เรื่องราวของเก๊-ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ กำลังเป็นที่กล่าวขานของคนในสังคม ในฐานะที่พอจะนับได้ว่าผมเป็นคนที่รู้จักมักคุ้นกับเก๊พอประมาณ ผมคงต้องแสดงความเสียใจกับเก๊ที่ต้องออกจากองค์กรที่ตัวเองอยู่มานานถึง 26 ปีด้วย และไม่อาจละเลยที่จะพูดถึงเรื่องของเก๊ได้
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้เก๊สร้างตัวเองกลายเป็นไอดอลของคนทำงานสื่อยุคใหม่ และกลายเป็นตำราเคลื่อนที่ของข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน (Investigative Journalism) ในบ้านเรา
ทันทีที่มีข่าวคราวว่า เก๊ถูกมติชนจ้างให้ออก หลังจากเขียนบทความชิ้นสุดท้ายเรื่อง “คำถามที่ยิ่งลักษณ์ยังไม่กล้าตอบ...” สังคมต่างโอ้ประโลมกันใหญ่ หนังสือพิมพ์หลายฉบับนำเสนอข่าวเรื่องนี้ บางฉบับถึงกับนำเสนอเป็นบทนำ แต่ผมคิดว่าบทบาทที่ถูกนำเสนอเหมือนกับนางเอกถูกนางร้ายรังแกนี้ ทำให้สังคมละเลยบริบทที่ซ่อนอยู่ในเรื่องนี้ไปด้วย
เก๊มีบทบาทในการเปิดโปงข่าวเรื่องการทุจริต ส.ป.ก.4-01 ในปลายสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย ในปี 2537 การเปิดโปงการทุจริตธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ (บีบีซี) ของนักการเมืองกลุ่ม 16 และการแจ้งบัญชีทรัพย์สินหนี้สินอันเป็นเท็จ จำนวนเงิน 45 ล้านบาท จนทำให้พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินเพิกถอนสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี
ในช่วงที่เป็นบรรณาธิการบริหารประชาชาติธุรกิจ เก๊มีบทบาทสำคัญในการเปิดโปงการซุกหุ้นของทักษิณ จน ป.ป.ช. ลงมติว่า ทักษิณแสดงรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จ ต้องถูกห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองนาน 5 ปี แต่ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ทักษิณมิได้กระทำผิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 295 ท่ามกลางข่าวคราวการวิ่งเต้นและกระแสทักษิณฟีเวอร์
อย่างไรก็ตาม นี่ต้องนับว่าเป็นผลงานเกียรติยศในฐานะนักข่าวคนหนึ่งของเก๊ ไม่มีใครปฏิเสธบทบาทของเก๊ในด้านนี้
แต่บอกตรงๆ นะครับ ผมไม่ได้แปลกใจในสิ่งที่มติชนกระทำต่อเก๊เลย ในฐานะที่ผมรู้จักทั้งขรรค์ชัย บุนปาน มติชนและเก๊เป็นอย่างดี ถ้าจะประหลาดใจอยู่บ้างก็คือ ตอนที่เก๊เป็นนายกสมาคมนักข่าวและเที่ยวไปเทศนาวิพากษ์วิจารณ์วงการสื่อ และสื่อค่ายอื่นๆ นั้น เก๊ไม่เคยรู้เลยหรือว่าองค์กรของตัวเองเป็นอย่างไร
มีคนยืนยันว่า เดิมทีเก๊เองแม้จะถูกโยกย้ายไปอยู่ในตำแหน่งที่ไม่มีบทบาทก็ไม่ได้มีความคิดที่จะลาออกจากค่ายมติชนแม้แต่น้อย เก๊ตั้งใจว่า จะอดทนอยู่ต่อไปถึงอายุ 55 ปี แล้วค่อยลาออก เพราะมติชนมีระเบียบว่าเมื่ออายุ 60 (สามารถใช้สิทธิได้เมื่ออายุ 55 เป็นต้นไป) จะได้เงินก้อนเหมือนบำเหน็จตามเงินเดือน ตามอายุงาน แต่เมื่อฝ่ายบริหารยื่นเงื่อนไขดังกล่าวให้เก๊โดยไม่ต้องรอถึง 55 ปี เก๊ก็ไม่รีรอและตอบรับเงื่อนไขดังกล่าวโดยดี
