xs
xsm
sm
md
lg

กรมป่าไม้เผยผลบุกรุกป่ากาญจนบุรี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน - กรมป่าไม้เปิดเผยผลการปฏิบัติการชุดเฉพาะกิจป้องกันปราบ ปรามการบุกรุกทำลายป่าในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ระบุสามารถดำเนินคดีกับผู้บุกรุก ได้ตามเป้าหมาย ตรวจยึดจับกุมพื้นที่เป้าหมายได้ทั้งสิ้น 63 คดี บุกรุกพื้นที่ได้ 56 คดี ตรวจยึดพื้นที่ได้กว่า 6,000 ไร่ ตรวจยึดพื้นที่ปลูกพืชผลอาสิน 22 คดี พื้นที่กว่า 2,000 ไร่

นายสุวิทย์ รัตนมณี อธิบดีกรมป่าไม้ เปิดเผยถึงผลการปฏิบัติการชุดเฉพาะกิจป้องกันปราบปรามการบุกรุกทำลายป่าในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีว่า ตามที่กรมป่าไม้ได้มีคำสั่งตั้งเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2554 กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการ ตั้งแต่ วันที่ 11 พฤษภาคม ถึงวันที่ 10 มิถุนายน 2554 รวมระยะเวลา 30 วัน มีผลการปฏิบัติการ คือ สามารถตรวจยึดจับกุมพื้นที่ตามเป้าหมายที่กรมป่าไม้กำหนดไว้และพื้นที่ใกล้เคียง ทั้งสิ้น จำนวน 63 คดี คดีบุกรุกพื้นที่ ป่าไม้ จำนวน 56 คดี ตรวจยึดพื้นที่ 6,245 ไร่ 3 งาน 65 ตารางวา จับกุมผู้กระทำผิด จำนวน 3 คน แบ่งเป็น ตรวจยึดพื้นที่ที่ปลูกพืชผลอาสิน จำนวน 22 คดี รวมพื้นที่ 2,287 ไร่ 72 ตารางวา ตรวจยึดพื้นที่ที่ยังไม่ได้ดำเนินการปลูกพืชผลอาสิน จำนวน 34 คดี รวมพื้นที่ 3,958 ไร่ 2 งาน 97 ตารางวา

นอกจากนี้ยังได้จับกุมดำเนินคดีทำไม้และครอบครองไม้แปรรูป จำนวน 7 คดี จับกุมผู้กระทำผิด 3 คน ไม้กระยาเลยท่อน 27 ท่อน ปริมาตร 6.316 ลูกบาศก์เมตร ไม้กระยาเลยแปรรูป 280 แผ่น ปริมาตร 7.703 ลูกบาศก์เมตร อุปกรณ์กระทำผิด รถแทรกเตอร์ล้อยางหรือรถไถนา 1 คัน รถยนต์บรรทุกขนาดเล็ก หรือปิกอัพ 2 คัน เลื่อยโซ่ยนต์ 2 เครื่อง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินคดีในศาล

ส่วนการตรวจสอบพื้นที่เป้าหมาย บริเวณบ้านซองกาเลีย หมู่ที่ 8 และบ้าน ตะเคียนทอง หมูที่ 9 ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เป็นพื้นที่หน่วยป้องกันรักษาป่า กจ. 5 ได้ตรวจยึดดำเนินคดีแล้ว บริเวณบ้านเวียคะดี้ หมู่ที่ 5 ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี อยู่ในพื้นที่กันออก ปัจจุบันเป็น ที่ทำกิน และราษฎรมีเอกสารที่ดิน ได้แก่ ส.ป.ก. 4-01 และ ส.ท.ก. แล้ว ส่วนบ้านประไรโหนก หมู่ที่ 10 ตำบลหนองลู อำเภอสังขละ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นพื้นที่ที่การไฟฟ้าขอใช้ประโยชน์ ให้ราษฎรผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน วชิราลงกรณ์ เป็นที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน

นายสุวิทย์ ยังได้กล่าวถึงแนวทางปฏิบัติต่อไป คือ การดำเนินการตามมาตรา 25 พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ 2507 ในพื้นที่ตรวจยึดที่มีพืชผลอาสินหรือสิ่งปลูกสร้าง ต้องทำลายทิ้งทั้งหมด แล้วดำเนินการฟื้นฟูสภาพป่า และในพื้นที่ตรวจยึดที่มีการปลูกพืชผลอาสินหรือสิ่งปลูกสร้างแล้ว ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อปลุกจิตสำนึกให้ราษฎรในพื้นที่มีส่วนร่วมในการ อนุรักษ์ป่า โดยการจัดฝึกอบรมในรูปแบบต่างๆ อาทิ โครงการราษฎรอาสา สมัครพิทักษ์ป่า หรือ รสทป. เป็นต้น
กำลังโหลดความคิดเห็น