ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้(4 ก.ค) นางวิมล ดิลลอน ชาวบ้าน หมู่ 2 ต.ควนทานี อ.กันตัง จ.ตรัง ร้องเรียนผ่าน “ASTVผู้จัดการายวัน”ว่า หลังจากที่เดินทางไปยังหน่วยเลือกตั้ง ต.ควนทานี เขตเลือกตั้งที่ 4 แต่เมื่อไปดูที่บอร์ดรายชื่อของครอบครัวตนที่บ้านเลขที่ 44 หมู่ 2 ต.ควนทานี อ.กันตัง จ.ตรัง กลับพบว่า รายชื่อของตนกลับถูกปากกาสีแดง ขีดฆ่า โดยเขียนว่า “ คัดชื่อออก“ ซึ่งได้สอบถามเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยก็ได้รับแจ้งเพียงว่ามีชื่อใช้สิทธิล่วงหน้าไปแล้ว
ทั้งที่ตนเองก็มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.ปี 50 ในจุดนี้ตลอดเพราะรายชื่อคนในครอบครัวก็ไม่มีใครถูกขีดฆ่า
“ดิฉันเชื่อว่า ถูกสวมสิทธิการเลือกตั้ง “คะแนนผี” ก็เลยไปแจ้งความทั้งที่ สภ.กันตัง เพื่อให้ได้ใบแจ้งความ และไปแจ้งยัง กกต.เขต 4 แต่ก็ถูกบ่ายเบี้ยงว่าเลือกตังผ่านไปแล้ว ทั้งที่มีคนที่ถูกสวมสิทธิ์แบบดิฉันกว่า 60 คน”นางวิมลกล่าว
มีรายงานว่า หลายพื้นที่ มีการถูกขีดฆ่ารายชื่อเดิมจำนวนมาก เหมือนกับว่าเป็นกาพยายามเข้ามาสวมสิทธิ์
หลายคนร้องเรียนว่า งงมาก และไม่อยากแจ้งความให้วุ่นวาย ก็งงว่า มาถึงหน่วยเลือกตั้ง ปรากฏว่าในบัญชีรายชื่อของกลับถูกขีดฆ่ารายชื่อด้วยปากกาสีแดงว่าคัดชื่อออก สร้างความงุนงงเป็นอย่างมาก
**กกต.เลื่อนประกาศผลเลือกตั้ง
วันเดียวกันคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เลื่อนแถลงผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการจากเดิม เมื่อวานนี้(4 ก.ค.) เป็นวันนี้(5 ก.ค.) เนื่องจากคะแนนของจังหวัดตากและแม่ฮ่องสอนยังเดินทางมาไม่ถึง
นายไพบูลย์ เหล็กพรหม ผอ.สำนักประชาสัมพันธ์ ได้มาชี้แจงกับบรรดาสื่อมวลชนที่เฝ้ารอหลังจากได้รับแจ้งว่า นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกกต.จะแถลงสรุปยอดรวมการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในช่วงบ่ายว่าขอเลื่อนการแถลงข่าวเป็นวันที่ 5 ก.ค. เนื่องจากขณะนี้การรายงานผลการเลือกตั้งของจังหวัดต่างๆ ที่รายงานเข้ามาได้เพียงร้อยละ 95 ยังไม่ครบ 100% เพราะว่าต้องรอการรายงานจาก จ.ระนอง แม่ฮ่องสอน และตาก ซึ่งสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยโดยที่จ.ตาก โดยในอำเภออุ้งผาง หมู่ 8 /9 /10 ไม่สามารถลำเลียงอุปกรณ์และผลคะแนนได้ เนื่องจากเกิดฝนตกหนัก ซึ่งวิธีการขนส่งจะต้องใช้เฮลิคอปเตอร์ และ อ.ท่าสองยาง เกิดดินสไลด์ปิดเส้นทางคมนาคาม ทำให้การส่งผลคะแนนล่าช้า โดย ผอ.กกต.จว.ได้ประสานกับเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยหากเดินเท้าได้ก็ให้นำผลการนับคะแนนมารายงานเพื่อรวบรวมส่งมายังกกต. ทั้งได้มีเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จในวันที่ 5 ก.ค. ทางกกต.จึงจะแถลงข่าวอีกครั้ง อย่างไรก็ตามในส่วนของจังหวัดที่ส่งข้อมูลเข้ามาครบถ้วนแล้วนั้นก็ยังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้เช่นกัน
