ASTVผู้จัดการรายวัน-ป.ป.ช.ส่งทนายฟ้องศาลฎีกานักการเมืองเอาผิด "อภิรักษ์-โภคิน-ประชา-วัฒนา-บริษัท สไตรเออร์ ฯ"กับพวกรวม 6 คนปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ฮั้วประมูลจัดซื้อรถ-เรือ ดับเพลิง กทม. กว่า 6 พันล้านบาท มติชี้ชัด"อภิรักษ์"รู้ว่าผิดแต่ไม่ยกเลิกสัญญา ศาลนัดฟังคำสั่งรับฟ้องหรือไม่ 24 ส.ค. นี้ เวลา 10.00 น.
วานนี้ (25 ก.ค.) ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง นายสิทธิโชค ศรีเจริญ ทนายความ ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายโภคิน พลกุล อดีต รมว.มหาดไทย , นายประชา มาลีนนท์ อดีต รมช.มหาดไทย,นายวัฒนา เมืองสุข อดีต รมว.พาณิชย์ ,พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ อดีตผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร ,บริษัท STEYR - DAIMLER - PUCH Spezialfahrzeug AG&CO KG และนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นจำเลยที่ 1- 6 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล)พ.ศ. 2542 จากกรณีการจัดซื้อรถ และเรือดับเพลิง พร้อมอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย ตามโครงการพัฒนาระบบบริหารและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร มูลค่า 6,687,489,000 บาท
โดยศาลรับคำฟ้องไว้พิจารณาเป็นคดีหมายเลขดำที่ อม.5/2554 และนัดฟังคำสั่งว่าจะประทับรับฟ้องคดีหรือไม่ในวันที่ 24 ส.ค.นี้ เวลา 10.00 น.
ภายหลังนายสิทธิโชค ศรีเจริญ ทนายความ กล่าวว่า หลังจากนี้ศาลฎีกาจะเรียกประชุมใหญ่เพื่อเลือกผู้พิพากษา 9 คน เป็นองค์คณะรับผิดชอบสำนวนคดีและมีคำสั่งต่อไป สำหรับการยื่นฟ้องมีพยานหลักฐานและเอกสารจำนวนมากประมาณ 5,000 ชุดที่ ป.ป.ช. รวบรวมจากการสอบสวนเพื่อเสนอต่อศาล ซึ่ง ป.ป.ช.ได้ชี้มูลความผิดจำเลยทั้งหก และที่ ป.ป.ช. ต้องใช้สิทธิ์ยื่นฟ้องคดีเอง เนื่องจากเมื่อเสนอสำนวนให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาแล้ว แต่อัยการมีความเห็นต่างว่าสมควรฟ้องและไม่ฟ้องบางคนเท่านั้น ขณะที่ทางเนื้อหาคดีถือว่าทั้ง ป.ป.ช.และอัยการไม่ได้มีความเห็นต่างกัน ดังนั้น เมื่อ ป.ป.ช.มีพยานหลักฐาน และยืนยันลักษณะความผิดของจำเลยทั้งหกคนจึงตัดสินยื่นฟ้อง ส่วนผลการพิจารณาจะเป็นอย่างไรก็เป็นดุลยพินิจของศาล
**อ้าง"อภิรักษ์"รู้ว่าผิดแต่ไม่ยกเลิกสัญญา**
สำหรับคดีนี้ ที่ประชุม ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดจำเลยทั้งหก โดยเห็นว่าการกระทำของนายอภิรักษ์ ภายหลังที่เข้ารับตำแหน่งผู้ว่า กทม. เมื่อปี พ.ศ.2547 ได้ทราบข้อมูลการทุจริตเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมาตลอด และพบว่า A.O.U. ไม่ได้ส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง และพบว่าการถอนเรื่องคืนมาจากสำนักงานอัยการสูงสุดมีเหตุผลที่ไม่น่ารับฟัง แต่กลับไม่ดำเนินการตรวจสอบโดยเร็วเพื่อทราบข้อเท็จจริงแล้ว ดำเนินการยกเลิกตามสัญญา แต่นายอภิรักษ์ เพียงแต่ตั้งกรรมการพิจารณาละเอียดการจัดซื้อรถยนต์ดับเพลิง และอุปกรณ์ ทำหน้าที่พิจารณาตรวจสอบรายละเอียดการจัดซื้อเท่านั้น
