ASTVผู้จัดการรายวัน – เครือสหพัฒน์ ปรับโครงสร้างบริหาร ตั้งคณะกรรมการตลาด ดึง 3 คนรุ่นใหม่ทายาทตระกูล”โชควัฒนา- พะเนียงเวทย์-ตันติเวชกุล”ลุยบริหาร งบ 900 ล้านบาท จ่อผุดโรงงานผลิตน้ำมันปาล์ม 2-3 ปี ทุ่มงบลงทุน 1.3 พันล้านบาท ขยายกำลังผลิตมาม่า-ออรัลแคร์ แตกไลน์บะหมี่พรีเมียม”มาม่า ราเมง” ด้านสหพัฒน์อัดการตลาดหนัก หวังโต 15% กวาด 2.5หมื่นล้านบาท หลังครึ่งปีแรกพลาดเป้า
นายบุญชัย โชควัฒนา ประธานกรรมการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) และนายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) หรือทีเอฟ กล่าวร่วมกันถึงการปรับโครงสร้างภายในเครือสหพัฒน์ว่า หลังจากที่เพ็ญนภา ธนสารศิลป์ ได้ลาออกจากตำแหน่งกรรมการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) หรือผู้บริหารกลุ่มผลิตภัณฑ์ 2 โดยมีสินค้าที่ต้องทำตลาด
อาทิ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรามาม่า ฯลฯ
ดังนั้นบริษัทจึงตั้งคณะกรรมการตลาด (marketing committee) ขึ้นมาบริหาร เป็นทายาทในเครือสหพัฒน์และไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ รวม 3 คน คือ 1.นายเวทิต โชควัฒนา 2.นางชัยลดา ตันติเวชกุล และ3.นายเพชร พะเนียงเวทย์ เพื่อให้มาบริหารตลาดกลุ่มผลิตภัณฑ์ 2 ภายใต้การใช้งบการตลาด 900 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 1 กค.นี้
“ก่อนหน้านี้การบริหารงานเครือสหพัฒน์ จะเป็นผู้ดูแลด้านการตลาดและจัดจำหน่ายมาม่า ส่วนไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์จะเป็นผู้ผลิต ขณะที่การนำผู้บริหารรุ่นใหม่มาบริหารเพิ่มความเข้มข้นในการทำตลาด และรองรับกับตลาดที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง และต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับราคาเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะแป้งสาลี น้ำมันปาล์ม
รวมทั้งราคาน้ำมันที่ผกผันหรือขึ้น-ลงอย่างรวดเร็ว โดยโมเดลดังกล่าวเป็นการบริหารเหมือนกับไลอ้อนที่มีการทำงานร่วมกันระหว่างผู้บริหารไทยกับญี่ปุ่นมากขึ้น และเชื่อว่าคนรุ่นใหม่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับเครือสหพัฒน์”
นายพิพัฒ กล่าวว่า เพื่อรองรับกับต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้น หลังจาก 2 ปีที่ผ่านมา แป้งสาลี ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 40% เพิ่มขึ้น 50% หรือจาก 300 บาท ต่อกระสอบเพิ่มเป็น 450 บาทต่อกระสอบ และน้ำมันปาล์ม เป็นวัตถุดิบการผลิต สัดส่วน 17% ปรับเพิ่มขึ้นจาก 29 บาทต่อกก. เพิ่มเป็น 68 บาทต่อกก.ในช่วงเดือนมีนาคม ทำให้กำไรมาม่าช่วง 1 เดือน ลดลง 70 ล้านบาท และปัจจุบันราคาน้ำมันปาล์ม 40-42บาทต่อกก. ส่วนราคาน้ำมันปาล์ม ที่ มาเลเซีย 38 บาทต่อกก. ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาสร้างโรงงานผลิตน้ำมันปาล์ม คาดว่าจะสรุป 2-3 ปีนี้ และล่าสุดได้สร้างโรงงานผลิตแป้งสาลีลงทุน 600 ล้านบาท ที่ศรีราชา คาดว่าจะแล้วเสร็จกลางปี 2556 จากเดิมบริษัทซื้อวัตถุดิบการผลิตจากผู้ประกอบการ
