ส.ค.นี้
วานนี้(7 ส.ค.)นายศุภมิตร เลื่อนสุพรรณ นายอำเภอสบเมย จ.แม่ฮ่องสอน กล่าวว่า อำเภอสบเมย ได้รับรายงานจากชุดรักษาความปลอดภัย อส.ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่ละอูน และบ้านแม่ลามาหลวง อำเภอสบเมยว่า เมื่อคืนวันที่ 6 ส.ค.ที่ผ่านมาได้เกิดเหตุน้ำป่าไหลหลากทะลักเข้าหมู่บ้านทั้ง 2 แห่ง ในเบื้องต้นมีผู้หนีภัยจาการสู้รบได้รับความเดือนร้อนและบ้านเรือนได้รับความเสียหาย 346 ครอบครัว แต่ยังไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ทางอำเภอได้ส่งกำลังเจ้าหน้าเดินทางเข้าไปสำรวจความเสียหายแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถเดินทางเข้าถึงได้ เนื่องถนนมีดินสไลด์ปิดทับเส้นทางตลอดเส้นทาง
นายศุภมิตร กล่าวต่อว่า สำหรับการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์น้ำป่าไหลหลากดินโคลนถล่มออกจากพื้นที่ประสบภัยบ้านปู่ทานั้น เจ้าหน้าที่ อส.และทหารได้ช่วยกันแบกร่างของผู้ที่มีอาการสาหัส 4 คน ประกอบด้วย ด.ช.พงศกร ศรีโสภาจำปี อายุ 2 ปี 8 เดือนมีบาดแผลตามใบหน้าและลำตัว ด.ช.ปฏิภาณ ศรีโสภาจำปี อายุ 6 ปี มีบาดแผลบริเวณอุ้งเท้า นิ้วหัวแม่โป้ขวาหลุด ด.ญ.หน่อแพ ไม่มีสกุล อายุ 14 ปี ถูกไม้หนีบบริเวณสะโพก และนางนารี บรรพตธารา อายุ 22 ปีถูกไม้กระแทกบริเวณสะโพก ข้ามลำห้วยและลัดเลาะไปตามไหล่เขาออกมาที่จุดลงเรือลำน้ำสาละวิน เข้าสู่แม่น้ำเมยออกทาง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก เนื่องจากเส้นทางเข้าสู่อำเภอแม่สะเรียง ซึ่งเป็นจุดที่อยู่ใกล้ที่สุดถนนถูกตัดขาด โดยมีชุด EMS โรงพยาบาลแม่สะเรียง และโรงพยาบาลสมเมย พร้อมแพทย์ มารอรับผู้ป่วย ณ ท่าเรือแม่ตะวอ อ.ท่าสองยาง ซึ่งผู้บาดเจ็บ 3 รายที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนต้องนำส่งโรงพยาบาลท่าสองยาง ซึ่งใกล้สุดและอีก 1 ราย เข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลสบเมย
ส่วนการเข้าช่วยเหลือ พ.อ.สุทัศน์ จารุมณี รักษาราชการผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 7 และ พ.อ.คชาชาต บุญดี ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารพรานที่ 36 อำนวยการและสั่งการให้มีการเปลี่ยนเส้นทางการลำเลียงสิ่งของ ถุงยังชีพ เครื่องอุปโภคบริโภค เสื้อผ้า ยารักษาโรค เข้าไปมอบให้ราษฎร เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อน ที่ประสบภัยพิบัติน้ำป่าไหลหลากดินโคลนถล่มบ้านปู่ทา ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จากเส้นทางเดิมระหว่างแม่สะเรียง-แม่สามแลบ ถนนถูกตัดขาดรถยนต์ไม่สามารถวิ่งผ่านไปได้ จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนเส้นทางนำสิ่งของไปลงเรือที่ บ.แม่ตะวอ ต.ท่าสองยาง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก โดยมีหน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารพรานที่ 35 จะเป็นหน่วยรับสิ่งของต่อ เพื่อนำเข้าพื้นที่ช่วยเหลือราษฎรหมู่บ้านที่ประสบภัยต่อไป
สำหรับสถานการณ์ในพื้นที่ประสบภัยบ้านปู่ทา สภาพบ้านเรือนบางจุดถูกดินโคลน เศษไม้ใบหญ้า ถล่มทับสูงหลายเมตร และยังมีฝนตกลงมาบ้างแต่ไม่หนัก ทำให้การค้นหาผู้สูญหายอีก 1 รายเป็นไปด้วยความยากลำบาก จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่เจอ