**เปิดแอล/ซีไม่ชอบด้วยกฎหมาย**
นอกจากนี้ เมื่อได้รับแจ้งจากธนาคารกรุงไทยฯ เพื่อให้แก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขของแอล/ซี นายอภิรักษ์ ไม่ได้แก้ไขเพียงเงื่อนไขเพื่อส่งมอบในประเทศไทยเท่านั้น แต่มีการแก้ไขเพิ่มเติมในเนื้อหาอื่นอีกหลายรายการ อันเป็นการทำให้ บริษัท STEYR ได้รับประโยชน์จากการเปิดแอล/ซีที่เกิดจากการทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยผลของการเปิดแอล/ซีดังกล่าวทำให้ กทม. ต้องจ่ายงบประมาณไปแล้วจำนวน 2,354 ล้านบาท โดยไม่ได้สินค้าตามวัตถุประสงค์ของการจัดหาพัสดุแต่อย่างใด การกระทำของอภิรักษ์ จึงมีมูลตามความผิดมาตรา 157
**"โภคิน"มีพฤติการณ์มิชอบเกี่ยวกับการจัดซื้อ**
ส่วนความผิดของนายโภคิน นายประชา นายวัฒนา พล.ต.ต.อธิลักษณ์ และบริษัท STEYR มีพฤติการณ์มิชอบเกี่ยวกับการจัดซื้อโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่และอุบายหลอกลวง ตั้งแต่ขั้นตอนการเริ่มโครงการจนไปถึงการอนุมัติโครงการ โดยเฉพาะการทำข้อตกลงทำความเข้าใจ A.O.U. ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลออสเตรียที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ และเป็นการปฏิบัติและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ควรได้ตามกฎหมายให้กับ บริษัท STEYR ดังนั้นการกระทำของนายโภคิน นายประชา นายวัฒนา นายสมัคร พล.ต.ต.อธิลักษณ์ มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐตาม พ.ศ. 2542 มาตรา 7 ,11 ,12 ,13
วานนี้ (25 ก.ค.) ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง นายสิทธิโชค ศรีเจริญ ทนายความ ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายโภคิน พลกุล อดีต รมว.มหาดไทย , นายประชา มาลีนนท์ อดีต รมช.มหาดไทย,นายวัฒนา เมืองสุข อดีต รมว.พาณิชย์ ,พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ อดีตผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร ,บริษัท STEYR - DAIMLER - PUCH Spezialfahrzeug AG&CO KG และนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นจำเลยที่ 1- 6 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล)พ.ศ. 2542 จากกรณีการจัดซื้อรถ และเรือดับเพลิง พร้อมอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย ตามโครงการพัฒนาระบบบริหารและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร มูลค่า 6,687,489,000 บาท
โดยศาลรับคำฟ้องไว้พิจารณาเป็นคดีหมายเลขดำที่ อม.5/2554 และนัดฟังคำสั่งว่าจะประทับรับฟ้องคดีหรือไม่ในวันที่ 24 ส.ค.นี้ เวลา 10.00 น.
