ASTVผู้จัดการรายวัน - พลิกวิกฤตเป็นโอกาส ผู้ว่าแบงก์ชาติแนะภาคเอกชนอาศัยช่วงบาทแข็ง นำเข้าสินค้าลดต้นทุนธุรกิจ ส่วนภาครัฐต้องเพิ่มงบวิจัยและพัฒนามากขึ้น ชี้งานท้าทายรัฐบาลใหม่ สร้างสมดุลการลงทุน-บริโภค สร้างปัจจัยเอื้อลงทุน และมีวินัยการคลังโดยรักษาเสถียรภาพแทนกระตุ้นเศรษฐกิจ
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนาปัจจัยแวดล้อมกับการลงทุนของไทยกับการมองไปข้างหน้าและสิ่งที่เผชิญกับรัฐบาลใหม่ ว่า ขณะนี้ภาคเอกชนไทยควรใช้โอกาสในช่วงเงินบาทแข็งค่า นำเข้าสินค้าทุน เพื่อลดต้นทุนการผลิตควบคู่กับการปรับปรุงพัฒนาแรงงานให้มีคุณภาพ ยกระดับการแข่งขัน แม้จะต้องทยอยปรับเพิ่มค่าแรงงาน แต่การมีแรงงานที่มีคุณภาพ จะส่งผลดีต่อผลิตภาพการผลิตของสินค้าไทย
"ขณะนี้เศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพและเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ภาครัฐควรให้ความสำคัญในการวิจัยและพัฒนามากขึ้น เนื่องจากงบประมาณในการวิจัยและพัฒนา ยังมีสัดส่วนน้อยมากเพียง 0.2% ของจีดีพี"
สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนั้น ขณะนี้ดอกเบี้ยแท้จริงติดลบร้อยละ 0.7 เริ่มมีทิศทางดีขึ้นเข้าใกล้ศูนย์ ในส่วนของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงต้องติดตามแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยอย่างใกล้ชิด เพื่อสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจ เพื่อให้ดอกเบี้ยแท้จริงเข้าสู่จุดสมดุล
นายประสารระบุว่า รัฐบาลใหม่มีงานที่ท้าทายใน 3 เรื่อง คือ 1. การสร้างความสมดุลระหว่างการลงทุนและการบริโภค โดยที่การลงทุนของภาครัฐบาลในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ในหลายสาขา ทั้งระบบลอจิสติกส์ ชลประทาน ส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวตาม โดยที่รัฐบาลต้องมีการจัดลำดับความสำคัญในการลงทุนเพื่อเพิ่มผลิตภาพของประเทศ และเพื่อให้การใช้เงินงบประมาณเกิดประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันจะสร้างแรงกดดันต่อการเร่งตัวของเงินเฟ้อน้อยที่สุด เพื่อให้ภาคเอกชนได้มีเวลาปรับตัว
2. ต้องยึดวินัยการเงินการคลัง ลดมาตรการสร้างแรงจูงใจทางการคลัง เพื่อไม่ให้ก่อหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น และกระทบเสถียภาพการคลัง ในระยะยาว และ ปรับโครงสร้างภาษีจะต้องไม่บิดเบือนและนำไปสู่การจัดทำงบประมาณแบบสมดุล 3.นโยบายการคลังต้องสนับสนุนและสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุน
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนาปัจจัยแวดล้อมกับการลงทุนของไทยกับการมองไปข้างหน้าและสิ่งที่เผชิญกับรัฐบาลใหม่ ว่า ขณะนี้ภาคเอกชนไทยควรใช้โอกาสในช่วงเงินบาทแข็งค่า นำเข้าสินค้าทุน เพื่อลดต้นทุนการผลิตควบคู่กับการปรับปรุงพัฒนาแรงงานให้มีคุณภาพ ยกระดับการแข่งขัน แม้จะต้องทยอยปรับเพิ่มค่าแรงงาน แต่การมีแรงงานที่มีคุณภาพ จะส่งผลดีต่อผลิตภาพการผลิตของสินค้าไทย
"ขณะนี้เศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพและเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ภาครัฐควรให้ความสำคัญในการวิจัยและพัฒนามากขึ้น เนื่องจากงบประมาณในการวิจัยและพัฒนา ยังมีสัดส่วนน้อยมากเพียง 0.2% ของจีดีพี"
สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนั้น ขณะนี้ดอกเบี้ยแท้จริงติดลบร้อยละ 0.7 เริ่มมีทิศทางดีขึ้นเข้าใกล้ศูนย์ ในส่วนของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงต้องติดตามแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยอย่างใกล้ชิด เพื่อสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจ เพื่อให้ดอกเบี้ยแท้จริงเข้าสู่จุดสมดุล
นายประสารระบุว่า รัฐบาลใหม่มีงานที่ท้าทายใน 3 เรื่อง คือ 1. การสร้างความสมดุลระหว่างการลงทุนและการบริโภค โดยที่การลงทุนของภาครัฐบาลในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ในหลายสาขา ทั้งระบบลอจิสติกส์ ชลประทาน ส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวตาม โดยที่รัฐบาลต้องมีการจัดลำดับความสำคัญในการลงทุนเพื่อเพิ่มผลิตภาพของประเทศ และเพื่อให้การใช้เงินงบประมาณเกิดประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันจะสร้างแรงกดดันต่อการเร่งตัวของเงินเฟ้อน้อยที่สุด เพื่อให้ภาคเอกชนได้มีเวลาปรับตัว
2. ต้องยึดวินัยการเงินการคลัง ลดมาตรการสร้างแรงจูงใจทางการคลัง เพื่อไม่ให้ก่อหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น และกระทบเสถียภาพการคลัง ในระยะยาว และ ปรับโครงสร้างภาษีจะต้องไม่บิดเบือนและนำไปสู่การจัดทำงบประมาณแบบสมดุล 3.นโยบายการคลังต้องสนับสนุนและสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุน