หลังจากการประกาศผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการนั้น สำหรับคนที่เป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ออกเดินรณรงค์โหวตโนนั้น ต่างก็เตรียมใจเอาไว้แล้วว่าถ้าประชาชนไม่เลือกให้โหวตโนชนะ 26 เขต โดยหลงไปเชื่อการโฆษณาหลอกลวงว่า เลือกประชาธิปัตย์จะมีโอกาสชนะเกินครึ่งก็ดี หรือหลงเชื่อในความหวังลมๆ แล้งๆ ว่า ผลการเลือกตั้งเมื่อประชาธิปัตย์รวมกับภูมิใจไทยแล้วจะเกินครึ่งหนึ่ง รับรองได้ว่าพรรคเพื่อไทยจะชนะอย่างขาดลอย
ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ว่าเห็นผลเลือกตั้งแล้วค่อยมาพูด แต่เรื่องนี้พูดมาตั้งแต่ก่อนการยุบสภาแล้ว เพราะดูตามสถิติและลักษณะทางภูมิรัฐศาสตร์ประชาธิปัตย์ไม่เคยชนะพรรคในระบอบทักษิณได้เลย เพียงแต่คนที่เชียร์ประชาธิปัตย์อย่างไม่ลืมหูลืมตากลับยอมรับไม่ได้ในข้อเท็จจริงเรื่องนี้
ผลการเลือกตั้งวันที่ 6 มกราคม 2544 พรรคไทยรักไทย ได้ 11.6 ล้านเสียง ได้ ส.ส. 248 ที่นั่ง ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ 7.6 ล้านเสียง ได้ ส.ส. 128 ที่นั่ง
ผลการเลือกตั้งวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 พรรคไทยรักไทยได้ 14.1 ล้านเสียง ได้ ส.ส. 375 ที่นั่ง ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ 4 ล้านเสียง ได้ ส.ส. 96 ที่นั่ง
ผลการเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม 2550 พรรคพลังประชาชนได้ 12.3 ล้านเสียง ได้ ส.ส. 233 ที่นั่ง ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ 12.1 ล้านเสียง ได้ ส.ส. 165 ที่นั่ง
เมื่อไม่มีปัจจัยอะไรเปลี่ยน นอกจากพรรคประชาธิปัตย์เสื่อมลง กลุ่มเสื้อแดงขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ผลการเลือกตั้งออกมาก็เป็นไปตามที่คาด พรรคเพื่อไทยชนะขาดลอย และไม่ต้องมาโยนความผิดให้โหวตโนหรอก เพราะต่อให้สมมติคะแนนโหวตโนเทให้ประชาธิปัตย์ทั้งหมดแม้จะได้เพิ่มขึ้นก็ยังแพ้พรรคเพื่อไทยอยู่ดี ดังนั้นคนที่ลงคะแนนโหวตโนจึงไม่ได้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจทางการเมืองแต่อย่างใด
เมื่อรู้แจ้งเป็นการล่วงหน้าดังนี้ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยถึงได้รณรงค์โหวตโน และได้แถลงข่าวย้ำอยู่หลายครั้งแล้วว่า “โหวตโนชนะ 26 เขต หยุดระบอบทักษิณได้” ไม่ใช่เป้าหมาย แต่เป็นการบอกข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายให้ประชาชนได้ทราบข้อมูลว่า “โหวตโนชนะ 26 เขต” มีผลทางกฎหมายและเป็นไปได้ที่จะหยุดระบอบทักษิณได้มากกว่าที่จะไปเลือกพรรคการเมืองไหนให้ไปชนะพรรคเพื่อไทย
แต่กระแสโหวตโนก็ถูกรุมทำลายบดขยี้ ด้วยการใส่ข้อมูลต่อต้านโหวตโนด้านเดียวผ่านสื่อของรัฐ และสื่อของพรรคการเมือง ในโค้งสุดท้ายอย่างน่าเสียดาย แถมยังมีการหลอกลวงข้อมูลประชาชนว่าประชาธิปัตย์จะชนะได้เกินครึ่งเพื่อให้ประชาชนมีลุ้นไม่ไปโหวตโน
แน่นอนว่าถ้าประชาธิปัตย์เทคะแนนให้โหวตโนมากกว่า 26 เขต ป่านนี้ยังคงมีลุ้นข้อกฎหมายเปิดสภาไม่ได้และภาคประชาชนยังมีอำนาจต่อรองกับพรรคเพื่อไทยไม่ให้เหิมเกริมลุแก่อำนาจอย่างที่เป็นอยู่ตอนนี้
