คึกคักขึ้นทุกขณะสำหรับศึกเลือกตั้ง 3 ก.ค.54 ยิ่งเข้าสู่ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อก่อนโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง บรรดาพรรคการเมืองใหญ่-กลาง-เล็ก ต่างทุ่มกำลังลงพื้นที่หาเสียงอย่างเต็มสูบ หวังโกยคะแนนส่งคนของตนเข้าสู่สภาให้มากที่สุด
โดยเฉพาะการห้ำหั่นกันระหว่าง 2 ขั้วการเมืองใหญ่ ที่แทบจะกลบความเคลื่อนไหวของบรรดาพรรคเอสเอ็มอีจนแทบไม่มีพื้นที่ตามสื่อ รวมไปถึง พรรคการเมืองใหม่ ของ สมศักดิ์ โกศัยสุข อดีตผู้นำแรงงาน ที่วันนี้ผันตัวเองจากผู้นำแรงงานสวมหมวกนักการเมืองเต็มตัว นำพาพรรคการเมืองใหม่เข้าสู่สมรภูมิเลือกตั้งอย่างเป็นทางการหนแรก
แต่ด้วยสภาพความไม่พร้อมจากสาเหตุที่ไม่ลงรอยกันของกรรมการบริหารพรรค 2 ฝ่าย ที่ฝ่ายหนึ่งนำโดยนายสมศักดิ์ที่ต้องการลงเลือกตั้งในหนนี้ ขณะที่อีกฝ่ายนำโดย สำราญ รอดเพชร รองหัวหน้าพรรค และ สุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรค ที่กุมเสียงข้างมากในกรรมการบริหาร มีจุดยืนต้องการ “เว้นวรรค” ไม่ส่งผู้สมัครตามมติของสมาชิกพรรค เมื่อวันที่ 24 เม.ย.ที่สมาคมโผวเล้งแห่งประเทศไทย
รอยร้าวจึงปริขึ้นใจกลางพรรคการมืองใหม่ และต้องลงทำศึกเลือกตั้งแบบ “ลูกผีลูกคน”
ยิ่งเมื่อนายสุริยะใสเดินเรื่องทำหนังสือถึง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อขอให้ระงับการที่พรรคการเมืองใหม่จะส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง เพราะพรรคยังไม่เคยมีมติให้ส่งผู้สมัคร ส.ส.แต่อย่างใด และกรรมการบริหารพรรค 10 จาก 19 คนก็เห็นว่าไม่สมควรส่งผู้สมัคร ซึ่งเรื่องนี้ กกต.รับเรื่องไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 18 พ.ค.ก่อนการรับสมัครด้วยซ้ำ แต่ก็อาจเป็นเพราะว่ามีภารกิจล้นมือจึงทำให้ไม่สามารถวินิจฉัยชี้ขาดออกมาได้อย่างทันท่วงที
หรืออาจจะเห็นว่าเป็นเรื่องใหม่ จึงไม่กล้าที่จะฟันธงชี้ขาดออกมา
ทั้งๆที่หากพิจารณาตามการส่งผู้สมัครของพรรคการเมืองใหม่นั้น ก็ชัดเจนว่าไม่ได้เป็นไปตามมาตรา 37 - 39 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 เนื่องจากส่งผู้สมัครโดยไม่มีมติพรรค และไม่ได้มีขั้นตอนพิจารณาตัวผู้สมัครโดยคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ประการใด
ซึ่งประเด็นนี้ฝ่ายนายสมศักดิ์ก็อ้างใช้มาตรา 40 ของ พ.ร.บ.ฉบับเดียวกันที่ระบุว่า การไม่ปฏิบัติตามมาตรา 37 - 39 นั้นไม่มีผลต่อการสมัครหรือการได้เป็น ส.ส.ที่พรรคการเมืองนั้นส่งเข้าสมัคร
หมายความว่า อำนาจในการส่งตัวผู้สมัครนั้นเป็น “สิทธิ์ขาด” ของผู้ที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ตรงนี้ก็จะมีคำถามตามมาว่าแล้วมาตรา 37 - 39 ที่กำหนดขั้นตอนสำหรับการส่งผู้สมัคร ส.ส.ในนามพรรคอย่างซับซ้อนวุ่นวายนั้นบัญญัติขึ้นมาเพื่อใช้ในกรณีใด หากมีการบัญญัติมาตรา 40 ขึ้นขัดแย้งในตัวเองอยู่