**ฉก.ทพ.35จัดทีมล่องน้ำเมยช่วยผู้ประสบภัย
ขณะที่ พ.อ.นพดล วัชรจิตบวร ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 35 อ.แม่สอด จ.ตาก ได้สั่งระดมกำลังทหารพราน 35 ออกล่องเรือลาดตระเวนตามริมแม่น้ำเมยชายแดนไทย-พม่า ตั้งแต่ อ.แม่สอด-ถึง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก รอยต่อ จ.แม่ฮ่องสอน เพื่อเตรียมรับสถานการณ์แม่น้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร และให้การช่วยเหลือได้อย่างเร่งด่วนหากเกิดกรณีฉุกเฉิน
รวมทั้งจัดส่งเสบียงอาหาร ยาเวชภัณฑ์ และ จนท.ประจำตามจุดต่างๆ เพื่อให้การช่วยเหลือพยาบาลหากเจ็บไข้ได้ป่วยโดยมีทั้งทหารพรานชุดแพทย์สนาม-ชุดพลาธิการ และชุดกู้ชีพกู้ภัย รวมทั้งชุดคุ้มกันเพื่ออำนวยความสะดวกและให้การช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบอุทกภัยตลอด 24 ชั่วโมงด้วย
นอกจากนี้ พ.อ.นพดล ยังมอบหมายให้ พ.ท.สุพร เรือศรีจันทร์ รอง ผบ.ฉก.ทพ.35 นำสิ่งของอาหารเครื่องดื่มไปมอบให้ ด.ช.ปฏิภาณ ศรีโสภาจำปี และ ด.ช.พงศกร ศรีโสภาจำปี ที่โรงพยาบาลแม่สอดเพื่อเป็นกำลังใจและปลอบขวัญเด็กทั้ง 2 คนหลังจากมีฝนตกหนักทำให้น้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่มในพื้นที่บ้านปู่ทา ทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บหลายราย
รวมทั้งสั่งการให้หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 35 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 36 อ.สบเมย จ.ม่ฮ่องสอน ประสานงานกันเพื่อช่วยเหลือราษฎรโดยจัดกำลังเดินทางเท้าและลงเรือหางยาวจาก อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ไปช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บที่บ้านปู่ทาอีก 6 คนนำส่งโรงพยาบาลท่าสองยาง 3 คน, โรงพยาบาลสบเมย 3 คน และต่อมาโรงพยาบาลท่าสองยางได้ส่งเด็ก 2 คนไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลแม่สอด เนื่องจากอาการบาดเจ็บสาหัส โดยทหารพรานได้เข้าดูแลและช่วยเหลืออย่างเต็มที่
**ผู้ว่าฯตากเผยน้ำท่วมที่สามเงายังรุนแรง
นายสามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เเผยถึงสถานการณ์น้ำท่วมใน พื้นที่ จ.ตาตากว่า ยังรุนแรง โดยเฉพาะพื้นที่ อ.สามเงาได้เกิดน้ำป่าไหลหลาก เนื่องจากแม่น้ำวังเอ่อล้นไหลทะลักเข้าท่วมพื้นที่ สร้างความเสียหายแก่บ้านเรือน ไร่นา สวนผลไม้และถนนทำให้การเดินทางยากลำบากและในบางส่วนถนนขาดทำให้เดินทางผ่านไปไม่ได้ ระดับน้ำสูงประมาณ 30 ซ.ม.บางแหล่งสูง 1-2 เมตร เช่น ต.ยกกระบัตร อ.สามเงา ที่บ้านแม่เชียงราย หมู่ 7 เสียหายทั้งหมู่บ้านกว่า 600 หลังคาเรือน ซึ่งทางจังหวัดได้เร่งแจกจ่ายถุงทรายตามจุดต่างๆ รวม 40,000 ถุงเพื่อทำแนวกันน้ำที่จะเข้าทำลายบ้านเรือน พร้อมตั้งจุดบรรเทาทุกข์โดยแจกจ่ายน้ำดื่มและยารักษาโรคให้กับผู้เดือดร้อนและจุดตรวจสอบน้ำตลอด 24 ชั่วโมง
นายสามารถ กล่าวว่า ในวันนี้(8)เหล่ากาชาดจังหวัดตากจะนำเครื่องอุปโภคบริโภคไปช่วยเหลือราษฎรบ้านแม่สลิด ต.แม่สอง อ.ท่าสองยาง และจะกระจายไปยังพื้นที่อื่นๆ ที่ประสบภัยน้ำท่วม
**ทะลักท่วมท่าวังผา400หลังคากลางดึก
ส่วนที่ จ.น่าน เมื่อกลางดึกวันที่ 6 ส.ค.ที่ผ่านมาน้ำป่าจากลำห้วยริม ได้พัดเอาดินโคลนบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนราษฏรหลายหมู่บ้านในพื้นที่ ต.ริม และ ต.แสนทอง อ.ท่าวังผา โดยระดับน้ำบางจุดสูงกว่า 2.50 เมตรได้รับความเสียหายอย่างมาก เนื่องจากชาวบ้านไม่สามารถเก็บของได้ทันเนื่องจากน้ำป่ามาเร็วมาก
นอกจากนั้น ฝนที่ตกตลอดทั้งคืนยังทำให้เกิดดินสไลด์และต้นไม้หักโค่นขวางถนนสายบ้านสบขุ่น-ดอยติ้ว บ้านสันเจริญถูกตัดขาดกว่า 6 หมู่บ้าน ทาง อบต.แสนทอง ต้องร่วมกับทหารกองพันทหารม้าที่ 10 นำกำลังเข้าไปช่วยเหลือประชาชน โดยมีบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายกว่า 400 หลังคาเรือน ชาวบ้านต้องติดอยู่บนบ้าน
