ASTVผู้จัดการรายวัน-“อธิบดีการบินพลเรือน”นำเอกสารจดทะเบียน แสดงสถานะเครื่องบินโบอิ้ง 737 ชี้แจงศาลเยอรมัน “คมนาคม”ยันคดียังไม่สิ้นสุด เผยมีเอกสารเพิ่มเติมพร้อมให้อัยการเตรียมยื่นอุทธรณ์ก่อน 28 ก.ค. แถมพบปมใหม่เตรียมเสนอครม.ใหม่พิจารณา จ่อฟ้องกลับดัดหลังแก้สัมปทานหรือถึงขั้นยกเลิกได้ ด้าน "อภิสิทธิ์"อยากให้ถอนอายัดเครื่องบินโดยด่วน เผย คดีบ.วอเตอร์บาว ใช้สิทธิ์ฟ้องร้องโดยไม่สุจริต เตรียมยื่นอุทธรณ์ก่อน 29 ก.ค.นี้
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้นายสมชาย จันทร์รอด อธิบดีกรมการบินพลเรือน (บพ.)ได้นำเอกสารการจดทะเบียนเครื่องบินโบอิ้ง 737-400 ไปชี้แจงศาลประเทศเยอรมนีแล้ว เพื่อแสดงสถานะของเครื่องบิน ซึ่งจะทำให้เกิดความชัดเจนว่าเครื่องบินลำดังกล่าวที่ถูกอายัดไว้นั้นไม่ได้เป็นทรัพย์สินของรัฐบาลไทยและทรัพย์สินที่จะยึดหรืออายัดได้นั้นจะต้องเป็นของรัฐบาลไทยโดยยกเว้นทรัพย์สินของสถานทูต และทรัพย์สินที่เกี่ยวกับความมั่นคงด้วย
ส่วนกรณีที่บริษัทวอเตอร์ บาวน์ ฟ้องศาลนิวยอร์กเรียกค่าชดใช้จากรัฐบาลไทย วงเงิน 29 ล้านเหรียญยูโร หรือประมาณ 1,300 ล้านบาทจากกรณีสัมปทานดอนเมืองโทลล์เวย์นั้น ขณะนี้ถือว่าคดียังไม่สิ้นสุด อยู่ในกระบวนการบังคับคดี ซึ่งกรมทางหลวง (ทล.) ได้เตรียมข้อมูลสนับสนุนให้อัยการสูงสุดในการยื่นอุทธรณ์ในประเด็นคำวินิจฉัยไม่ชอบซึ่งได้แจ้งความประสงค์ในการยื่นอุทธรณ์ไว้แล้ว มีระยะเวลาในการยื่นถึงวันที่ 28 ก.ค. 2554
นายสุพจน์กล่าวว่า วานนี้(19 ก.ค.) ได้ประชุมร่วมกับผู้บริหารทล. เพื่อตรวจสอบข้อมูลสัญญาสัมปทานโครงการดอนเมืองโทลล์เวย์ ของบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) โดยเบื้องต้นพบว่ามีข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงใหม่ที่สามารถใช้ในการฟ้องกลับได้เนื่องจากทำให้รัฐบาลไทยเสียหาย โดยจะเป็นการฟ้องศาลในประเทศไทยซึ่งได้สั่งให้ทล.รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด นำเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาภายใน 2 สัปดาห์ และนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่พิจารณาต่อไป
“มีประเด็นที่ต้องดู เช่น ช่วงที่อยู่ในกระบวนการอนุญาโตฯนั้น วอเตอร์ บาวน์ถือหุ้นในดอนเมืองโทลล์เวย์หรือไม่ เพื่อมีความสำคัญในเรื่องการรับรู้การพิจารณาให้การชดเชยโดยการต่อสัญญาออกไปอีก 13 ปี ซึ่งถือเป็นการเยียวยาแล้ว ซึ่งวอเตอร์ บาวน์ในฐานผู้ถือหุ้นก็ได้รับผลประโยชน์ไปด้วย ซึ่งวอเตอร์บาวน์ ฟ้องในปี 48 การต่อสัญญาคือช่วงปี 49-50”นายสุพจน์กล่าว
สัญญาดอนเมืองโทลล์เวย์ เดิมนั้น อายุสัมปทาน 25 ปี ( 2532-2557) มีการต่อสัญญารวม 2 ครั้ง โดยครั้งแรกพิจารณาในปี 2539 ต่ออายุให้ 7 ปี เป็นสิ้นสุดในปี 2564 เนื่องจากกระทรวงการคลังไม่สามารถจัดหาซอฟโลนให้ได้ และครั้งที่ 2 ขยายอายุสัมปทานออกไปอีก 13 ปี สิ้นสุดปี 2577 ให้ปรับค่าผ่านทางได้ตามสัญญาเดิม และเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2552 มีการปรับค่าผ่านทางขึ้นรถยนต์ 4 ล้อ จาก 55บาทเป็น 85 บาท