หาก กกต.พิจารณารับฟังตามนี้ก็ถือได้ว่า ไม่ได้สนับสนุนการดำเนินกิจการพรรคการเมืองให้เป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย และเป็นการสร้างบรรทัดฐานให้เห็นว่า การดำเนินกิจการใดๆไม่จำเป็นต้องรับฟังกรรมการบริหารพรรค ศูนย์สาขาพรรคอีกต่อไป เพราะหัวหน้าพรรคมีสิทธิ์ตัดสินใจลงนามได้เพียงผู้เดียว
ดังนั้น ส่วนนี้เป็นข้อต่อสู้ที่ฝ่ายกรรมการเสียงข้างมากพยายามใช้ในการยื่นคำร้องแต่ กกต. แต่กลับไม่ได้รับการตอบสนอง และได้ประวิงเวลาโดยเรียกให้ผู้แทนทั้ง 2 ฝ่ายเข้าไต่สวนหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
ทั้งที่ในความเป็นจริงควรเร่งชี้ขาดเพื่อสร้างความชัดเจนโดยเร็ว เพราะการปล่อยให้นายสมศักดิ์นำพรรคเข้าสู้ศึกลงพื้นที่หาเสียงไปพลางก่อนนั้น ได้สร้างความสับสนให้แก่สังคมเป็นอย่างมาก
ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง และสถานะการณ์เช่นนี้นายสมศักดิ์ก็รู้ตัวดีว่าตัวเองยังอยู่ในสภาพ “ลูกผีลูกคน” ต้องลงพื้นที่หาเสียงแบบห่วงหน้าพะวงหลัง จึงพยายามไม่ปรากฏเป็นข่าวกับสื่อมวลชนมากนัก ผนวกกับการที่สื่อไม่ได้ให้ความสนใจเป็นทุนเดิมอยู่แล้วด้วย
นายสมศักดิ์และพลพรรคก็ไม่ต่างกับ ตัวประกอบที่ไม่มีราคา
ทั้งนี้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านฝ่ายของนายสำราญและนายสุริยะใส ได้เข้าให้ กกต.ไต่สวนเพิ่มเติมแล้ว และได้มีหนังสือทวงถามความคืบหน้าไปที่ กกต.อีกครั้งเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. โดยได้หยิบยก มาตรา 31 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมือง ขึ้นมาใช้ต่อสู้เป็นแนวทางใหม่ โดยมาตรานี้ได้ระบุว่า
เมื่อปรากฎว่าหัวหน้าพรรคการเมือง หรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองจัดให้พรรคการเมืองดำเนินการใดๆที่ฝ่าฝืนนโยบายหรือข้อบังคับพรรค “นายทะเบียน” มีอำนาจเตือนเป็นหนังสือเพื่อให้ระงับหรือจัดการแก้ไขโดยเร็ว รวมทั้งยังได้ระวางโทษหากไม่ยอมปฏิบัติตาม โดยการยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งระงับหรือจัดการแก้ไขการกระทำดังกล่าวดังกล่าว หรือสั่งให้ผู้ที่กระทำผิดออกจากตำแหน่งได้ โดยบุคคลนั้นจะต้องถูก “เว้นวรรค” ทางการเมืองเป็นเวลา 2 ปีอีกด้วย
ถือเป็น “หมัดเด็ด” ที่กรรมการเสียงข้างมากได้งัดขึ้นมาใช้
และก็คาดว่าฝ่ายนายสมศักดิ์ที่มีคิวเข้าไต่สวนเพิ่มเติมภายในสัปดาห์นี้จะหยิบยกข้อนี้ขึ้นมาเช่นกัน โดยอ้างว่าอีกฝ่ายมีความเคลื่อนไหวในเชิงเป็นปฏิปักษ์ต่อพรรค
สวมกันคนละหมัด เดิมพันกันด้วยการตัดสิทธิ์ทางการเมือง
โดยที่ต้องไม่ลืมว่า ถึงวันนี้นายสมศักดิ์ก็ยังหามติพรรคมาแสดงได้ว่า พรรคเคยมีมติส่งผู้สมัคร ส.ส.ตั้งแต่เมื่อไร ซึ่งตรงนี้ถือว่าผิดข้อบังคับพรรคการเมืองใหม่ พ.ศ.2552 อย่างชัดเจน
ส่วนจะเข้าข่ายผิดตามมาตรา 31 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมือง หรือ คงต้องให้ กกต.เป็นผู้ให้คำตอบ
และอาจทำให้อดีตผู้นำแรงงานต้องเหนื่อยฟรีจากการลงทุนลงแรงที่ผ่านมา ตกม้าตายตั้งแต่ยังไม่ถึงเวลาหย่อนบัตร หมดโอกาสสวมสูทผูกไทด์สวมบท ส.ส.ผู้ทรงเกียรติในสภาหินอ่อนตามที่ฝันไว้
