5 หน่วยงาน “คลัง-สำนักงบฯ – สภาพัฒน์ – ทส.-เกษตร” ถกยุทธศาสตร์บูรณาการระบบบริหารจัดการน้ำ 5 ปีวงเงิน 6 แสนล้านชงรัฐบาลปูแดง แบ่งหน้าที่ชัด ทั้งน้ำเพื่อการเกษตร ครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรม ดึงภาคเอกชนร่วมงานแบบ PPPs ลดงบประมาณลงทุนให้ต่ำกว่า 6 แสนล้านบาท เล็งให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วม หวั่นค่าบำรุงรักษาพุ่งกว่าปีละ 5 หมื่นล้าน
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมากระทรวงการคลังได้หารือร่วม 5 หน่วยงานประกอบไปด้วย สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำแล้งและน้ำท่วมซ้ำซากที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา
เบื้องต้นได้มีการรวบรวมโครงการทั้งจากทส.และกระทรวงเกษตรฯ ที่หน่วยงานในสังกัดรับผิดชอบมีวงเงินตามแผนการดำเนินงานระยะ 5 ปีเพื่อแก้ปัญหาน้ำทั้งระบบสูงถึง 6 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็นการลงทุนบริเวณต้นน้ำเพื่อรักษาแหล่งกำเนิดน้ำให้เพียงพอต่อการใช้งานและป้องกันไม่ให้ธรรมชาติถูกทำลายมากไปกว่านี้ ส่วนโครงการกลางน้ำเป็นการบริหารจัดการ 25 ลุ่มน้ำรวมทั้งแหล่งกักเก็บน้ำที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพไม่ให้ปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม
ขณะที่การบริหารจัดการปลายน้ำทั้งระบบการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร การจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในครัวเรือนตามการขยายตัวของเมืองและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำสำหรับภาคอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวไปยังภูมิภาคต่างๆ ให้มีปริมาณการใช้อย่างพอเพียงตามความต้องการของแต่ละกลุ่ม โดยจะมีทั้งระบบชลประทานแบบคลองและทางท่อเพื่อให้การจัดสรรน้ำเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
“แผนการบริหารจัดการน้ำที่หารือร่วมกันทั้ง 5 หน่วยงานนี้น่าจะแล้วเสร็จและเสนอให้รับบาลใหม่ตัดสินใจแผนบริหารจัดการน้ำของประเทศให้มีประสิทธิภาพได้ในเร็วๆ นี้ โดยคณะกรรมการร่วมจะดูว่าโครงการใดที่มีความซ้ำซ้อนระหว่างหน่วยงานจะได้แยกภาระหน้าที่ในการดำเนินงานที่ชัดเจน จากเดิมที่ภารกิจบางอย่างยังทับซ้อนกันอยู่เพื่อให้การแก้ปัญหาเรื่องน้ำลุล่วงและยั่งยืน” นายจักรกฤศฏิ์กล่าว
นายจักรกฤศฏิ์กล่าวว่า สำหรับการจัดการทรัพยากรน้ำที่ใช้ในภาคเกษตรส่วนใหญ่น่าจะเป็นการลงทุนโดยภาครัฐเพราะถือเป็นการจัดสรรทรัพยากรพื้นฐานให้กับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่เป็นเกษตรกรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตต่อหน่วยเพิ่มขึ้น ขณะที่การจัดสรรน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภคในครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมจะพิจารณาว่าโครงการใดที่รัฐบาลลงทุนเองหรือให้เอกชนลงทุนในรูปแบบ PPPs เพื่อลดงบประมาณการก่อสร้างในระยะ 5 ปีที่สูงถึง 6 แสนล้านบาทลงได้
“สิ่งที่เราต้องตระหนักคือเรื่องการบำรุงรักษาที่จะเพิ่มสูงขึ้นถึงปีละ 5 หมื่นล้านบาทซึ่งสูงกว่างบประมาณในการก่อสร้างแต่ละปี ดังนั้นจะต้องพยายามดึงท้องถิ่นทั้งองค์การบริหารส่วนตำบลและหน่วยงานปกครองอื่นๆ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่รู้สึกมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของเพื่อจะได้ช่วยกันดูแลและบำรุงรักษาระบบชลประทานที่ชำรุดในระยะแรกให้ทันท่วงทีหากปล่อยไว้จะทำให้ความเสียหายเพิ่มมากขึ้นและรองบประมาณซ่อมแซมจากรัฐบาลกลางเพียงอย่างเดียวจะทำให้ความเสียหายที่เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยเพิ่มมากขึ้น” นายจักรกฤศฏิ์กล่าว
