ASTV ผู้จัดการรายวัน - สำนักงาน ก.ล.ต. แถลงการณ์ผลสอบ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ให้การเท็จคดีซุกหุ้นไม่เข้าข่ายผิดพ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ พร้อมเผยได้ดำเนินการตรวจสอบตามอำนาจหน้าที่แร้วทั้งกรณีการถือครองหุ้นของครอบครัวชินวัตรในบมจ.ชินคอร์ป และเอสซี แอสเสท ถือว่าคดีถึงที่สุดแล้ว ขณะเดียวกันยังยืนยันชัด “ยิ่งลักษณ์” ไม่ต้องรายงานการถือหุ้นชินคอร์ป เหตุถือหุ้นในสัดส่วนไม่ถึง 5% แบะท่าพร้อมตรวจสอบเพิ่มหากมีข้อมูลใหม่
วานนี้ (13 มิ.ย.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รายงานถึงกรณีที่เครือข่ายพลเมืองคัดค้านนิรโทษกรรมคอรัปชั่นทักษิณ (คนท.) ออกมาเคลื่อนไหวและที่เรียกร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึง ก.ล.ต. ให้ดำเนินการกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ปาร์ตี้ลิสต์อันดับที่ 1 ของพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้เป็นไปตามผลของคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น ล่าสุด ก.ล.ต. ได้ตรวจสอบข้อมูลโดยละเอียดแล้ว โดยขอเรียนว่า ก.ล.ต. ได้ดำเนินการในเรื่องที่อยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้อง 2 ประเด็นแล้ว
โดยประเด็นแรก สืบเนื่องจากการที่ศาลฎีกาฯ ได้วินิจฉัยว่า การถือหุ้นในบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) INTUCH (ชื่อเดิม SHIN) ของบุคคล 4 ราย (ซึ่งรวมถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) และของบริษัทแอมเพิลริช อินเวสต์เมนท์ จำกัด เป็นการถือหุ้นแทน พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร (ชินวัตร) ดังนั้น บุคคลที่ถือหุ้นแทนดังกล่าว จะถือว่ามีการรายงานการซื้อขายหลักทรัพย์อันเป็นเท็จหรือไม่
ประเด็นดังกล่าว การรายงานการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปฯ เป็นกรณีที่ พ.ต.ท. ทักษิณได้รายงานการขายหุ้นให้แก่บุคคลทั้ง 4 ราย และบริษัทแอมเพิลริชฯ ในปี 2543 ซึ่งศาลได้วินิจฉัยเมื่อวันที่ 26 ก.พ.2553 ว่าไม่ใช่การขายจริง ในเรื่องนี้ ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษ พ.ต.ท. ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษแล้ว ตั้งแต่วันที่ 28 เม.ย.53 (ข่าว ก.ล.ต. ฉบับที่ 24/2553) ในข้อหาว่าไม่รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ตามมาตรา 246 แห่งพ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ซึ่งได้ครอบคลุมถึงการรายงานอันเป็นเท็จทั้งในปี 2543 - 2544 และการขายในปี 2549 ด้วย
ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้รับหนังสือจากกรมสอบสวนคดีพิเศษลงวันที่ 21 ต.ค.53 แจ้งว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง พ.ต.ท. ทักษิณ และคุณหญิงพจมานในกรณีการรายงานการถือหลักทรัพย์อันเป็นเท็จในปี 2543 และต่อมาพนักงานอัยการก็มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องบุคคลทั้งสองในกรณีดังกล่าวแล้วเช่นกัน และในประเด็นที่ว่านางสาวยิ่งลักษณ์ซึ่งศาลฎีกาฯ วินิจฉัยว่าถือหุ้นแทน พ.ต.ท. ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน จะมีหน้าที่ประการใดตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ หรือไม่นั้น เนื่องจากนางสาวยิ่งลักษณ์มีจำนวนหุ้นที่เกี่ยวข้องต่ำกว่าร้อยละ 5 จึงไม่มีหน้าที่ต้องยื่นรายงานใด ๆ ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