**กรุงเก่าเริ่มจม-ประกาศภัยพิบัติ3อำเภอ
ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อเช้าวานนี้ระดับในแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านหน้าวัดไชยวัฒนาราม เหลืออีกประมาณ 80 ซ.ม.จะล้นแนวตลิ่งท่วมสันเขื่อนด้านหน้าวัดไชยวัฒนาราม โดยนายสุพจน์ พรหมมาโนช ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่จากอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ดูแลเช็คระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาทุกชั่วโมง เพื่อจะได้เตรียมแผนเพิ่มเติมหากน้ำถึงจุดวิกฤต
ส่วนน้ำในคลองบางหลวง อ.บางบาล ซึ่งรับน้ำมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขต ต.โผงเผง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ขณะนี้ชาวบ้านริมคลองบางหลวงทั้ง ต.วัดตะกู ต.บางหัก ต.บางหลวง และ ต.บางหลวงโดด อ.บางบาล ต้องขนย้ายสิ่งของหนีน้ำอีกครั้งหลังจากระดับน้ำในคลองบางหลวง เริ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นายนพดล ชินะจิตร นายอำเภอบางบาล กล่าวว่า หลังจากเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เร่งระบายน้ำลงมาทำให้น้ำเอ่อท่วมบ้านเรือนประชาชน ในตำบล วัดตะกู ต.บางหลวงโดด ต.บางหัก และ ต.น้ำเต้า ทำให้เกษตรกรที่ปลูกกล้วยหอมและกล้วยไข่ เร่งขุดหน่อกล้วยหนีน้ำท่วม เพื่อเก็บไว้ทำพันธุ์หลังน้ำลด บางรายก็ปล่อยทิ้งไว้ ส่วนเกษตรกรชาวนา ทางอำเภอได้ประสานกับชลประทานให้ปิดประตูระบายไว้ก่อนเพราะต้นข้าวกำลังออกรวงเหลืออีก 1 เดือนจะเก็บเกี่ยวข้าว ถ้าปล่อยน้ำเข้าไปท่วมนาข้าวเสียหายจำนวนหลาย 1,000 ไร่
สำหรับพื้นที่ อ.เสนา อ.ผักไห่ ซึ่งมีแม่น้ำน้อยไหลผ่านนั้น พบว่าชาวบ้านบางส่วนเริ่มที่จะขนย้ายสิ่งของมาไว้ริมถนนชั่วคราว เนื่องจากน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลย้อนเข้าแม่น้ำน้อย จนทำให้น้ำท่วมสูงขึ้นอีก ซึ่งชาวนาในพื้นที่ อ.ผักไห่ กังวลว่า ข้าวที่ใกล้จะเก็บเกี่ยวอีก 2 เดือน จะถูกน้ำท่วมเสียหายประมาณ 20,000 ไร่
ล่าสุดนายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงนามในคำสั่งประกาศเขตภัยพิบัติฉุกเฉินใน 3 อำเภอ ประกอบด้วย อ.บางปะอิน บางไทร และ อ.พระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 34 ตำบล 173 หมู่บ้าน และในวันนี้ (8)จะประกาศเพิ่มอีก 5 อำเภอ คือ อ.บางบาล เสนา ผักไห่ บางปะหัน และ อ.นครหลวง ซึ่งทั้งหมดเป็นพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมจากการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา
**กทม.สั่งรับมือน้ำเหนือลาก-ทะเลหนุน
นายสัญญา ชีนิมิตร ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ เปิดเผยว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ปากคลองตลาดอยู่ที่ระดับ 1.60 เมตร จากข้อมูลกรมชลประทานและกรมอุทกศาสตร์ รายงานว่าในวันที่ 10 ส.ค.นี้ระดับน้ำเหนือหลากและน้ำทะเลหนุนจะทำให้ระดับในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงมากในช่วงบ่ายอยู่ที่ระดับ 1.70 เมตร แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าแนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วมที่ระดับ 2.50 เมตร ที่ทาง กทม.ยังรับมือได้