ภายหลังนายสิทธิโชค ศรีเจริญ ทนายความ กล่าวว่า หลังจากนี้ศาลฎีกาจะเรียกประชุมใหญ่เพื่อเลือกผู้พิพากษา 9 คน เป็นองค์คณะรับผิดชอบสำนวนคดีและมีคำสั่งต่อไป สำหรับการยื่นฟ้องมีพยานหลักฐานและเอกสารจำนวนมากประมาณ 5,000 ชุดที่ ป.ป.ช. รวบรวมจากการสอบสวนเพื่อเสนอต่อศาล ซึ่ง ป.ป.ช.ได้ชี้มูลความผิดจำเลยทั้งหก และที่ ป.ป.ช. ต้องใช้สิทธิ์ยื่นฟ้องคดีเอง เนื่องจากเมื่อเสนอสำนวนให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาแล้ว แต่อัยการมีความเห็นต่างว่าสมควรฟ้องและไม่ฟ้องบางคนเท่านั้น ขณะที่ทางเนื้อหาคดีถือว่าทั้ง ป.ป.ช.และอัยการไม่ได้มีความเห็นต่างกัน ดังนั้น เมื่อ ป.ป.ช.มีพยานหลักฐาน และยืนยันลักษณะความผิดของจำเลยทั้งหกคนจึงตัดสินยื่นฟ้อง ส่วนผลการพิจารณาจะเป็นอย่างไรก็เป็นดุลยพินิจของศาล
**อ้าง"อภิรักษ์"รู้ว่าผิดแต่ไม่ยกเลิกสัญญา**
สำหรับคดีนี้ ที่ประชุม ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิดจำเลยทั้งหก โดยเห็นว่าการกระทำของนายอภิรักษ์ ภายหลังที่เข้ารับตำแหน่งผู้ว่า กทม. เมื่อปี พ.ศ.2547 ได้ทราบข้อมูลการทุจริตเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวมาตลอด และพบว่า A.O.U. ไม่ได้ส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง และพบว่าการถอนเรื่องคืนมาจากสำนักงานอัยการสูงสุดมีเหตุผลที่ไม่น่ารับฟัง แต่กลับไม่ดำเนินการตรวจสอบโดยเร็วเพื่อทราบข้อเท็จจริงแล้ว ดำเนินการยกเลิกตามสัญญา แต่นายอภิรักษ์ เพียงแต่ตั้งกรรมการพิจารณาละเอียดการจัดซื้อรถยนต์ดับเพลิง และอุปกรณ์ ทำหน้าที่พิจารณาตรวจสอบรายละเอียดการจัดซื้อเท่านั้น
**เปิดแอล/ซีไม่ชอบด้วยกฎหมาย**
นอกจากนี้ เมื่อได้รับแจ้งจากธนาคารกรุงไทยฯ เพื่อให้แก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขของแอล/ซี นายอภิรักษ์ ไม่ได้แก้ไขเพียงเงื่อนไขเพื่อส่งมอบในประเทศไทยเท่านั้น แต่มีการแก้ไขเพิ่มเติมในเนื้อหาอื่นอีกหลายรายการ อันเป็นการทำให้ บริษัท STEYR ได้รับประโยชน์จากการเปิดแอล/ซีที่เกิดจากการทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยผลของการเปิดแอล/ซีดังกล่าวทำให้ กทม. ต้องจ่ายงบประมาณไปแล้วจำนวน 2,354 ล้านบาท โดยไม่ได้สินค้าตามวัตถุประสงค์ของการจัดหาพัสดุแต่อย่างใด การกระทำของอภิรักษ์ จึงมีมูลตามความผิดมาตรา 157
**"โภคิน"มีพฤติการณ์มิชอบเกี่ยวกับการจัดซื้อ**
ส่วนความผิดของนายโภคิน นายประชา นายวัฒนา พล.ต.ต.อธิลักษณ์ และบริษัท STEYR มีพฤติการณ์มิชอบเกี่ยวกับการจัดซื้อโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่และอุบายหลอกลวง ตั้งแต่ขั้นตอนการเริ่มโครงการจนไปถึงการอนุมัติโครงการ โดยเฉพาะการทำข้อตกลงทำความเข้าใจ A.O.U. ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลออสเตรียที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ และเป็นการปฏิบัติและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ควรได้ตามกฎหมายให้กับ บริษัท STEYR ดังนั้นการกระทำของนายโภคิน นายประชา นายวัฒนา นายสมัคร พล.ต.ต.อธิลักษณ์ มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 และความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐตาม พ.ศ. 2542 มาตรา 7 ,11 ,12 ,13