สำหรับ การกล่าวโทษดังกล่าว ก.ล.ต. ดำเนินการภายหลังจากที่มีคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ โดย ก.ล.ต. ก็ได้ส่งพยานหลักฐานทั้งหมดให้กรมสอบสวนคดีพิเศษและคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปแล้ว ดังนั้น สำหรับด้าน ก.ล.ต. จึงถือได้ว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว
ส่วนประเด็นที่สอง สืบเนื่องจากนางสาวยิ่งลักษณ์ ได้ชี้แจงต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เมื่อเดือนมี.ค. 2549 ว่าครอบครัวชินวัตรไม่มีความเกี่ยวข้องกับกองทุน 2 แห่ง หรือเกี่ยวข้องกับบริษัทวินมาร์ค จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในบมจ.เอสซี แอสเสท และบริษัทชิ คอร์ปฯ ด้วย แต่ปรากฏจากผลการตรวจสอบของ ก.ล.ต. พบหลักฐานที่แสดงว่าเจ้าของที่แท้จริงคือ พ.ต.ท. ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ดังนั้น คำชี้แจงดังกล่าวจะถือว่าเข้าข่ายมีความผิดตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์หรือไม่นั้น
ในเรื่องดังกล่าว ในกรณีที่นางสาวยิ่งลักษณ์ชี้แจงว่า ครอบครัวชินวัตรไม่เกี่ยวข้องกับการถือหุ้นในกองทุน 2 แห่ง และบริษัทวินมาร์ค โดยขัดต่อพยานหลักฐานที่ ก.ล.ต. ได้จากการตรวจสอบนั้น ก.ล.ต. ไม่สามารถดำเนินการต่อได้ เนื่องจากไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 238 แห่งพ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ที่ครอบคลุมเฉพาะการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ โดยเจตนาให้ผู้อื่นสำคัญผิดในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน หรือเกี่ยวกับราคาซื้อขายหลักทรัพย์ แต่ข้อเท็จจริงกรณีนี้เป็นเรื่องเฉพาะที่เกี่ยวกับการถือหุ้น มิใช่ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับบริษัทหรือราคาซื้อขาย จึงไม่เข้าลักษณะความผิดที่กฎหมายหลักทรัพย์กำหนดไว้
ขณะเดียวกัน การชี้แจงดังกล่าวเกิดขึ้นในขั้นตอนทั่วไปที่ ก.ล.ต. สอบถามมิใช่การชี้แจงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ จึงไม่ใช่ความผิดที่ก.ล.ต. จะใช้อำนาจกฎหมายดำเนินการได้ตามมาตรา 302 แห่งพ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ
โดยการปกปิดโครงสร้างการถือหุ้นในบริษัทเอสซี แอสเสทฯ ก.ล.ต.ได้รวบรวบข้อมูลหลักฐานทั้งในและต่างประเทศ และส่งเรื่องไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2550 โดยมีการประสานความร่วมมือต่อเนื่องมาจนกรมสอบสวนคดีพิเศษได้มีความเห็นควร สั่งฟ้องบริษัท และนางบุษบา ดามาพงศ์ ในฐานะกรรมการบริษัทที่ร่วมลงนามในแบบดังกล่าวในความผิดฐานเปิดเผยข้อมูล เป็นเท็จในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามมาตรา 278 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ และเห็นควรสั่งฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ในความผิดเกี่ยวกับรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ และการไม่ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทเอสซี แอสเสทฯ ตามมาตรา 246 และ 247 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันคดีนี้ได้ยุติแล้ว โดยพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องบุคคลทุกรายดังกล่าว ด้วยข้อเท็จจริงข้างต้น ก.ล.ต.จึงเห็นว่าได้ดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำพิพากษาศาลฎีกาฯ หรือการถือหุ้นของครอบครัวชินวัตรในบริษัท ชินคอร์ป และบริษัท เอสซี แอสเสทฯ ตามอำนาจหน้าที่แล้ว และได้รายงานการดำเนินการให้คณะกรรมการ ก.ล.ต.ทราบในการประชุม เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา แต่ ก.ล.ต.พร้อมพิจารณาเรื่องนี้อีกครั้ง หากมีข้อมูลใหม่ๆ เพิมเติม และจะรายงานต่อการประชุมคณะกรรมการก.ล.ต.ในครั้งต่อไป
