ASTVผู้จัดการรายวัน – คลังเล็งชงมาตรการลดความเหลื่อมล้ำเสนอรัฐบาลใหม่เพิ่มรายได้ระยะยาวที่ยั่งยืนให้ประชาชน สรรพากรพร้อมปรับภาษีนิติบุคคลเหลือ 23% เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศเล็งจังหวะเหมาะดำเนินการทันที ขณะที่สรรพสามิตจ่อเพิ่มภาษีหลายรายการชดเชยรายได้สนองนโยบายประชานิยม
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า นโยบายของรัฐบาลใหม่นี้ ถือว่าสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกับยุทธศาสตร์ของกระทรวงการคลัง ที่จะมุ่งเน้นในการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สังคม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพราะปัจจุบันหากพิจารณาจากประชาชนที่มีรายได้มากที่สุดของประเทศ 20% แรกกับกลุ่มที่มีรายได้ต่ำสุด 20% นั้นมีรายได้ห่างกันถึง 12 เท่า การมุ่งเน้นลดความเลื่อมล้ำดังกล่าว จึงเป็นเป็นเรื่องจำเป็นและเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลก โดยในส่วนของมาตรการดูแลปัญหาปากท้องถือว่าจำเป็น แต่ที่สำคัญกว่าคือ ช่องทางเพิ่มรายได้ระยะยาวให้กับประชาชนมากกว่า เพราะยั่งยืนและเชื่อว่ารัฐบาลจะให้ความสำคัญเช่นกัน
“เราได้เตรียมข้อมูลด้านฐานะการคลัง การจัดเก็บรายได้ต่าง ๆ รวมถึงภาระงบประมาณไว้แล้ว เพื่อรอหารือกับทีมเศรษฐกิจใหม่ ขณะนี้เร็วเกินไปที่จะมาพูดว่าจะต้องมาออกมาตรการอะไร” นายอารีพงศ์กล่าว
นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า กรมสรรพากรได้จัดทำแผนปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบไว้แล้ว เมื่อรัฐบาลใหม่เข้ามา ก็พร้อมนำเสนอได้ทันที โดยนโยบายพรรคเพื่อไทยที่เกี่ยวข้องกับการลดภาษีนิติบุคคล จาก 30% เหลือ 23% นั้น ถือว่าเป็นนโยบายที่สอดคล้องกับทิศทางของโลก หากเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคนี้ ไทยถือว่ามีภาษีสูงสุด โดยสิงคโปร์ ฮ่องกงมีภาษีเพียง 20% ดังนั้นหากต้องการลดภาษี เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น ต้องพิจารณาว่าจะปรับลดลงในระดับใด แต่สิ่งที่สำคัญ คือ เรื่องของจังหวะเวลา ว่ารัฐบาลจะเริ่มดำเนินการเมื่อไหร่ และจะส่งผลต่อรายได้มากน้อยเพียงใด
อย่างไรก็ตาม นโยบายการลดภาษีนิติบุคคลนั้น ไม่ได้มีแต่การเสียรายได้เพียงด้านเดียว เพราะหากมีการลงทุนเพิ่มขึ้น การจัดเก็บภาษี จะได้เงินเพิ่มขึ้นตามมา ประกอบกับ หากภาคเอกชนเสียภาษีน้อยลง จะมีเงินเหลือเพียงพอที่จะลงทุนเพิ่ม หรือ จ่ายค่าแรงงานเพิ่ม ซึ่งจะมีส่วนช่วยเพิ่มการบริโภคและการลงทุนของประเทศโดยรวม
“แนวทางในการปรับลดภาษีนิติบุคคลนั้น สามารถทำได้ในชั้นของพระราชกฤษฎีกา ไม่ต้องผ่านขั้นตอนของสภา แต่ถ้ารัฐบาลต้องการที่จะปรับโครงสร้างภาษีสรรพากรทั้งระบบ ต้องยกร่างกฎหมายใหม่ ซึ่งต้องผ่านขั้นตอนของสภา แต่จะครอบคลุมมากกว่า และอุดช่องโหว่ที่รั่วไหลจากกลุ่มบริษัทต่างข้ามชาติได้ด้วย” นายสาธิตกล่าว
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า กรมสรรพสามิตได้เตรียมจัดทำแผนการปรับโครงสร้างภาษีเพื่อเตรียมเสนอรัฐบาลใหม่ ซึ่งจะรองรับการดำเนินนโยบายของรัฐบาลใหม่ ทั้งในส่วนของการปรับลดภาษีรถคันแรกและปรับเพิ่มภาษีรายการอื่นๆ เพื่อหารายได้เพิ่ม รองรับโครงการประชานิยมอื่น พร้อมกันนี้จะเสนอให้รัฐบาลใหม่กลับมาจัดเก็บภาษีเครื่องปรับอากาศ(แอร์) บ้านอีกครั้ง หลังจากที่ภาษีดังกล่าวได้ยกเลิกไปในรัฐบาลชุดที่ผ่านมา เพราะเห็นว่าแอร์เป็นสินค้าที่สิ้นเปลืองพลังงานมาก ไม่มีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม
กรมฯ เห็นว่าหลังจากการที่รัฐบาลมีนโยบายในการปรับลดภาษีกรมสรรพากรลงหลายรายการ ดังนั้นการหารายได้หลักจะมาตกหนักอยู่ที่สรรพสามิต และสินค้าที่เห็นว่าสามารถจัดเก็บภาษีเพิ่มได้ทันที 4 รายการ คือ ภาษีน้ำมัน รถยนต์ แอร์ และแบตเตอรี่ โดยใช้หลักการตามนโยบายสรรพสามิตสีเขียว ว่า สินค้าใดที่ก่อมลพิษมาก ต้องเสียภาษีในอัตราที่สูง เช่น ภาษีน้ำมันที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์สูง ต้องเสียภาษีในอัตราที่สูง รถยนต์ที่ก่อมลพิษมาก ต้องเสียภาษีในอัตรามากกว่า รวมทั้งจะเสนอให้ยกเลิกการพยุงราคาน้ำมันโดยใช้มาตรการลดภาษี เพราะที่ผ่านมามีการบิดเบือนกลไกตลาด รวมทั้งก่อให้เกิดการใช้พลังงานผิดประเภท และจะพิจารณาเสนอขึ้นภาษีสินค้าอื่นๆ ที่เข้าข่ายไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และให้เหมือนกับประเทศอื่นๆ ที่จัดเก็บด้วย เช่น น้ำมันหล่อลื่น ยางรถยนต์ ยาฆ่าแมลง บรรจุภัณฑ์
“คิดว่ากองทุนน้ำมันฯ ไม่จำเป็นสำหรับประเทศไทย ยกเลิกแล้วปล่อยให้ราคาน้ำมันลอยตัว ภายใต้การควบคุมราคา ส่วนเรื่องภาษีนั้นคงเป็นเรื่องโครงสร้างระยะยาว เราคงปรับเปลี่ยนบ่อยๆ ไม่ได้ ดังนั้นต้องรอดูความชัดเจนว่ารัฐบาลจะมีกลไกอื่นเข้ามาแทนกองทุนน้ำมันได้หรือไม่” นายพงษ์ภาณุกล่าว
สำหรับนโยบายการคืนภาษีรถยนต์คันแรกนั้น ถือว่าเป็นนโยบายที่จะมีส่วนช่วยผู้มีรายได้น้อย ให้มีรถยนต์คันแรกได้แต่เป็นห่วงในทางปฏิบัติ ซึ่งต้องป้องกันการสวมสิทธิของกลุ่มคนที่มีรายได้สูง หรือใช้ชื่อคนอื่นในการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี รวมทั้งการให้สิทธิให้กับรถยนต์ที่ราคาไม่แพง และประหยัดพลังงาน ทั้งนี้คาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบกับรายได้ของกรมมากนัก เนื่องจากจะมีผู้ที่ได้สิทธิไม่มากนัก
ด้านนายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจ (สศค.) กล่าวว่า ขณะนี้ชัดเจนว่า การจัดทำงบประมาณปี 55 ล่าช้าแน่นอน แต่การจะใช้เงินงบประมาณอย่างไร จะมีกรอบกฎหมายกำหนดไว้อยู่แล้วในเรื่องพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) การบริหารหนี้สาธารณะ ว่ามีเพดานในการก่อหนี้มากน้อยเพียงใด รวมถึงกรอบการจัดทำงบสมดุล 5 ปีด้วย แต่ขณะนี้ต้องรอดูนโยบายของรัฐบาลใหม่ก่อนว่า จากนโยบายที่หาเสียงไว้ จะดำเนินการเรื่องอะไรก่อนหลัง เพื่อจะได้จัดงบประมาณได้ถูก เช่น การเปลี่ยนแปลงจากกาประกันรายได้มาใช้ระบบจำนำ จะต้องใช้เงินมากน้อยเพียงใด
สำหรับกรณีที่บริษัท สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ จำกัด (เอสแอนด์พี) ออกมาเตือนรัฐบาลใหม่ว่าถ้าดำเนินการตามนโยบายประชานิยมทุกเรื่องจะกระทบต่อฐานะการคลังนั้น สศค.เห็นว่า การดำเนินโยบายจะมีกรอบความยั่งยืนทางการคลังอยู่แล้ว หากนำเงินคงคลังมาใช้ ต้องตั้งงบประมาณชดเชยในปีหน้า ซึ่งการออกมาเตือนถือเป็นหน้าที่ เพื่อให้เกิดความระมัดระวัง แต่บรรยากาศการเลือกตั้งที่สงบเรียบร้อย มีตอบรับที่ดี โดยจะเห็นจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ที่คึกคักขึ้น.
