BMCL เตรียมชงรฟม.ปรับค่าโดยสารเพิ่มตามดัชนีผู้บริโภค มีผล 3 ก.ค. 55 ขณะที่ผู้โดยสารโตปีละ8% คาดเปิดเดินรถสีม่วงช่วยเพิ่มแบบก้าวกระโดด ส่งผลพ้นขาดทุน เล็งปี 59 เริ่มจ่ายปันผลได้ “สมบัติ”ลั่นพร้อมลุยประมูลเดินรถส่วนต่อขยายสีน้ำเงิน เสนอรัฐบาลใหม่ชูนโยบายรถไฟฟ้าแล้วต้องทำให้ได้จริงตามที่พูด หนุน 20 บาทตลอดสายทำได้แต่รัฐต้องชดเชยส่วนต่างให้เอกชน
นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL เปิดเผยว่า บริษัทจะยื่นเรื่องต่อการรถไฟฟ้าขนส่งส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพื่อขอปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT ใหม่ ตามดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งจะประเมินตัวเลข CPI ที่เปลี่ยนแปลงในช่วงปลายปี2554 โดยจะใช้ค่าโดยสารใหม่ในวันที่ 3 ก.ค. 2555ซึ่งเป็นไปตามสัญญาสัมปทานที่จะมีการปรับค่าโดยสารทุกๆ 2 ปี โดยเบื้องต้นคาดว่าจะปรับเพิ่มจากอัตราปัจจุบันที่เริ่มต้น 15บาท สูงสุดที่ 40 บาทแน่นอน ซึ่งประมาณเดือนต.ค.-พ.ย. 2554 จะสรุปตัวเลขค่าโดยสารที่จะปรับใหม่ได้
ทั้งนี้ การปรับขึ้นค่าโดยสารจะไม่ทำให้ผู้โดยสารลดลงแต่อย่างใด โดยบริษัทคาดว่าจำนวนผู้โดยสารของ MRT จะเติบโตประมาณ4-5 % ต่อปี ส่วนรายได้จะเติบโตประมาณ 8 % ต่อปี คาดว่าปี 2554 จะมีรายได้ประมาณ 1,700 ล้านบาท มีกำไรก่อนหักค่าเสื่อม ดอกเบี้ย และภาษี (EBITDA) ประมาณ 160 ล้านบาท โดยช่วงไตรมาสที่ 1/2554 ขาดทุนสุทธิประมาณ 280 ล้านบาท ส่วน EBITDA อยู่ที่ 40 ล้านบาท และปี 2555 คาดว่า EBITDA จะเพิ่มเป็น
300 ล้านบาท
นายสมบัติกล่าวว่า ขณะนี้ BMCL อยู่ระหว่างการเจรจากับรฟม.ในการบริหารการเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ซึ่งมีกำหนดเปิดให้บริการปลายปี 2557 คาดว่าจะทำให้จำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าเติบโตแบบก้าวกระโดดและส่งผลให้ผลประกอบการของ BMCL มีกำไร และคาดว่าจะสามารถจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้ประมาณปี 2559 โดยจะต้องบริหารจัดการตัวเลขการเงินอื่นๆ ด้วย ซึ่งปัจจุบันยังมีการขาดทุนสะสมประมาณ 7,000 ล้านบาท มีเงินกู้ จำนวน 12,000 ล้านบาท
“ถ้าสายสีม่วงเปิดบริการจะทำให้ผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้น โดยปัจจุบัน MRT มีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 2แสนคน โดยวันธรรมดามี 2.2 แสนคน วันเสาร์ 1.5 แสนคน วันอาทิตย์ประมาณ 1.1 แสนคน เมื่อผู้โดยสารเพิ่มนอกจากรายได้จากค่าโดยสารจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วยแล้ว รายได้เชิงพาณิชย์จากพื้นที่และโฆษณาจะเพิ่มขึ้นไปด้วยซึ่งขณะนี้มีรายได้เชิงพาณิชย์ปีละประมาณ 100 ล้านบาท”นายสมบัติกล่าว
อย่างไรก็ตาม BMCL พร้อมที่จะเข้าร่วมประมูลเป็นผู้บริหารการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วง หัวลำโพง-บางแคและบางซื่อ-ท่าพระ) ซึ่งคาดว่ารฟม.จะเปิดประมูลช่วงปลายปีนี้ และเชื่อว่าบริษัทจะสามารถบริหารจัดการต้นทุนได้ดีกว่าผู้ประกอบการรายอื่น เนื่องจากมีเส้นทางต่อเชื่อมกับรถไฟฟ้า MRT ขณะเดียวกัน ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีเขียวเส้นทางที่เป็นส่วนต่อขยายจาก รถไฟฟ้า BTS บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ก็จะได้เปรียบซึ่ง BMCL ก็ต้องยอมรับว่าคงจะสู้ไม่ไหว
***แนะการเมืองหาเสียงรถไฟฟ้าต้องทำจริงด้วย **
ส่วนกรณีที่พรรคเพื่อไทยมีนโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายนั้น นายสมบัติกล่าวว่า ค่าโดยสารจะเก็บเท่าไรก็ได้ แต่ส่วนต่างที่เกิดขึ้นรัฐบาลต้องชดเชยให้เอกชน ส่วนการที่พรรคการเมืองมีนโยบายผลักดันรถไฟฟ้าถือเป็นเรื่องดี แต่สิ่งที่ต้องเร่งทำหลังจากได้เป็นรัฐบาลแล้วคือ ทำให้นโยบายที่ประกาศไว้กับประชาชนเป็นจริง เช่น รถไฟฟ้า 10 สาย
จะเปิดให้บริการในปีไหนบ้าง มีวิธีการทำงานอย่างไร เพราะ20 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีรถไฟฟ้าเพียง 2 สาย เท่านั้น
“พรรคการเมืองที่พูดไว้เมื่อได้เป็นรัฐบาลก็นำนโยบายเรื่องรถไฟฟ้าให้เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ใช่พูดหาเสียงอย่างเดียว ส่วนบริษัทนั้นพร้อมจนเบื่อความพร้อมแล้ว เพราะรถไฟฟ้าไม่เกิดซะที การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแม้ตะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแต่เชื่อว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดี เช่น มีเส้นทางมากขึ้น เพราะรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาสามารถดำเนินการได้ทันที ไม่ต้องศึกษาอะไรอีกเพราะที่ผ่านมา ศึกษากันมามากแล้ว ควรจะเร่งดำเนินโครงการให้เสร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ดีกว่า”นายสมบัติกล่าว
อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการรถไฟฟ้าของประเทศไทยที่ผ่านมาถือว่าล่าช้ามา เมื่อเทียบกับประเทศอื่นและการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพราะผู้เกี่ยวข้องขาดความมุ่งมั่นที่จะทำ แต่ขณะนี้ทุกคนยอมรับว่ารถไฟฟ้ามีความจำเป็น ประชาชนมีความต้องการความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง โดยปัจจุบัน การเดินทางโดยรถไฟฟ้าของไทยอยู่ที่ 6% ของปริมาณการเดินทางในกรุงเทพฯที่มี 2 ล้านเที่ยวต่อวัน ขณะที่ญี่ปุ่นและฮ่องกงอยู่ที่ 30% ดังนั้น หากจะรักษาระดับ 6 % ไว้ควรเปิดรถไฟฟ้า 1 สาย ทุก3 ปี เป็นอย่างน้อย หรือในช่วง 3-5 ปีนี้ สายสีม่วงและสีน้ำเงินเปิดบริการจะเพิ่มสัดส่วนเป็น 10% ได้
นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL เปิดเผยว่า บริษัทจะยื่นเรื่องต่อการรถไฟฟ้าขนส่งส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เพื่อขอปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า MRT ใหม่ ตามดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งจะประเมินตัวเลข CPI ที่เปลี่ยนแปลงในช่วงปลายปี2554 โดยจะใช้ค่าโดยสารใหม่ในวันที่ 3 ก.ค. 2555ซึ่งเป็นไปตามสัญญาสัมปทานที่จะมีการปรับค่าโดยสารทุกๆ 2 ปี โดยเบื้องต้นคาดว่าจะปรับเพิ่มจากอัตราปัจจุบันที่เริ่มต้น 15บาท สูงสุดที่ 40 บาทแน่นอน ซึ่งประมาณเดือนต.ค.-พ.ย. 2554 จะสรุปตัวเลขค่าโดยสารที่จะปรับใหม่ได้
ทั้งนี้ การปรับขึ้นค่าโดยสารจะไม่ทำให้ผู้โดยสารลดลงแต่อย่างใด โดยบริษัทคาดว่าจำนวนผู้โดยสารของ MRT จะเติบโตประมาณ4-5 % ต่อปี ส่วนรายได้จะเติบโตประมาณ 8 % ต่อปี คาดว่าปี 2554 จะมีรายได้ประมาณ 1,700 ล้านบาท มีกำไรก่อนหักค่าเสื่อม ดอกเบี้ย และภาษี (EBITDA) ประมาณ 160 ล้านบาท โดยช่วงไตรมาสที่ 1/2554 ขาดทุนสุทธิประมาณ 280 ล้านบาท ส่วน EBITDA อยู่ที่ 40 ล้านบาท และปี 2555 คาดว่า EBITDA จะเพิ่มเป็น
300 ล้านบาท
นายสมบัติกล่าวว่า ขณะนี้ BMCL อยู่ระหว่างการเจรจากับรฟม.ในการบริหารการเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ซึ่งมีกำหนดเปิดให้บริการปลายปี 2557 คาดว่าจะทำให้จำนวนผู้โดยสารรถไฟฟ้าเติบโตแบบก้าวกระโดดและส่งผลให้ผลประกอบการของ BMCL มีกำไร และคาดว่าจะสามารถจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้ประมาณปี 2559 โดยจะต้องบริหารจัดการตัวเลขการเงินอื่นๆ ด้วย ซึ่งปัจจุบันยังมีการขาดทุนสะสมประมาณ 7,000 ล้านบาท มีเงินกู้ จำนวน 12,000 ล้านบาท