สำหรับคนรณรงค์โหวตโน และเข้าคูหากากบาทไม่เลือกใคร จึงไม่มีอะไรต้องเสียใจเลย เพราะอย่างน้อยเราได้รณรงค์ เตือนและบอกเอาไว้ล่วงหน้าแล้วว่าถ้าไปเลือกใครแล้วว่าจะต้องแพ้พรรคเพื่อไทยแน่นอน และจะยิ่งสร้างความชอบธรรมให้กับทักษิณในระบบรัฐสภา ซึ่งก็กำลังจะเกิดขึ้นอยู่ตอนนี้คือฝ่ายชนะในสภาจะครองอำนาจไปอีก 4 ปี โดยที่ฝ่ายค้านทำอะไรไม่ได้
ประชาธิปัตย์เสื่อมถอยจาก 12.1 ล้านเสียง ปี 2550 เหลือเพียง 10.1 ล้านเสียง ในปี 2554 ในขณะที่เพื่อไทยเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ได้ 12.3 ล้านเสียง มาเป็น 13.8 ล้านเสียง โดยเพื่อไทยได้ ส.ส. 265 ที่นั่ง ประชาธิปัตย์ได้ ส.ส. 159 ที่นั่ง
ภาพรวมคือประชาธิปัตย์คะแนนหายไป 2 ล้านคะแนน มีจำนวน ส.ส.ลดลงไป 6 ที่นั่ง ในขณะที่เพื่อไทยคะแนนเพิ่มขึ้น 1.5 ล้านคะแนน มี ส.ส.เพิ่มขึ้น 32 ที่นั่ง เพราะการบริหารงานของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ 2 ปีครึ่งที่ผ่านมา ผลักมิตรให้เป็นศัตรู และปล่อยศัตรูให้เติบโตขยายตัวใหญ่ขึ้นอย่างชัดเจน
และเป็นที่น่าเชื่อว่า 2 ล้านคะแนนที่หายไปนั้น ก็คือคนที่เคยสนับสนุนประชาธิปัตย์แล้วผิดหวังต่อประชาธิปัตย์อย่างแน่นอน ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือคนที่ตัดสินใจโหวตโนโดยไม่กลับไปเลือกประชาธิปัตย์อีก
ไม่แปลกใจที่ประชาธิปัตย์จะมีคะแนนที่หดหายเพราะทอดทิ้งมิตรและผลักมวลชนที่สนับสนุนออกไปให้กลายเป็นศัตรู ยึดแต่ความสนใจเฉพาะพรรคร่วมรัฐบาลตั้งแต่หลักคิดของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์เคยพูดเอาไว้เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2551 ในพรรคประชาธิปัตย์ให้ยอมยกตำแหน่งสำคัญๆ ให้พรรคภูมิใจไทยว่า
“ไม่มีเขา เราก็ไม่ได้เป็นรัฐบาล”
และคำพูดของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2552 ที่พูดว่า
“กลุ่มเสื้อแดงและเหลือง เป็นอันตรายต่อประเทศ”
และที่ชัดที่สุดคือการปราศรัยของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ จ.ชุมพร เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ความบางตอนว่า:
“วันนี้พี่น้องต้องทำหน้าที่ให้เข้มแข็ง จะปล่อยให้พวกเสื้อแดง เสื้อเหลือง ออกอาละวาด ทำร้ายประชาชนผิดทิศผิดทางไม่ได้อีกแล้ว ประชาธิปไตยไม่ใช่การเดินขบวน” และ
“ทุกคนต้องถูกปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันตามกฎหมาย เพื่อประโยชน์ส่วนร่วม ไม่ใช่ประโยชน์ของทักษิณ ไม่ใช่ประโยชน์ของสนธิ ถ้าถามผมๆ ว่าสองคนนี้เลวพอกันเลย นี่พูดอย่างเปิดเผย เพราะเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง... มา 4-5 วันด่าอภิสิทธิ์ บอกว่าอภิสิทธิ์ เนรคุณ ได้เป็นนายกฯ เพราะมัน แต่ไม่จริงเพราะไม่ได้เข้าไปยกมือในสภาเลย นี่ชัดเจน”