มีข่าวว่าเก๊ได้รับเงินกว่า 3 ล้านบาท เงิน 3 ล้านบาทไม่เยอะหรอกครับสำหรับคนที่ทำงานรับใช้องค์กรมาอย่างซื่อสัตย์ แต่ผมบอกว่ามันขัดแย้งกับที่ตัวเก๊ทำให้สังคมเชื่อว่าเก๊เป็นคนไม่ยอมจำนน
เพราะหลังจากถูกให้ออกจากค่ายมติชนแล้ว เก๊ได้ให้สัมภาษณ์เพียงว่า เป็นการจากกันโดยดี และเป็นที่พอใจของทั้ง 2 ฝ่าย สำหรับผมแล้วคำพูดแค่นี้มันขัดแย้งกับสิ่งที่เก๊พยายามสร้างตัวให้สังคมเชื่อในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
กลายเป็นว่า เราไม่รู้ว่าใครผิด แต่เท่าที่สดับฟังตอนนี้สังคมกล่าวหาว่ามติชนนั้นบีบให้เก๊ลาออกเพราะไปวิพากษ์ยิ่งลักษณ์ที่กำลังกลายเป็นขั้วอำนาจใหม่ และมติชนถือหางหลังจากให้เก๊ลาออกวันเดียวก็มีข่าวว่ายิ่งลักษณ์มากินข้าวกับผู้บริหารมติชน
นักวิชาการจำนวนมากออกมาวิพากษ์วิจารณ์การที่เก๊ถูกมติชนจ้างให้ออก หนังสือพิมพ์หลายฉบับถึงกับนำเสนอเรื่องนี้เป็นบทนำ แต่คำถามของผมก็คือ ทำไมเก๊ถึงเงียบ แล้วองค์กรสื่อต่างๆ เช่น สภาการหนังสือพิมพ์ สมาคมนักข่าวฯ หรือองค์กรสื่อต่างๆ ถึงไม่ออกมาเคลื่อนไหว
คนที่เขียนบทความในมติชนเที่ยวชี้นำสังคมให้ยึดถือความถูกต้องคุณธรรม เช่น วสิษฐ เดชกุญชร นิธิ เอียวศรีวงศ์ เกษียร เตชะพีระ ฯลฯ ทำไมจึงยังเป็นคอลัมนิสต์อยู่ หรือว่าสิ่งที่มติชนถูกกล่าวหาไม่เป็นความจริง
บอกตรงๆ ว่าผมไม่รู้ครับ แต่ในเมื่อบอกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน เก๊ซึ่งมักจะออกมาพูดเรื่องนี้เสมอทำไมจึงเงียบ องค์กรวิชาชีพสื่อทำไมเงียบ หรือว่าองค์กรของคนวิชาชีพนี้เป็นเพียงเสือกระดาษสากกระเบือเท่านั้นเอง
อย่าลืมนะครับว่า เก๊พูดเสมอเรื่องเสรีภาพสื่อ การไม่ยอมจำนนต่ออำนาจการเมืองและกลุ่มทุน การจำนนง่ายๆ จึงขัดแย้งกับสิ่งที่เก๊เทศนาและวิพากษ์วิจารณ์คนอื่น เพื่อให้สังคมเชื่อว่า เก๊เป็นนางเอกที่ถูกรังแกในวันนี้
ครั้งหนึ่งเก๊กล่าวว่า สื่อมวลชนไทยจึงต้องเอาอกเอาใจนักการเมือง เนื่องจากนักการเมืองเป็นผู้คุมงบประมาณของโฆษณาภาครัฐอยู่ ซึ่งถ้าหากไม่มีโฆษณาจากภาครัฐสื่อจะทำกำไรไม่ได้ หรืออาจอยู่รอดไม่ได้ และพนักงานขององค์กรสื่ออาจจะต้องตกงาน
ตอนที่เก๊อภิปรายเรื่องนี้อยู่นั้น เครือมติชนที่เก๊อาศัยกินเงินเดือนอยู่นั่นแหละเป็นองค์กรที่หากินกับงบประมาณของสื่อภาครัฐมากที่สุด
เก๊ กล่าวว่า “เราจะยอมรับหรือเปล่าให้สื่อเป็นเครื่องมือทางการเมืองได้ เราจะยอมรับความจริงไหม วันนี้ถ้าเกิดพรรคพันธมิตรฯ ตั้ง ASTV บอกไม่ใช่ของพรรคหรอก มันเป็นเครื่องมือทางการเมืองแน่นอน ...”
