ASTVผู้จัดการรายวัน-บอร์ดทอท.ดันเฟส2 ตามICAO แนะ ลงทุน 2.1 หมื่นลบ.ผุดอาคารผู้โดยสารในปท.และรันเวย์ที่ 3 รับ 65 ล้านคนในปี59 สั่งทำ Master Plan สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง เพิ่มเติมก่อนชงคมนาคมและครม.เห็นชอบ ขณะที่นกแอร์-วันทูโท ต้องย้ายไปสุวรรณภูมิเมื่อเฟสแรกเสร็จ ขณะที่”อนิรุทธิ์”จ่อนั่งเอ็มดีคนใหม่หากไม่มีปัญหา ต.ค.เริ่มทำงาน
นายธีรพล นพรัมภา ประธานคณะกรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. เปิดเผยว่า วานนี้ (28 ก.ค.)ที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร ทอท. เห็นชอบแนวทางการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ภายใต้แนวคิด Single Airport ตามผลการศึกษาขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ซึ่งจะมีการลงทุนก่อสร้าง ก่อสร้างอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ รองงรับผู้โดยสารได้เพิ่มอีก20ล้านคนต่อปี แล้วเสร็จในปี 2559 ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการเติบโตของผู้โดยสารที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 65 ล้านคน/ปี โดยให้ฝ่ายบริหารเร่งทำแผนแม่บท และรายละเอียดการแผนขยายขีดความสามารถสนามบินสุวรรณภูมิและการใช้สนามบินดอนเมือง เสนอบอร์ดอีกครั้งในเดือนส.ค.เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบต่อไป
“เมื่อเฟสแรกแล้วเสร็จตามเวลาและจำนวนผู้โดยสารเป็นไปตามที่คาดไว้ จะย้ายเที่ยวบินประจำจากดอนเมืองไปยังสุวรรณภูมิทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตาม ดอนเมืองยังมีความจำเป็นสำหรับกรณีที่การขยายสุวรรณภูมิล่าช้าและการย้ายเที่ยวบินไปทำให้เกิดความแออัดก็จะมีการพิจารณาอีกครั้ง”
นายสมชัย สวัสดีผล รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายงานวิศวกรรมและการก่อสร้าง ทอท.กล่าวว่า ตามผลศึกษา ICAO แบ่งการขยายสุวรรณภูมิเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงที่ 1 ลงทุน 21,899.42 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จในปี 2558 มีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ วงเงิน 9,133.520 ล้านบาท ,ทางวิ่งเส้นที่ 3 และทางขับวงเงินกว่า 3,000 ล้านบาทและค่าชดเชยผลกระทบทางเสียอีกประมาณ 7,000 ล้านบาท, ถนนเข้า-ออกอาคารผู้โดยสาร,อุโมงค์เชื่อมต่อConcourse A กับสถานีรถไฟฟ้า และลานจอดเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งจะทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารเพิ่มเป็น 65 ล้านคนต่อปี ถึงปี 2561 และรองรับเที่ยวบินเพิ่มจาก 76 เที่ยวบิน/ชม.เป็น 88เที่ยวบิน/ชม.หรือ จาก 375,000 เที่ยวบิน/ปี เป็น 439,804 เที่ยวบิน/ปี
ทั้งนี้ ทอท.ได้จัดเตรียมพื้นที่สำหรับก่อสร้างรันเวย์ที่ 3 และออกแบบไว้แล้ว เหลือขั้นตอนที่ต้องดำเนินการตามความเห็นของ สผ.และประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 ปีจึงจะเริ่มก่อสร้างได้แต่จะต้องแล้วเสร็จในปี 59 ส่วนช่วงที่ 2 จะเริ่มดำเนินการไปพร้อมกับช่วงที่ 1 กำหนดแล้วเสร็จในปี 2559 ลงทุน 43,786.68 ล้านบาท โดยจะขยายอาคารผู้โดยสารในประเทศ ให้รองรับผู้โดยสารเพิ่มเป็น 25 ล้านคน/ปี ,ก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 ,ก่อสร้างลานจอดอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 ,ก่อสร้างระบบขนส่งผู้โดยสารและ ก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 4 รองรับผู้โดยสารได้ 80-85ล้านคนต่อปี ส่วนระยะที่ 2 ลงทุน 98,302.45 ล้านบาท รองรับผู้โดยสารเป็น 103 ล้านคน โดยจะต้องซื้อที่ดินเพิ่มอีกประมาณ 3,000 ไร่ เพื่อก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 5
“นอกจากนี้ที่ประชุมรับทราบผลการพิจารณาผลตอบแทนฯ เรืออากาศโทอนิรุทธิ์ ถนอมกุลบุตรซึ่งได้รับคัดเลือกเป็นผู้อำนวยการใหญ่ทอท. ซึ่งจากนี้จะนำเสนอไปที่กระทรวงการคลังและนำเสนอบอร์ดอีกครั้งในเดือนส.ค.คาดว่าจะลงนามสัญญาว่าจ้างได้ในเดือนก.ยงและเริ่มทำงานในวันที่ 1 ต.ค. 2554”
นาวาอากาศโทประทีป วิจิตรโท ผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง ทอท.กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2554 เป็นต้นไป ทอท. จะย้ายบริการเที่ยวบินผู้โดยสารภายในประเทศดอนเมืองซึ่ง ปัจจุบันมี สายการบินนกแอร์ และสายการบินโอเรียนท์ไทย ให้บริการจากอาคารภายในประเทศ ไปยังอาคาร 1 ที่ปัจจุบันให้บริการให้บริการเที่ยวบินและผู้โดยสารระหว่างประเทศแบบเช่าเหมาลำเนื่องจากต้องนำพื้นที่อาคารผู้โดยสารภายในประเทศเตรียมความพร้อม ตามแผนการใช้ประโยชน์จากท่าอากาศยานดอนเมือง 6 โครงการ