มาวันนี้ประชาชนให้บทเรียนกับพรรคประชาธิปัตย์แล้วเพราะแม้เขาจะไม่ได้ไปยกมือในสภา แต่ประชาชนเลือกที่จะทำให้ประชาธิปัตย์มีคะแนนหายไป 2 ล้านคะแนน ซึ่งแม้จะไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอำนาจในการจัดตั้งรัฐบาล แต่ 2 ล้านคะแนนที่หายไปมีผลแน่นอนที่ทำให้จำนวน ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ลดลงทั้งในระบบบัญชีรายชื่อและในระบบเขต จนอย่างน้อยที่สุดต้องทำให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องลาออกจากตำแหน่ง ถือเป็นการเตือนสติโดยประชาชนว่าพรรคประชาธิปัตย์เดินมาผิดทางแน่นอน
เพราะพรรคประชาธิปัตย์เอาใจพรรคร่วมรัฐบาลโดยเฉพาะพรรคภูมิใจไทยแทบทุกอย่าง ทั้งการยอมให้กระทรวงสำคัญๆ การยินยอมและปล่อยให้โครงการที่มีความเคลือบแคลงสงสัยว่าไม่มีความโปร่งใสผ่านสภา และปล่อยอำนาจให้มีการโยกย้ายข้าราชการตำรวจและกระทรวงมหาดไทยทั้งที่มีการร้องเรียนในเรื่องระบบคุณธรรมและจริยธรรม จนทำให้พรรคประชาธิปัตย์เสื่อมความนิยมลงไปเรื่อยๆ ในขณะที่พรรคภูมิใจไทยก็ไม่สามารถเป็นขุนพลชิงพื้นที่อีสานจากพรรคเพื่อไทยได้จริงอย่างที่พรรคประชาธิปัตย์ทุ่มเทให้
เพราะพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคสภา ไม่ใช่พรรคจัดตั้งมวลชนแต่ยังตีตัวออกห่างจากมวลชนแนวร่วมอย่างพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในขณะที่พรรคภูมิใจไทยก็ไม่มีมวลชนของตัวเองที่เข้มแข็ง ต่างจากพรรคเพื่อไทยที่เป็นพรรคจัดตั้งมีการขยายมวลชนเสื้อแดงอย่างเป็นระบบต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งโรงเรียน นปช., หมู่บ้านแดง, การแจกจานดาวเทียมทีวีเสื้อแดง, วิทยุชุมชนเสื้อแดง ฯลฯ
ในขณะที่ปัญหาหลายอย่างของระบอบทักษิณ รัฐบาลประชาธิปัตย์ไม่ได้จัดการให้เสร็จสิ้นก่อนรัฐบาลจะยุบสภาไป เช่น การถอดยศทักษิณ การปล่อยประกันตัวแกนนำคนเสื้อแดงให้มาสมัคร ส.ส.เพื่อหวังมาใช้เป็นเครื่องหาเสียงข่มขู่ประชาชนในการเลือกตั้ง การไม่ดำเนินคดีต่อเนื่องจากการยึดทรัพย์ครอบครัวชินวัตร 4.6 หมื่นล้านบาท การไม่แก้ไขปัญหาไทย-กัมพูชาให้จบก่อนยุบสภา และไม่ดำเนินการปฏิรูปการเมืองให้เสร็จก่อนยุบสภา
จึงเห็นด้วยว่าคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ควรจะลาออกไม่เพียงรับผิดชอบในคะแนนที่น้อยลงของประชาธิปัตย์เท่านั้น
แต่ต้องรับผิดชอบที่ยุบสภาโดยไม่แก้ไขปัญหาหลายอย่างให้จบเสียก่อนจนทำให้ประเทศไทยมากลายเป็นแบบนี้ ทั้งๆ ที่มีอำนาจบริหารประเทศมาถึง 2 ปีครึ่ง
และต้องรับผิดชอบเพราะหลอกประชาชนว่าประชาธิปัตย์จะได้เกินครึ่งชนะพรรคเพื่อไทยได้หรือหลอกว่าประชาธิปัตย์เมื่อรวมกับภูมิใจไทยจะชนะพรรคเพื่อไทยได้ เพียงเพื่อไม่ต้องการให้คนไปโหวตโน
อันที่จริงถึงการยุบสภาเลือกตั้งแล้วประชาธิปัตย์แพ้เป็นฝ่ายค้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ไม่ได้ลำบากอะไร แถมยังมีโอกาสใช้ความสามารถและความถนัดในการพูดอภิปรายในสภาได้อีกด้วย แต่ประเทศชาติต่างหากต้องเผชิญหน้ากับระบอบทักษิณรอบใหม่อย่างที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น
ดังนั้นสำหรับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยซึ่งได้รับบทเรียนราคาแพงและตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองทำให้พรรคประชาธิปัตย์เข้าสู่อำนาจตั้งแต่ปี 2551 คงจะต้องทบทวนบทบาทของตัวเองให้ระมัดระวังมากขึ้นกว่าเดิมคือ...