แปลความตรงๆ จากคำพูดของเก๊ก็คือว่า ASTV ไม่ใช่สื่อ เก๊ยังพูดทำนองนี้หลายครั้งหลายวาระในฐานะสมาคมนักข่าวฯ ไม่ว่า ASTV จะได้รับผลกระทบทางการเมืองอย่างไร ก็ไม่เคยมีปฏิกิริยาที่จะใช้สถานะของนายกสมาคมนักข่าวออกมาปกป้องพวกเราเหมือนกับที่เวลามีอะไรไปกระทบต่อองค์กรสื่ออื่นๆ
ผมไม่ได้หมายความว่า ASTV จะไปเรียกร้องขอความเห็นใจอะไรจากองค์กรสื่อ เพราะเราเองไม่ได้เรียกร้องหรือต้องการ สำหรับผมแล้วองค์กรสื่อในบ้านเรานั้นมีค่าเป็นแค่แหล่งหาผลประโยชน์ เป็นสุสานและเสือกระดาษที่ไม่ได้มีคุณค่าอะไร แต่ต้องการตอกย้ำว่า เก๊มองบทบาทของ ASTV อย่างไร
ผมยอมรับครับว่า ASTV เป็นเครื่องมือทางการเมืองครับ แต่ ASTV เป็นเครื่องมือทางการเมืองของประชาชน ถ้าย้อนไปถึงสิ่งที่เก๊พูดอภิปรายครั้งหนึ่งว่า สื่อบ้านเราและในโลกนี้มักไม่ได้เสนอทางออกของปัญหาด้วย ซึ่งผมก็อยากจะบอกว่า ASTV ที่เก๊บอกว่าไม่ใช่สื่อ แต่เป็นเครื่องมือทางการเมืองนี่แหละครับ ที่ไม่เพียงแต่เสนอทางออกให้กับสังคม แต่ยังลงไปร่วมทุกข์ร่วมสุขกับสังคม และวิพากษ์วิจารณ์ทั้งรัฐบาลทักษิณ นอมินีทักษิณ และรัฐบาลอภิสิทธิ์ด้วย
ถ้าเก๊เชื่อว่า ทักษิณเป็นนักการเมืองที่ชั่วร้ายและผมก็คิดอย่างนั้น เพราะบทบาทและการลงมือของ ASTV ไม่ใช่หรือครับที่สามารถหยุดยั้งความชั่วร้ายของระบอบทักษิณได้
ผมไม่รู้ว่าใครผิดหรือถูกระหว่างเก๊กับมติชน แต่วันนี้สังคมประณามมติชนไปแล้ว ถ้าไม่มีอะไรปิดปาก ผมอยากให้เก๊ช่วยวิจารณ์ว่ามติชนเป็นสื่อรับใช้การเมืองหรือไม่ หรือที่จริงเก๊นั่นแหละที่ยอมจำนนต่อทุนการเมือง
ในช่วงไม่กี่ปีมานี้เก๊สร้างตัวเองกลายเป็นไอดอลของคนทำงานสื่อยุคใหม่ และกลายเป็นตำราเคลื่อนที่ของข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน (Investigative Journalism) ในบ้านเรา
ทันทีที่มีข่าวคราวว่า เก๊ถูกมติชนจ้างให้ออก หลังจากเขียนบทความชิ้นสุดท้ายเรื่อง “คำถามที่ยิ่งลักษณ์ยังไม่กล้าตอบ...” สังคมต่างโอ้ประโลมกันใหญ่ หนังสือพิมพ์หลายฉบับนำเสนอข่าวเรื่องนี้ บางฉบับถึงกับนำเสนอเป็นบทนำ แต่ผมคิดว่าบทบาทที่ถูกนำเสนอเหมือนกับนางเอกถูกนางร้ายรังแกนี้ ทำให้สังคมละเลยบริบทที่ซ่อนอยู่ในเรื่องนี้ไปด้วย
เก๊มีบทบาทในการเปิดโปงข่าวเรื่องการทุจริต ส.ป.ก.4-01 ในปลายสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย ในปี 2537 การเปิดโปงการทุจริตธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ (บีบีซี) ของนักการเมืองกลุ่ม 16 และการแจ้งบัญชีทรัพย์สินหนี้สินอันเป็นเท็จ จำนวนเงิน 45 ล้านบาท จนทำให้พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินเพิกถอนสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี
ในช่วงที่เป็นบรรณาธิการบริหารประชาชาติธุรกิจ เก๊มีบทบาทสำคัญในการเปิดโปงการซุกหุ้นของทักษิณ จน ป.ป.ช. ลงมติว่า ทักษิณแสดงรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินอันเป็นเท็จ ต้องถูกห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองนาน 5 ปี แต่ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ทักษิณมิได้กระทำผิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 295 ท่ามกลางข่าวคราวการวิ่งเต้นและกระแสทักษิณฟีเวอร์
อย่างไรก็ตาม นี่ต้องนับว่าเป็นผลงานเกียรติยศในฐานะนักข่าวคนหนึ่งของเก๊ ไม่มีใครปฏิเสธบทบาทของเก๊ในด้านนี้
แต่บอกตรงๆ นะครับ ผมไม่ได้แปลกใจในสิ่งที่มติชนกระทำต่อเก๊เลย ในฐานะที่ผมรู้จักทั้งขรรค์ชัย บุนปาน มติชนและเก๊เป็นอย่างดี ถ้าจะประหลาดใจอยู่บ้างก็คือ ตอนที่เก๊เป็นนายกสมาคมนักข่าวและเที่ยวไปเทศนาวิพากษ์วิจารณ์วงการสื่อ และสื่อค่ายอื่นๆ นั้น เก๊ไม่เคยรู้เลยหรือว่าองค์กรของตัวเองเป็นอย่างไร
มีคนยืนยันว่า เดิมทีเก๊เองแม้จะถูกโยกย้ายไปอยู่ในตำแหน่งที่ไม่มีบทบาทก็ไม่ได้มีความคิดที่จะลาออกจากค่ายมติชนแม้แต่น้อย เก๊ตั้งใจว่า จะอดทนอยู่ต่อไปถึงอายุ 55 ปี แล้วค่อยลาออก เพราะมติชนมีระเบียบว่าเมื่ออายุ 60 (สามารถใช้สิทธิได้เมื่ออายุ 55 เป็นต้นไป) จะได้เงินก้อนเหมือนบำเหน็จตามเงินเดือน ตามอายุงาน แต่เมื่อฝ่ายบริหารยื่นเงื่อนไขดังกล่าวให้เก๊โดยไม่ต้องรอถึง 55 ปี เก๊ก็ไม่รีรอและตอบรับเงื่อนไขดังกล่าวโดยดี
มีข่าวว่าเก๊ได้รับเงินกว่า 3 ล้านบาท เงิน 3 ล้านบาทไม่เยอะหรอกครับสำหรับคนที่ทำงานรับใช้องค์กรมาอย่างซื่อสัตย์ แต่ผมบอกว่ามันขัดแย้งกับที่ตัวเก๊ทำให้สังคมเชื่อว่าเก๊เป็นคนไม่ยอมจำนน
เพราะหลังจากถูกให้ออกจากค่ายมติชนแล้ว เก๊ได้ให้สัมภาษณ์เพียงว่า เป็นการจากกันโดยดี และเป็นที่พอใจของทั้ง 2 ฝ่าย สำหรับผมแล้วคำพูดแค่นี้มันขัดแย้งกับสิ่งที่เก๊พยายามสร้างตัวให้สังคมเชื่อในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
กลายเป็นว่า เราไม่รู้ว่าใครผิด แต่เท่าที่สดับฟังตอนนี้สังคมกล่าวหาว่ามติชนนั้นบีบให้เก๊ลาออกเพราะไปวิพากษ์ยิ่งลักษณ์ที่กำลังกลายเป็นขั้วอำนาจใหม่ และมติชนถือหางหลังจากให้เก๊ลาออกวันเดียวก็มีข่าวว่ายิ่งลักษณ์มากินข้าวกับผู้บริหารมติชน
นักวิชาการจำนวนมากออกมาวิพากษ์วิจารณ์การที่เก๊ถูกมติชนจ้างให้ออก หนังสือพิมพ์หลายฉบับถึงกับนำเสนอเรื่องนี้เป็นบทนำ แต่คำถามของผมก็คือ ทำไมเก๊ถึงเงียบ แล้วองค์กรสื่อต่างๆ เช่น สภาการหนังสือพิมพ์ สมาคมนักข่าวฯ หรือองค์กรสื่อต่างๆ ถึงไม่ออกมาเคลื่อนไหว
คนที่เขียนบทความในมติชนเที่ยวชี้นำสังคมให้ยึดถือความถูกต้องคุณธรรม เช่น วสิษฐ เดชกุญชร นิธิ เอียวศรีวงศ์ เกษียร เตชะพีระ ฯลฯ ทำไมจึงยังเป็นคอลัมนิสต์อยู่ หรือว่าสิ่งที่มติชนถูกกล่าวหาไม่เป็นความจริง