วานนี้ (13 มิ.ย.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รายงานถึงกรณีที่เครือข่ายพลเมืองคัดค้านนิรโทษกรรมคอรัปชั่นทักษิณ (คนท.) ออกมาเคลื่อนไหวและที่เรียกร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึง ก.ล.ต. ให้ดำเนินการกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ปาร์ตี้ลิสต์อันดับที่ 1 ของพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้เป็นไปตามผลของคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น ล่าสุด ก.ล.ต. ได้ตรวจสอบข้อมูลโดยละเอียดแล้ว โดยขอเรียนว่า ก.ล.ต. ได้ดำเนินการในเรื่องที่อยู่ในขอบเขตอำนาจหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้อง 2 ประเด็นแล้ว
โดยประเด็นแรก สืบเนื่องจากการที่ศาลฎีกาฯ ได้วินิจฉัยว่า การถือหุ้นในบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) INTUCH (ชื่อเดิม SHIN) ของบุคคล 4 ราย (ซึ่งรวมถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) และของบริษัทแอมเพิลริช อินเวสต์เมนท์ จำกัด เป็นการถือหุ้นแทน พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร (ชินวัตร) ดังนั้น บุคคลที่ถือหุ้นแทนดังกล่าว จะถือว่ามีการรายงานการซื้อขายหลักทรัพย์อันเป็นเท็จหรือไม่
ประเด็นดังกล่าว การรายงานการซื้อขายหุ้นชินคอร์ปฯ เป็นกรณีที่ พ.ต.ท. ทักษิณได้รายงานการขายหุ้นให้แก่บุคคลทั้ง 4 ราย และบริษัทแอมเพิลริชฯ ในปี 2543 ซึ่งศาลได้วินิจฉัยเมื่อวันที่ 26 ก.พ.2553 ว่าไม่ใช่การขายจริง ในเรื่องนี้ ก.ล.ต. ได้กล่าวโทษ พ.ต.ท. ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษแล้ว ตั้งแต่วันที่ 28 เม.ย.53 (ข่าว ก.ล.ต. ฉบับที่ 24/2553) ในข้อหาว่าไม่รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ตามมาตรา 246 แห่งพ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ซึ่งได้ครอบคลุมถึงการรายงานอันเป็นเท็จทั้งในปี 2543 - 2544 และการขายในปี 2549 ด้วย
ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้รับหนังสือจากกรมสอบสวนคดีพิเศษลงวันที่ 21 ต.ค.53 แจ้งว่ากรมสอบสวนคดีพิเศษเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง พ.ต.ท. ทักษิณ และคุณหญิงพจมานในกรณีการรายงานการถือหลักทรัพย์อันเป็นเท็จในปี 2543 และต่อมาพนักงานอัยการก็มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องบุคคลทั้งสองในกรณีดังกล่าวแล้วเช่นกัน และในประเด็นที่ว่านางสาวยิ่งลักษณ์ซึ่งศาลฎีกาฯ วินิจฉัยว่าถือหุ้นแทน พ.ต.ท. ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน จะมีหน้าที่ประการใดตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ หรือไม่นั้น เนื่องจากนางสาวยิ่งลักษณ์มีจำนวนหุ้นที่เกี่ยวข้องต่ำกว่าร้อยละ 5 จึงไม่มีหน้าที่ต้องยื่นรายงานใด ๆ ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
สำหรับ การกล่าวโทษดังกล่าว ก.ล.ต. ดำเนินการภายหลังจากที่มีคำพิพากษาของศาลฎีกาฯ โดย ก.ล.ต. ก็ได้ส่งพยานหลักฐานทั้งหมดให้กรมสอบสวนคดีพิเศษและคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปแล้ว ดังนั้น สำหรับด้าน ก.ล.ต. จึงถือได้ว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว
ส่วนประเด็นที่สอง สืบเนื่องจากนางสาวยิ่งลักษณ์ ได้ชี้แจงต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เมื่อเดือนมี.ค. 2549 ว่าครอบครัวชินวัตรไม่มีความเกี่ยวข้องกับกองทุน 2 แห่ง หรือเกี่ยวข้องกับบริษัทวินมาร์ค จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในบมจ.เอสซี แอสเสท และบริษัทชิ คอร์ปฯ ด้วย แต่ปรากฏจากผลการตรวจสอบของ ก.ล.ต. พบหลักฐานที่แสดงว่าเจ้าของที่แท้จริงคือ พ.ต.ท. ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ดังนั้น คำชี้แจงดังกล่าวจะถือว่าเข้าข่ายมีความผิดตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์หรือไม่นั้น
ในเรื่องดังกล่าว ในกรณีที่นางสาวยิ่งลักษณ์ชี้แจงว่า ครอบครัวชินวัตรไม่เกี่ยวข้องกับการถือหุ้นในกองทุน 2 แห่ง และบริษัทวินมาร์ค โดยขัดต่อพยานหลักฐานที่ ก.ล.ต. ได้จากการตรวจสอบนั้น ก.ล.ต. ไม่สามารถดำเนินการต่อได้ เนื่องจากไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 238 แห่งพ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ที่ครอบคลุมเฉพาะการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ โดยเจตนาให้ผู้อื่นสำคัญผิดในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน หรือเกี่ยวกับราคาซื้อขายหลักทรัพย์ แต่ข้อเท็จจริงกรณีนี้เป็นเรื่องเฉพาะที่เกี่ยวกับการถือหุ้น มิใช่ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับบริษัทหรือราคาซื้อขาย จึงไม่เข้าลักษณะความผิดที่กฎหมายหลักทรัพย์กำหนดไว้
ขณะเดียวกัน การชี้แจงดังกล่าวเกิดขึ้นในขั้นตอนทั่วไปที่ ก.ล.ต. สอบถามมิใช่การชี้แจงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ จึงไม่ใช่ความผิดที่ก.ล.ต. จะใช้อำนาจกฎหมายดำเนินการได้ตามมาตรา 302 แห่งพ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ
โดยการปกปิดโครงสร้างการถือหุ้นในบริษัทเอสซี แอสเสทฯ ก.ล.ต.ได้รวบรวบข้อมูลหลักฐานทั้งในและต่างประเทศ และส่งเรื่องไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2550 โดยมีการประสานความร่วมมือต่อเนื่องมาจนกรมสอบสวนคดีพิเศษได้มีความเห็นควร สั่งฟ้องบริษัท และนางบุษบา ดามาพงศ์ ในฐานะกรรมการบริษัทที่ร่วมลงนามในแบบดังกล่าวในความผิดฐานเปิดเผยข้อมูล เป็นเท็จในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ตามมาตรา 278 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฯ และเห็นควรสั่งฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ในความผิดเกี่ยวกับรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ และการไม่ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของบริษัทเอสซี แอสเสทฯ ตามมาตรา 246 และ 247 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันคดีนี้ได้ยุติแล้ว โดยพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องบุคคลทุกรายดังกล่าว ด้วยข้อเท็จจริงข้างต้น ก.ล.ต.จึงเห็นว่าได้ดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำพิพากษาศาลฎีกาฯ หรือการถือหุ้นของครอบครัวชินวัตรในบริษัท ชินคอร์ป และบริษัท เอสซี แอสเสทฯ ตามอำนาจหน้าที่แล้ว และได้รายงานการดำเนินการให้คณะกรรมการ ก.ล.ต.ทราบในการประชุม เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา แต่ ก.ล.ต.พร้อมพิจารณาเรื่องนี้อีกครั้ง หากมีข้อมูลใหม่ๆ เพิมเติม และจะรายงานต่อการประชุมคณะกรรมการก.ล.ต.ในครั้งต่อไป