ส่วน กกต. หากยังนิ่งไม่ขยับ ก็คงไม่พ้นต้องถูกดำเนินคดีฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้เลย
โดยเฉพาะการห้ำหั่นกันระหว่าง 2 ขั้วการเมืองใหญ่ ที่แทบจะกลบความเคลื่อนไหวของบรรดาพรรคเอสเอ็มอีจนแทบไม่มีพื้นที่ตามสื่อ รวมไปถึง พรรคการเมืองใหม่ ของ สมศักดิ์ โกศัยสุข อดีตผู้นำแรงงาน ที่วันนี้ผันตัวเองจากผู้นำแรงงานสวมหมวกนักการเมืองเต็มตัว นำพาพรรคการเมืองใหม่เข้าสู่สมรภูมิเลือกตั้งอย่างเป็นทางการหนแรก
แต่ด้วยสภาพความไม่พร้อมจากสาเหตุที่ไม่ลงรอยกันของกรรมการบริหารพรรค 2 ฝ่าย ที่ฝ่ายหนึ่งนำโดยนายสมศักดิ์ที่ต้องการลงเลือกตั้งในหนนี้ ขณะที่อีกฝ่ายนำโดย สำราญ รอดเพชร รองหัวหน้าพรรค และ สุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรค ที่กุมเสียงข้างมากในกรรมการบริหาร มีจุดยืนต้องการ “เว้นวรรค” ไม่ส่งผู้สมัครตามมติของสมาชิกพรรค เมื่อวันที่ 24 เม.ย.ที่สมาคมโผวเล้งแห่งประเทศไทย
รอยร้าวจึงปริขึ้นใจกลางพรรคการมืองใหม่ และต้องลงทำศึกเลือกตั้งแบบ “ลูกผีลูกคน”
ยิ่งเมื่อนายสุริยะใสเดินเรื่องทำหนังสือถึง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อขอให้ระงับการที่พรรคการเมืองใหม่จะส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง เพราะพรรคยังไม่เคยมีมติให้ส่งผู้สมัคร ส.ส.แต่อย่างใด และกรรมการบริหารพรรค 10 จาก 19 คนก็เห็นว่าไม่สมควรส่งผู้สมัคร ซึ่งเรื่องนี้ กกต.รับเรื่องไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 18 พ.ค.ก่อนการรับสมัครด้วยซ้ำ แต่ก็อาจเป็นเพราะว่ามีภารกิจล้นมือจึงทำให้ไม่สามารถวินิจฉัยชี้ขาดออกมาได้อย่างทันท่วงที
หรืออาจจะเห็นว่าเป็นเรื่องใหม่ จึงไม่กล้าที่จะฟันธงชี้ขาดออกมา
ทั้งๆที่หากพิจารณาตามการส่งผู้สมัครของพรรคการเมืองใหม่นั้น ก็ชัดเจนว่าไม่ได้เป็นไปตามมาตรา 37 - 39 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 เนื่องจากส่งผู้สมัครโดยไม่มีมติพรรค และไม่ได้มีขั้นตอนพิจารณาตัวผู้สมัครโดยคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ประการใด
ซึ่งประเด็นนี้ฝ่ายนายสมศักดิ์ก็อ้างใช้มาตรา 40 ของ พ.ร.บ.ฉบับเดียวกันที่ระบุว่า การไม่ปฏิบัติตามมาตรา 37 - 39 นั้นไม่มีผลต่อการสมัครหรือการได้เป็น ส.ส.ที่พรรคการเมืองนั้นส่งเข้าสมัคร
หมายความว่า อำนาจในการส่งตัวผู้สมัครนั้นเป็น “สิทธิ์ขาด” ของผู้ที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ตรงนี้ก็จะมีคำถามตามมาว่าแล้วมาตรา 37 - 39 ที่กำหนดขั้นตอนสำหรับการส่งผู้สมัคร ส.ส.ในนามพรรคอย่างซับซ้อนวุ่นวายนั้นบัญญัติขึ้นมาเพื่อใช้ในกรณีใด หากมีการบัญญัติมาตรา 40 ขึ้นขัดแย้งในตัวเองอยู่
หาก กกต.พิจารณารับฟังตามนี้ก็ถือได้ว่า ไม่ได้สนับสนุนการดำเนินกิจการพรรคการเมืองให้เป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย และเป็นการสร้างบรรทัดฐานให้เห็นว่า การดำเนินกิจการใดๆไม่จำเป็นต้องรับฟังกรรมการบริหารพรรค ศูนย์สาขาพรรคอีกต่อไป เพราะหัวหน้าพรรคมีสิทธิ์ตัดสินใจลงนามได้เพียงผู้เดียว
