ASTVผู้จัดการรายวัน-เรกูเลเตอร์ถกปตท.ถี่ยิบ หาช่องฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกรณีท่อก๊าซฯ รั่ว รับต้องใช้เวลาพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้ชัดเจนก่อนยื่นฟ้อง "ฮุนได เฮฟวี่ฯ” ผู้รับเหมาโครงการ ยันต้องมีคนรับผิดชอบ ไม่โยนภาระให้ประชาชนรับค่าไฟเพิ่ม เผยท่อซ่อมเสร็จกลางส.ค. ดันค่าไฟพุ่งไม่ต่ำกว่า 5 สตางค์ต่อหน่วย
นายกวิน ทังสุพานิช เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรกูเลเตอร์) เปิดเผยว่า ขณะนี้เรกูเลเตอร์อยู่ระหว่างการหารือกับบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เพื่อสอบข้อเท็จจริงกรณีท่อก๊าซธรรมชาติรั่วในอ่าวไทยว่าเป็นความผิดของบริษัทฮุนได เฮฟวี่ อินดัสตรี จำกัด ในฐานะผู้รับเหมาโครงการวางท่อก๊าซฯ ที่เกิดปัญหาดังกล่าวให้ชัดเจนก่อนที่จะยื่นฟ้องร้องค่าเสียหายต่อไป ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้
“หลักการเราดูแลโครงข่ายท่อก๊าซฯ หากใครทำเสียหายให้กับระบบถือมีความผิดตามกฏหมาย ซึ่งตามขั้นตอนแล้ว ก่อนจะกล่าวหาใคร ก็จะต้องรู้ให้ชัดเจนก่อนถึงจะฟ้องได้ ขณะนี้เราก็หารือกับปตท.อยู่ตลอดเวลาเพื่อดูข้อเท็จจริง เนื่องจากฮุนไดฯ เป็นผู้รับเหมาวางท่อฯ แต่ก็ยังมีการจ้างต่อ ขณะเดียวกันยังต้องมาดูในเรื่องการตีความถึงกรณีเหตุสุดวิสัยอีกด้วย ทำให้ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งเมื่อมั่นใจว่าใครคือต้นเหตุก็จะยื่นฟ้องทันที”นายกวินกล่าว
อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาท่อก๊าซฯ รั่วครั้งนี้ คาดว่าจะเสร็จกลางเดือนส.ค. ซึ่งผลของต้นทุนเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นจากการหันไปใช้น้ำมันเตาและเชื้อเพลิงอื่นๆ นั้น แม้จะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) สูงขึ้น แต่จะไม่มีการผลักภาระไปยังประชาชนอย่างแน่นอน โดยเรกูเลเตอร์จะต้องหาผู้รับผิดชอบให้ได้
แหล่งข่าวจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า เดิมทีปตท.ได้แจ้งว่าจะซ่อมท่อก๊าซฯ ได้ประมาณกลางเดือนก.ค.2554 แต่ล่าสุดคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในช่วงเดือนส.ค.นี้ ซึ่งมูลค่าความเสียหายจากเดิมที่ประเมินไว้อยู่ 1,200 ล้านบาทจะเป็นไม่ต่ำกว่า 2,400 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเอฟทีสูงขึ้นจากเดิมที่ประเมินไว้ประมาณ 3 สตางค์ต่อหน่วยเป็นไม่ต่ำกว่า 5
สตางค์ต่อหน่วย
นายมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน กล่าวว่า โครงสร้างการผลิตไฟฟ้าของไทยที่พึ่งพิงก๊าซธรรมชาติสูงถึง 70% ถือเป็นความเสี่ยงที่ไม่กระจายเชื้อเพลิงให้สมดุลแล้วยังเสี่ยงจากที่ 25% ของก๊าซฯ ที่ใช้ยังพึ่งพิงการนำเข้าจากพม่า อย่างไรก็ตาม การแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (พีดีพี) ใหม่ พยายามจะลดการใช้ก๊าซฯ ให้เหลือ 40-50% เพื่อกระจายไปยังถ่านหิน นิวเคลียร์ และการซื้อไฟจากต่างประเทศ ซึ่งล่าสุดนิวเคลียร์ต้องเลื่อนออกไป 3 ปี เพราะประชาชนไม่ยอมรับ และล่าสุดแม้แต่ถ่านหินเองชุมชนก็ยังมีการต่อต้าน ดังนั้น ทางเลือกของไทยจำเป็นต้องมองในเรื่องของมาตรการประหยัดให้เพิ่มขึ้นในอนาคต
นายกวิน ทังสุพานิช เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรกูเลเตอร์) เปิดเผยว่า ขณะนี้เรกูเลเตอร์อยู่ระหว่างการหารือกับบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เพื่อสอบข้อเท็จจริงกรณีท่อก๊าซธรรมชาติรั่วในอ่าวไทยว่าเป็นความผิดของบริษัทฮุนได เฮฟวี่ อินดัสตรี จำกัด ในฐานะผู้รับเหมาโครงการวางท่อก๊าซฯ ที่เกิดปัญหาดังกล่าวให้ชัดเจนก่อนที่จะยื่นฟ้องร้องค่าเสียหายต่อไป ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้
“หลักการเราดูแลโครงข่ายท่อก๊าซฯ หากใครทำเสียหายให้กับระบบถือมีความผิดตามกฏหมาย ซึ่งตามขั้นตอนแล้ว ก่อนจะกล่าวหาใคร ก็จะต้องรู้ให้ชัดเจนก่อนถึงจะฟ้องได้ ขณะนี้เราก็หารือกับปตท.อยู่ตลอดเวลาเพื่อดูข้อเท็จจริง เนื่องจากฮุนไดฯ เป็นผู้รับเหมาวางท่อฯ แต่ก็ยังมีการจ้างต่อ ขณะเดียวกันยังต้องมาดูในเรื่องการตีความถึงกรณีเหตุสุดวิสัยอีกด้วย ทำให้ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งเมื่อมั่นใจว่าใครคือต้นเหตุก็จะยื่นฟ้องทันที”นายกวินกล่าว
อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาท่อก๊าซฯ รั่วครั้งนี้ คาดว่าจะเสร็จกลางเดือนส.ค. ซึ่งผลของต้นทุนเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นจากการหันไปใช้น้ำมันเตาและเชื้อเพลิงอื่นๆ นั้น แม้จะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) สูงขึ้น แต่จะไม่มีการผลักภาระไปยังประชาชนอย่างแน่นอน โดยเรกูเลเตอร์จะต้องหาผู้รับผิดชอบให้ได้
แหล่งข่าวจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า เดิมทีปตท.ได้แจ้งว่าจะซ่อมท่อก๊าซฯ ได้ประมาณกลางเดือนก.ค.2554 แต่ล่าสุดคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในช่วงเดือนส.ค.นี้ ซึ่งมูลค่าความเสียหายจากเดิมที่ประเมินไว้อยู่ 1,200 ล้านบาทจะเป็นไม่ต่ำกว่า 2,400 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเอฟทีสูงขึ้นจากเดิมที่ประเมินไว้ประมาณ 3 สตางค์ต่อหน่วยเป็นไม่ต่ำกว่า 5
สตางค์ต่อหน่วย
นายมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน กล่าวว่า โครงสร้างการผลิตไฟฟ้าของไทยที่พึ่งพิงก๊าซธรรมชาติสูงถึง 70% ถือเป็นความเสี่ยงที่ไม่กระจายเชื้อเพลิงให้สมดุลแล้วยังเสี่ยงจากที่ 25% ของก๊าซฯ ที่ใช้ยังพึ่งพิงการนำเข้าจากพม่า อย่างไรก็ตาม การแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (พีดีพี) ใหม่ พยายามจะลดการใช้ก๊าซฯ ให้เหลือ 40-50% เพื่อกระจายไปยังถ่านหิน นิวเคลียร์ และการซื้อไฟจากต่างประเทศ ซึ่งล่าสุดนิวเคลียร์ต้องเลื่อนออกไป 3 ปี เพราะประชาชนไม่ยอมรับ และล่าสุดแม้แต่ถ่านหินเองชุมชนก็ยังมีการต่อต้าน ดังนั้น ทางเลือกของไทยจำเป็นต้องมองในเรื่องของมาตรการประหยัดให้เพิ่มขึ้นในอนาคต