“ถ้าสายสีม่วงเปิดบริการจะทำให้ผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้น โดยปัจจุบัน MRT มีผู้โดยสารเฉลี่ยวันละ 2แสนคน โดยวันธรรมดามี 2.2 แสนคน วันเสาร์ 1.5 แสนคน วันอาทิตย์ประมาณ 1.1 แสนคน เมื่อผู้โดยสารเพิ่มนอกจากรายได้จากค่าโดยสารจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วยแล้ว รายได้เชิงพาณิชย์จากพื้นที่และโฆษณาจะเพิ่มขึ้นไปด้วยซึ่งขณะนี้มีรายได้เชิงพาณิชย์ปีละประมาณ 100 ล้านบาท”นายสมบัติกล่าว
อย่างไรก็ตาม BMCL พร้อมที่จะเข้าร่วมประมูลเป็นผู้บริหารการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย ช่วง หัวลำโพง-บางแคและบางซื่อ-ท่าพระ) ซึ่งคาดว่ารฟม.จะเปิดประมูลช่วงปลายปีนี้ และเชื่อว่าบริษัทจะสามารถบริหารจัดการต้นทุนได้ดีกว่าผู้ประกอบการรายอื่น เนื่องจากมีเส้นทางต่อเชื่อมกับรถไฟฟ้า MRT ขณะเดียวกัน ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีเขียวเส้นทางที่เป็นส่วนต่อขยายจาก รถไฟฟ้า BTS บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ก็จะได้เปรียบซึ่ง BMCL ก็ต้องยอมรับว่าคงจะสู้ไม่ไหว
***แนะการเมืองหาเสียงรถไฟฟ้าต้องทำจริงด้วย **
ส่วนกรณีที่พรรคเพื่อไทยมีนโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายนั้น นายสมบัติกล่าวว่า ค่าโดยสารจะเก็บเท่าไรก็ได้ แต่ส่วนต่างที่เกิดขึ้นรัฐบาลต้องชดเชยให้เอกชน ส่วนการที่พรรคการเมืองมีนโยบายผลักดันรถไฟฟ้าถือเป็นเรื่องดี แต่สิ่งที่ต้องเร่งทำหลังจากได้เป็นรัฐบาลแล้วคือ ทำให้นโยบายที่ประกาศไว้กับประชาชนเป็นจริง เช่น รถไฟฟ้า 10 สาย
จะเปิดให้บริการในปีไหนบ้าง มีวิธีการทำงานอย่างไร เพราะ20 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีรถไฟฟ้าเพียง 2 สาย เท่านั้น
“พรรคการเมืองที่พูดไว้เมื่อได้เป็นรัฐบาลก็นำนโยบายเรื่องรถไฟฟ้าให้เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ใช่พูดหาเสียงอย่างเดียว ส่วนบริษัทนั้นพร้อมจนเบื่อความพร้อมแล้ว เพราะรถไฟฟ้าไม่เกิดซะที การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแม้ตะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแต่เชื่อว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดี เช่น มีเส้นทางมากขึ้น เพราะรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาสามารถดำเนินการได้ทันที ไม่ต้องศึกษาอะไรอีกเพราะที่ผ่านมา ศึกษากันมามากแล้ว ควรจะเร่งดำเนินโครงการให้เสร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ดีกว่า”นายสมบัติกล่าว
อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการรถไฟฟ้าของประเทศไทยที่ผ่านมาถือว่าล่าช้ามา เมื่อเทียบกับประเทศอื่นและการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพราะผู้เกี่ยวข้องขาดความมุ่งมั่นที่จะทำ แต่ขณะนี้ทุกคนยอมรับว่ารถไฟฟ้ามีความจำเป็น ประชาชนมีความต้องการความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง โดยปัจจุบัน การเดินทางโดยรถไฟฟ้าของไทยอยู่ที่ 6% ของปริมาณการเดินทางในกรุงเทพฯที่มี 2 ล้านเที่ยวต่อวัน ขณะที่ญี่ปุ่นและฮ่องกงอยู่ที่ 30% ดังนั้น หากจะรักษาระดับ 6 % ไว้ควรเปิดรถไฟฟ้า 1 สาย ทุก3 ปี เป็นอย่างน้อย หรือในช่วง 3-5 ปีนี้ สายสีม่วงและสีน้ำเงินเปิดบริการจะเพิ่มสัดส่วนเป็น 10% ได้