ศรีสะเกษ- ชู จ.ศรีสะเกษ เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงท่องเที่ยวประเทศเพื่อนบ้าน “ลาว-ไทย-กัมพูชา” ขณะประธานหอค้าจังหวัดฯ เสนอรุกเปิดตลาดค้าชายแดนส่งออก เงาะ ทุเรียนของดีศรีสะเกษ เผยการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ซบหนักเหตุปัญหาด้านความมั่นคง-นโยบาย-ความสัมพันธ์ และ ส่งผลกระทบแผนการเปิด “เมืองใหม่ช่องสะงำ” ต้องเลื่อนออกไปไม่มีกำหนด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมโรงแรมศรีลำดวน อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดการประชุมคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 1 / 2554 โดยมี นายสมเกียรติ อนุราษฎร์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย พร้อมด้วย นายสมชัย ไกรครุฑรี ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประธานหอการค้า และคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าร่วมประชุม เพื่อร่วมกันจัดทำยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของหอการค้า ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และจังหวัดต่อไป และมีนายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ประธานหอการค้า จ.ศรีสะเกษ ให้การต้อนรับ
นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า ในการประชุมครั้งนี้ ถือเป็นนิมิตหมายอันดีที่คณะ กรรมการหอการค้าฯ ได้เดินทางมายัง จ.ศรีสะเกษ และได้เข้าร่วมในพิธีเปิดงานเทศกาลเงาะ ทุเรียน ของดีศรีสะเกษ ประจำปี 2554 เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.
จากนั้นได้เดินทางไปทัศนศึกษาในสถานที่สำคัญของ จ.ศรีสะเกษ ทำให้มองเห็นสภาพเศรษฐกิจของ จ.ศรีสะเกษว่าเป็นจังหวัดที่มีการเจริญเติบโตในหลาย ๆ ด้านทั้งภาคอุตสาหกรรม การค้าด้านชายแดน การท่องเที่ยว ซึ่งมีทั้งการท่องเที่ยวภายใน และเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินทางไปเที่ยวนครวัด นครธม จ.เสียมราฐ ซึ่งต้องผ่านจุดผ่านแดนถาวรไทย - กัมพูชา ช่องสะงำ ต.ไพรพัฒนา อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ที่ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 2 - 3 ชม.เท่านั้น ซึ่งขณะนี้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นตลอดเวลา
“หากได้รับการสนับสนุนและยกระดับการท่องเที่ยวให้สูงขึ้น จ.ศรีสะเกษ จะเป็นจังหวัดหนึ่งที่เชื่อมโยงไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น โครงการท่องเที่ยวประเทศสปป.ลาว - ไทย - กัมพูชา หรือ จำปาสัก - อุบลราชธานี - ศรีสะเกษ - เสียมราฐ โดยจะได้นำเสนอแพกเกจนี้ไปยังตลาดต่างประเทศ จะเป็นการดีอย่างยิ่ง” นายสมศักดิ์ กล่าว
ด้าน นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ประธานหอการค้า จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า ในการประชุมครั้งนี้ ตนได้นำเสนอประเด็นหลัก ๆ คือ เรื่องการร่วมมือของหอการค้า โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการค้าด้านชายแดน ที่จะให้จังหวัดที่มีบริเวณพื้นที่ติดกับแนวชายแดน เช่น จ.ศรีสะเกษ และ จ.สุรินทร์ ได้มีความร่วมมือกัน
นอกจากนี้ ยังมีหอการค้าอีกหลายจังหวัดที่ได้ทำการค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้านมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นประเทศ สปป.ลาว เวียดนาม ที่พร้อมจะเป็นพี่เลี้ยงให้ ในการที่จะเปิดตลาดสินค้าส่งออกประเภทพืชผัก ผลไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงาะ ทุเรียน ซึ่งในปีนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมมาก เพราะคณะกรรมการหอการค้า ได้เดินทางมาเข้าร่วมประชุมในช่วงงานเทศกาลเงาะ ทุเรียน ของดีศรีสะเกษ จึงถือได้ว่าเป็นการประชาสัมพันธ์พืชผัก ผลไม้ของ จ.ศรีสะเกษ ไปด้วย
นายสิริพงศ์ กล่าวต่อว่า สำหรับภาพรวมของสถานการณ์การค้าขายตามแนวชายแดนไทย - กัมพูชา ขณะนี้สถานการณ์โดยรวมถือว่าไม่สู้จะดีนัก เนื่องจากมีความไม่มั่นคงทางด้านนโยบาย และความสัมพันธ์
อย่างไรก็ตาม หอการค้าจ.ศรีสะเกษ พยายามผลักดันให้การค้าขายตามแนวชายแดนกลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด ซึ่งเรื่องนี้ยังผลกระทบต่อแผนการเปิดเมืองใหม่ช่องสะงำอีกด้วย โดยขณะนี้ยังไม่มีแผนเพิ่มเติมเกี่ยวกับเมืองใหม่ช่องสะงำ เนื่องจากทิศทาง และนโยบายยังไม่ชัดเจน ดังนั้น สิ่งแรกที่อยากเร่งทำมากที่สุด คือ การเร่งสร้างบรรยากาศด้านการค้า การลงทุนตามแนวชายแดนให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติก่อน เพื่อจะได้มามองแผนในการดำเนินงานต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมโรงแรมศรีลำดวน อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดการประชุมคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 1 / 2554 โดยมี นายสมเกียรติ อนุราษฎร์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย พร้อมด้วย นายสมชัย ไกรครุฑรี ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประธานหอการค้า และคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าร่วมประชุม เพื่อร่วมกันจัดทำยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของหอการค้า ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และจังหวัดต่อไป และมีนายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ประธานหอการค้า จ.ศรีสะเกษ ให้การต้อนรับ
นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า ในการประชุมครั้งนี้ ถือเป็นนิมิตหมายอันดีที่คณะ กรรมการหอการค้าฯ ได้เดินทางมายัง จ.ศรีสะเกษ และได้เข้าร่วมในพิธีเปิดงานเทศกาลเงาะ ทุเรียน ของดีศรีสะเกษ ประจำปี 2554 เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.
