ASTVผู้จัดการรายวัน- “เอกชน”ยื่นบีโอไอทบทวนเงื่อนไขให้บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ต้องเลิกจ้างแรงงานต่างด้าวภายใน 24 พ.ย.นี้ ออกไปอีก 2-3 ปี เหตุจะกระทบกำลังการผลิต และการส่งมอบสินค้า “บีโอไอ” เตรียมเสนอบอร์ดใหม่ชี้ขาด
นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้ทำหนังสือถึงบริษัทที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการส่งเสริมการลงทุนในการยกเลิกการจ้างแรงงานต่างด้าวภายในระยะเวลา 6 เดือนหรือภายใน 24 พ.ย.2554 ไม่เช่นนั้นจะยกเลิกการให้สิทธิประโยชน์ของโครงการทั้งหมดว่า ผู้ประกอบการได้หารือกับบีโอไอแล้ว ขอให้ทบทวนนโยบายดังกล่าว โดยขอระยะเวลาให้ผู้ประกอบการได้มีการปรับตัว 2-3 ปี เนื่องจากหากยกเลิกในระยะเวลาดังกล่าวจริง จะส่งผลให้อุตสาหกรรมจำนวนมากต้องลดกำลังการผลิตลงและไม่สามารถส่งมอบสินค้าตามคำสั่งซื้อได้ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม
นอกจากนี้ ยังได้เสนอให้มีการกำหนดการใช้แรงงานต่างด้าวในภาคอุตสาหกรรมให้ชัดเจนว่าเป็นสัดส่วนเท่าใดได้ เนื่องจากต้องยอมรับข้อเท็จจริงว่าไทยประสบภาวะขาดแคลนแรงงานขั้นต่ำ โดยอุตสาหกรรมอาหารจะใช้มากสุดเฉลี่ย 40% อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม 20% ที่เหลือสิ่งทอ รองเท้า เป็นต้น ซึ่งเรื่องดังกล่าว บีโอไอได้รับที่จะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาจากบอร์ดบีโอไอชุดใหม่เพื่อที่จะหาข้อสรุปในประเด็นนี้แล้ว
“ที่ผ่านมา เกิดภาวะขาดแคลนแรงงาน มันจำเป็นจะต้องใช้จริงๆ ขณะที่ทางปฏิบัติ ไม่ได้มีการแจ้งที่ชัดเจนถึงการยกเลิกสิทธิประโยชน์ หากรายใดใกล้จะหมดแล้วก็เชื่อว่าเขาก็พร้อม แต่อีกส่วนที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจะมีปัญหาในเรื่องของการลดภาษีนำเข้าเครื่องจักร การหารือกับแบงก์ในเรื่องของสินเชื่อ รวมถึงสิทธิการครอบครองที่ดิน จึงต้องขอเวลาในการปรับตัว”นายวัลลภกล่าว
นายสมศักดิ์ ศรีสภรวาณิชย์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ ส.อ.ท.กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวได้รับการร้องเรียนจากสมาชิกมาจำนวนมาก จึงได้ทำเรื่องไปยังส่วนกลางเพื่อที่จะหาแนวทางในการแก้ไข โดยเอกชนส่วนหนึ่งมองว่าเงื่อนไขบีโอไอที่ผ่อนผันการใช้แรงงานต่างด้าวได้เป็นกรณีไป โดยกำหนดว่าจะต้องมีทรัพย์สินมากกว่า 1 หมื่นล้านบาท มีการจ้างงานแล้วไม่น้อยกว่า 1
หมื่นคน ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวเห็นว่าเอื้อต่อบริษัทขนาดใหญ่ที่เป็นต่างชาติมากไป
นายโชคดี แก้วแสง รองเลขาธิการบีโอไอ กล่าววา บีโอไอได้หารือเบื้องต้นกับผู้ประกอบการแล้ว โดยเรื่องดังกล่าวเป็นนโยบายจากบอร์ดบีโอไอ ดังนั้น จะนำเรื่องดังกล่าวขอความเห็นจากบอร์ดบีโอไอชุดใหม่ตัดสินใจเป็นสำคัญว่าจะสามารถอนุโลมหรือผ่อนผันตามที่เอกชนร้องขอได้หรือไม่
“บอร์ดบีโอไอได้กำหนดหลักเกณฑ์การใช้แรงงานต่างด้าวว่า หากได้รับการส่งเสริมก็ต้องใช้แรงงานไทย แต่หากจะใช้แรงงานต่างด้าวก็จะต้องหมดสภาพการได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน แต่ที่ผ่านมา เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงาน ทำให้บางบริษัทมีการจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาโดยไม่ทราบถึงเงื่อนไขบีโอไอ ซึ่งได้มีการอนุโลมให้เป็นกรณี”นายโชคดีกล่าว
นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้ทำหนังสือถึงบริษัทที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการส่งเสริมการลงทุนในการยกเลิกการจ้างแรงงานต่างด้าวภายในระยะเวลา 6 เดือนหรือภายใน 24 พ.ย.2554 ไม่เช่นนั้นจะยกเลิกการให้สิทธิประโยชน์ของโครงการทั้งหมดว่า ผู้ประกอบการได้หารือกับบีโอไอแล้ว ขอให้ทบทวนนโยบายดังกล่าว โดยขอระยะเวลาให้ผู้ประกอบการได้มีการปรับตัว 2-3 ปี เนื่องจากหากยกเลิกในระยะเวลาดังกล่าวจริง จะส่งผลให้อุตสาหกรรมจำนวนมากต้องลดกำลังการผลิตลงและไม่สามารถส่งมอบสินค้าตามคำสั่งซื้อได้ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม
นอกจากนี้ ยังได้เสนอให้มีการกำหนดการใช้แรงงานต่างด้าวในภาคอุตสาหกรรมให้ชัดเจนว่าเป็นสัดส่วนเท่าใดได้ เนื่องจากต้องยอมรับข้อเท็จจริงว่าไทยประสบภาวะขาดแคลนแรงงานขั้นต่ำ โดยอุตสาหกรรมอาหารจะใช้มากสุดเฉลี่ย 40% อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม 20% ที่เหลือสิ่งทอ รองเท้า เป็นต้น ซึ่งเรื่องดังกล่าว บีโอไอได้รับที่จะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาจากบอร์ดบีโอไอชุดใหม่เพื่อที่จะหาข้อสรุปในประเด็นนี้แล้ว
“ที่ผ่านมา เกิดภาวะขาดแคลนแรงงาน มันจำเป็นจะต้องใช้จริงๆ ขณะที่ทางปฏิบัติ ไม่ได้มีการแจ้งที่ชัดเจนถึงการยกเลิกสิทธิประโยชน์ หากรายใดใกล้จะหมดแล้วก็เชื่อว่าเขาก็พร้อม แต่อีกส่วนที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจะมีปัญหาในเรื่องของการลดภาษีนำเข้าเครื่องจักร การหารือกับแบงก์ในเรื่องของสินเชื่อ รวมถึงสิทธิการครอบครองที่ดิน จึงต้องขอเวลาในการปรับตัว”นายวัลลภกล่าว
นายสมศักดิ์ ศรีสภรวาณิชย์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ ส.อ.ท.กล่าวว่า ปัญหาดังกล่าวได้รับการร้องเรียนจากสมาชิกมาจำนวนมาก จึงได้ทำเรื่องไปยังส่วนกลางเพื่อที่จะหาแนวทางในการแก้ไข โดยเอกชนส่วนหนึ่งมองว่าเงื่อนไขบีโอไอที่ผ่อนผันการใช้แรงงานต่างด้าวได้เป็นกรณีไป โดยกำหนดว่าจะต้องมีทรัพย์สินมากกว่า 1 หมื่นล้านบาท มีการจ้างงานแล้วไม่น้อยกว่า 1
หมื่นคน ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวเห็นว่าเอื้อต่อบริษัทขนาดใหญ่ที่เป็นต่างชาติมากไป
นายโชคดี แก้วแสง รองเลขาธิการบีโอไอ กล่าววา บีโอไอได้หารือเบื้องต้นกับผู้ประกอบการแล้ว โดยเรื่องดังกล่าวเป็นนโยบายจากบอร์ดบีโอไอ ดังนั้น จะนำเรื่องดังกล่าวขอความเห็นจากบอร์ดบีโอไอชุดใหม่ตัดสินใจเป็นสำคัญว่าจะสามารถอนุโลมหรือผ่อนผันตามที่เอกชนร้องขอได้หรือไม่
“บอร์ดบีโอไอได้กำหนดหลักเกณฑ์การใช้แรงงานต่างด้าวว่า หากได้รับการส่งเสริมก็ต้องใช้แรงงานไทย แต่หากจะใช้แรงงานต่างด้าวก็จะต้องหมดสภาพการได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน แต่ที่ผ่านมา เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงาน ทำให้บางบริษัทมีการจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาโดยไม่ทราบถึงเงื่อนไขบีโอไอ ซึ่งได้มีการอนุโลมให้เป็นกรณี”นายโชคดีกล่าว