ASTVผู้จัดการรายวัน - "บัวหลวง"นำร่องปรับขึ้นดอกเบี้ย 2 ขา ออมทรัพย์ขึ้น 0.125% ประเภทอื่นขึ้นสูงสุด 0.50% ดอกเบี้ยกู้ 0.25% มีผล 14ก.ค.นี้ด้านนักวิชาการห่วงปัจจัยเสี่ยงวิกฤติเศรษฐกิจยุโรปที่ลุกลามและรุนแรงขึ้น อาจกดดันให้กนง.ต้องปรับดอกเบี้ยลงในช่วงปลายปีได้ ด้านธอส.รอทบทวนสัปดาห์หน้า
นายสุวรรณ แทนสถิตย์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารได้มีการประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ทุกประเภท ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นทั้ง 2 ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินฝากประเภทสะสมทรัพย์ (ออมทรัพย์) จาก 0.75% เป็น 0.875% เพิ่มขึ้น 0.125% ส่วนเงินฝากประจำ ทั้งประเภทบุคคลธรรมดา นิติบุคคลไม่แสวงหากำไร และนิติบุคคลอื่น เพิ่มขึ้นสูงสุด 0.500% โดยเงินฝากประจำ 7 วัน จาก 1.500-1.750% เป็น 1.875-2.250% เงินฝากประจำ 14 วัน จาก 1.500-1.750% เป็น 1.875-2.250% เงินฝากประจำ 30 วัน จาก 1.500-2.000% เป็น 1.875-2.250% เงินฝากประจำ 3 เดือน จาก 1.625-1.875% เป็น 1.875-2.000% เงินฝากประจำ 6 เดือน จาก 2.000-2.250% เป็น 2.125-2.375% เงินฝากประจำ 12 เดือน จาก 2.250-2.500% เป็น 2.500-2.750% เงินฝากประจำ 24 เดือน จาก 2.750-3.000% เป็น 3.000% เงินฝากประจำ 36 เดือน จาก 3.125-3.250% เป็น 3.250%
สำหรับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (Minimum Loan Rate) หรือ MLR จาก 6.875% เป็น 7.125% อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (Minimum Overdraft Rate) หรือ MOR จาก 7.125% เป็น 7.375% และอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Retail Rate) หรือ MRR จาก 7.625% เป็น 7.875% โดยทั้งหมดมีผลเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 2554
ห่วงวิกฤตยุโรปลามหนัก
นายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)(CIMBT) กล่าวถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง.)อีก 0.25% เป็น 3.25% ว่า เป็นแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น และยังมีแนวโน้มที่สูงขึ้นอีก จากแนวนโยบายของรัฐบาลใหม่ จึงเป็นไปได้ว่ากนง.จะยังคงมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในการประชุมครั้งหน้า โดยทางธนาคารได้ประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับตัวขึ้นสูงสุดที่ 3.50%
"เรายังคงมองอัตราดอกเบี้ยนโยบายปีนี้ไว้ที่ 3.50% ยังไม่มีการปรับเพิ่ม แม้จะมีปัจจัยเรื่องนโยบายการใช้จ่ายของรัฐบาลชุดใหม่เข้ามา เพราะประเมินว่ายอดใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากงบฯครั้งนี้นั้นก็คงไม่เกิน 5 หมื่นล้าน จึงไม่น่าจะเพียงพอที่จะดันเงินเฟ้อมากนักในปีนี้"
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่น่าเป็นห่วงเป็นเรื่องของวิกฤตของหลายประเทศในยุโรปที่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาและหยุดการลุกลามได้ ไม่ว่าจะเป็นประเทศกรีซ อิตาลี และหากไม่สามารถหยุดวิกฤตดังกล่าวได้ ก็จะส่งกระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ขณะที่จีนซึ่งเป็นประเทศศูนย์กลางเศรษฐกิจในเอเชียก็อาจมีอัตราการเติบโตที่ชะลอตัวลง หลังจากที่มีสัดส่วนหนี้สาธารณะเท่ากับ 100%ของจีดีพี ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลกระทบเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการส่งออกเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นายบันลือศักดิ์กล่าวอีกว่า จากปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวจึงมีความเป็นไปได้ว่า กนง.อาจจะพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้นว่าจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างมากน้อยเพียงใด
ธอส.ตรึงดบ.รองทบทวนสัปดาห์หน้า
นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) กล่าวถึงการที่คณะกรรมการนโยบายการเงินมีติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ว่า ในส่วนของธอส.จะขอรอดูทิศทางของตลาดก่อนหากธนาคารพาณิชย์ขานรับและปรับขึ้นตาม ธอส.ก็จะมาพิจารณาถึงความเหมาะสมอีกครั้งในสัปดาห์หน้า
"ธอส.ยังยึดหลักเหมือนทุกครั้งคือขอปรับขึ้นเป็นรายสุดท้าย ในฐานะที่เป็นแบงก์รัฐก็ตรึงดอกเบี้ยให้นานที่สุด ซึ่งที่ผ่านมาก็จะปรับหลังแบงก์พาณิชย์ 1-2 สัปดาห์ โดยหากตลาดปรับขึ้นซึ่งปกติจะปรับทั้ง หากธอส.ไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ก็จะทำให้ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากได้ยาก ซึ่งจะทำให้แข่งขันระดมเงินฝากหรือรักษาฐานลูกค้าไว้ไม่ได้" นายวรวิทย์ กล่าว
นายสุวรรณ แทนสถิตย์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารได้มีการประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ทุกประเภท ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นทั้ง 2 ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินฝากประเภทสะสมทรัพย์ (ออมทรัพย์) จาก 0.75% เป็น 0.875% เพิ่มขึ้น 0.125% ส่วนเงินฝากประจำ ทั้งประเภทบุคคลธรรมดา นิติบุคคลไม่แสวงหากำไร และนิติบุคคลอื่น เพิ่มขึ้นสูงสุด 0.500% โดยเงินฝากประจำ 7 วัน จาก 1.500-1.750% เป็น 1.875-2.250% เงินฝากประจำ 14 วัน จาก 1.500-1.750% เป็น 1.875-2.250% เงินฝากประจำ 30 วัน จาก 1.500-2.000% เป็น 1.875-2.250% เงินฝากประจำ 3 เดือน จาก 1.625-1.875% เป็น 1.875-2.000% เงินฝากประจำ 6 เดือน จาก 2.000-2.250% เป็น 2.125-2.375% เงินฝากประจำ 12 เดือน จาก 2.250-2.500% เป็น 2.500-2.750% เงินฝากประจำ 24 เดือน จาก 2.750-3.000% เป็น 3.000% เงินฝากประจำ 36 เดือน จาก 3.125-3.250% เป็น 3.250%
สำหรับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (Minimum Loan Rate) หรือ MLR จาก 6.875% เป็น 7.125% อัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินเบิกเกินบัญชี (Minimum Overdraft Rate) หรือ MOR จาก 7.125% เป็น 7.375% และอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (Minimum Retail Rate) หรือ MRR จาก 7.625% เป็น 7.875% โดยทั้งหมดมีผลเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 2554
ห่วงวิกฤตยุโรปลามหนัก
นายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)(CIMBT) กล่าวถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง.)อีก 0.25% เป็น 3.25% ว่า เป็นแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น และยังมีแนวโน้มที่สูงขึ้นอีก จากแนวนโยบายของรัฐบาลใหม่ จึงเป็นไปได้ว่ากนง.จะยังคงมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในการประชุมครั้งหน้า โดยทางธนาคารได้ประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับตัวขึ้นสูงสุดที่ 3.50%
"เรายังคงมองอัตราดอกเบี้ยนโยบายปีนี้ไว้ที่ 3.50% ยังไม่มีการปรับเพิ่ม แม้จะมีปัจจัยเรื่องนโยบายการใช้จ่ายของรัฐบาลชุดใหม่เข้ามา เพราะประเมินว่ายอดใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากงบฯครั้งนี้นั้นก็คงไม่เกิน 5 หมื่นล้าน จึงไม่น่าจะเพียงพอที่จะดันเงินเฟ้อมากนักในปีนี้"
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่น่าเป็นห่วงเป็นเรื่องของวิกฤตของหลายประเทศในยุโรปที่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาและหยุดการลุกลามได้ ไม่ว่าจะเป็นประเทศกรีซ อิตาลี และหากไม่สามารถหยุดวิกฤตดังกล่าวได้ ก็จะส่งกระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ขณะที่จีนซึ่งเป็นประเทศศูนย์กลางเศรษฐกิจในเอเชียก็อาจมีอัตราการเติบโตที่ชะลอตัวลง หลังจากที่มีสัดส่วนหนี้สาธารณะเท่ากับ 100%ของจีดีพี ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลกระทบเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการส่งออกเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นายบันลือศักดิ์กล่าวอีกว่า จากปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวจึงมีความเป็นไปได้ว่า กนง.อาจจะพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้นว่าจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างมากน้อยเพียงใด
ธอส.ตรึงดบ.รองทบทวนสัปดาห์หน้า
นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) กล่าวถึงการที่คณะกรรมการนโยบายการเงินมีติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ว่า ในส่วนของธอส.จะขอรอดูทิศทางของตลาดก่อนหากธนาคารพาณิชย์ขานรับและปรับขึ้นตาม ธอส.ก็จะมาพิจารณาถึงความเหมาะสมอีกครั้งในสัปดาห์หน้า
"ธอส.ยังยึดหลักเหมือนทุกครั้งคือขอปรับขึ้นเป็นรายสุดท้าย ในฐานะที่เป็นแบงก์รัฐก็ตรึงดอกเบี้ยให้นานที่สุด ซึ่งที่ผ่านมาก็จะปรับหลังแบงก์พาณิชย์ 1-2 สัปดาห์ โดยหากตลาดปรับขึ้นซึ่งปกติจะปรับทั้ง หากธอส.ไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ก็จะทำให้ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากได้ยาก ซึ่งจะทำให้แข่งขันระดมเงินฝากหรือรักษาฐานลูกค้าไว้ไม่ได้" นายวรวิทย์ กล่าว