**สหพัฒน์-ทีเอฟเท1.3พันล.เพิ่มผลิต
นายพิพัฒ กล่าวว่า บริษัททุ่มงบลงทุน 800 ล้านบาท ในช่วงปี 2554-2555 สั่งซื้อเครื่องจักรเพื่อขยายกำลังการผลิต บะหมึ่กึ่งสำเร็จรูปเพิ่มจาก 6 ล้านแพกต่อวันเป็น 8ล้านแพกต่อวัน โดยแบ่งเป็น เครื่องจักรสำหรับบะหมี่ซอง 5 เครื่อง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปชนิดถ้วย 2 เครื่อง เนื่องจากเป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตสูง 20% เมื่อเทียบกับบะหมี่ชนิดซองเติบโต 5-6% บริษัทวางแผนในอีก 4-5
ปีข้างหน้านี้ ผลักดันให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปชนิดถ้วยเพิ่มสัดส่วนจาก 20% เป็น 40% ของตลาดรวม และบะหมี่ฯ ซองจาก 80% เป็นเหลือ 60% ใกล้เคียงกับตลาดญี่ปุ่น สัดส่วนบะหมี่ถ้วย 60% และชนิดซอง 40%
ด้านนายบุญชัย กล่าวว่า ในปี 2554-2555 ได้ลงทุน 400-500 ล้านบาท ขยายกำลังการผลิตกลุ่มผลิตภัณฑ์ในช่องปาก อาทิ ยาสีฟันซอลล์ ซิสเท็มม่า ที่ โรงงานศรีราชา คาดว่าจะแล้วเสร็จในปีหน้านี้ ขณะที่กลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือนอยู่ระหว่างพิจารณาขยายกำลังการผลิต และวางแผนดำเนินการตลาดเชิงรุกในช่วงครึ่งปีหลัง ทั้งการปรับระบบการจัดจำหน่าย การขยายช่องทางใหม่ อาทิ ไดเร็กเซล ดีลิเวอรี่ เพิ่มความถี่จัดโปรโมชัน ลดต้นทุนโดยนำหุ่นรถยนต์มาใช้ กระตุ้นรายได้สิ้นปีนี้โต 15% หรือ 2.5 หมื่นล้านบาท หลังจากในช่วงครึ่งปีแรกโตเกือบ 10% ต่ำกว่าเป้าหมาย
***ลุยสร้างบะหมี่พรีเมียมดันตลาดโต
นายสุชัย รัตนเจียเจริญ ประธาน บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด มหาชน กล่าวว่า ในฐานะที่มาม่าเป็นผู้นำตลาดครองส่วนแบ่งมากกว่า 50% จากตลาดบะหมึ่กึ่งสำเร็จรูปมูลค่า 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาตลาดเติบโตน้อยกว่า 9% และต้องการขยายอัตราการบริโภคเพิ่มจาก 39.22 ซองต่อคนต่อปี เพิ่มเป็น 40 ซองต่อคนต่อปีในปีนี้
ด้วยการสร้างเซกเมนต์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูประดับพรีเมียม ซึ่งมีสัดส่วน 0.5% เพิ่มเป็น 2-3% ในปีหน้านี้ ประเดิมทุ่มงบกว่า 40 ล้านบาทในช่วงครึ่งปีหลังเปิดตัวบะหมี่สำเร็จรูป”มาม่า ราเมง” ชนิดอบ เพราะอาหารญี่ปุ่นเป็นตลาดใหญ่สำหรับคนไทย และสอดรับกับไลฟ์สไตล์ความเร่งรีบในชีวิตประจำ นำร่องเปิดตัว 2 รสชาติ ได้แก่
รสดั้งเดิมและรสเป็ด
ทั้งนี้ก่อนหน้านี้บริษัทผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปชนิดอบภายใต้แบรนด์เมียวโจ้ แต่ได้หยุดทำตลาดไปเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ดังนั้นการเปิดตัวบะหมี่ฯ ราเมง ทำให้ไม่ต้องลงทุนเครื่องจักรใหม่ โดยขนาด 60 กรัม ราคา 15 บาท ขายในร้านค้าสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น 1 เดือน เมื่อเทียบกับบะหมี่ซองระดับแมส ราคา 6 บาท ส่วนบะหมี่ฯ นำเข้าซองละ 40-50 บาท มูลค่าตลาด 100 ล้านบาท
หากบะหมี่มาม่า ราเมง ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี มีส่วนแบ่งไม่ต่ำกว่า 10% บริษัทสร้างตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอีกสเต็ป ด้วยการสร้างบะหมี่ฯฟังก์ชันนัล โดยเพิ่มสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