“จะไม่ยอมให้ใครมาใช้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือเพื่อช่วงชิงอำนาจทางการเมืองแล้วมาทำร้ายประเทศชาติอีกต่อไป”
เพราะแม้ว่าโหวตโนจะอยู่ในระดับ 1.5 - 2 ล้านเสียง ที่แม้อาจจะสูญหายไปกับการนับว่าเป็นบัตรเสียจำนวนไม่น้อย แต่ต้องถือว่าเป็นจำนวนประชาชนที่ตื่นตัว ก้าวข้ามผ่านการโจมตีจากสื่อของรัฐ นักวิชาการ และนักการเมืองทุกขั้ว ไม่ติดยึดพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง หากมีการเคลื่อนขยับพร้อมกันเพื่อต่อต้านพรรคเพื่อไทย ก็เชื่อว่าจะมีการผสมโรงจากมวลชนของพรรคการเมืองฝ่ายค้านเพื่อหวังช่วงชิงอำนาจทางการเมืองเข้ามาปะปนด้วยแน่นอน
ด้วยเหตุนี้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงต้องระมัดระวังให้ดีกับการผสมโรงของกลุ่มที่ต้องการช่วงชิงอำนาจรัฐ และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตลอดจนพรรคเพื่อไทยจึงต้องควรตระหนักเอาไว้ว่า ชนวนที่จะทำให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะเผชิญหน้ากันจึงมี 3 กรณีคือ
1. การนิรโทษกรรมให้ทักษิณ
2. การจาบจ้วงหรือลดโครงสร้างพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์
3. การสูญเสียอธิปไตยของชาติ
ซึ่งการเผชิญหน้ากันทั้ง 3 กรณี บางกรณีอาจมีการชุมนุม บางกรณีอาจใช้การต่อสู้ด้วยการยื่นข้อเรียกร้อง และบางกรณีอาจใช้การต่อสู้ด้วยข้อกฎหมายเป็นหลักสำคัญ
พ้นจาก 3 เรื่องนี้ การช่วงชิงอำนาจและฟาดฟันทำลายกันระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์นั้น พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะไม่เกี่ยวข้องด้วย และไม่เป็นเครื่องมือให้พรรคไหนและใครทั้งสิ้นโดยเด็ดขาด
หลังจากนี้คาดเดาได้ว่าหากพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลจริงเมื่อใด การโยกย้ายอธิบดีกรมสอบสวนคงจะต้องเกิดขึ้นเพื่อล้างคดีทั้งหลายที่รัฐบาลประชาธิปัตย์ยังทำไม่เสร็จ รายการโทรทัศน์ของ อ.เจิมศักดิ์ ปิ่นทองคงต้องถูกถอดรายการจากฟรีทีวีและพวกแกนนำเสื้อแดงคงยึดสื่อของรัฐทั้งหมด การสอบสวนความผิดทหารในการสลายการชุมนุมก็คงจะเดินหน้าต่อไปภายใต้รัฐบาลเสื้อแดง ฯลฯ
ทั้งหมดนี้เป็นหน้าที่ของประชาธิปัตย์ ทหาร และพรรคเพื่อไทย ต้องเผชิญหน้ากันเอาเอง และแก้ไขปัญหากันเอาเอง เพราะถือเป็นผลกรรมของรัฐบาลประชาธิปัตย์ที่ปล่อยปัญหาเหล่านี้ให้มาตกในมือรัฐบาลพรรคเพื่อไทยในวันนี้
อย่างน้อยที่สุด สิ่งที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เคยเตือนเอาไว้ทั้งหมด ว่าถ้าขืนปล่อยสถานการณ์เป็นแบบนี้เลือกตั้งเมื่อไร เลือกพรรคไหนก็จะแพ้พรรคเพื่อไทยขาดลอย เป็นความจริงทุกประการแล้ว
เมื่อได้บอก เตือน และรณรงค์แล้วจึงไม่มีอะไรที่ติดค้างในใจที่ผลออกมาเป็นเช่นนี้
ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ว่าเห็นผลเลือกตั้งแล้วค่อยมาพูด แต่เรื่องนี้พูดมาตั้งแต่ก่อนการยุบสภาแล้ว เพราะดูตามสถิติและลักษณะทางภูมิรัฐศาสตร์ประชาธิปัตย์ไม่เคยชนะพรรคในระบอบทักษิณได้เลย เพียงแต่คนที่เชียร์ประชาธิปัตย์อย่างไม่ลืมหูลืมตากลับยอมรับไม่ได้ในข้อเท็จจริงเรื่องนี้
ผลการเลือกตั้งวันที่ 6 มกราคม 2544 พรรคไทยรักไทย ได้ 11.6 ล้านเสียง ได้ ส.ส. 248 ที่นั่ง ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ 7.6 ล้านเสียง ได้ ส.ส. 128 ที่นั่ง
ผลการเลือกตั้งวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 พรรคไทยรักไทยได้ 14.1 ล้านเสียง ได้ ส.ส. 375 ที่นั่ง ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ 4 ล้านเสียง ได้ ส.ส. 96 ที่นั่ง
ผลการเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม 2550 พรรคพลังประชาชนได้ 12.3 ล้านเสียง ได้ ส.ส. 233 ที่นั่ง ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ 12.1 ล้านเสียง ได้ ส.ส. 165 ที่นั่ง
เมื่อไม่มีปัจจัยอะไรเปลี่ยน นอกจากพรรคประชาธิปัตย์เสื่อมลง กลุ่มเสื้อแดงขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ผลการเลือกตั้งออกมาก็เป็นไปตามที่คาด พรรคเพื่อไทยชนะขาดลอย และไม่ต้องมาโยนความผิดให้โหวตโนหรอก เพราะต่อให้สมมติคะแนนโหวตโนเทให้ประชาธิปัตย์ทั้งหมดแม้จะได้เพิ่มขึ้นก็ยังแพ้พรรคเพื่อไทยอยู่ดี ดังนั้นคนที่ลงคะแนนโหวตโนจึงไม่ได้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจทางการเมืองแต่อย่างใด
เมื่อรู้แจ้งเป็นการล่วงหน้าดังนี้ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยถึงได้รณรงค์โหวตโน และได้แถลงข่าวย้ำอยู่หลายครั้งแล้วว่า “โหวตโนชนะ 26 เขต หยุดระบอบทักษิณได้” ไม่ใช่เป้าหมาย แต่เป็นการบอกข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายให้ประชาชนได้ทราบข้อมูลว่า “โหวตโนชนะ 26 เขต” มีผลทางกฎหมายและเป็นไปได้ที่จะหยุดระบอบทักษิณได้มากกว่าที่จะไปเลือกพรรคการเมืองไหนให้ไปชนะพรรคเพื่อไทย
แต่กระแสโหวตโนก็ถูกรุมทำลายบดขยี้ ด้วยการใส่ข้อมูลต่อต้านโหวตโนด้านเดียวผ่านสื่อของรัฐ และสื่อของพรรคการเมือง ในโค้งสุดท้ายอย่างน่าเสียดาย แถมยังมีการหลอกลวงข้อมูลประชาชนว่าประชาธิปัตย์จะชนะได้เกินครึ่งเพื่อให้ประชาชนมีลุ้นไม่ไปโหวตโน
แน่นอนว่าถ้าประชาธิปัตย์เทคะแนนให้โหวตโนมากกว่า 26 เขต ป่านนี้ยังคงมีลุ้นข้อกฎหมายเปิดสภาไม่ได้และภาคประชาชนยังมีอำนาจต่อรองกับพรรคเพื่อไทยไม่ให้เหิมเกริมลุแก่อำนาจอย่างที่เป็นอยู่ตอนนี้
สำหรับคนรณรงค์โหวตโน และเข้าคูหากากบาทไม่เลือกใคร จึงไม่มีอะไรต้องเสียใจเลย เพราะอย่างน้อยเราได้รณรงค์ เตือนและบอกเอาไว้ล่วงหน้าแล้วว่าถ้าไปเลือกใครแล้วว่าจะต้องแพ้พรรคเพื่อไทยแน่นอน และจะยิ่งสร้างความชอบธรรมให้กับทักษิณในระบบรัฐสภา ซึ่งก็กำลังจะเกิดขึ้นอยู่ตอนนี้คือฝ่ายชนะในสภาจะครองอำนาจไปอีก 4 ปี โดยที่ฝ่ายค้านทำอะไรไม่ได้
