ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติร่อนประกาศห้ามสถาบันการเงินทำธุรกรรมเงินฝากที่อ้างอิงอนุพันธ์แฝง ห่วงผู้ฝากเงินสับสนว่าได้รับการคุ้มครองเงินฝาก ซึ่งแท้ที่จริงไม่ใช่ แจงพันธบัตรคลังที่อิงเงินเฟ้อต่างกับธุรกรรมเงินกู้ที่อ้างอิงอนุพันธ์ด้านเงินเฟ้อแฝง เหตุไม่มีความซับซ้อนและผู้ออกมีความน่าเชื่อถือ
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้ออกประกาศปรับปรุงขอบเขตการทำธุรกรรมที่มีอนุพันธ์แฝง โดยห้ามไม่ให้ธนาคารพาณิชย์ทำธุรกรรมในรูปเงินฝากที่มีอนุพันธ์แฝง เพราะธุรกรรมดังกล่าวและตั๋วแลกเงินทุกประเภทที่ออกโดยสถาบันการเงินจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก แต่ ธปท.ยังคงอนุญาตให้ธนาคารทำธุรกรรมในรูปเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงและอนุพันธ์ด้านเงินเฟ้อแฝงได้ พร้อมทั้งเพิ่มดัชนี SET50 เป็นตัวแปรที่ใช้อ้างอิงในธุรกรรมนี้ได้ด้วย
ทั้งนี้ ธุรกรรมเงินกู้ที่มีการชำระคืนเงินต้นหรือจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับอัตราเงินเฟ้อที่มีโครงสร้างธุรกรรมที่ไม่ซับซ้อนหรือพันธบัตรกระทรวงการคลังที่อ้างอิงกับเงินเฟ้อที่คลังกำลังจะออกในเดือน ก.ค.นี้ไม่นับรวมกับธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์ด้านอัตราเงินเฟ้อแฝง เนื่องจากพันธบัตรที่อ้างอิงเงินเฟ้อของคลังไม่ได้มีโครงสร้างที่ซับซ้อน ขณะเดียวกันผู้ออกหรือคลังเองก็มีความน่าเชื่อถือ ทำให้มีความเสี่ยงน้อย จึงไม่ได้นับรวมกับธุรกรรมดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ธนาคารที่ทำธุรกรรมลักษณะนี้ก่อนวันที่ 31 พ.ค.54 ธปท.อนุญาตให้คงธุรกรรมดังกล่าวไว้จนครบอายุสัญญา แต่ไม่อนุญาตให้ออกธุรกรรมเพิ่มเติมหรือต่ออายุสัญญา ยกเว้นจะได้รับอนุญาตจาก ธปท.เป็นรายกรณีไป และประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 มิ.ย.54 เป็นต้นไปกับสถาบันการเงินในระบบทุกประเภท ยกเว้น ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
สำหรับหลักเกณฑ์ทั่วไปของธุรกรรมเงินกู้ยืมที่อ้างอิงกับอนุพันธ์แฝงหรืออ้างอิงกับอนุพันธ์ด้านเงินเฟ้อแฝง ธปท.จะอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทำธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงทั้งในฐานะผู้กู้ยืมและผู้ให้กู้ยืม โดยลักษณะธุรกรรมนี้ต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ำ 10 ล้านบาท หรือเทียบเท่า ยกเว้น ธุรกรรมที่ทำกับนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนสถาบัน ส่วนเงื่อนไขการชำระคืนเงินต้นไม่น้อยกว่า 80%ของจำนวนเงินที่ได้รับมาให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินกู้ยืมที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงตัวแปร เมื่อครบอายุสัญญา
ในการชำระคืนหรือรับชำระคืนเป็นตราสารหนี้ที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศและสกุลเงินบาท ซึ่งไม่สามารถนับรวมเข้าเป็นเงินกองทุนของธนาคาร ในกรณีที่เป็นตราสารทุนก็ต้องเป็นหลักทรัพย์ที่มีการยอมรับและมีมาตรฐาน เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ยกเว้นหุ้นของธนาคารพาณิชย์เองหรือธนาคารพาณิชย์อื่น
อีกทั้งหากมีการออกตราสารหนี้ ธนาคารต้องระบุเงื่อนไขห้ามเปลี่ยนมือ ยกเว้นธนาคารผู้ออกสามารถดูแลการโอนเปลี่ยนมือให้อยู่ภายใต้ขอบเขตของกลุ่มผู้ลงทุนหรือหลักเกณฑ์ ธปท.ได้.
รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ธปท.ได้ออกประกาศปรับปรุงขอบเขตการทำธุรกรรมที่มีอนุพันธ์แฝง โดยห้ามไม่ให้ธนาคารพาณิชย์ทำธุรกรรมในรูปเงินฝากที่มีอนุพันธ์แฝง เพราะธุรกรรมดังกล่าวและตั๋วแลกเงินทุกประเภทที่ออกโดยสถาบันการเงินจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก แต่ ธปท.ยังคงอนุญาตให้ธนาคารทำธุรกรรมในรูปเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงและอนุพันธ์ด้านเงินเฟ้อแฝงได้ พร้อมทั้งเพิ่มดัชนี SET50 เป็นตัวแปรที่ใช้อ้างอิงในธุรกรรมนี้ได้ด้วย
ทั้งนี้ ธุรกรรมเงินกู้ที่มีการชำระคืนเงินต้นหรือจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงกับอัตราเงินเฟ้อที่มีโครงสร้างธุรกรรมที่ไม่ซับซ้อนหรือพันธบัตรกระทรวงการคลังที่อ้างอิงกับเงินเฟ้อที่คลังกำลังจะออกในเดือน ก.ค.นี้ไม่นับรวมกับธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์ด้านอัตราเงินเฟ้อแฝง เนื่องจากพันธบัตรที่อ้างอิงเงินเฟ้อของคลังไม่ได้มีโครงสร้างที่ซับซ้อน ขณะเดียวกันผู้ออกหรือคลังเองก็มีความน่าเชื่อถือ ทำให้มีความเสี่ยงน้อย จึงไม่ได้นับรวมกับธุรกรรมดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ธนาคารที่ทำธุรกรรมลักษณะนี้ก่อนวันที่ 31 พ.ค.54 ธปท.อนุญาตให้คงธุรกรรมดังกล่าวไว้จนครบอายุสัญญา แต่ไม่อนุญาตให้ออกธุรกรรมเพิ่มเติมหรือต่ออายุสัญญา ยกเว้นจะได้รับอนุญาตจาก ธปท.เป็นรายกรณีไป และประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 มิ.ย.54 เป็นต้นไปกับสถาบันการเงินในระบบทุกประเภท ยกเว้น ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย
สำหรับหลักเกณฑ์ทั่วไปของธุรกรรมเงินกู้ยืมที่อ้างอิงกับอนุพันธ์แฝงหรืออ้างอิงกับอนุพันธ์ด้านเงินเฟ้อแฝง ธปท.จะอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทำธุรกรรมเงินกู้ยืมที่มีอนุพันธ์แฝงทั้งในฐานะผู้กู้ยืมและผู้ให้กู้ยืม โดยลักษณะธุรกรรมนี้ต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ำ 10 ล้านบาท หรือเทียบเท่า ยกเว้น ธุรกรรมที่ทำกับนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนสถาบัน ส่วนเงื่อนไขการชำระคืนเงินต้นไม่น้อยกว่า 80%ของจำนวนเงินที่ได้รับมาให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินกู้ยืมที่มีการจ่ายผลตอบแทนอ้างอิงตัวแปร เมื่อครบอายุสัญญา
ในการชำระคืนหรือรับชำระคืนเป็นตราสารหนี้ที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศและสกุลเงินบาท ซึ่งไม่สามารถนับรวมเข้าเป็นเงินกองทุนของธนาคาร ในกรณีที่เป็นตราสารทุนก็ต้องเป็นหลักทรัพย์ที่มีการยอมรับและมีมาตรฐาน เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ ยกเว้นหุ้นของธนาคารพาณิชย์เองหรือธนาคารพาณิชย์อื่น
อีกทั้งหากมีการออกตราสารหนี้ ธนาคารต้องระบุเงื่อนไขห้ามเปลี่ยนมือ ยกเว้นธนาคารผู้ออกสามารถดูแลการโอนเปลี่ยนมือให้อยู่ภายใต้ขอบเขตของกลุ่มผู้ลงทุนหรือหลักเกณฑ์ ธปท.ได้.