ดังนั้น ส่วนนี้เป็นข้อต่อสู้ที่ฝ่ายกรรมการเสียงข้างมากพยายามใช้ในการยื่นคำร้องแต่ กกต. แต่กลับไม่ได้รับการตอบสนอง และได้ประวิงเวลาโดยเรียกให้ผู้แทนทั้ง 2 ฝ่ายเข้าไต่สวนหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
ทั้งที่ในความเป็นจริงควรเร่งชี้ขาดเพื่อสร้างความชัดเจนโดยเร็ว เพราะการปล่อยให้นายสมศักดิ์นำพรรคเข้าสู้ศึกลงพื้นที่หาเสียงไปพลางก่อนนั้น ได้สร้างความสับสนให้แก่สังคมเป็นอย่างมาก
ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง และสถานะการณ์เช่นนี้นายสมศักดิ์ก็รู้ตัวดีว่าตัวเองยังอยู่ในสภาพ “ลูกผีลูกคน” ต้องลงพื้นที่หาเสียงแบบห่วงหน้าพะวงหลัง จึงพยายามไม่ปรากฏเป็นข่าวกับสื่อมวลชนมากนัก ผนวกกับการที่สื่อไม่ได้ให้ความสนใจเป็นทุนเดิมอยู่แล้วด้วย
นายสมศักดิ์และพลพรรคก็ไม่ต่างกับ ตัวประกอบที่ไม่มีราคา
ทั้งนี้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านฝ่ายของนายสำราญและนายสุริยะใส ได้เข้าให้ กกต.ไต่สวนเพิ่มเติมแล้ว และได้มีหนังสือทวงถามความคืบหน้าไปที่ กกต.อีกครั้งเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. โดยได้หยิบยก มาตรา 31 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมือง ขึ้นมาใช้ต่อสู้เป็นแนวทางใหม่ โดยมาตรานี้ได้ระบุว่า
เมื่อปรากฎว่าหัวหน้าพรรคการเมือง หรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองจัดให้พรรคการเมืองดำเนินการใดๆที่ฝ่าฝืนนโยบายหรือข้อบังคับพรรค “นายทะเบียน” มีอำนาจเตือนเป็นหนังสือเพื่อให้ระงับหรือจัดการแก้ไขโดยเร็ว รวมทั้งยังได้ระวางโทษหากไม่ยอมปฏิบัติตาม โดยการยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งระงับหรือจัดการแก้ไขการกระทำดังกล่าวดังกล่าว หรือสั่งให้ผู้ที่กระทำผิดออกจากตำแหน่งได้ โดยบุคคลนั้นจะต้องถูก “เว้นวรรค” ทางการเมืองเป็นเวลา 2 ปีอีกด้วย
ถือเป็น “หมัดเด็ด” ที่กรรมการเสียงข้างมากได้งัดขึ้นมาใช้
และก็คาดว่าฝ่ายนายสมศักดิ์ที่มีคิวเข้าไต่สวนเพิ่มเติมภายในสัปดาห์นี้จะหยิบยกข้อนี้ขึ้นมาเช่นกัน โดยอ้างว่าอีกฝ่ายมีความเคลื่อนไหวในเชิงเป็นปฏิปักษ์ต่อพรรค
สวมกันคนละหมัด เดิมพันกันด้วยการตัดสิทธิ์ทางการเมือง
โดยที่ต้องไม่ลืมว่า ถึงวันนี้นายสมศักดิ์ก็ยังหามติพรรคมาแสดงได้ว่า พรรคเคยมีมติส่งผู้สมัคร ส.ส.ตั้งแต่เมื่อไร ซึ่งตรงนี้ถือว่าผิดข้อบังคับพรรคการเมืองใหม่ พ.ศ.2552 อย่างชัดเจน
ส่วนจะเข้าข่ายผิดตามมาตรา 31 ของ พ.ร.บ.พรรคการเมือง หรือ คงต้องให้ กกต.เป็นผู้ให้คำตอบ
และอาจทำให้อดีตผู้นำแรงงานต้องเหนื่อยฟรีจากการลงทุนลงแรงที่ผ่านมา ตกม้าตายตั้งแต่ยังไม่ถึงเวลาหย่อนบัตร หมดโอกาสสวมสูทผูกไทด์สวมบท ส.ส.ผู้ทรงเกียรติในสภาหินอ่อนตามที่ฝันไว้
ส่วน กกต. หากยังนิ่งไม่ขยับ ก็คงไม่พ้นต้องถูกดำเนินคดีฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้เลย