จากนั้นได้เดินทางไปทัศนศึกษาในสถานที่สำคัญของ จ.ศรีสะเกษ ทำให้มองเห็นสภาพเศรษฐกิจของ จ.ศรีสะเกษว่าเป็นจังหวัดที่มีการเจริญเติบโตในหลาย ๆ ด้านทั้งภาคอุตสาหกรรม การค้าด้านชายแดน การท่องเที่ยว ซึ่งมีทั้งการท่องเที่ยวภายใน และเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินทางไปเที่ยวนครวัด นครธม จ.เสียมราฐ ซึ่งต้องผ่านจุดผ่านแดนถาวรไทย - กัมพูชา ช่องสะงำ ต.ไพรพัฒนา อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ที่ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 2 - 3 ชม.เท่านั้น ซึ่งขณะนี้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นตลอดเวลา
“หากได้รับการสนับสนุนและยกระดับการท่องเที่ยวให้สูงขึ้น จ.ศรีสะเกษ จะเป็นจังหวัดหนึ่งที่เชื่อมโยงไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น โครงการท่องเที่ยวประเทศสปป.ลาว - ไทย - กัมพูชา หรือ จำปาสัก - อุบลราชธานี - ศรีสะเกษ - เสียมราฐ โดยจะได้นำเสนอแพกเกจนี้ไปยังตลาดต่างประเทศ จะเป็นการดีอย่างยิ่ง” นายสมศักดิ์ กล่าว
ด้าน นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ ประธานหอการค้า จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า ในการประชุมครั้งนี้ ตนได้นำเสนอประเด็นหลัก ๆ คือ เรื่องการร่วมมือของหอการค้า โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการค้าด้านชายแดน ที่จะให้จังหวัดที่มีบริเวณพื้นที่ติดกับแนวชายแดน เช่น จ.ศรีสะเกษ และ จ.สุรินทร์ ได้มีความร่วมมือกัน
นอกจากนี้ ยังมีหอการค้าอีกหลายจังหวัดที่ได้ทำการค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้านมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นประเทศ สปป.ลาว เวียดนาม ที่พร้อมจะเป็นพี่เลี้ยงให้ ในการที่จะเปิดตลาดสินค้าส่งออกประเภทพืชผัก ผลไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงาะ ทุเรียน ซึ่งในปีนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมมาก เพราะคณะกรรมการหอการค้า ได้เดินทางมาเข้าร่วมประชุมในช่วงงานเทศกาลเงาะ ทุเรียน ของดีศรีสะเกษ จึงถือได้ว่าเป็นการประชาสัมพันธ์พืชผัก ผลไม้ของ จ.ศรีสะเกษ ไปด้วย
นายสิริพงศ์ กล่าวต่อว่า สำหรับภาพรวมของสถานการณ์การค้าขายตามแนวชายแดนไทย - กัมพูชา ขณะนี้สถานการณ์โดยรวมถือว่าไม่สู้จะดีนัก เนื่องจากมีความไม่มั่นคงทางด้านนโยบาย และความสัมพันธ์
อย่างไรก็ตาม หอการค้าจ.ศรีสะเกษ พยายามผลักดันให้การค้าขายตามแนวชายแดนกลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด ซึ่งเรื่องนี้ยังผลกระทบต่อแผนการเปิดเมืองใหม่ช่องสะงำอีกด้วย โดยขณะนี้ยังไม่มีแผนเพิ่มเติมเกี่ยวกับเมืองใหม่ช่องสะงำ เนื่องจากทิศทาง และนโยบายยังไม่ชัดเจน ดังนั้น สิ่งแรกที่อยากเร่งทำมากที่สุด คือ การเร่งสร้างบรรยากาศด้านการค้า การลงทุนตามแนวชายแดนให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติก่อน เพื่อจะได้มามองแผนในการดำเนินงานต่อไป