สำหรับผลประกอบการในช่วง 5 เดือน เติบโต 9.9% คาดว่าสิ้นปีนี้โต 10% หรือมีรายได้รวม 8,000 ล้านบาท
นายบุญชัย โชควัฒนา ประธานกรรมการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) และนายพิพัฒ พะเนียงเวทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) หรือทีเอฟ กล่าวร่วมกันถึงการปรับโครงสร้างภายในเครือสหพัฒน์ว่า หลังจากที่เพ็ญนภา ธนสารศิลป์ ได้ลาออกจากตำแหน่งกรรมการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) หรือผู้บริหารกลุ่มผลิตภัณฑ์ 2 โดยมีสินค้าที่ต้องทำตลาด
อาทิ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรามาม่า ฯลฯ
ดังนั้นบริษัทจึงตั้งคณะกรรมการตลาด (marketing committee) ขึ้นมาบริหาร เป็นทายาทในเครือสหพัฒน์และไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ รวม 3 คน คือ 1.นายเวทิต โชควัฒนา 2.นางชัยลดา ตันติเวชกุล และ3.นายเพชร พะเนียงเวทย์ เพื่อให้มาบริหารตลาดกลุ่มผลิตภัณฑ์ 2 ภายใต้การใช้งบการตลาด 900 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 1 กค.นี้
“ก่อนหน้านี้การบริหารงานเครือสหพัฒน์ จะเป็นผู้ดูแลด้านการตลาดและจัดจำหน่ายมาม่า ส่วนไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์จะเป็นผู้ผลิต ขณะที่การนำผู้บริหารรุ่นใหม่มาบริหารเพิ่มความเข้มข้นในการทำตลาด และรองรับกับตลาดที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง และต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับราคาเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะแป้งสาลี น้ำมันปาล์ม
รวมทั้งราคาน้ำมันที่ผกผันหรือขึ้น-ลงอย่างรวดเร็ว โดยโมเดลดังกล่าวเป็นการบริหารเหมือนกับไลอ้อนที่มีการทำงานร่วมกันระหว่างผู้บริหารไทยกับญี่ปุ่นมากขึ้น และเชื่อว่าคนรุ่นใหม่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับเครือสหพัฒน์”
นายพิพัฒ กล่าวว่า เพื่อรองรับกับต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้น หลังจาก 2 ปีที่ผ่านมา แป้งสาลี ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 40% เพิ่มขึ้น 50% หรือจาก 300 บาท ต่อกระสอบเพิ่มเป็น 450 บาทต่อกระสอบ และน้ำมันปาล์ม เป็นวัตถุดิบการผลิต สัดส่วน 17% ปรับเพิ่มขึ้นจาก 29 บาทต่อกก. เพิ่มเป็น 68 บาทต่อกก.ในช่วงเดือนมีนาคม ทำให้กำไรมาม่าช่วง 1 เดือน ลดลง 70 ล้านบาท และปัจจุบันราคาน้ำมันปาล์ม 40-42บาทต่อกก. ส่วนราคาน้ำมันปาล์ม ที่ มาเลเซีย 38 บาทต่อกก. ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาสร้างโรงงานผลิตน้ำมันปาล์ม คาดว่าจะสรุป 2-3 ปีนี้ และล่าสุดได้สร้างโรงงานผลิตแป้งสาลีลงทุน 600 ล้านบาท ที่ศรีราชา คาดว่าจะแล้วเสร็จกลางปี 2556 จากเดิมบริษัทซื้อวัตถุดิบการผลิตจากผู้ประกอบการ