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ก่อนการต่อสัญญาครั้งที่ 2 ได้มีการเจรจากับบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง ว่าบริษัทฯจะต้องถอนฟ้องร้องทั้งหมด แต่ในการลงนามสัญญาเพิ่มเติมกลับไม่มีเงื่อนไขดังกล่าวเขียนไว้ในสัญญา เนื่องจากทางบริษัทระบุว่า กรณีที่วอเตอร์บาว์นฟ้องนั้นเป็นในนามส่วนตัวใช้สิทธิตามสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนต่างตอบแทนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี พ.ศ. 2545 ไม่เกี่ยวกับบริษัทและบริษัทไม่สามารถบังคับได้
แหล่งข่าวกล่าวว่า หลังยื่นอุทธรณ์แล้วศาลนิวยอร์กยืนตามคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการให้รัฐบาลไทยชดใช้เงิน ล้านเหรียญยูโร (1,300 ล้านบาท) ให้วอเตอร์บาว์น ก็เป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติตามแต่เห็นว่า ยังมีช่องทางในการต่อสู้ โดยสามารถนำผลดังกล่าวมาฟ้องกลับในศาลไทย ว่า เงินชดเชยดังกล่าวนั้นเป็นลาภที่ไม่ควรได้เนื่องจากวอเตอร์ บาว์นได้รับการเยียวยาไปแล้วจากการขยายอายุสัมปทาน
** เผย วอเตอร์บาว ใช้สิทธิ์ฟ้องไม่สุจริต
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีศาลเยอรมนีมีคำสั่งให้ยึดทรัพย์สินรัฐบาลไทย โดยนำไปสู่การอายัดเครื่องบินโบอิ้ง 737 ที่จอดอยู่ท่าอากาศยานนครมิวนิกว่า วันที่ 20 ก.ค.นี้ ศาลเยอรมนีจะออกพิจารณาเรื่องดังกล่าว ซึ่งเอกสารที่ยื่นให้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของกรรมสิทธิ์ เข้าใจว่าศาลจะให้เวลายื่นเอกสารเพิ่มเติมได้ภายในเวลา 24.00 น. ของวันอังคารที่ 19 ก.ค. และคดีดังกล่าวเป็นเรื่องที่เราขอให้ถอนอายัด
ส่วนเรื่องของคดีที่บริษัท วอเตอร์บาว ไปฟ้องศาลที่ศาลนิวยอร์ก ให้บังคับเป็นไปตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ โดยอ้างว่ารัฐบาลไทยผิดสัญญา เราจะทำการยื่นอุทธรณ์ ก่อนวันที่ 29 ก.ค. เพราะเบื้องต้น ศาลนิวยอร์กได้ตัดสินให้เราปฏิบัติตามอนุญาโตตุลาการ ดังนั้น เราจะไปอุทธรณ์ก่อนวันที่ 29 ก.ค. เพราะเป็นสิทธิ์ของเรา ซึ่งทางอัยการสูงสุด ได้ยืนยันกับตนแล้วว่า มีเหตุผลที่ดีจะไปอุทธรณ์ รวมถึงการดำเนินการกฎหมายด้านอื่น เพราะว่ากำลังพิจารณาข้อมูลบางประการที่บ่งบอกว่า ทางฝ่ายบริษัทใช้สิทธิ์ โดยไม่สุจริต
เมื่อถามว่า ที่ระบุว่าทางบริษัทวอเตอร์บาว ใช้สิทธิ์ โดยไม่สุจริตนั้น มีปัญหาเรื่องการทำสัญญา โดยยึดสัมปทานดอนเมืองโทลเวย์ ใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ทางอัยการสูงสุดยังอยู่ที่เยอรมนี จะกลับมารายงานตนเรื่องนี้ให้ชัดเจนอีกครั้ง
เมื่อถามว่ามีการตั้งข้อสังเกต ของ นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีตรองประธานกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ ( กมธ. ป.ป.ช.) สภาผู้แทนราษฎร ที่ระบุว่า ดอนเมือง โทลเวย์ อาจมีส่วนรู้เห็นกับการไปฟ้องร้องของวอเตอร์ บาว เพื่อร่วมคิดกันฉ้อฉล ฉ้อโกง หลอกลวงประชาชนและรัฐบาลไทย มีความเห็นอย่างไร นายกฯ กล่าวว่า อัยการสูงสุดกำลังจะรายงานข้อมูลที่เราจะใช้ต่อไป ซึ่งอาจจะนอกเหนือกับการอุทธรณ์
