สวัสดีค่ะท่านผู้อ่าน ขอต้อนรับเข้าสู่โลกใบใหม่ของการลงทุนในสินค้าเกษตร ท่านผู้อ่านหลายท่านคงจะทราบดีอยู่แล้วว่า เรามักจะใช้การวิเคราะห์ปัจจัยด้านอุปสงค์ และอุปทานเป็นหลักในการตัดสินใจลงทุนในสินค้าเกษตร แต่ปัจจุบันเรากำลังเผชิญกับปัจจัยใหม่ๆ ที่ทำให้การลงทุนในตลาดสินค้าเกษตรเปลี่ยนแปลงไป
ก่อนจะกล่าวถึงปัจจัยใหม่ๆ เรามาทบทวนการวิเคราะห์ปัจจัยด้านอุปสงค์และอุปทานของสินค้าเกษตรกันก่อนค่ะ สำหรับปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ของสินค้าเกษตร มีหลากหลายปัจจัยด้วยกัน อาทิ สภาพเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคโดยตรง โดยภาวะเศรษฐกิจขยายตัวจะทำให้มีความต้องการสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น, จำนวนประชากร หากประชากรเพิ่มขึ้น ความต้องการบริโภคสินค้าเกษตรย่อมเพิ่มขึ้น, รสนิยมการใช้และการบริโภค รสนิยมที่เปลี่ยนไปจะมีผลต่อปริมาณอุปสงค์ของสินค้าเกษตรนั้นๆ, ราคาสินค้าชนิดอื่น โดยแบ่งเป็น กรณีเป็นสินค้าใช้ประกอบกัน เช่น กาแฟกับน้ำตาล หากราคากาแฟสูงขึ้น ผู้บริโภคจะลดการบริโภคกาแฟและน้ำตาลลง เพราะเป็นสินค้าที่บริโภคคู่กัน และกรณีเป็นสินค้าใช้ทดแทนกัน เช่น ยางธรรมชาติกับยางสังเคราะห์ หากราคายางสังเคราะห์เพิ่มขึ้น ความต้องการใช้ยางธรรมชาติจะเพิ่มขึ้น เป็นต้น ส่วนปัจจัยที่กำหนดอุปทานของสินค้าเกษตร อาทิ สภาพดินฟ้าอากาศและฤดูกาลผลิต หากสภาพอากาศเอื้ออำนวย ผลผลิตการเกษตรจะออกมามาก นอกจากนี้สินค้าเกษตรหลายชนิดมีผลผลิตออกเป็นฤดูกาล, จำนวนพื้นที่เพาะปลูก, ผลผลิตต่อไร่ (Yield) เช่น ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรได้, ราคาผลผลิตชนิดอื่น เช่น หากราคายางพาราสูงขึ้นมาก อาจจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกยางพารามากขึ้น
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์และรูปแบบการลงทุนในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไป โดยมีเงินไหลเข้าสู่ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้าเพื่อหวังผลตอบแทนจากการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์มากขึ้น เช่น ทองคำ เงิน ทองแดง น้ำมันดิบ ไม่เว้นแม้กระทั่งสินค้าโภคภัณฑ์ทางการเกษตร อย่างข้าวโพด น้ำมันปาล์ม และถั่วเหลือง ดังนั้นราคาสินค้าเกษตรจึงไม่ถูกกำหนดจากปัจจัยด้านอุปสงค์และอุปทานเท่านั้น แต่ยังถูกกำหนดจากกระแสเงินลงทุนด้วย
สถานการณ์เก็งกำไรที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากภาวะเงินล้นโลกและความกังวลเรื่องภาวะเงินเฟ้อที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้กระแสเก็งกำไรนี้มีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไป และเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ตลาดลงทุนมีความผันผวนมากขึ้น สำหรับประเด็นที่ต้องติดตามเป็นพิเศษเพื่อใช้คาดการณ์กระแสการเก็งกำไร คือ นโยบายเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ ยุโรป จีน ญี่ปุ่น โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยและการควบคุมปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดปริมาณเงินในโลก และต้นทุนของเงินที่จะใช้ในการเก็งกำไรทั้งสิ้น