** กกต.สรุปยอดร้องเรียน195 เรื่อง
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แถลงจำนวนเรื่องร้องเรียนการกระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้ง ล่าสุด 195 เรื่อง พบว่า เป็นการใส่ร้ายป้ายสี 69 เรื่อง หาเสียงฝ่าฝืนกฎหมาย 32 เรื่อง แจกเงินหรือให้ผลประโยชน์อื่นใด 53 เรื่อง เจ้าหน้าที่รัฐวางตัวไม่เป็นกลาง 31 เรื่อง และการจัดเลี้ยง 10 เรื่อง
ส่วนกรณีเดินทางไปตรวจเยี่ยมหน่วยเลือกตั้งผู้พิการ ที่บ้านนทภูมิ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ยืนยันว่า เป็นเพียงการเดินทางไปตรวจเยี่ยมหน่วยเลือกตั้ง โดยเป็นการโพสต์รูปผ่านเว็บไซต์ ที่ระบุว่าตนไปชี้นำผู้พิการในการเลือกตั้ง นายสุทธิพลนำหลักฐานเป็นภาพถ่าย และภาพเคลื่อนไหว มาแสดงต่อสื่อมวลชน พร้อมยืนยันว่า เป็นการเดินทางไปตรวจเยี่ยมและอำนวยความสะดวกให้ผู้พิการเท่านั้น เนื่องจาก กกต.ให้ความสำคัญกับผู้พิการที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง
**รายงานผลเลือกตั้ง 100%อังคารนี้
นายสุทธิพล แถลงว่า ขณะนี้ได้มีการทยอยรายงานผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการของผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำจังหวัดเข้ามายังสำนักงาน กกต.อย่างต่อเนื่อง แต่ยังขาดในบางจังหวัดที่อยู่ระหว่างการเดินทาง และในส่วนของจังหวัดตากและแม่ฮ่องสอน ที่ยังติดในเรื่องของสภาพอากาศ และฝนที่ตกลงมา ทำให้การเดินทางนั้นเป็นไปด้วยความลำบาก และอาจต้องเดินทางในวันพรุ่งนี้
ทั้งนี้ในส่วนของการใช้สิทธิ์ จ.ลำพูน ยังคงเป็นแชมป์การใช้สิทธิ์ต่อเนื่องจากครั้งที่แล้ว มีผู้มาใช้สิทธิ์ร้อยละ 88.6 ขณะที่บัตรเสียในการเลือกตั้งครั้งนี้ พบว่าบัตรเสียในส่วนของการเลือกตั้งระบบเขตมีจำนวนมากกว่าระบบบัญชีรายชื่อ นอกจากนี้ยังพบว่า บัตรเสียมากที่สุด คือยะลา รองลงมา คือปัตตานีและนราธิวาส
เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวว่า การที่บัตรเสียแบบแบ่งเขตมีมากกว่าแบบบัญชีรายชื่อ เนื่องมาจากบางพรรคส่ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ แต่ไม่ส่ง ส.ส.ในระบบเขต ผู้ใช้สิทธิ์จึงไปกากบาทในบัตรเลือกตั้ง ส.ส.ระบบเขต ประกอบกับผู้มีสิทธิ์บางส่วนไม่ต้องการเลือกในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนที่อาจจะมองว่าไปช่วยกลุ่มที่เรียกร้องให้มีการโหวตโน จึงไม่กากบาทหมายเลขใด และทำให้กลายเป็นบัตรเสีย และส่วนการที่ยังไม่มีการแถลงตัวเลขในส่วนของผู้ชนะในครั้งนี้ เนื่องจากว่าต้องการที่จะรอประมวลผลคะแนนให้ครบ 100% ก่อน