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้นายสมชาย จันทร์รอด อธิบดีกรมการบินพลเรือน (บพ.)ได้นำเอกสารการจดทะเบียนเครื่องบินโบอิ้ง 737-400 ไปชี้แจงศาลประเทศเยอรมนีแล้ว เพื่อแสดงสถานะของเครื่องบิน ซึ่งจะทำให้เกิดความชัดเจนว่าเครื่องบินลำดังกล่าวที่ถูกอายัดไว้นั้นไม่ได้เป็นทรัพย์สินของรัฐบาลไทยและทรัพย์สินที่จะยึดหรืออายัดได้นั้นจะต้องเป็นของรัฐบาลไทยโดยยกเว้นทรัพย์สินของสถานทูต และทรัพย์สินที่เกี่ยวกับความมั่นคงด้วย
ส่วนกรณีที่บริษัทวอเตอร์ บาวน์ ฟ้องศาลนิวยอร์กเรียกค่าชดใช้จากรัฐบาลไทย วงเงิน 29 ล้านเหรียญยูโร หรือประมาณ 1,300 ล้านบาทจากกรณีสัมปทานดอนเมืองโทลล์เวย์นั้น ขณะนี้ถือว่าคดียังไม่สิ้นสุด อยู่ในกระบวนการบังคับคดี ซึ่งกรมทางหลวง (ทล.) ได้เตรียมข้อมูลสนับสนุนให้อัยการสูงสุดในการยื่นอุทธรณ์ในประเด็นคำวินิจฉัยไม่ชอบซึ่งได้แจ้งความประสงค์ในการยื่นอุทธรณ์ไว้แล้ว มีระยะเวลาในการยื่นถึงวันที่ 28 ก.ค. 2554
นายสุพจน์กล่าวว่า วานนี้(19 ก.ค.) ได้ประชุมร่วมกับผู้บริหารทล. เพื่อตรวจสอบข้อมูลสัญญาสัมปทานโครงการดอนเมืองโทลล์เวย์ ของบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) โดยเบื้องต้นพบว่ามีข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงใหม่ที่สามารถใช้ในการฟ้องกลับได้เนื่องจากทำให้รัฐบาลไทยเสียหาย โดยจะเป็นการฟ้องศาลในประเทศไทยซึ่งได้สั่งให้ทล.รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด นำเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาภายใน 2 สัปดาห์ และนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่พิจารณาต่อไป
“มีประเด็นที่ต้องดู เช่น ช่วงที่อยู่ในกระบวนการอนุญาโตฯนั้น วอเตอร์ บาวน์ถือหุ้นในดอนเมืองโทลล์เวย์หรือไม่ เพื่อมีความสำคัญในเรื่องการรับรู้การพิจารณาให้การชดเชยโดยการต่อสัญญาออกไปอีก 13 ปี ซึ่งถือเป็นการเยียวยาแล้ว ซึ่งวอเตอร์ บาวน์ในฐานผู้ถือหุ้นก็ได้รับผลประโยชน์ไปด้วย ซึ่งวอเตอร์บาวน์ ฟ้องในปี 48 การต่อสัญญาคือช่วงปี 49-50”นายสุพจน์กล่าว
สัญญาดอนเมืองโทลล์เวย์ เดิมนั้น อายุสัมปทาน 25 ปี ( 2532-2557) มีการต่อสัญญารวม 2 ครั้ง โดยครั้งแรกพิจารณาในปี 2539 ต่ออายุให้ 7 ปี เป็นสิ้นสุดในปี 2564 เนื่องจากกระทรวงการคลังไม่สามารถจัดหาซอฟโลนให้ได้ และครั้งที่ 2 ขยายอายุสัมปทานออกไปอีก 13 ปี สิ้นสุดปี 2577 ให้ปรับค่าผ่านทางได้ตามสัญญาเดิม และเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2552 มีการปรับค่าผ่านทางขึ้นรถยนต์ 4 ล้อ จาก 55บาทเป็น 85 บาท