อย่างไรก็ตาม ยังคงเป็นห่วงประชาชนที่พักอาศัยอยู่ริมน้ำเป็นพิเศษ รวมถึงประชาชนที่มีบ้านอยู่นอกแนวคันกั้นน้ำอีก 27 ชุมชนที่อาจจะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เบื้องต้นได้สั่งการให้ทางสำนักงานเขตในพื้นที่เตรียมกระสอบทรายและเครื่องสูบน้ำให้มีความพร้อม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแล้ว รวมถึงจัดเจ้าหน้าที่หน่วยเคลื่อนที่เร็ว หรือเบสท์ 95 หน่วย ประจำจุดต่างๆ อีกทั้งยังมีศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วม สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานครคอยรับแจ้ง และแก้ไขปัญหาน้ำท่วมให้ประชาชนได้แจ้งที่หมายเลข 0-2248-5115 ตลอด 24 ชม.
**พท.ยัน "ปู"เริ่มทำงานช่วย้ำท่วม
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า หลังจากที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับการโปรดเกล้าฯเป็นนายกรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว คาดว่าประมาณวันที่ 9 ส.ค.ทางนายกรัฐมนตรีจะนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯเพราะจะต้องทำให้เร็วที่สุดเพื่อเร่งรีบทำงาน เนื่องจากขณะนี้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก
สำหรับภารกิจแรกที่นายกรัฐมนตรีจะเร่งรีบทำงานนั่น คือ ไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากภาวะน้ำท่วม
**ปภ.ระบุน้ำยังท่วมอีก16จังหวัด
ด้านกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)รายงานว่า อิทธิพลของพายุนกเตน ช่วงที่ผ่านมาซึ่งส่งผลกระทบทำให้เกิดอุทกภัยใน 20 จังหวัดขณะนี้มีจังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว อยู่ระหว่างฟื้นฟู 4 จังหวัด ได้แก่ น่าน เลย หนองคาย และประจวบคีรีขันธ์ ส่วนจังหวัดที่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 16 จังหวัด ได้แก่ แพร่ สุโขทัย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก ตาก นครสวรรค์ นครพนม อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร และเพชรบูรณ์ มีผู้เสียชีวิต 20 ราย สูญหาย 1 คน
ขณะเดียวกันที่ จ.พระนครศรีอยุธยา น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มไหลลงสู่คลองบางหลวง จนล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอได้แก่ บางบาล เสนา และผักไห่ ส่วน จ.อ่างทอง น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ได้ไหลลงสู่คลองระบายน้ำน้อย 5 ทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่การเกษตร หมู่ที่ 1-6 ต.เทวราช อ.ไชโย ระดับน้ำสูง 15 ซ.ม.ทั้งนี้ การบริหารจัดการน้ำในเขื่อน ทางกรมชลประทานจะใช้เขื่อนเจ้าพระยา และระบบชลประทานควบคุมและพร่องน้ำ ให้ไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาไม่เกิน 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบในพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำเจ้าพระยา บริเวณ จ.อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา กรมชลประทานจึงแจ้งให้ทั้งสองจังหวัดเตรียมรับสถานการณ์แล้ว
**อุตุฯเตือนเหนือ-อีสานยังเผชิญฝนตก
กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานสภาพอากาศ พบว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังพัดปกคลุมทะเลอันดามันประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีความกดอากาศต่ำปกคลุม ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนในเกณฑ์กระจาย และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคเหนือตอนบน และด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในระยะ 1-2 วันนี้ ส่วนกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลจะมีฝนตกหนัก
วานนี้(7 ส.ค.)นายศุภมิตร เลื่อนสุพรรณ นายอำเภอสบเมย จ.แม่ฮ่องสอน กล่าวว่า อำเภอสบเมย ได้รับรายงานจากชุดรักษาความปลอดภัย อส.ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่ละอูน และบ้านแม่ลามาหลวง อำเภอสบเมยว่า เมื่อคืนวันที่ 6 ส.ค.ที่ผ่านมาได้เกิดเหตุน้ำป่าไหลหลากทะลักเข้าหมู่บ้านทั้ง 2 แห่ง ในเบื้องต้นมีผู้หนีภัยจาการสู้รบได้รับความเดือนร้อนและบ้านเรือนได้รับความเสียหาย 346 ครอบครัว แต่ยังไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ทางอำเภอได้ส่งกำลังเจ้าหน้าเดินทางเข้าไปสำรวจความเสียหายแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถเดินทางเข้าถึงได้ เนื่องถนนมีดินสไลด์ปิดทับเส้นทางตลอดเส้นทาง
นายศุภมิตร กล่าวต่อว่า สำหรับการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์น้ำป่าไหลหลากดินโคลนถล่มออกจากพื้นที่ประสบภัยบ้านปู่ทานั้น เจ้าหน้าที่ อส.และทหารได้ช่วยกันแบกร่างของผู้ที่มีอาการสาหัส 4 คน ประกอบด้วย ด.ช.พงศกร ศรีโสภาจำปี อายุ 2 ปี 8 เดือนมีบาดแผลตามใบหน้าและลำตัว ด.ช.ปฏิภาณ ศรีโสภาจำปี อายุ 6 ปี มีบาดแผลบริเวณอุ้งเท้า นิ้วหัวแม่โป้ขวาหลุด ด.ญ.หน่อแพ ไม่มีสกุล อายุ 14 ปี ถูกไม้หนีบบริเวณสะโพก และนางนารี บรรพตธารา อายุ 22 ปีถูกไม้กระแทกบริเวณสะโพก ข้ามลำห้วยและลัดเลาะไปตามไหล่เขาออกมาที่จุดลงเรือลำน้ำสาละวิน เข้าสู่แม่น้ำเมยออกทาง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก เนื่องจากเส้นทางเข้าสู่อำเภอแม่สะเรียง ซึ่งเป็นจุดที่อยู่ใกล้ที่สุดถนนถูกตัดขาด โดยมีชุด EMS โรงพยาบาลแม่สะเรียง และโรงพยาบาลสมเมย พร้อมแพทย์ มารอรับผู้ป่วย ณ ท่าเรือแม่ตะวอ อ.ท่าสองยาง ซึ่งผู้บาดเจ็บ 3 รายที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนต้องนำส่งโรงพยาบาลท่าสองยาง ซึ่งใกล้สุดและอีก 1 ราย เข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลสบเมย
ส่วนการเข้าช่วยเหลือ พ.อ.สุทัศน์ จารุมณี รักษาราชการผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 7 และ พ.อ.คชาชาต บุญดี ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารพรานที่ 36 อำนวยการและสั่งการให้มีการเปลี่ยนเส้นทางการลำเลียงสิ่งของ ถุงยังชีพ เครื่องอุปโภคบริโภค เสื้อผ้า ยารักษาโรค เข้าไปมอบให้ราษฎร เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อน ที่ประสบภัยพิบัติน้ำป่าไหลหลากดินโคลนถล่มบ้านปู่ทา ต.แม่สามแลบ อ.สบเมย จากเส้นทางเดิมระหว่างแม่สะเรียง-แม่สามแลบ ถนนถูกตัดขาดรถยนต์ไม่สามารถวิ่งผ่านไปได้ จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนเส้นทางนำสิ่งของไปลงเรือที่ บ.แม่ตะวอ ต.ท่าสองยาง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก โดยมีหน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารพรานที่ 35 จะเป็นหน่วยรับสิ่งของต่อ เพื่อนำเข้าพื้นที่ช่วยเหลือราษฎรหมู่บ้านที่ประสบภัยต่อไป
สำหรับสถานการณ์ในพื้นที่ประสบภัยบ้านปู่ทา สภาพบ้านเรือนบางจุดถูกดินโคลน เศษไม้ใบหญ้า ถล่มทับสูงหลายเมตร และยังมีฝนตกลงมาบ้างแต่ไม่หนัก ทำให้การค้นหาผู้สูญหายอีก 1 รายเป็นไปด้วยความยากลำบาก จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่เจอ