**สหพัฒน์-ทีเอฟเท1.3พันล.เพิ่มผลิต
นายพิพัฒ กล่าวว่า บริษัททุ่มงบลงทุน 800 ล้านบาท ในช่วงปี 2554-2555 สั่งซื้อเครื่องจักรเพื่อขยายกำลังการผลิต บะหมึ่กึ่งสำเร็จรูปเพิ่มจาก 6 ล้านแพกต่อวันเป็น 8ล้านแพกต่อวัน โดยแบ่งเป็น เครื่องจักรสำหรับบะหมี่ซอง 5 เครื่อง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปชนิดถ้วย 2 เครื่อง เนื่องจากเป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตสูง 20% เมื่อเทียบกับบะหมี่ชนิดซองเติบโต 5-6% บริษัทวางแผนในอีก 4-5
ปีข้างหน้านี้ ผลักดันให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปชนิดถ้วยเพิ่มสัดส่วนจาก 20% เป็น 40% ของตลาดรวม และบะหมี่ฯ ซองจาก 80% เป็นเหลือ 60% ใกล้เคียงกับตลาดญี่ปุ่น สัดส่วนบะหมี่ถ้วย 60% และชนิดซอง 40%
ด้านนายบุญชัย กล่าวว่า ในปี 2554-2555 ได้ลงทุน 400-500 ล้านบาท ขยายกำลังการผลิตกลุ่มผลิตภัณฑ์ในช่องปาก อาทิ ยาสีฟันซอลล์ ซิสเท็มม่า ที่ โรงงานศรีราชา คาดว่าจะแล้วเสร็จในปีหน้านี้ ขณะที่กลุ่มผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือนอยู่ระหว่างพิจารณาขยายกำลังการผลิต และวางแผนดำเนินการตลาดเชิงรุกในช่วงครึ่งปีหลัง ทั้งการปรับระบบการจัดจำหน่าย การขยายช่องทางใหม่ อาทิ ไดเร็กเซล ดีลิเวอรี่ เพิ่มความถี่จัดโปรโมชัน ลดต้นทุนโดยนำหุ่นรถยนต์มาใช้ กระตุ้นรายได้สิ้นปีนี้โต 15% หรือ 2.5 หมื่นล้านบาท หลังจากในช่วงครึ่งปีแรกโตเกือบ 10% ต่ำกว่าเป้าหมาย
***ลุยสร้างบะหมี่พรีเมียมดันตลาดโต
นายสุชัย รัตนเจียเจริญ ประธาน บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด มหาชน กล่าวว่า ในฐานะที่มาม่าเป็นผู้นำตลาดครองส่วนแบ่งมากกว่า 50% จากตลาดบะหมึ่กึ่งสำเร็จรูปมูลค่า 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมาตลาดเติบโตน้อยกว่า 9% และต้องการขยายอัตราการบริโภคเพิ่มจาก 39.22 ซองต่อคนต่อปี เพิ่มเป็น 40 ซองต่อคนต่อปีในปีนี้
ด้วยการสร้างเซกเมนต์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูประดับพรีเมียม ซึ่งมีสัดส่วน 0.5% เพิ่มเป็น 2-3% ในปีหน้านี้ ประเดิมทุ่มงบกว่า 40 ล้านบาทในช่วงครึ่งปีหลังเปิดตัวบะหมี่สำเร็จรูป”มาม่า ราเมง” ชนิดอบ เพราะอาหารญี่ปุ่นเป็นตลาดใหญ่สำหรับคนไทย และสอดรับกับไลฟ์สไตล์ความเร่งรีบในชีวิตประจำ นำร่องเปิดตัว 2 รสชาติ ได้แก่
รสดั้งเดิมและรสเป็ด
ทั้งนี้ก่อนหน้านี้บริษัทผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปชนิดอบภายใต้แบรนด์เมียวโจ้ แต่ได้หยุดทำตลาดไปเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ดังนั้นการเปิดตัวบะหมี่ฯ ราเมง ทำให้ไม่ต้องลงทุนเครื่องจักรใหม่ โดยขนาด 60 กรัม ราคา 15 บาท ขายในร้านค้าสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น 1 เดือน เมื่อเทียบกับบะหมี่ซองระดับแมส ราคา 6 บาท ส่วนบะหมี่ฯ นำเข้าซองละ 40-50 บาท มูลค่าตลาด 100 ล้านบาท
หากบะหมี่มาม่า ราเมง ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี มีส่วนแบ่งไม่ต่ำกว่า 10% บริษัทสร้างตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอีกสเต็ป ด้วยการสร้างบะหมี่ฯฟังก์ชันนัล โดยเพิ่มสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
สำหรับผลประกอบการในช่วง 5 เดือน เติบโต 9.9% คาดว่าสิ้นปีนี้โต 10% หรือมีรายได้รวม 8,000 ล้านบาท