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมากระทรวงการคลังได้หารือร่วม 5 หน่วยงานประกอบไปด้วย สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำแล้งและน้ำท่วมซ้ำซากที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา
เบื้องต้นได้มีการรวบรวมโครงการทั้งจากทส.และกระทรวงเกษตรฯ ที่หน่วยงานในสังกัดรับผิดชอบมีวงเงินตามแผนการดำเนินงานระยะ 5 ปีเพื่อแก้ปัญหาน้ำทั้งระบบสูงถึง 6 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็นการลงทุนบริเวณต้นน้ำเพื่อรักษาแหล่งกำเนิดน้ำให้เพียงพอต่อการใช้งานและป้องกันไม่ให้ธรรมชาติถูกทำลายมากไปกว่านี้ ส่วนโครงการกลางน้ำเป็นการบริหารจัดการ 25 ลุ่มน้ำรวมทั้งแหล่งกักเก็บน้ำที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพไม่ให้ปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม
ขณะที่การบริหารจัดการปลายน้ำทั้งระบบการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร การจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในครัวเรือนตามการขยายตัวของเมืองและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำสำหรับภาคอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวไปยังภูมิภาคต่างๆ ให้มีปริมาณการใช้อย่างพอเพียงตามความต้องการของแต่ละกลุ่ม โดยจะมีทั้งระบบชลประทานแบบคลองและทางท่อเพื่อให้การจัดสรรน้ำเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
“แผนการบริหารจัดการน้ำที่หารือร่วมกันทั้ง 5 หน่วยงานนี้น่าจะแล้วเสร็จและเสนอให้รับบาลใหม่ตัดสินใจแผนบริหารจัดการน้ำของประเทศให้มีประสิทธิภาพได้ในเร็วๆ นี้ โดยคณะกรรมการร่วมจะดูว่าโครงการใดที่มีความซ้ำซ้อนระหว่างหน่วยงานจะได้แยกภาระหน้าที่ในการดำเนินงานที่ชัดเจน จากเดิมที่ภารกิจบางอย่างยังทับซ้อนกันอยู่เพื่อให้การแก้ปัญหาเรื่องน้ำลุล่วงและยั่งยืน” นายจักรกฤศฏิ์กล่าว
นายจักรกฤศฏิ์กล่าวว่า สำหรับการจัดการทรัพยากรน้ำที่ใช้ในภาคเกษตรส่วนใหญ่น่าจะเป็นการลงทุนโดยภาครัฐเพราะถือเป็นการจัดสรรทรัพยากรพื้นฐานให้กับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่เป็นเกษตรกรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตต่อหน่วยเพิ่มขึ้น ขณะที่การจัดสรรน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภคในครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมจะพิจารณาว่าโครงการใดที่รัฐบาลลงทุนเองหรือให้เอกชนลงทุนในรูปแบบ PPPs เพื่อลดงบประมาณการก่อสร้างในระยะ 5 ปีที่สูงถึง 6 แสนล้านบาทลงได้
“สิ่งที่เราต้องตระหนักคือเรื่องการบำรุงรักษาที่จะเพิ่มสูงขึ้นถึงปีละ 5 หมื่นล้านบาทซึ่งสูงกว่างบประมาณในการก่อสร้างแต่ละปี ดังนั้นจะต้องพยายามดึงท้องถิ่นทั้งองค์การบริหารส่วนตำบลและหน่วยงานปกครองอื่นๆ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่รู้สึกมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของเพื่อจะได้ช่วยกันดูแลและบำรุงรักษาระบบชลประทานที่ชำรุดในระยะแรกให้ทันท่วงทีหากปล่อยไว้จะทำให้ความเสียหายเพิ่มมากขึ้นและรองบประมาณซ่อมแซมจากรัฐบาลกลางเพียงอย่างเดียวจะทำให้ความเสียหายที่เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยเพิ่มมากขึ้น” นายจักรกฤศฏิ์กล่าว