**ลูกเหลิม จี้นับคะแนนใหม่
วันเดียวกัน ชาวบ้านเขตบางบอนกว่า 300 คน เข้าร้องเรียนขอความเป็นธรรมให้แก่ นายวัน อยู่บำรุง ผู้สมัคร ส.ส.เขตบางบอน ที่สำนักงานเขตบางบอนหลังพ่ายแพ้การเลือกตั้งให้กับผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ โดยกลุ่มชาวบ้านระบุเป็นเสียงเดียวกันว่า ต้องการเรียกร้อง ให้มีการนับบัตรเลือกตั้งใหม่ หลังพบว่าบัตรที่กรรมการแจ้งว่าเป็นบัตรเสียมีความผิดปกติ พร้อมทั้งโชว์ตัวอย่างบัตรเลือกตั้งที่กรรมการนับคะแนนระบุว่าเป็นบัตรเสียให้กับสื่อมวลชนดู โดยยืนยันว่าบัตรที่เสียกว่า 4,000 ใบนั้น มีลักษณะการกากบาทแบบเดียวกัน เบอร์เดียวกันเกือบทั้งหมด
ด้านตัวแทนชาวบ้าน ระบุว่า การเดินทางเข้าเรียกร้องต่อสำนักเขตให้มีการนับคะแนนใหม่ในเขตบางบอนนั้น เนื่องจากต้องการความเป็นธรรม พร้อมทั้งยืนยันว่าการคัดค้านผลการเลือกตั้งในวันนี้ไม่ได้เกิดจากการสั่งการของใคร แต่เป็นการเรียกร้องจากประชาชนที่มีสิทธ์เลือกตั้งเท่านั้น
นอกจากนี้ชาวบ้านเขตบางบอนยังเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งจัดเจ้าหน้าที่มาเฝ้าหีบบัตรที่สำนักงานเขต เนื่องจากเกรงว่าจะมีการทุจริตเกิดขึ้นก่อนการนับคะแนนใหม่
อย่างไรก็ตาม นายพรเลิศ พันธุ์วัฒนา ผู้อำนวยการเขตบางบอน ได้ออกมาชี้แจงให้ชาวบ้านเข้าใจว่า การร้องเรียนดังกล่าวต้องเข้ายื่นเรื่องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ที่มีหน้าที่กำกับดูแลการเลือกตั้งโดยตรง จึงจะสามารถนับคะแนนใหม่ได้
ขณะที่นายวัน อยู่บำรุง ผู้สมัคร ส.ส.เขตบางบอน ไม่ได้เดินทางมาคัดค้านผลคะแนนร่วมกับชาวบ้าน แต่จะมีการเดินทางไปยื่นเรื่องร้องเรียนต่อ กกต.ให้มีการตรวจสอบการนับคะแนนในภายหลัง
ทั้งที่ตนเองก็มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.ปี 50 ในจุดนี้ตลอดเพราะรายชื่อคนในครอบครัวก็ไม่มีใครถูกขีดฆ่า
“ดิฉันเชื่อว่า ถูกสวมสิทธิการเลือกตั้ง “คะแนนผี” ก็เลยไปแจ้งความทั้งที่ สภ.กันตัง เพื่อให้ได้ใบแจ้งความ และไปแจ้งยัง กกต.เขต 4 แต่ก็ถูกบ่ายเบี้ยงว่าเลือกตังผ่านไปแล้ว ทั้งที่มีคนที่ถูกสวมสิทธิ์แบบดิฉันกว่า 60 คน”นางวิมลกล่าว
มีรายงานว่า หลายพื้นที่ มีการถูกขีดฆ่ารายชื่อเดิมจำนวนมาก เหมือนกับว่าเป็นกาพยายามเข้ามาสวมสิทธิ์
หลายคนร้องเรียนว่า งงมาก และไม่อยากแจ้งความให้วุ่นวาย ก็งงว่า มาถึงหน่วยเลือกตั้ง ปรากฏว่าในบัญชีรายชื่อของกลับถูกขีดฆ่ารายชื่อด้วยปากกาสีแดงว่าคัดชื่อออก สร้างความงุนงงเป็นอย่างมาก
**กกต.เลื่อนประกาศผลเลือกตั้ง
วันเดียวกันคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เลื่อนแถลงผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการจากเดิม เมื่อวานนี้(4 ก.ค.) เป็นวันนี้(5 ก.ค.) เนื่องจากคะแนนของจังหวัดตากและแม่ฮ่องสอนยังเดินทางมาไม่ถึง
นายไพบูลย์ เหล็กพรหม ผอ.สำนักประชาสัมพันธ์ ได้มาชี้แจงกับบรรดาสื่อมวลชนที่เฝ้ารอหลังจากได้รับแจ้งว่า นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานกกต.จะแถลงสรุปยอดรวมการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในช่วงบ่ายว่าขอเลื่อนการแถลงข่าวเป็นวันที่ 5 ก.ค. เนื่องจากขณะนี้การรายงานผลการเลือกตั้งของจังหวัดต่างๆ ที่รายงานเข้ามาได้เพียงร้อยละ 95 ยังไม่ครบ 100% เพราะว่าต้องรอการรายงานจาก จ.ระนอง แม่ฮ่องสอน และตาก ซึ่งสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยโดยที่จ.ตาก โดยในอำเภออุ้งผาง หมู่ 8 /9 /10 ไม่สามารถลำเลียงอุปกรณ์และผลคะแนนได้ เนื่องจากเกิดฝนตกหนัก ซึ่งวิธีการขนส่งจะต้องใช้เฮลิคอปเตอร์ และ อ.ท่าสองยาง เกิดดินสไลด์ปิดเส้นทางคมนาคาม ทำให้การส่งผลคะแนนล่าช้า โดย ผอ.กกต.จว.ได้ประสานกับเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยหากเดินเท้าได้ก็ให้นำผลการนับคะแนนมารายงานเพื่อรวบรวมส่งมายังกกต. ทั้งได้มีเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จในวันที่ 5 ก.ค. ทางกกต.จึงจะแถลงข่าวอีกครั้ง อย่างไรก็ตามในส่วนของจังหวัดที่ส่งข้อมูลเข้ามาครบถ้วนแล้วนั้นก็ยังไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้เช่นกัน
** กกต.สรุปยอดร้องเรียน195 เรื่อง
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แถลงจำนวนเรื่องร้องเรียนการกระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้ง ล่าสุด 195 เรื่อง พบว่า เป็นการใส่ร้ายป้ายสี 69 เรื่อง หาเสียงฝ่าฝืนกฎหมาย 32 เรื่อง แจกเงินหรือให้ผลประโยชน์อื่นใด 53 เรื่อง เจ้าหน้าที่รัฐวางตัวไม่เป็นกลาง 31 เรื่อง และการจัดเลี้ยง 10 เรื่อง
ส่วนกรณีเดินทางไปตรวจเยี่ยมหน่วยเลือกตั้งผู้พิการ ที่บ้านนทภูมิ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ยืนยันว่า เป็นเพียงการเดินทางไปตรวจเยี่ยมหน่วยเลือกตั้ง โดยเป็นการโพสต์รูปผ่านเว็บไซต์ ที่ระบุว่าตนไปชี้นำผู้พิการในการเลือกตั้ง นายสุทธิพลนำหลักฐานเป็นภาพถ่าย และภาพเคลื่อนไหว มาแสดงต่อสื่อมวลชน พร้อมยืนยันว่า เป็นการเดินทางไปตรวจเยี่ยมและอำนวยความสะดวกให้ผู้พิการเท่านั้น เนื่องจาก กกต.ให้ความสำคัญกับผู้พิการที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง
**รายงานผลเลือกตั้ง 100%อังคารนี้
นายสุทธิพล แถลงว่า ขณะนี้ได้มีการทยอยรายงานผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการของผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำจังหวัดเข้ามายังสำนักงาน กกต.อย่างต่อเนื่อง แต่ยังขาดในบางจังหวัดที่อยู่ระหว่างการเดินทาง และในส่วนของจังหวัดตากและแม่ฮ่องสอน ที่ยังติดในเรื่องของสภาพอากาศ และฝนที่ตกลงมา ทำให้การเดินทางนั้นเป็นไปด้วยความลำบาก และอาจต้องเดินทางในวันพรุ่งนี้
