ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ( กรุงเทพโพลล์ ) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 3,338 คน โดยเก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 16 - 22 มิถุนายน ที่ผ่านมา พบว่า ในการเลือกตั้ง ส.ส. ในระบบแบ่งเขต คนกรุงเทพฯ ระบุว่าจะเลือกผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 37.9 จะเลือกผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 22.2 จะเลือกผู้สมัครของพรรครักษ์สันติ ร้อยละ 1.2 จะไม่เลือกใครเลย (Vote No) ร้อยละ 5.1 ขณะที่ร้อยละ 22.1 ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกผู้สมัครของพรรคใด และร้อยละ 7.6 ไม่ตอบ
สำหรับการเลือกตั้ง ส.ส ระบบบัญชีรายชื่อ พบว่า คนกรุงเทพฯ ระบุว่าจะเลือกพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 38.3 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 21.6 จะเลือกพรรครักประเทศไทย ร้อยละ 3.4 จะเลือก พรรครักษ์สันติ ร้อยละ 1.6 จะไม่เลือกใครเลย (Vote No) ร้อยละ 4.7 ขณะที่ร้อยละ 20.6 ยัง ไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคใด และร้อยละ 7.8 ไม่ตอบ
เมื่อสอบถามว่าอยากได้ใครมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปมากที่สุดอันดับแรกพบว่าอยากได้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ร้อยละ 47.2 โดยให้เหตุผลว่า อยากลองให้โอกาสคนใหม่บ้าง อยากให้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย มีประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจ อันดับที่ 2 คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 28.0 โดยให้เหตุผลว่า อยากให้สานงานต่อ งานจะได้ต่อเนื่อง พรรคมีนโยบายที่ดี อันดับที่ 3 คือ ร.ต.อ. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ร้อยละ 5.1 โดยให้เหตุผลว่า เป็นคนตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์ ทำงานจริง และอันดับที่ 4 คือ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ ร้อยละ 3.9 โดยให้เหตุผลว่า เป็นคนกล้าพูด พูดตรง เปิดเผยจริงใจ
ส่วนความเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในการควบคุมดูแลการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพและโปร่งใสยุติธรรมพบว่า ร้อยละ 57.1 ไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย ขณะที่ร้อยละ 42.9 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงเชื่อมั่นมาก
เมื่อถามถึง การติดต่อซื้อเสียงจากคนในพื้นที่ พบว่า ร้อยละ 69.9 ระบุว่าไม่มีการซื้อเสียง ขณะที่ร้อยละ 6.9 ระบุว่ามีการซื้อเสียง และร้อยละ 23.2 ระบุว่า ไม่ทราบ เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายเขตเลือกตั้งพบว่า มีเพียง 3 เขต ที่ไม่มีการซื้อเสียงได้แก่ เขต 12 เขต 14 และ เขต 27 ส่วนเขตที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งระบุว่ามีการติดต่อซื้อเสียงมากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ เขต 4 ( ร้อยละ 35 ) รองลงมาคือ เขต 17 ( ร้อยละ 33.3 ) และเขต 2 ( ร้อยละ 31.0 ) ตามลำดับ
สำหรับการเลือกตั้ง ส.ส ระบบบัญชีรายชื่อ พบว่า คนกรุงเทพฯ ระบุว่าจะเลือกพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 38.3 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 21.6 จะเลือกพรรครักประเทศไทย ร้อยละ 3.4 จะเลือก พรรครักษ์สันติ ร้อยละ 1.6 จะไม่เลือกใครเลย (Vote No) ร้อยละ 4.7 ขณะที่ร้อยละ 20.6 ยัง ไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกพรรคใด และร้อยละ 7.8 ไม่ตอบ
เมื่อสอบถามว่าอยากได้ใครมาเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปมากที่สุดอันดับแรกพบว่าอยากได้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ร้อยละ 47.2 โดยให้เหตุผลว่า อยากลองให้โอกาสคนใหม่บ้าง อยากให้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย มีประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจ อันดับที่ 2 คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 28.0 โดยให้เหตุผลว่า อยากให้สานงานต่อ งานจะได้ต่อเนื่อง พรรคมีนโยบายที่ดี อันดับที่ 3 คือ ร.ต.อ. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ร้อยละ 5.1 โดยให้เหตุผลว่า เป็นคนตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์ ทำงานจริง และอันดับที่ 4 คือ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ ร้อยละ 3.9 โดยให้เหตุผลว่า เป็นคนกล้าพูด พูดตรง เปิดเผยจริงใจ
ส่วนความเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในการควบคุมดูแลการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพและโปร่งใสยุติธรรมพบว่า ร้อยละ 57.1 ไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย ขณะที่ร้อยละ 42.9 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงเชื่อมั่นมาก
เมื่อถามถึง การติดต่อซื้อเสียงจากคนในพื้นที่ พบว่า ร้อยละ 69.9 ระบุว่าไม่มีการซื้อเสียง ขณะที่ร้อยละ 6.9 ระบุว่ามีการซื้อเสียง และร้อยละ 23.2 ระบุว่า ไม่ทราบ เมื่อแยกพิจารณาเป็นรายเขตเลือกตั้งพบว่า มีเพียง 3 เขต ที่ไม่มีการซื้อเสียงได้แก่ เขต 12 เขต 14 และ เขต 27 ส่วนเขตที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งระบุว่ามีการติดต่อซื้อเสียงมากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่ เขต 4 ( ร้อยละ 35 ) รองลงมาคือ เขต 17 ( ร้อยละ 33.3 ) และเขต 2 ( ร้อยละ 31.0 ) ตามลำดับ