ASTVผู้จัดการรายวัน-"ศรีรัตน์"เตรียมเสนอรมว.พาณิชย์ใหม่ ชงรัฐบาลกำหนดเรื่อง AEC เป็นวาระชาติ ก่อนไทยเสียเปรียบชาติอาเซียนอื่นเมื่อเปิดเสรีเต็มรูปแบบในปี 2558 เผยรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น นัดหารือซีอีโอบริษัทญี่ปุ่นที่มาเลเซีย 8-9 ก.ค.นี้ สร้างความร่วมมือสาขายานยนต์ ไฟฟ้า SMEs และเกษตร
นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ กำลังจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ไทยในเวทีอาเซียนเพื่อเสนอให้รมว.พาณิชย์คนใหม่นำเรื่องการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เสนอรัฐบาลให้กำหนดเป็นวาระแห่งชาติ เพราะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญกับประเทศ หลังจากที่ไทยประสบปัญหาภายในมานานหลายปี ทำให้ขีดความสามารถและสถานะไทยในเวทีอาเซียนลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง หากไม่เร่งดำเนินการเพิ่มขีดความสามารถทั้งส่วนภาครัฐและเอกชน ในปี 2558 ซึ่งเป็นปีที่การเปิดเสรีการค้าในอาเซียนมีผลสมบูรณ์แบบ จะทำให้ไทยนอกจากไม่ได้ประโยชน์จากการเปิดเสรีแล้ว ไทยอาจเสียประโยชน์ทางการค้ากับคู่แข่งในอาเซียนด้วย
“ปัจจุบันไทยยังขาดพลังในการสร้างความร่วมมือในอาเซียน รวมถึงความพร้อมด้านต่างๆ ซึ่งจะทำให้ไทยสูญเสียโอกาสที่เป็นศูนย์กลางทางการค้าของอาเซียนไป กรมฯ จะเสนอรมว.พาณิชย์คนใหม่ในทันทีว่า ควรกำหนดให้ AEC เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อเพิ่มโอกาสและลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น”นางศรีรัตน์กล่าว
นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ระหว่างวันที่ 8-9 ก.ค.นี้ จะเป็นหัวหน้าคณะเดินทางร่วมประชุมระหว่างรัฐมนตรีเศรษฐกิจของอาเซียน กับรัฐมนตรีเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยการประชุมจะประกอบด้วยประธานบริษัท เจ้าหน้าที่บริหาร ของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศต่างๆ ของอาเซียน มาแลกเปลี่ยนข้อเสนอ ปัญหาอุปสรรค จากความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น เพื่อให้ฝ่ายภาครัฐรับไปและเร่งแก้ไข
“การประชุมครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่รัฐมนตรีเศรษษฐกิจของอาเซียนและญี่ปุ่น จะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความเห็น และรับฟังปัญหาจากเอกชนญี่ปุ่น เกี่ยวกับแนวางในการปรับปรุงการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจของอาเซียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเป็น AEC ในปี 2558 ซึ่งจะเน้นการแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจใน 4 สาขา คือ สาขายานยนต์ สาขาเครื่องใช้ไฟฟ้า สาขาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสาขาอุตสาหกรรมการเกษตร” นายอลงกรณ์กล่าว
สำหรับการค้าระหว่างญี่ปุ่นและอาเซียน ในช่วง ม.ค.–พ.ค.2554 มีมูลค่า 95,549 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 15.62% โดยญี่ปุ่นนำเข้าจากอาเซียนเพิ่มขึ้น 8.39% มูลค่า 48,501 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่การส่งออกจากญี่ปุ่นไปอาเซียนมูลค่า 47,048 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 8.18%
นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ กำลังจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ไทยในเวทีอาเซียนเพื่อเสนอให้รมว.พาณิชย์คนใหม่นำเรื่องการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เสนอรัฐบาลให้กำหนดเป็นวาระแห่งชาติ เพราะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญกับประเทศ หลังจากที่ไทยประสบปัญหาภายในมานานหลายปี ทำให้ขีดความสามารถและสถานะไทยในเวทีอาเซียนลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง หากไม่เร่งดำเนินการเพิ่มขีดความสามารถทั้งส่วนภาครัฐและเอกชน ในปี 2558 ซึ่งเป็นปีที่การเปิดเสรีการค้าในอาเซียนมีผลสมบูรณ์แบบ จะทำให้ไทยนอกจากไม่ได้ประโยชน์จากการเปิดเสรีแล้ว ไทยอาจเสียประโยชน์ทางการค้ากับคู่แข่งในอาเซียนด้วย
“ปัจจุบันไทยยังขาดพลังในการสร้างความร่วมมือในอาเซียน รวมถึงความพร้อมด้านต่างๆ ซึ่งจะทำให้ไทยสูญเสียโอกาสที่เป็นศูนย์กลางทางการค้าของอาเซียนไป กรมฯ จะเสนอรมว.พาณิชย์คนใหม่ในทันทีว่า ควรกำหนดให้ AEC เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อเพิ่มโอกาสและลดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น”นางศรีรัตน์กล่าว
นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ระหว่างวันที่ 8-9 ก.ค.นี้ จะเป็นหัวหน้าคณะเดินทางร่วมประชุมระหว่างรัฐมนตรีเศรษฐกิจของอาเซียน กับรัฐมนตรีเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยการประชุมจะประกอบด้วยประธานบริษัท เจ้าหน้าที่บริหาร ของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศต่างๆ ของอาเซียน มาแลกเปลี่ยนข้อเสนอ ปัญหาอุปสรรค จากความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น เพื่อให้ฝ่ายภาครัฐรับไปและเร่งแก้ไข
“การประชุมครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่รัฐมนตรีเศรษษฐกิจของอาเซียนและญี่ปุ่น จะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความเห็น และรับฟังปัญหาจากเอกชนญี่ปุ่น เกี่ยวกับแนวางในการปรับปรุงการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจของอาเซียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเป็น AEC ในปี 2558 ซึ่งจะเน้นการแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจใน 4 สาขา คือ สาขายานยนต์ สาขาเครื่องใช้ไฟฟ้า สาขาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสาขาอุตสาหกรรมการเกษตร” นายอลงกรณ์กล่าว
สำหรับการค้าระหว่างญี่ปุ่นและอาเซียน ในช่วง ม.ค.–พ.ค.2554 มีมูลค่า 95,549 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 15.62% โดยญี่ปุ่นนำเข้าจากอาเซียนเพิ่มขึ้น 8.39% มูลค่า 48,501 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่การส่งออกจากญี่ปุ่นไปอาเซียนมูลค่า 47,048 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 8.18%