ทั้งนี้ในส่วนของการใช้สิทธิ์ จ.ลำพูน ยังคงเป็นแชมป์การใช้สิทธิ์ต่อเนื่องจากครั้งที่แล้ว มีผู้มาใช้สิทธิ์ร้อยละ 88.6 ขณะที่บัตรเสียในการเลือกตั้งครั้งนี้ พบว่าบัตรเสียในส่วนของการเลือกตั้งระบบเขตมีจำนวนมากกว่าระบบบัญชีรายชื่อ นอกจากนี้ยังพบว่า บัตรเสียมากที่สุด คือยะลา รองลงมา คือปัตตานีและนราธิวาส
เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวว่า การที่บัตรเสียแบบแบ่งเขตมีมากกว่าแบบบัญชีรายชื่อ เนื่องมาจากบางพรรคส่ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ แต่ไม่ส่ง ส.ส.ในระบบเขต ผู้ใช้สิทธิ์จึงไปกากบาทในบัตรเลือกตั้ง ส.ส.ระบบเขต ประกอบกับผู้มีสิทธิ์บางส่วนไม่ต้องการเลือกในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนที่อาจจะมองว่าไปช่วยกลุ่มที่เรียกร้องให้มีการโหวตโน จึงไม่กากบาทหมายเลขใด และทำให้กลายเป็นบัตรเสีย และส่วนการที่ยังไม่มีการแถลงตัวเลขในส่วนของผู้ชนะในครั้งนี้ เนื่องจากว่าต้องการที่จะรอประมวลผลคะแนนให้ครบ 100% ก่อน
**ลูกเหลิม จี้นับคะแนนใหม่
วันเดียวกัน ชาวบ้านเขตบางบอนกว่า 300 คน เข้าร้องเรียนขอความเป็นธรรมให้แก่ นายวัน อยู่บำรุง ผู้สมัคร ส.ส.เขตบางบอน ที่สำนักงานเขตบางบอนหลังพ่ายแพ้การเลือกตั้งให้กับผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ โดยกลุ่มชาวบ้านระบุเป็นเสียงเดียวกันว่า ต้องการเรียกร้อง ให้มีการนับบัตรเลือกตั้งใหม่ หลังพบว่าบัตรที่กรรมการแจ้งว่าเป็นบัตรเสียมีความผิดปกติ พร้อมทั้งโชว์ตัวอย่างบัตรเลือกตั้งที่กรรมการนับคะแนนระบุว่าเป็นบัตรเสียให้กับสื่อมวลชนดู โดยยืนยันว่าบัตรที่เสียกว่า 4,000 ใบนั้น มีลักษณะการกากบาทแบบเดียวกัน เบอร์เดียวกันเกือบทั้งหมด
ด้านตัวแทนชาวบ้าน ระบุว่า การเดินทางเข้าเรียกร้องต่อสำนักเขตให้มีการนับคะแนนใหม่ในเขตบางบอนนั้น เนื่องจากต้องการความเป็นธรรม พร้อมทั้งยืนยันว่าการคัดค้านผลการเลือกตั้งในวันนี้ไม่ได้เกิดจากการสั่งการของใคร แต่เป็นการเรียกร้องจากประชาชนที่มีสิทธ์เลือกตั้งเท่านั้น
นอกจากนี้ชาวบ้านเขตบางบอนยังเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งจัดเจ้าหน้าที่มาเฝ้าหีบบัตรที่สำนักงานเขต เนื่องจากเกรงว่าจะมีการทุจริตเกิดขึ้นก่อนการนับคะแนนใหม่
อย่างไรก็ตาม นายพรเลิศ พันธุ์วัฒนา ผู้อำนวยการเขตบางบอน ได้ออกมาชี้แจงให้ชาวบ้านเข้าใจว่า การร้องเรียนดังกล่าวต้องเข้ายื่นเรื่องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ที่มีหน้าที่กำกับดูแลการเลือกตั้งโดยตรง จึงจะสามารถนับคะแนนใหม่ได้
ขณะที่นายวัน อยู่บำรุง ผู้สมัคร ส.ส.เขตบางบอน ไม่ได้เดินทางมาคัดค้านผลคะแนนร่วมกับชาวบ้าน แต่จะมีการเดินทางไปยื่นเรื่องร้องเรียนต่อ กกต.ให้มีการตรวจสอบการนับคะแนนในภายหลัง