**ฉก.ทพ.35จัดทีมล่องน้ำเมยช่วยผู้ประสบภัย
ขณะที่ พ.อ.นพดล วัชรจิตบวร ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 35 อ.แม่สอด จ.ตาก ได้สั่งระดมกำลังทหารพราน 35 ออกล่องเรือลาดตระเวนตามริมแม่น้ำเมยชายแดนไทย-พม่า ตั้งแต่ อ.แม่สอด-ถึง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก รอยต่อ จ.แม่ฮ่องสอน เพื่อเตรียมรับสถานการณ์แม่น้ำล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร และให้การช่วยเหลือได้อย่างเร่งด่วนหากเกิดกรณีฉุกเฉิน
รวมทั้งจัดส่งเสบียงอาหาร ยาเวชภัณฑ์ และ จนท.ประจำตามจุดต่างๆ เพื่อให้การช่วยเหลือพยาบาลหากเจ็บไข้ได้ป่วยโดยมีทั้งทหารพรานชุดแพทย์สนาม-ชุดพลาธิการ และชุดกู้ชีพกู้ภัย รวมทั้งชุดคุ้มกันเพื่ออำนวยความสะดวกและให้การช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบอุทกภัยตลอด 24 ชั่วโมงด้วย
นอกจากนี้ พ.อ.นพดล ยังมอบหมายให้ พ.ท.สุพร เรือศรีจันทร์ รอง ผบ.ฉก.ทพ.35 นำสิ่งของอาหารเครื่องดื่มไปมอบให้ ด.ช.ปฏิภาณ ศรีโสภาจำปี และ ด.ช.พงศกร ศรีโสภาจำปี ที่โรงพยาบาลแม่สอดเพื่อเป็นกำลังใจและปลอบขวัญเด็กทั้ง 2 คนหลังจากมีฝนตกหนักทำให้น้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่มในพื้นที่บ้านปู่ทา ทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บหลายราย
รวมทั้งสั่งการให้หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 35 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 36 อ.สบเมย จ.ม่ฮ่องสอน ประสานงานกันเพื่อช่วยเหลือราษฎรโดยจัดกำลังเดินทางเท้าและลงเรือหางยาวจาก อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ไปช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บที่บ้านปู่ทาอีก 6 คนนำส่งโรงพยาบาลท่าสองยาง 3 คน, โรงพยาบาลสบเมย 3 คน และต่อมาโรงพยาบาลท่าสองยางได้ส่งเด็ก 2 คนไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลแม่สอด เนื่องจากอาการบาดเจ็บสาหัส โดยทหารพรานได้เข้าดูแลและช่วยเหลืออย่างเต็มที่
**ผู้ว่าฯตากเผยน้ำท่วมที่สามเงายังรุนแรง
นายสามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก เเผยถึงสถานการณ์น้ำท่วมใน พื้นที่ จ.ตาตากว่า ยังรุนแรง โดยเฉพาะพื้นที่ อ.สามเงาได้เกิดน้ำป่าไหลหลาก เนื่องจากแม่น้ำวังเอ่อล้นไหลทะลักเข้าท่วมพื้นที่ สร้างความเสียหายแก่บ้านเรือน ไร่นา สวนผลไม้และถนนทำให้การเดินทางยากลำบากและในบางส่วนถนนขาดทำให้เดินทางผ่านไปไม่ได้ ระดับน้ำสูงประมาณ 30 ซ.ม.บางแหล่งสูง 1-2 เมตร เช่น ต.ยกกระบัตร อ.สามเงา ที่บ้านแม่เชียงราย หมู่ 7 เสียหายทั้งหมู่บ้านกว่า 600 หลังคาเรือน ซึ่งทางจังหวัดได้เร่งแจกจ่ายถุงทรายตามจุดต่างๆ รวม 40,000 ถุงเพื่อทำแนวกันน้ำที่จะเข้าทำลายบ้านเรือน พร้อมตั้งจุดบรรเทาทุกข์โดยแจกจ่ายน้ำดื่มและยารักษาโรคให้กับผู้เดือดร้อนและจุดตรวจสอบน้ำตลอด 24 ชั่วโมง
นายสามารถ กล่าวว่า ในวันนี้(8)เหล่ากาชาดจังหวัดตากจะนำเครื่องอุปโภคบริโภคไปช่วยเหลือราษฎรบ้านแม่สลิด ต.แม่สอง อ.ท่าสองยาง และจะกระจายไปยังพื้นที่อื่นๆ ที่ประสบภัยน้ำท่วม
**ทะลักท่วมท่าวังผา400หลังคากลางดึก
ส่วนที่ จ.น่าน เมื่อกลางดึกวันที่ 6 ส.ค.ที่ผ่านมาน้ำป่าจากลำห้วยริม ได้พัดเอาดินโคลนบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนราษฏรหลายหมู่บ้านในพื้นที่ ต.ริม และ ต.แสนทอง อ.ท่าวังผา โดยระดับน้ำบางจุดสูงกว่า 2.50 เมตรได้รับความเสียหายอย่างมาก เนื่องจากชาวบ้านไม่สามารถเก็บของได้ทันเนื่องจากน้ำป่ามาเร็วมาก
นอกจากนั้น ฝนที่ตกตลอดทั้งคืนยังทำให้เกิดดินสไลด์และต้นไม้หักโค่นขวางถนนสายบ้านสบขุ่น-ดอยติ้ว บ้านสันเจริญถูกตัดขาดกว่า 6 หมู่บ้าน ทาง อบต.แสนทอง ต้องร่วมกับทหารกองพันทหารม้าที่ 10 นำกำลังเข้าไปช่วยเหลือประชาชน โดยมีบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายกว่า 400 หลังคาเรือน ชาวบ้านต้องติดอยู่บนบ้าน