บอกตรงๆ ว่าผมไม่รู้ครับ แต่ในเมื่อบอกว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน เก๊ซึ่งมักจะออกมาพูดเรื่องนี้เสมอทำไมจึงเงียบ องค์กรวิชาชีพสื่อทำไมเงียบ หรือว่าองค์กรของคนวิชาชีพนี้เป็นเพียงเสือกระดาษสากกระเบือเท่านั้นเอง
อย่าลืมนะครับว่า เก๊พูดเสมอเรื่องเสรีภาพสื่อ การไม่ยอมจำนนต่ออำนาจการเมืองและกลุ่มทุน การจำนนง่ายๆ จึงขัดแย้งกับสิ่งที่เก๊เทศนาและวิพากษ์วิจารณ์คนอื่น เพื่อให้สังคมเชื่อว่า เก๊เป็นนางเอกที่ถูกรังแกในวันนี้
ครั้งหนึ่งเก๊กล่าวว่า สื่อมวลชนไทยจึงต้องเอาอกเอาใจนักการเมือง เนื่องจากนักการเมืองเป็นผู้คุมงบประมาณของโฆษณาภาครัฐอยู่ ซึ่งถ้าหากไม่มีโฆษณาจากภาครัฐสื่อจะทำกำไรไม่ได้ หรืออาจอยู่รอดไม่ได้ และพนักงานขององค์กรสื่ออาจจะต้องตกงาน
ตอนที่เก๊อภิปรายเรื่องนี้อยู่นั้น เครือมติชนที่เก๊อาศัยกินเงินเดือนอยู่นั่นแหละเป็นองค์กรที่หากินกับงบประมาณของสื่อภาครัฐมากที่สุด
เก๊ กล่าวว่า “เราจะยอมรับหรือเปล่าให้สื่อเป็นเครื่องมือทางการเมืองได้ เราจะยอมรับความจริงไหม วันนี้ถ้าเกิดพรรคพันธมิตรฯ ตั้ง ASTV บอกไม่ใช่ของพรรคหรอก มันเป็นเครื่องมือทางการเมืองแน่นอน ...”
แปลความตรงๆ จากคำพูดของเก๊ก็คือว่า ASTV ไม่ใช่สื่อ เก๊ยังพูดทำนองนี้หลายครั้งหลายวาระในฐานะสมาคมนักข่าวฯ ไม่ว่า ASTV จะได้รับผลกระทบทางการเมืองอย่างไร ก็ไม่เคยมีปฏิกิริยาที่จะใช้สถานะของนายกสมาคมนักข่าวออกมาปกป้องพวกเราเหมือนกับที่เวลามีอะไรไปกระทบต่อองค์กรสื่ออื่นๆ
ผมไม่ได้หมายความว่า ASTV จะไปเรียกร้องขอความเห็นใจอะไรจากองค์กรสื่อ เพราะเราเองไม่ได้เรียกร้องหรือต้องการ สำหรับผมแล้วองค์กรสื่อในบ้านเรานั้นมีค่าเป็นแค่แหล่งหาผลประโยชน์ เป็นสุสานและเสือกระดาษที่ไม่ได้มีคุณค่าอะไร แต่ต้องการตอกย้ำว่า เก๊มองบทบาทของ ASTV อย่างไร
ผมยอมรับครับว่า ASTV เป็นเครื่องมือทางการเมืองครับ แต่ ASTV เป็นเครื่องมือทางการเมืองของประชาชน ถ้าย้อนไปถึงสิ่งที่เก๊พูดอภิปรายครั้งหนึ่งว่า สื่อบ้านเราและในโลกนี้มักไม่ได้เสนอทางออกของปัญหาด้วย ซึ่งผมก็อยากจะบอกว่า ASTV ที่เก๊บอกว่าไม่ใช่สื่อ แต่เป็นเครื่องมือทางการเมืองนี่แหละครับ ที่ไม่เพียงแต่เสนอทางออกให้กับสังคม แต่ยังลงไปร่วมทุกข์ร่วมสุขกับสังคม และวิพากษ์วิจารณ์ทั้งรัฐบาลทักษิณ นอมินีทักษิณ และรัฐบาลอภิสิทธิ์ด้วย
ถ้าเก๊เชื่อว่า ทักษิณเป็นนักการเมืองที่ชั่วร้ายและผมก็คิดอย่างนั้น เพราะบทบาทและการลงมือของ ASTV ไม่ใช่หรือครับที่สามารถหยุดยั้งความชั่วร้ายของระบอบทักษิณได้
ผมไม่รู้ว่าใครผิดหรือถูกระหว่างเก๊กับมติชน แต่วันนี้สังคมประณามมติชนไปแล้ว ถ้าไม่มีอะไรปิดปาก ผมอยากให้เก๊ช่วยวิจารณ์ว่ามติชนเป็นสื่อรับใช้การเมืองหรือไม่ หรือที่จริงเก๊นั่นแหละที่ยอมจำนนต่อทุนการเมือง