นายธีรพล นพรัมภา ประธานคณะกรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. เปิดเผยว่า วานนี้ (28 ก.ค.)ที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร ทอท. เห็นชอบแนวทางการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ภายใต้แนวคิด Single Airport ตามผลการศึกษาขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ซึ่งจะมีการลงทุนก่อสร้าง ก่อสร้างอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ รองงรับผู้โดยสารได้เพิ่มอีก20ล้านคนต่อปี แล้วเสร็จในปี 2559 ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการเติบโตของผู้โดยสารที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 65 ล้านคน/ปี โดยให้ฝ่ายบริหารเร่งทำแผนแม่บท และรายละเอียดการแผนขยายขีดความสามารถสนามบินสุวรรณภูมิและการใช้สนามบินดอนเมือง เสนอบอร์ดอีกครั้งในเดือนส.ค.เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบต่อไป
“เมื่อเฟสแรกแล้วเสร็จตามเวลาและจำนวนผู้โดยสารเป็นไปตามที่คาดไว้ จะย้ายเที่ยวบินประจำจากดอนเมืองไปยังสุวรรณภูมิทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตาม ดอนเมืองยังมีความจำเป็นสำหรับกรณีที่การขยายสุวรรณภูมิล่าช้าและการย้ายเที่ยวบินไปทำให้เกิดความแออัดก็จะมีการพิจารณาอีกครั้ง”
นายสมชัย สวัสดีผล รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายงานวิศวกรรมและการก่อสร้าง ทอท.กล่าวว่า ตามผลศึกษา ICAO แบ่งการขยายสุวรรณภูมิเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงที่ 1 ลงทุน 21,899.42 ล้านบาท กำหนดแล้วเสร็จในปี 2558 มีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ วงเงิน 9,133.520 ล้านบาท ,ทางวิ่งเส้นที่ 3 และทางขับวงเงินกว่า 3,000 ล้านบาทและค่าชดเชยผลกระทบทางเสียอีกประมาณ 7,000 ล้านบาท, ถนนเข้า-ออกอาคารผู้โดยสาร,อุโมงค์เชื่อมต่อConcourse A กับสถานีรถไฟฟ้า และลานจอดเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งจะทำให้เพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารเพิ่มเป็น 65 ล้านคนต่อปี ถึงปี 2561 และรองรับเที่ยวบินเพิ่มจาก 76 เที่ยวบิน/ชม.เป็น 88เที่ยวบิน/ชม.หรือ จาก 375,000 เที่ยวบิน/ปี เป็น 439,804 เที่ยวบิน/ปี
ทั้งนี้ ทอท.ได้จัดเตรียมพื้นที่สำหรับก่อสร้างรันเวย์ที่ 3 และออกแบบไว้แล้ว เหลือขั้นตอนที่ต้องดำเนินการตามความเห็นของ สผ.และประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 ปีจึงจะเริ่มก่อสร้างได้แต่จะต้องแล้วเสร็จในปี 59 ส่วนช่วงที่ 2 จะเริ่มดำเนินการไปพร้อมกับช่วงที่ 1 กำหนดแล้วเสร็จในปี 2559 ลงทุน 43,786.68 ล้านบาท โดยจะขยายอาคารผู้โดยสารในประเทศ ให้รองรับผู้โดยสารเพิ่มเป็น 25 ล้านคน/ปี ,ก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 ,ก่อสร้างลานจอดอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 ,ก่อสร้างระบบขนส่งผู้โดยสารและ ก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 4 รองรับผู้โดยสารได้ 80-85ล้านคนต่อปี ส่วนระยะที่ 2 ลงทุน 98,302.45 ล้านบาท รองรับผู้โดยสารเป็น 103 ล้านคน โดยจะต้องซื้อที่ดินเพิ่มอีกประมาณ 3,000 ไร่ เพื่อก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 5
“นอกจากนี้ที่ประชุมรับทราบผลการพิจารณาผลตอบแทนฯ เรืออากาศโทอนิรุทธิ์ ถนอมกุลบุตรซึ่งได้รับคัดเลือกเป็นผู้อำนวยการใหญ่ทอท. ซึ่งจากนี้จะนำเสนอไปที่กระทรวงการคลังและนำเสนอบอร์ดอีกครั้งในเดือนส.ค.คาดว่าจะลงนามสัญญาว่าจ้างได้ในเดือนก.ยงและเริ่มทำงานในวันที่ 1 ต.ค. 2554”
นาวาอากาศโทประทีป วิจิตรโท ผู้อำนวยการท่าอากาศยานดอนเมือง ทอท.กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2554 เป็นต้นไป ทอท. จะย้ายบริการเที่ยวบินผู้โดยสารภายในประเทศดอนเมืองซึ่ง ปัจจุบันมี สายการบินนกแอร์ และสายการบินโอเรียนท์ไทย ให้บริการจากอาคารภายในประเทศ ไปยังอาคาร 1 ที่ปัจจุบันให้บริการให้บริการเที่ยวบินและผู้โดยสารระหว่างประเทศแบบเช่าเหมาลำเนื่องจากต้องนำพื้นที่อาคารผู้โดยสารภายในประเทศเตรียมความพร้อม ตามแผนการใช้ประโยชน์จากท่าอากาศยานดอนเมือง 6 โครงการ