**กรุงเก่าเริ่มจม-ประกาศภัยพิบัติ3อำเภอ
ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อเช้าวานนี้ระดับในแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านหน้าวัดไชยวัฒนาราม เหลืออีกประมาณ 80 ซ.ม.จะล้นแนวตลิ่งท่วมสันเขื่อนด้านหน้าวัดไชยวัฒนาราม โดยนายสุพจน์ พรหมมาโนช ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่จากอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ดูแลเช็คระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาทุกชั่วโมง เพื่อจะได้เตรียมแผนเพิ่มเติมหากน้ำถึงจุดวิกฤต
ส่วนน้ำในคลองบางหลวง อ.บางบาล ซึ่งรับน้ำมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขต ต.โผงเผง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ขณะนี้ชาวบ้านริมคลองบางหลวงทั้ง ต.วัดตะกู ต.บางหัก ต.บางหลวง และ ต.บางหลวงโดด อ.บางบาล ต้องขนย้ายสิ่งของหนีน้ำอีกครั้งหลังจากระดับน้ำในคลองบางหลวง เริ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นายนพดล ชินะจิตร นายอำเภอบางบาล กล่าวว่า หลังจากเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เร่งระบายน้ำลงมาทำให้น้ำเอ่อท่วมบ้านเรือนประชาชน ในตำบล วัดตะกู ต.บางหลวงโดด ต.บางหัก และ ต.น้ำเต้า ทำให้เกษตรกรที่ปลูกกล้วยหอมและกล้วยไข่ เร่งขุดหน่อกล้วยหนีน้ำท่วม เพื่อเก็บไว้ทำพันธุ์หลังน้ำลด บางรายก็ปล่อยทิ้งไว้ ส่วนเกษตรกรชาวนา ทางอำเภอได้ประสานกับชลประทานให้ปิดประตูระบายไว้ก่อนเพราะต้นข้าวกำลังออกรวงเหลืออีก 1 เดือนจะเก็บเกี่ยวข้าว ถ้าปล่อยน้ำเข้าไปท่วมนาข้าวเสียหายจำนวนหลาย 1,000 ไร่
สำหรับพื้นที่ อ.เสนา อ.ผักไห่ ซึ่งมีแม่น้ำน้อยไหลผ่านนั้น พบว่าชาวบ้านบางส่วนเริ่มที่จะขนย้ายสิ่งของมาไว้ริมถนนชั่วคราว เนื่องจากน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลย้อนเข้าแม่น้ำน้อย จนทำให้น้ำท่วมสูงขึ้นอีก ซึ่งชาวนาในพื้นที่ อ.ผักไห่ กังวลว่า ข้าวที่ใกล้จะเก็บเกี่ยวอีก 2 เดือน จะถูกน้ำท่วมเสียหายประมาณ 20,000 ไร่
ล่าสุดนายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงนามในคำสั่งประกาศเขตภัยพิบัติฉุกเฉินใน 3 อำเภอ ประกอบด้วย อ.บางปะอิน บางไทร และ อ.พระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 34 ตำบล 173 หมู่บ้าน และในวันนี้ (8)จะประกาศเพิ่มอีก 5 อำเภอ คือ อ.บางบาล เสนา ผักไห่ บางปะหัน และ อ.นครหลวง ซึ่งทั้งหมดเป็นพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมจากการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยา
**กทม.สั่งรับมือน้ำเหนือลาก-ทะเลหนุน
นายสัญญา ชีนิมิตร ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ เปิดเผยว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ปากคลองตลาดอยู่ที่ระดับ 1.60 เมตร จากข้อมูลกรมชลประทานและกรมอุทกศาสตร์ รายงานว่าในวันที่ 10 ส.ค.นี้ระดับน้ำเหนือหลากและน้ำทะเลหนุนจะทำให้ระดับในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงมากในช่วงบ่ายอยู่ที่ระดับ 1.70 เมตร แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าแนวเขื่อนป้องกันน้ำท่วมที่ระดับ 2.50 เมตร ที่ทาง กทม.ยังรับมือได้