ประชาธิปัตย์เสื่อมถอยจาก 12.1 ล้านเสียง ปี 2550 เหลือเพียง 10.1 ล้านเสียง ในปี 2554 ในขณะที่เพื่อไทยเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ได้ 12.3 ล้านเสียง มาเป็น 13.8 ล้านเสียง โดยเพื่อไทยได้ ส.ส. 265 ที่นั่ง ประชาธิปัตย์ได้ ส.ส. 159 ที่นั่ง
ภาพรวมคือประชาธิปัตย์คะแนนหายไป 2 ล้านคะแนน มีจำนวน ส.ส.ลดลงไป 6 ที่นั่ง ในขณะที่เพื่อไทยคะแนนเพิ่มขึ้น 1.5 ล้านคะแนน มี ส.ส.เพิ่มขึ้น 32 ที่นั่ง เพราะการบริหารงานของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ 2 ปีครึ่งที่ผ่านมา ผลักมิตรให้เป็นศัตรู และปล่อยศัตรูให้เติบโตขยายตัวใหญ่ขึ้นอย่างชัดเจน
และเป็นที่น่าเชื่อว่า 2 ล้านคะแนนที่หายไปนั้น ก็คือคนที่เคยสนับสนุนประชาธิปัตย์แล้วผิดหวังต่อประชาธิปัตย์อย่างแน่นอน ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือคนที่ตัดสินใจโหวตโนโดยไม่กลับไปเลือกประชาธิปัตย์อีก
ไม่แปลกใจที่ประชาธิปัตย์จะมีคะแนนที่หดหายเพราะทอดทิ้งมิตรและผลักมวลชนที่สนับสนุนออกไปให้กลายเป็นศัตรู ยึดแต่ความสนใจเฉพาะพรรคร่วมรัฐบาลตั้งแต่หลักคิดของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์เคยพูดเอาไว้เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2551 ในพรรคประชาธิปัตย์ให้ยอมยกตำแหน่งสำคัญๆ ให้พรรคภูมิใจไทยว่า
“ไม่มีเขา เราก็ไม่ได้เป็นรัฐบาล”
และคำพูดของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2552 ที่พูดว่า
“กลุ่มเสื้อแดงและเหลือง เป็นอันตรายต่อประเทศ”
และที่ชัดที่สุดคือการปราศรัยของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ จ.ชุมพร เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ความบางตอนว่า:
“วันนี้พี่น้องต้องทำหน้าที่ให้เข้มแข็ง จะปล่อยให้พวกเสื้อแดง เสื้อเหลือง ออกอาละวาด ทำร้ายประชาชนผิดทิศผิดทางไม่ได้อีกแล้ว ประชาธิปไตยไม่ใช่การเดินขบวน” และ
“ทุกคนต้องถูกปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันตามกฎหมาย เพื่อประโยชน์ส่วนร่วม ไม่ใช่ประโยชน์ของทักษิณ ไม่ใช่ประโยชน์ของสนธิ ถ้าถามผมๆ ว่าสองคนนี้เลวพอกันเลย นี่พูดอย่างเปิดเผย เพราะเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง... มา 4-5 วันด่าอภิสิทธิ์ บอกว่าอภิสิทธิ์ เนรคุณ ได้เป็นนายกฯ เพราะมัน แต่ไม่จริงเพราะไม่ได้เข้าไปยกมือในสภาเลย นี่ชัดเจน”
มาวันนี้ประชาชนให้บทเรียนกับพรรคประชาธิปัตย์แล้วเพราะแม้เขาจะไม่ได้ไปยกมือในสภา แต่ประชาชนเลือกที่จะทำให้ประชาธิปัตย์มีคะแนนหายไป 2 ล้านคะแนน ซึ่งแม้จะไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอำนาจในการจัดตั้งรัฐบาล แต่ 2 ล้านคะแนนที่หายไปมีผลแน่นอนที่ทำให้จำนวน ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ลดลงทั้งในระบบบัญชีรายชื่อและในระบบเขต จนอย่างน้อยที่สุดต้องทำให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องลาออกจากตำแหน่ง ถือเป็นการเตือนสติโดยประชาชนว่าพรรคประชาธิปัตย์เดินมาผิดทางแน่นอน