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า นโยบายของรัฐบาลใหม่นี้ ถือว่าสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกับยุทธศาสตร์ของกระทรวงการคลัง ที่จะมุ่งเน้นในการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สังคม และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เพราะปัจจุบันหากพิจารณาจากประชาชนที่มีรายได้มากที่สุดของประเทศ 20% แรกกับกลุ่มที่มีรายได้ต่ำสุด 20% นั้นมีรายได้ห่างกันถึง 12 เท่า การมุ่งเน้นลดความเลื่อมล้ำดังกล่าว จึงเป็นเป็นเรื่องจำเป็นและเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั่วโลก โดยในส่วนของมาตรการดูแลปัญหาปากท้องถือว่าจำเป็น แต่ที่สำคัญกว่าคือ ช่องทางเพิ่มรายได้ระยะยาวให้กับประชาชนมากกว่า เพราะยั่งยืนและเชื่อว่ารัฐบาลจะให้ความสำคัญเช่นกัน
“เราได้เตรียมข้อมูลด้านฐานะการคลัง การจัดเก็บรายได้ต่าง ๆ รวมถึงภาระงบประมาณไว้แล้ว เพื่อรอหารือกับทีมเศรษฐกิจใหม่ ขณะนี้เร็วเกินไปที่จะมาพูดว่าจะต้องมาออกมาตรการอะไร” นายอารีพงศ์กล่าว
นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า กรมสรรพากรได้จัดทำแผนปรับโครงสร้างภาษีทั้งระบบไว้แล้ว เมื่อรัฐบาลใหม่เข้ามา ก็พร้อมนำเสนอได้ทันที โดยนโยบายพรรคเพื่อไทยที่เกี่ยวข้องกับการลดภาษีนิติบุคคล จาก 30% เหลือ 23% นั้น ถือว่าเป็นนโยบายที่สอดคล้องกับทิศทางของโลก หากเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคนี้ ไทยถือว่ามีภาษีสูงสุด โดยสิงคโปร์ ฮ่องกงมีภาษีเพียง 20% ดังนั้นหากต้องการลดภาษี เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น ต้องพิจารณาว่าจะปรับลดลงในระดับใด แต่สิ่งที่สำคัญ คือ เรื่องของจังหวะเวลา ว่ารัฐบาลจะเริ่มดำเนินการเมื่อไหร่ และจะส่งผลต่อรายได้มากน้อยเพียงใด
อย่างไรก็ตาม นโยบายการลดภาษีนิติบุคคลนั้น ไม่ได้มีแต่การเสียรายได้เพียงด้านเดียว เพราะหากมีการลงทุนเพิ่มขึ้น การจัดเก็บภาษี จะได้เงินเพิ่มขึ้นตามมา ประกอบกับ หากภาคเอกชนเสียภาษีน้อยลง จะมีเงินเหลือเพียงพอที่จะลงทุนเพิ่ม หรือ จ่ายค่าแรงงานเพิ่ม ซึ่งจะมีส่วนช่วยเพิ่มการบริโภคและการลงทุนของประเทศโดยรวม
“แนวทางในการปรับลดภาษีนิติบุคคลนั้น สามารถทำได้ในชั้นของพระราชกฤษฎีกา ไม่ต้องผ่านขั้นตอนของสภา แต่ถ้ารัฐบาลต้องการที่จะปรับโครงสร้างภาษีสรรพากรทั้งระบบ ต้องยกร่างกฎหมายใหม่ ซึ่งต้องผ่านขั้นตอนของสภา แต่จะครอบคลุมมากกว่า และอุดช่องโหว่ที่รั่วไหลจากกลุ่มบริษัทต่างข้ามชาติได้ด้วย” นายสาธิตกล่าว
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า กรมสรรพสามิตได้เตรียมจัดทำแผนการปรับโครงสร้างภาษีเพื่อเตรียมเสนอรัฐบาลใหม่ ซึ่งจะรองรับการดำเนินนโยบายของรัฐบาลใหม่ ทั้งในส่วนของการปรับลดภาษีรถคันแรกและปรับเพิ่มภาษีรายการอื่นๆ เพื่อหารายได้เพิ่ม รองรับโครงการประชานิยมอื่น พร้อมกันนี้จะเสนอให้รัฐบาลใหม่กลับมาจัดเก็บภาษีเครื่องปรับอากาศ(แอร์) บ้านอีกครั้ง หลังจากที่ภาษีดังกล่าวได้ยกเลิกไปในรัฐบาลชุดที่ผ่านมา เพราะเห็นว่าแอร์เป็นสินค้าที่สิ้นเปลืองพลังงานมาก ไม่มีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม
กรมฯ เห็นว่าหลังจากการที่รัฐบาลมีนโยบายในการปรับลดภาษีกรมสรรพากรลงหลายรายการ ดังนั้นการหารายได้หลักจะมาตกหนักอยู่ที่สรรพสามิต และสินค้าที่เห็นว่าสามารถจัดเก็บภาษีเพิ่มได้ทันที 4 รายการ คือ ภาษีน้ำมัน รถยนต์ แอร์ และแบตเตอรี่ โดยใช้หลักการตามนโยบายสรรพสามิตสีเขียว ว่า สินค้าใดที่ก่อมลพิษมาก ต้องเสียภาษีในอัตราที่สูง เช่น ภาษีน้ำมันที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์สูง ต้องเสียภาษีในอัตราที่สูง รถยนต์ที่ก่อมลพิษมาก ต้องเสียภาษีในอัตรามากกว่า รวมทั้งจะเสนอให้ยกเลิกการพยุงราคาน้ำมันโดยใช้มาตรการลดภาษี เพราะที่ผ่านมามีการบิดเบือนกลไกตลาด รวมทั้งก่อให้เกิดการใช้พลังงานผิดประเภท และจะพิจารณาเสนอขึ้นภาษีสินค้าอื่นๆ ที่เข้าข่ายไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และให้เหมือนกับประเทศอื่นๆ ที่จัดเก็บด้วย เช่น น้ำมันหล่อลื่น ยางรถยนต์ ยาฆ่าแมลง บรรจุภัณฑ์
“คิดว่ากองทุนน้ำมันฯ ไม่จำเป็นสำหรับประเทศไทย ยกเลิกแล้วปล่อยให้ราคาน้ำมันลอยตัว ภายใต้การควบคุมราคา ส่วนเรื่องภาษีนั้นคงเป็นเรื่องโครงสร้างระยะยาว เราคงปรับเปลี่ยนบ่อยๆ ไม่ได้ ดังนั้นต้องรอดูความชัดเจนว่ารัฐบาลจะมีกลไกอื่นเข้ามาแทนกองทุนน้ำมันได้หรือไม่” นายพงษ์ภาณุกล่าว
สำหรับนโยบายการคืนภาษีรถยนต์คันแรกนั้น ถือว่าเป็นนโยบายที่จะมีส่วนช่วยผู้มีรายได้น้อย ให้มีรถยนต์คันแรกได้แต่เป็นห่วงในทางปฏิบัติ ซึ่งต้องป้องกันการสวมสิทธิของกลุ่มคนที่มีรายได้สูง หรือใช้ชื่อคนอื่นในการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี รวมทั้งการให้สิทธิให้กับรถยนต์ที่ราคาไม่แพง และประหยัดพลังงาน ทั้งนี้คาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบกับรายได้ของกรมมากนัก เนื่องจากจะมีผู้ที่ได้สิทธิไม่มากนัก
ด้านนายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจ (สศค.) กล่าวว่า ขณะนี้ชัดเจนว่า การจัดทำงบประมาณปี 55 ล่าช้าแน่นอน แต่การจะใช้เงินงบประมาณอย่างไร จะมีกรอบกฎหมายกำหนดไว้อยู่แล้วในเรื่องพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) การบริหารหนี้สาธารณะ ว่ามีเพดานในการก่อหนี้มากน้อยเพียงใด รวมถึงกรอบการจัดทำงบสมดุล 5 ปีด้วย แต่ขณะนี้ต้องรอดูนโยบายของรัฐบาลใหม่ก่อนว่า จากนโยบายที่หาเสียงไว้ จะดำเนินการเรื่องอะไรก่อนหลัง เพื่อจะได้จัดงบประมาณได้ถูก เช่น การเปลี่ยนแปลงจากกาประกันรายได้มาใช้ระบบจำนำ จะต้องใช้เงินมากน้อยเพียงใด
สำหรับกรณีที่บริษัท สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ จำกัด (เอสแอนด์พี) ออกมาเตือนรัฐบาลใหม่ว่าถ้าดำเนินการตามนโยบายประชานิยมทุกเรื่องจะกระทบต่อฐานะการคลังนั้น สศค.เห็นว่า การดำเนินโยบายจะมีกรอบความยั่งยืนทางการคลังอยู่แล้ว หากนำเงินคงคลังมาใช้ ต้องตั้งงบประมาณชดเชยในปีหน้า ซึ่งการออกมาเตือนถือเป็นหน้าที่ เพื่อให้เกิดความระมัดระวัง แต่บรรยากาศการเลือกตั้งที่สงบเรียบร้อย มีตอบรับที่ดี โดยจะเห็นจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ที่คึกคักขึ้น.