อย่างไรก็ตาม ยังคงเป็นห่วงประชาชนที่พักอาศัยอยู่ริมน้ำเป็นพิเศษ รวมถึงประชาชนที่มีบ้านอยู่นอกแนวคันกั้นน้ำอีก 27 ชุมชนที่อาจจะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เบื้องต้นได้สั่งการให้ทางสำนักงานเขตในพื้นที่เตรียมกระสอบทรายและเครื่องสูบน้ำให้มีความพร้อม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแล้ว รวมถึงจัดเจ้าหน้าที่หน่วยเคลื่อนที่เร็ว หรือเบสท์ 95 หน่วย ประจำจุดต่างๆ อีกทั้งยังมีศูนย์ควบคุมระบบป้องกันน้ำท่วม สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานครคอยรับแจ้ง และแก้ไขปัญหาน้ำท่วมให้ประชาชนได้แจ้งที่หมายเลข 0-2248-5115 ตลอด 24 ชม.
**พท.ยัน "ปู"เริ่มทำงานช่วย้ำท่วม
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า หลังจากที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้รับการโปรดเกล้าฯเป็นนายกรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว คาดว่าประมาณวันที่ 9 ส.ค.ทางนายกรัฐมนตรีจะนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯเพราะจะต้องทำให้เร็วที่สุดเพื่อเร่งรีบทำงาน เนื่องจากขณะนี้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก
สำหรับภารกิจแรกที่นายกรัฐมนตรีจะเร่งรีบทำงานนั่น คือ ไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากภาวะน้ำท่วม
**ปภ.ระบุน้ำยังท่วมอีก16จังหวัด
ด้านกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)รายงานว่า อิทธิพลของพายุนกเตน ช่วงที่ผ่านมาซึ่งส่งผลกระทบทำให้เกิดอุทกภัยใน 20 จังหวัดขณะนี้มีจังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว อยู่ระหว่างฟื้นฟู 4 จังหวัด ได้แก่ น่าน เลย หนองคาย และประจวบคีรีขันธ์ ส่วนจังหวัดที่ยังคงมีสถานการณ์อุทกภัย 16 จังหวัด ได้แก่ แพร่ สุโขทัย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก ตาก นครสวรรค์ นครพนม อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร และเพชรบูรณ์ มีผู้เสียชีวิต 20 ราย สูญหาย 1 คน
ขณะเดียวกันที่ จ.พระนครศรีอยุธยา น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มไหลลงสู่คลองบางหลวง จนล้นตลิ่งเข้าท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอได้แก่ บางบาล เสนา และผักไห่ ส่วน จ.อ่างทอง น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ได้ไหลลงสู่คลองระบายน้ำน้อย 5 ทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่การเกษตร หมู่ที่ 1-6 ต.เทวราช อ.ไชโย ระดับน้ำสูง 15 ซ.ม.ทั้งนี้ การบริหารจัดการน้ำในเขื่อน ทางกรมชลประทานจะใช้เขื่อนเจ้าพระยา และระบบชลประทานควบคุมและพร่องน้ำ ให้ไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาไม่เกิน 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบในพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำเจ้าพระยา บริเวณ จ.อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา กรมชลประทานจึงแจ้งให้ทั้งสองจังหวัดเตรียมรับสถานการณ์แล้ว
**อุตุฯเตือนเหนือ-อีสานยังเผชิญฝนตก
กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานสภาพอากาศ พบว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังพัดปกคลุมทะเลอันดามันประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีความกดอากาศต่ำปกคลุม ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนในเกณฑ์กระจาย และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคเหนือตอนบน และด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในระยะ 1-2 วันนี้ ส่วนกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลจะมีฝนตกหนัก