แม้นักวิชาการ และเหล่าผู้รู้ทั้งหลาย จะอธิบายความกันไปไม่รู้กี่ครั้งกี่หนแล้ว ทั้งในรูปของการเขียนบทความ การให้สัมภาษณ์สื่อ รวมทั้ง การพูดจาตามเวทีต่างๆ
โดยยืนยันว่า “โหวตโน”นั้น มีผลทางกฎหมาย และหนึ่งคะแนนที่กาลงไปในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน ไม่สูญเปล่าแน่ๆ เพราะเป็นการใช้สิทธิ์ตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ แต่ก็ยังไม่วายถูกนักการเมือง นำไปบิดเบือนให้ประชาชนเข้าใจผิดอยู่อีก
ประมาณว่า อย่าไปกาช่องโหวตโน...เพราะจะทำให้สูญเปล่า!!
ประการสำคัญ บางคนเป็นนักการเมืองระดับอาวุโส! ที่พอพูดไปแล้วสังคมให้ความเชื่อถือ บ้างก็เคยเป็นผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ซึ่งพอพูดจาออกไป ย่อมมีน้ำหนัก ทำให้ประชาชนเกิดความโน้มเอียงได้
ดังนั้น จึงขออนุญาตใช้พื้นที่ตรงนี้ อธิบายความสื่อสารในเรื่องนี้กันอีกสักครั้ง เพื่อไม่ให้นักการเมืองที่กลัวตัวเอง หรือลูกพรรคจะสอบตก เอาไปพูดจาบิดเบือนได้อีก ...
ทั้งหลายทั้งปวง ก็เพราะคะแนนที่ท่านเหล่านั้นจะได้ ล้วนเป็นคะแนนที่อยู่ในกลุ่มโหวตโนนั่นแหล่ะ!!
หลายวันก่อน มีผู้อาวุโสในแวดวงตุลาการท่านหนึ่ง บอกกับผมว่า สิทธิใดๆ ก็ตาม หากเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ จะต้องได้รับการเคารพ! ผู้ใดจะมาล่วงละเมิดมิได้ และหากมีการละเมิดเกิดขึ้น ถ้าเป็นทางแพ่งก็ต้องรับผิดทางแพ่ง ถ้าเป็นอาญา ก็ต้องรับผิดทางอาญา
และท่านก็ยกคำพิพากษาในเรื่องนี้ให้ฟังว่า มีอยู่ในฎีกาที่ 124/2487 ที่ศาลฎีกาท่านพิพากษาในเรื่องของหลักประกันทางกฎหมายนี้เอาไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2487
ทั้งนี้ คำพิพากษาฎีกาที่ 124/2487 "วางหลักไว้ว่า "สิทธิ" หมายถึงประโยชน์อันบุคคลเขามีอยู่ และบุคคลอื่นมีหน้าที่ต้องเคารพ คือประโยชน์ที่ได้รับการคุ้มครองและรับรองโดยกฎหมาย" ดังนี้ "สิทธิ" จึงหมายถึงประโยชน์ที่ได้รับรองและคุ้มครองโดยกฎหมาย ซึ่ง สามารถพิจารณาได้ 4 ลักษณะ คือ
(1) สิทธิในตัวบุคคล
(2) สิทธิในทรัพย์สิน
(3) สิทธิในครอบครัว
(4) สิทธิในทางการเมือง
ยกมาให้เห็นกันชัดๆ อย่างนี้แล้ว หากมีสำนึกของความเป็นนักประชาธิปไตยอยู่ในตัวจริง! หนึ่งเสียงที่กาให้กับพรรคการเมืองใด หรือกาในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน เพราะต้องการเห็นก้าวย่างแรกที่จะนำไปสู่การปฏิรูปการเมือง ก็โปรดได้เคารพการตัดสินใจของประชาชนด้วยเถอะครับ!
เช่นเดียวกับใน มาตรา 88 และมาตรา 89 ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง สว. ที่มีบางท่านออกมาโต้แย้งว่า เป็นคนละเรื่องกัน...พูดง่ายๆ ก็คือ มาตรา 88 กำหนดไว้เฉพาะในกรณีที่มีผู้สมัครคนเดียว ส่วนมาตรา 89 เป็นเรื่องของผู้สมัครหลายคนนั้น
วันก่อนที่หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ซึ่งเป็นทั้งประธานยกร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2550 และประธานยกร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง สว. ด้วย ท่านก็ยืนยันชัดเจนไปแล้วว่า เจตนารมณ์ของกฎหมายเป็นอย่างนั้นจริงๆ
นั่นคือ ไม่ว่าจะมีผู้สมัครเพียงคนเดียว หรือหลายคนก็ตาม ผู้ที่จะได้รับการประกาศรายชื่อให้เป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง จะต้องผ่านหลักเกณฑ์ทั้ง 3 ข้อ ในมาตรา 88 และมาตรา 89 กล่าวคือ หนึ่ง ต้องได้คะแนนสูงสุด สอง ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตนั้น และสาม ต้องมากกว่าคะแนนโหวตโน หรือผู้ที่กาในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนด้วย
ดังนั้น สิ่งที่กลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ และป้ายรณรงค์ของพรรคเพื่อฟ้าดิน สื่อออกไปว่า “โหวตโน ให้ได้ 26 เขต หยุดระบอบทักษิณคืนชีพ” จึงเป็นการสื่อได้ตรงความหมาย เพราะหากรับรอง ส.ส.เข้าสภาได้ไม่ครบตามที่กฎหมายกำหนด ก็เปิดสภาฟื้นระบอบทักษิณไม่ได้!
นี่แหล่ะครับ...อานิสงส์ของโหวตโน!!
ย้ำว่า...โหวตโน มีผลทางกฎหมาย ไม่สูญเปล่า ได้ทั้งปฏิรูปการเมือง และหยุดระบอบทักษิณคืนชีพครับ.
โดยยืนยันว่า “โหวตโน”นั้น มีผลทางกฎหมาย และหนึ่งคะแนนที่กาลงไปในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน ไม่สูญเปล่าแน่ๆ เพราะเป็นการใช้สิทธิ์ตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ แต่ก็ยังไม่วายถูกนักการเมือง นำไปบิดเบือนให้ประชาชนเข้าใจผิดอยู่อีก
ประมาณว่า อย่าไปกาช่องโหวตโน...เพราะจะทำให้สูญเปล่า!!
ประการสำคัญ บางคนเป็นนักการเมืองระดับอาวุโส! ที่พอพูดไปแล้วสังคมให้ความเชื่อถือ บ้างก็เคยเป็นผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ซึ่งพอพูดจาออกไป ย่อมมีน้ำหนัก ทำให้ประชาชนเกิดความโน้มเอียงได้
ดังนั้น จึงขออนุญาตใช้พื้นที่ตรงนี้ อธิบายความสื่อสารในเรื่องนี้กันอีกสักครั้ง เพื่อไม่ให้นักการเมืองที่กลัวตัวเอง หรือลูกพรรคจะสอบตก เอาไปพูดจาบิดเบือนได้อีก ...
ทั้งหลายทั้งปวง ก็เพราะคะแนนที่ท่านเหล่านั้นจะได้ ล้วนเป็นคะแนนที่อยู่ในกลุ่มโหวตโนนั่นแหล่ะ!!
หลายวันก่อน มีผู้อาวุโสในแวดวงตุลาการท่านหนึ่ง บอกกับผมว่า สิทธิใดๆ ก็ตาม หากเป็นเรื่องที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ จะต้องได้รับการเคารพ! ผู้ใดจะมาล่วงละเมิดมิได้ และหากมีการละเมิดเกิดขึ้น ถ้าเป็นทางแพ่งก็ต้องรับผิดทางแพ่ง ถ้าเป็นอาญา ก็ต้องรับผิดทางอาญา
และท่านก็ยกคำพิพากษาในเรื่องนี้ให้ฟังว่า มีอยู่ในฎีกาที่ 124/2487 ที่ศาลฎีกาท่านพิพากษาในเรื่องของหลักประกันทางกฎหมายนี้เอาไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2487
ทั้งนี้ คำพิพากษาฎีกาที่ 124/2487 "วางหลักไว้ว่า "สิทธิ" หมายถึงประโยชน์อันบุคคลเขามีอยู่ และบุคคลอื่นมีหน้าที่ต้องเคารพ คือประโยชน์ที่ได้รับการคุ้มครองและรับรองโดยกฎหมาย" ดังนี้ "สิทธิ" จึงหมายถึงประโยชน์ที่ได้รับรองและคุ้มครองโดยกฎหมาย ซึ่ง สามารถพิจารณาได้ 4 ลักษณะ คือ
(1) สิทธิในตัวบุคคล
(2) สิทธิในทรัพย์สิน
(3) สิทธิในครอบครัว
(4) สิทธิในทางการเมือง
ยกมาให้เห็นกันชัดๆ อย่างนี้แล้ว หากมีสำนึกของความเป็นนักประชาธิปไตยอยู่ในตัวจริง! หนึ่งเสียงที่กาให้กับพรรคการเมืองใด หรือกาในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน เพราะต้องการเห็นก้าวย่างแรกที่จะนำไปสู่การปฏิรูปการเมือง ก็โปรดได้เคารพการตัดสินใจของประชาชนด้วยเถอะครับ!
เช่นเดียวกับใน มาตรา 88 และมาตรา 89 ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง สว. ที่มีบางท่านออกมาโต้แย้งว่า เป็นคนละเรื่องกัน...พูดง่ายๆ ก็คือ มาตรา 88 กำหนดไว้เฉพาะในกรณีที่มีผู้สมัครคนเดียว ส่วนมาตรา 89 เป็นเรื่องของผู้สมัครหลายคนนั้น
วันก่อนที่หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ซึ่งเป็นทั้งประธานยกร่างรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2550 และประธานยกร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง สว. ด้วย ท่านก็ยืนยันชัดเจนไปแล้วว่า เจตนารมณ์ของกฎหมายเป็นอย่างนั้นจริงๆ
นั่นคือ ไม่ว่าจะมีผู้สมัครเพียงคนเดียว หรือหลายคนก็ตาม ผู้ที่จะได้รับการประกาศรายชื่อให้เป็นผู้ได้รับเลือกตั้ง จะต้องผ่านหลักเกณฑ์ทั้ง 3 ข้อ ในมาตรา 88 และมาตรา 89 กล่าวคือ หนึ่ง ต้องได้คะแนนสูงสุด สอง ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตนั้น และสาม ต้องมากกว่าคะแนนโหวตโน หรือผู้ที่กาในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนด้วย
ดังนั้น สิ่งที่กลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ และป้ายรณรงค์ของพรรคเพื่อฟ้าดิน สื่อออกไปว่า “โหวตโน ให้ได้ 26 เขต หยุดระบอบทักษิณคืนชีพ” จึงเป็นการสื่อได้ตรงความหมาย เพราะหากรับรอง ส.ส.เข้าสภาได้ไม่ครบตามที่กฎหมายกำหนด ก็เปิดสภาฟื้นระบอบทักษิณไม่ได้!
นี่แหล่ะครับ...อานิสงส์ของโหวตโน!!
ย้ำว่า...โหวตโน มีผลทางกฎหมาย ไม่สูญเปล่า ได้ทั้งปฏิรูปการเมือง และหยุดระบอบทักษิณคืนชีพครับ.