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ก่อนการต่อสัญญาครั้งที่ 2 ได้มีการเจรจากับบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง ว่าบริษัทฯจะต้องถอนฟ้องร้องทั้งหมด แต่ในการลงนามสัญญาเพิ่มเติมกลับไม่มีเงื่อนไขดังกล่าวเขียนไว้ในสัญญา เนื่องจากทางบริษัทระบุว่า กรณีที่วอเตอร์บาว์นฟ้องนั้นเป็นในนามส่วนตัวใช้สิทธิตามสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนต่างตอบแทนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี พ.ศ. 2545 ไม่เกี่ยวกับบริษัทและบริษัทไม่สามารถบังคับได้
แหล่งข่าวกล่าวว่า หลังยื่นอุทธรณ์แล้วศาลนิวยอร์กยืนตามคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการให้รัฐบาลไทยชดใช้เงิน ล้านเหรียญยูโร (1,300 ล้านบาท) ให้วอเตอร์บาว์น ก็เป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติตามแต่เห็นว่า ยังมีช่องทางในการต่อสู้ โดยสามารถนำผลดังกล่าวมาฟ้องกลับในศาลไทย ว่า เงินชดเชยดังกล่าวนั้นเป็นลาภที่ไม่ควรได้เนื่องจากวอเตอร์ บาว์นได้รับการเยียวยาไปแล้วจากการขยายอายุสัมปทาน
** เผย วอเตอร์บาว ใช้สิทธิ์ฟ้องไม่สุจริต
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีศาลเยอรมนีมีคำสั่งให้ยึดทรัพย์สินรัฐบาลไทย โดยนำไปสู่การอายัดเครื่องบินโบอิ้ง 737 ที่จอดอยู่ท่าอากาศยานนครมิวนิกว่า วันที่ 20 ก.ค.นี้ ศาลเยอรมนีจะออกพิจารณาเรื่องดังกล่าว ซึ่งเอกสารที่ยื่นให้ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของกรรมสิทธิ์ เข้าใจว่าศาลจะให้เวลายื่นเอกสารเพิ่มเติมได้ภายในเวลา 24.00 น. ของวันอังคารที่ 19 ก.ค. และคดีดังกล่าวเป็นเรื่องที่เราขอให้ถอนอายัด
ส่วนเรื่องของคดีที่บริษัท วอเตอร์บาว ไปฟ้องศาลที่ศาลนิวยอร์ก ให้บังคับเป็นไปตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ โดยอ้างว่ารัฐบาลไทยผิดสัญญา เราจะทำการยื่นอุทธรณ์ ก่อนวันที่ 29 ก.ค. เพราะเบื้องต้น ศาลนิวยอร์กได้ตัดสินให้เราปฏิบัติตามอนุญาโตตุลาการ ดังนั้น เราจะไปอุทธรณ์ก่อนวันที่ 29 ก.ค. เพราะเป็นสิทธิ์ของเรา ซึ่งทางอัยการสูงสุด ได้ยืนยันกับตนแล้วว่า มีเหตุผลที่ดีจะไปอุทธรณ์ รวมถึงการดำเนินการกฎหมายด้านอื่น เพราะว่ากำลังพิจารณาข้อมูลบางประการที่บ่งบอกว่า ทางฝ่ายบริษัทใช้สิทธิ์ โดยไม่สุจริต
เมื่อถามว่า ที่ระบุว่าทางบริษัทวอเตอร์บาว ใช้สิทธิ์ โดยไม่สุจริตนั้น มีปัญหาเรื่องการทำสัญญา โดยยึดสัมปทานดอนเมืองโทลเวย์ ใช่หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ทางอัยการสูงสุดยังอยู่ที่เยอรมนี จะกลับมารายงานตนเรื่องนี้ให้ชัดเจนอีกครั้ง
เมื่อถามว่ามีการตั้งข้อสังเกต ของ นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีตรองประธานกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ ( กมธ. ป.ป.ช.) สภาผู้แทนราษฎร ที่ระบุว่า ดอนเมือง โทลเวย์ อาจมีส่วนรู้เห็นกับการไปฟ้องร้องของวอเตอร์ บาว เพื่อร่วมคิดกันฉ้อฉล ฉ้อโกง หลอกลวงประชาชนและรัฐบาลไทย มีความเห็นอย่างไร นายกฯ กล่าวว่า อัยการสูงสุดกำลังจะรายงานข้อมูลที่เราจะใช้ต่อไป ซึ่งอาจจะนอกเหนือกับการอุทธรณ์