เพราะพรรคประชาธิปัตย์เอาใจพรรคร่วมรัฐบาลโดยเฉพาะพรรคภูมิใจไทยแทบทุกอย่าง ทั้งการยอมให้กระทรวงสำคัญๆ การยินยอมและปล่อยให้โครงการที่มีความเคลือบแคลงสงสัยว่าไม่มีความโปร่งใสผ่านสภา และปล่อยอำนาจให้มีการโยกย้ายข้าราชการตำรวจและกระทรวงมหาดไทยทั้งที่มีการร้องเรียนในเรื่องระบบคุณธรรมและจริยธรรม จนทำให้พรรคประชาธิปัตย์เสื่อมความนิยมลงไปเรื่อยๆ ในขณะที่พรรคภูมิใจไทยก็ไม่สามารถเป็นขุนพลชิงพื้นที่อีสานจากพรรคเพื่อไทยได้จริงอย่างที่พรรคประชาธิปัตย์ทุ่มเทให้
เพราะพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคสภา ไม่ใช่พรรคจัดตั้งมวลชนแต่ยังตีตัวออกห่างจากมวลชนแนวร่วมอย่างพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในขณะที่พรรคภูมิใจไทยก็ไม่มีมวลชนของตัวเองที่เข้มแข็ง ต่างจากพรรคเพื่อไทยที่เป็นพรรคจัดตั้งมีการขยายมวลชนเสื้อแดงอย่างเป็นระบบต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งโรงเรียน นปช., หมู่บ้านแดง, การแจกจานดาวเทียมทีวีเสื้อแดง, วิทยุชุมชนเสื้อแดง ฯลฯ
ในขณะที่ปัญหาหลายอย่างของระบอบทักษิณ รัฐบาลประชาธิปัตย์ไม่ได้จัดการให้เสร็จสิ้นก่อนรัฐบาลจะยุบสภาไป เช่น การถอดยศทักษิณ การปล่อยประกันตัวแกนนำคนเสื้อแดงให้มาสมัคร ส.ส.เพื่อหวังมาใช้เป็นเครื่องหาเสียงข่มขู่ประชาชนในการเลือกตั้ง การไม่ดำเนินคดีต่อเนื่องจากการยึดทรัพย์ครอบครัวชินวัตร 4.6 หมื่นล้านบาท การไม่แก้ไขปัญหาไทย-กัมพูชาให้จบก่อนยุบสภา และไม่ดำเนินการปฏิรูปการเมืองให้เสร็จก่อนยุบสภา
จึงเห็นด้วยว่าคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ควรจะลาออกไม่เพียงรับผิดชอบในคะแนนที่น้อยลงของประชาธิปัตย์เท่านั้น
แต่ต้องรับผิดชอบที่ยุบสภาโดยไม่แก้ไขปัญหาหลายอย่างให้จบเสียก่อนจนทำให้ประเทศไทยมากลายเป็นแบบนี้ ทั้งๆ ที่มีอำนาจบริหารประเทศมาถึง 2 ปีครึ่ง
และต้องรับผิดชอบเพราะหลอกประชาชนว่าประชาธิปัตย์จะได้เกินครึ่งชนะพรรคเพื่อไทยได้หรือหลอกว่าประชาธิปัตย์เมื่อรวมกับภูมิใจไทยจะชนะพรรคเพื่อไทยได้ เพียงเพื่อไม่ต้องการให้คนไปโหวตโน
อันที่จริงถึงการยุบสภาเลือกตั้งแล้วประชาธิปัตย์แพ้เป็นฝ่ายค้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ไม่ได้ลำบากอะไร แถมยังมีโอกาสใช้ความสามารถและความถนัดในการพูดอภิปรายในสภาได้อีกด้วย แต่ประเทศชาติต่างหากต้องเผชิญหน้ากับระบอบทักษิณรอบใหม่อย่างที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น
ดังนั้นสำหรับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยซึ่งได้รับบทเรียนราคาแพงและตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองทำให้พรรคประชาธิปัตย์เข้าสู่อำนาจตั้งแต่ปี 2551 คงจะต้องทบทวนบทบาทของตัวเองให้ระมัดระวังมากขึ้นกว่าเดิมคือ...