การลงทุนท่ามกลางกระแสการเก็งกำไรนี้เป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยง เราจึงควรติดตามและทำความเข้าใจรายละเอียดของการลงทุนที่ซับซ้อนมากขึ้น
ก่อนจะกล่าวถึงปัจจัยใหม่ๆ เรามาทบทวนการวิเคราะห์ปัจจัยด้านอุปสงค์และอุปทานของสินค้าเกษตรกันก่อนค่ะ สำหรับปัจจัยที่กำหนดอุปสงค์ของสินค้าเกษตร มีหลากหลายปัจจัยด้วยกัน อาทิ สภาพเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคโดยตรง โดยภาวะเศรษฐกิจขยายตัวจะทำให้มีความต้องการสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น, จำนวนประชากร หากประชากรเพิ่มขึ้น ความต้องการบริโภคสินค้าเกษตรย่อมเพิ่มขึ้น, รสนิยมการใช้และการบริโภค รสนิยมที่เปลี่ยนไปจะมีผลต่อปริมาณอุปสงค์ของสินค้าเกษตรนั้นๆ, ราคาสินค้าชนิดอื่น โดยแบ่งเป็น กรณีเป็นสินค้าใช้ประกอบกัน เช่น กาแฟกับน้ำตาล หากราคากาแฟสูงขึ้น ผู้บริโภคจะลดการบริโภคกาแฟและน้ำตาลลง เพราะเป็นสินค้าที่บริโภคคู่กัน และกรณีเป็นสินค้าใช้ทดแทนกัน เช่น ยางธรรมชาติกับยางสังเคราะห์ หากราคายางสังเคราะห์เพิ่มขึ้น ความต้องการใช้ยางธรรมชาติจะเพิ่มขึ้น เป็นต้น ส่วนปัจจัยที่กำหนดอุปทานของสินค้าเกษตร อาทิ สภาพดินฟ้าอากาศและฤดูกาลผลิต หากสภาพอากาศเอื้ออำนวย ผลผลิตการเกษตรจะออกมามาก นอกจากนี้สินค้าเกษตรหลายชนิดมีผลผลิตออกเป็นฤดูกาล, จำนวนพื้นที่เพาะปลูก, ผลผลิตต่อไร่ (Yield) เช่น ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีช่วยเพิ่มปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรได้, ราคาผลผลิตชนิดอื่น เช่น หากราคายางพาราสูงขึ้นมาก อาจจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกยางพารามากขึ้น
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์และรูปแบบการลงทุนในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไป โดยมีเงินไหลเข้าสู่ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้าเพื่อหวังผลตอบแทนจากการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์มากขึ้น เช่น ทองคำ เงิน ทองแดง น้ำมันดิบ ไม่เว้นแม้กระทั่งสินค้าโภคภัณฑ์ทางการเกษตร อย่างข้าวโพด น้ำมันปาล์ม และถั่วเหลือง ดังนั้นราคาสินค้าเกษตรจึงไม่ถูกกำหนดจากปัจจัยด้านอุปสงค์และอุปทานเท่านั้น แต่ยังถูกกำหนดจากกระแสเงินลงทุนด้วย
สถานการณ์เก็งกำไรที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากภาวะเงินล้นโลกและความกังวลเรื่องภาวะเงินเฟ้อที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้กระแสเก็งกำไรนี้มีแนวโน้มที่จะดำเนินต่อไป และเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ตลาดลงทุนมีความผันผวนมากขึ้น สำหรับประเด็นที่ต้องติดตามเป็นพิเศษเพื่อใช้คาดการณ์กระแสการเก็งกำไร คือ นโยบายเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ ยุโรป จีน ญี่ปุ่น โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยและการควบคุมปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดปริมาณเงินในโลก และต้นทุนของเงินที่จะใช้ในการเก็งกำไรทั้งสิ้น
การลงทุนท่ามกลางกระแสการเก็งกำไรนี้เป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยง เราจึงควรติดตามและทำความเข้าใจรายละเอียดของการลงทุนที่ซับซ้อนมากขึ้น