ASTVผู้จัดการรายวัน - ผังเมืองรวมกทม.ฉบับปรับปรุง เพิ่มโบนัสโครงการที่จัดพื้นที่เพื่อประโยชน์สาธารณะ สวนสาธารณะ ทุก 1 ตร.ม.ให้สร้างเพิ่ม 5 ตร.ม.แต่ไม่เกิด 20% ของเอฟเออาร์ที่ได้อยู่เดิม แถมโครงการรอบสถานีรถไฟฟ้า เพิ่มที่จอดรถไม่คิดค่าตอบแทนต่อรถ 1 คัน รับโบนัสสร้างอาคารเพิ่มได้ 30 ตร.ม.
นายนพนันท์ ตาปนานนท์ ผู้จัดการโครงการวางและปรับปรุง ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 กล่าวว่า มาตรการที่จะนำมาใช้เพิ่ม คือ การเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินหรือ เอฟเออาร์ โบนัสซึ่งในผังเมืองรวมกทม.ฉบับปัจจุบันได้ให้โบนัสอยู่ 2 เรื่อง คือ โครงการที่จัดให้มีพื้นที่เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสวนสาธารณะทุก 1 ตร.ม. จะให้พื้นที่สร้างอาคารเพิ่มได้ 5 ตร.ม. แต่ไม่เกิน 20% ของเอฟเออาร์ที่ได้อยู่เดิม และโครงการบริเวณรอบสถานีรถไฟฟ้าที่จัดให้มีที่จอดรถยนต์สำหรับประชาชนทั่วไปโดยไม่คิดค่าตอบแทนต่อรถ 1 คัน จะสร้างพื้นที่อาคารเพิ่มได้ 30 ตร.ม. แต่ไม่เกิน 20% เช่นกัน
ในร่างผังเมืองรวมกทม.ใหม่จะให้โบนัสเพิ่ม เช่น การจะให้โบนัสกับอาคารที่เก็บน้ำฝนไว้เพื่อใช้หรือเก็บกักไว้เพื่อลดภาระการระบายน้ำของกทม. โดยจะให้โบนัสไม่เกิน 20% ของ เอฟเออาร์ที่ได้อยู่ การให้โบนัสกับอาคารประหยัดพลังงานที่ได้รับการรับรองจะให้โบนัสเพิ่ม 5-20% ของเอฟเออาร์ที่ได้อยู่ และการให้โบนัสกับโครงการที่จัดสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้อยู่อาศัยเดิมหรือผู้มีรายได้น้อยในระยะ 5 กม.จากที่ตั้งโครงการ ตั้งแต่ 1 ตร.ม. ได้พื้นที่อาคารเพิ่มตั้งแต่ 1.25-4 ตร.ม. แต่ไม่เกิน 20% ของเอฟเออาร์ที่ได้อยู่เดิม เป็นต้น
สำหรับการปรับปรุงการใช้ประโยชน์ที่ดินในร่างใหม่จะปรับปรุงการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสมกับที่มีการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ 3 เรื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คือ การเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิที่มีความชัดเจนในการใช้ประโยชน์ที่ดินมากขึ้น การพัฒนาระบบรางที่เพิ่มเป็น 12 เส้นทาง ที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของคนกทม.ในอนาคต และจะต้องวางผังให้สัมพันธ์กับระบบราง เช่น การรวมการพัฒนาบริเวณที่เป็นจุดเชื่อมต่อการระบบราง บริเวณ สถานีหัวหมาก ลาดกระบัง ของแอร์พอร์ต ลิงค์ สายสีเขียวและสีน้ำเงินที่เปิดไปแล้ว และสีแดง สีม่วง ที่จะเป็นตัวชี้นำการพัฒนาในอนาคต เป็นต้น
นอกจากนี้ จะให้ความสำคัญกับเรื่องของการลดภาวะโลกร้อนที่ร่างผังเมืองกทม.ฉบับใหม่จะพยายามแก้ไขปัญหาสภาวะแวดล้อมของกทม. เช่น การกำหนดให้มีพื้นที่น้ำซึมผ่านได้เพื่อปลูกต้นไม้ไม่น้อยกว่า 50 % พื้นที่ว่าง ตามอัตราส่วนของที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวมหรือ โอเอสอาร์ ของที่ดินแต่ละประเภทหรือให้มีพื้นที่น้ำซึมผ่านได้เพื่อปลูกต้นไม้ไม่น้อยกว่า30% ของพื้นที่ว่างและมีพื้นที่สวนหลังคาหรือสวนผนังไม่น้อยกว่า 20 ของพื้นที่ว่าง เป็นต้น
นางอัญชลี ปัทมาสวรรค์ ผู้อำนวยการสำนักผังเมืองกทม. กล่าวว่า สำนักผังเมืองจะปิดประกาศร่างผังเมืองให้ประชาชนได้ตรวจสอบในวันที่ 8 ส.ค.นี้ และจะเปิดเวทีรับฟังความเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในวันที่ 25 ส.ค.นี้
นายนพนันท์ ตาปนานนท์ ผู้จัดการโครงการวางและปรับปรุง ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 กล่าวว่า มาตรการที่จะนำมาใช้เพิ่ม คือ การเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินหรือ เอฟเออาร์ โบนัสซึ่งในผังเมืองรวมกทม.ฉบับปัจจุบันได้ให้โบนัสอยู่ 2 เรื่อง คือ โครงการที่จัดให้มีพื้นที่เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสวนสาธารณะทุก 1 ตร.ม. จะให้พื้นที่สร้างอาคารเพิ่มได้ 5 ตร.ม. แต่ไม่เกิน 20% ของเอฟเออาร์ที่ได้อยู่เดิม และโครงการบริเวณรอบสถานีรถไฟฟ้าที่จัดให้มีที่จอดรถยนต์สำหรับประชาชนทั่วไปโดยไม่คิดค่าตอบแทนต่อรถ 1 คัน จะสร้างพื้นที่อาคารเพิ่มได้ 30 ตร.ม. แต่ไม่เกิน 20% เช่นกัน
ในร่างผังเมืองรวมกทม.ใหม่จะให้โบนัสเพิ่ม เช่น การจะให้โบนัสกับอาคารที่เก็บน้ำฝนไว้เพื่อใช้หรือเก็บกักไว้เพื่อลดภาระการระบายน้ำของกทม. โดยจะให้โบนัสไม่เกิน 20% ของ เอฟเออาร์ที่ได้อยู่ การให้โบนัสกับอาคารประหยัดพลังงานที่ได้รับการรับรองจะให้โบนัสเพิ่ม 5-20% ของเอฟเออาร์ที่ได้อยู่ และการให้โบนัสกับโครงการที่จัดสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้อยู่อาศัยเดิมหรือผู้มีรายได้น้อยในระยะ 5 กม.จากที่ตั้งโครงการ ตั้งแต่ 1 ตร.ม. ได้พื้นที่อาคารเพิ่มตั้งแต่ 1.25-4 ตร.ม. แต่ไม่เกิน 20% ของเอฟเออาร์ที่ได้อยู่เดิม เป็นต้น
สำหรับการปรับปรุงการใช้ประโยชน์ที่ดินในร่างใหม่จะปรับปรุงการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสมกับที่มีการเปลี่ยนแปลงใหญ่ๆ 3 เรื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คือ การเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิที่มีความชัดเจนในการใช้ประโยชน์ที่ดินมากขึ้น การพัฒนาระบบรางที่เพิ่มเป็น 12 เส้นทาง ที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของคนกทม.ในอนาคต และจะต้องวางผังให้สัมพันธ์กับระบบราง เช่น การรวมการพัฒนาบริเวณที่เป็นจุดเชื่อมต่อการระบบราง บริเวณ สถานีหัวหมาก ลาดกระบัง ของแอร์พอร์ต ลิงค์ สายสีเขียวและสีน้ำเงินที่เปิดไปแล้ว และสีแดง สีม่วง ที่จะเป็นตัวชี้นำการพัฒนาในอนาคต เป็นต้น
นอกจากนี้ จะให้ความสำคัญกับเรื่องของการลดภาวะโลกร้อนที่ร่างผังเมืองกทม.ฉบับใหม่จะพยายามแก้ไขปัญหาสภาวะแวดล้อมของกทม. เช่น การกำหนดให้มีพื้นที่น้ำซึมผ่านได้เพื่อปลูกต้นไม้ไม่น้อยกว่า 50 % พื้นที่ว่าง ตามอัตราส่วนของที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวมหรือ โอเอสอาร์ ของที่ดินแต่ละประเภทหรือให้มีพื้นที่น้ำซึมผ่านได้เพื่อปลูกต้นไม้ไม่น้อยกว่า30% ของพื้นที่ว่างและมีพื้นที่สวนหลังคาหรือสวนผนังไม่น้อยกว่า 20 ของพื้นที่ว่าง เป็นต้น
นางอัญชลี ปัทมาสวรรค์ ผู้อำนวยการสำนักผังเมืองกทม. กล่าวว่า สำนักผังเมืองจะปิดประกาศร่างผังเมืองให้ประชาชนได้ตรวจสอบในวันที่ 8 ส.ค.นี้ และจะเปิดเวทีรับฟังความเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในวันที่ 25 ส.ค.นี้