“จะไม่ยอมให้ใครมาใช้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นเครื่องมือเพื่อช่วงชิงอำนาจทางการเมืองแล้วมาทำร้ายประเทศชาติอีกต่อไป”
เพราะแม้ว่าโหวตโนจะอยู่ในระดับ 1.5 - 2 ล้านเสียง ที่แม้อาจจะสูญหายไปกับการนับว่าเป็นบัตรเสียจำนวนไม่น้อย แต่ต้องถือว่าเป็นจำนวนประชาชนที่ตื่นตัว ก้าวข้ามผ่านการโจมตีจากสื่อของรัฐ นักวิชาการ และนักการเมืองทุกขั้ว ไม่ติดยึดพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง หากมีการเคลื่อนขยับพร้อมกันเพื่อต่อต้านพรรคเพื่อไทย ก็เชื่อว่าจะมีการผสมโรงจากมวลชนของพรรคการเมืองฝ่ายค้านเพื่อหวังช่วงชิงอำนาจทางการเมืองเข้ามาปะปนด้วยแน่นอน
ด้วยเหตุนี้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงต้องระมัดระวังให้ดีกับการผสมโรงของกลุ่มที่ต้องการช่วงชิงอำนาจรัฐ และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตลอดจนพรรคเพื่อไทยจึงต้องควรตระหนักเอาไว้ว่า ชนวนที่จะทำให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะเผชิญหน้ากันจึงมี 3 กรณีคือ
1. การนิรโทษกรรมให้ทักษิณ
2. การจาบจ้วงหรือลดโครงสร้างพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์
3. การสูญเสียอธิปไตยของชาติ
ซึ่งการเผชิญหน้ากันทั้ง 3 กรณี บางกรณีอาจมีการชุมนุม บางกรณีอาจใช้การต่อสู้ด้วยการยื่นข้อเรียกร้อง และบางกรณีอาจใช้การต่อสู้ด้วยข้อกฎหมายเป็นหลักสำคัญ
พ้นจาก 3 เรื่องนี้ การช่วงชิงอำนาจและฟาดฟันทำลายกันระหว่างพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์นั้น พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะไม่เกี่ยวข้องด้วย และไม่เป็นเครื่องมือให้พรรคไหนและใครทั้งสิ้นโดยเด็ดขาด
หลังจากนี้คาดเดาได้ว่าหากพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลจริงเมื่อใด การโยกย้ายอธิบดีกรมสอบสวนคงจะต้องเกิดขึ้นเพื่อล้างคดีทั้งหลายที่รัฐบาลประชาธิปัตย์ยังทำไม่เสร็จ รายการโทรทัศน์ของ อ.เจิมศักดิ์ ปิ่นทองคงต้องถูกถอดรายการจากฟรีทีวีและพวกแกนนำเสื้อแดงคงยึดสื่อของรัฐทั้งหมด การสอบสวนความผิดทหารในการสลายการชุมนุมก็คงจะเดินหน้าต่อไปภายใต้รัฐบาลเสื้อแดง ฯลฯ
ทั้งหมดนี้เป็นหน้าที่ของประชาธิปัตย์ ทหาร และพรรคเพื่อไทย ต้องเผชิญหน้ากันเอาเอง และแก้ไขปัญหากันเอาเอง เพราะถือเป็นผลกรรมของรัฐบาลประชาธิปัตย์ที่ปล่อยปัญหาเหล่านี้ให้มาตกในมือรัฐบาลพรรคเพื่อไทยในวันนี้
อย่างน้อยที่สุด สิ่งที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เคยเตือนเอาไว้ทั้งหมด ว่าถ้าขืนปล่อยสถานการณ์เป็นแบบนี้เลือกตั้งเมื่อไร เลือกพรรคไหนก็จะแพ้พรรคเพื่อไทยขาดลอย เป็นความจริงทุกประการแล้ว
เมื่อได้บอก เตือน และรณรงค์แล้วจึงไม่มีอะไรที่ติดค้างในใจที่ผลออกมาเป็นเช่นนี้