เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (10 มิ.ย.) ที่กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) นาย อนุพงศ์ พันธชยางกูร อดีตกำนัน ต.โต๊ะเด็ง อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส พร้อมด้วยนายอาซีซาน สุเด็ง ,นายมะยารอปี สะนิ ,นายซอบัร ซารีฟ ,นาย อรุณ อูเซ็ง ,นายมูหะหมัดนาฬิเย๊าะ รอยะ ,นายมะนาเซ มามะ , นายหะมะ เจ๊ะโง๊ะ ,นายมะยูโซ๊ะ หะยีมามะ ,นาย อามิ ยาแม และนายสุดีมัน มารึ รวม 11 คน พร้อมด้วย นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมประจำจ.นราธิวาส ทนายความ เดินทางเข้าพบ พ.ต.ท.สมยศ ร่มสน พงส.( สบ3 ) กก.5 บก.ป. ตามหมายเรียกในข้อหาแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ เกี่ยวกับความผิดทางอาญาแก่พนักงานสอบสวน หรือผู้มีอำนาจสืบสวนคดี โดยผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดให้การปฏิเสธ โดยมีนายนัจมุดดิน อูมา อดีตส.ส.นราธิวาส และผู้สมัครส.ส.นราธิวาส เขต 2 พรรคมาตุภูมิ เดินทางมาให้กำลังใจด้วย
คดีนี้สืบเนื่องจากพล.ต.อ.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา รองผบ.ตร.ได้แจ้งความดำเนินคดีกับนายอนุพงศ์ กับพวกรวม 14 คน หลังจากทั้งหมดเข้าให้ถ้อยคำกับพนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ( ดีเอสไอ )และร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อเอาผิดกับพล.ต.อ.ภาณุพงศ์ กับพวกในข้อหาร่วมกันกักขังหน่วงเหนี่ยว และทำร้ายร่างกายระหว่างที่ถูกสอบปากคำ และเป็นพยานคดีที่พนักงานสอบสวนยื่นฟ้องนายนัจมุดดิน และนายอารีฟ หรือ ฮาริฟ โซ๊ะโก และพวกในคดีเป็นกบฏแบ่งแยกดินแดน ร่วมกันเป็นอั้งยี่ สมคบกันเป็นซ่องโจร จากเหตุปล้นปืนที่กองพันพัฒนาที่ 4 จ.นราธิวาส เหตุเกิดเมื่อเดือนมกราคม 2547 ซึ่งศาลพิพากษายกฟ้องคดีไปแล้ว ต่อมา ทางป.ป.ช.ได้พิจารณายกคำร้องของนายอนุพงศ์ กับพวก โดยระบุว่า การดำเนินการของพล.ต.อ.ภาณุพงศ์ ไม่ได้เข้าข่ายกระทำความผิด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับผู้ถูกกล่าวหาอีก 2 ราย ที่ไม่ได้เข้าพบพนักงานสอบสวนในวันเดียวกันนี้คือ นายสุกรี มะมิง และนายอับดุลเล๊าะ อาบูคารี และมีผู้ถูกกล่าวหาอีก 1 ราย ที่เสียชีวิตไปแล้วคือ นายอับดุลสอมัด มะหนุ
ด้านนายนัจมุดดิน กล่าวว่าที่เดินทางมาด้วยก็เพราะต้องการมาให้กำลังใจ นายอนุพงศ์ และผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมด เนื่องจากคดีนี้มีสาเหตุสืบเนื่องจากมาจากที่ นายอนุพงศ์ กับพวกได้เป็นพยานในคดีที่ตนตกเป็นจำเลยในความผิดฐานกบฎแบ่งแยกดินแดน ตามที่พนักงานสอบสวนกล่าวหา แต่กลับคำให้การในคดี ทำให้ตนรอดพ้นความผิดในคดีดังกล่าว
ก่อนหน้านี้มีข่าวลือว่าตนถูกเจ้าหน้าที่จับกุม ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะตนไม่ได้ถูกออกหมายเรียกหรือหมายจับในคดีใดๆ จากข่าวลือที่ออกมานั้นส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ จ.นราธิวาส เกิดความสับสน แม้ตนจะลงพื้นที่ชี้แจง และออกหาเสียงอยู่ตลอดเวลา
นายนัจมุดดิน กล่าวด้วยว่า หากพนักงานสอบสวนมีการส่งเรื่องขึ้นศาล ก็จะมีการใช้สิทธิของผู้ที่ถูกกล่าวหา เรียกขอเอกสารจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งในส่วนของของคำพิพากษาศาลอาญา และศาลก็ไม่ได้มีการยื่นอุทธรณ์ นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับการหายตัวไปของนายสมชาย นีละไพจิตร อดีตประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม ได้เข้าไปช่วยว่าความให้กับจำเลยทั้งหมด เพราะเวลานี้ได้มีการนำเรื่องการหายตัวไปของทนายสมชาย ไปเป็นคดีพิเศษของกรมสอบสวนคดีพิเศษ
ดังนั้นหากคดีนี้ไปชั้นศาลเราก็จะใช้สิทธิในการขอเอกสารต่างๆ มาสู้คดี และการที่มีการดำเนินการร้องต่อ ป.ป.ช. ก็เป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ไม่ได้เป็นการใส่ร้ายใคร และโดยส่วนตัวกับ พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ ก็ไม่มีอะไรต่อกัน รู้จักกันดี ทุกฝ่ายเคารพต่อศาลยุติธรรม และเท่าที่พูดคุยผู้ถูกกล่าวทั้งหมดก็บอกว่าประทับใจพนักงานสอบสวนที่ให้ความเป็นธรรม
ด้านนายกมลศักดิ์ เปิดเผยภายหลังรับทราบข้อกล่าวหาว่า ต่อจากนี้คงรอดูการรวบรวมข้อมูลการทำสำนวนของพนักงานสอบสวน เพื่อเสนอความเห็นไปยังอัยการ และดูว่าจะมีการสั่งฟ้องหรือไม่ ซึ่งทางเราก็ได้เก็บข้อมลไว้โดยตลอดตั้งแต่ปี 2547 หากมีการสั่งฟ้องดังกล่าว ก็พร้อมที่จะต่อสู้คดี เพื่อพิสูจน์ว่าสิ่งที่เราให้การกับดีเอสไอ และ ป.ป.ช. เป็นความจริง ไม่ได้เป็นการกลั่นแกล้ง อย่างไรก็ตามการทำสำนวนต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนกว่าจะแล้วเสร็จ
คดีนี้สืบเนื่องจากพล.ต.อ.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา รองผบ.ตร.ได้แจ้งความดำเนินคดีกับนายอนุพงศ์ กับพวกรวม 14 คน หลังจากทั้งหมดเข้าให้ถ้อยคำกับพนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ( ดีเอสไอ )และร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อเอาผิดกับพล.ต.อ.ภาณุพงศ์ กับพวกในข้อหาร่วมกันกักขังหน่วงเหนี่ยว และทำร้ายร่างกายระหว่างที่ถูกสอบปากคำ และเป็นพยานคดีที่พนักงานสอบสวนยื่นฟ้องนายนัจมุดดิน และนายอารีฟ หรือ ฮาริฟ โซ๊ะโก และพวกในคดีเป็นกบฏแบ่งแยกดินแดน ร่วมกันเป็นอั้งยี่ สมคบกันเป็นซ่องโจร จากเหตุปล้นปืนที่กองพันพัฒนาที่ 4 จ.นราธิวาส เหตุเกิดเมื่อเดือนมกราคม 2547 ซึ่งศาลพิพากษายกฟ้องคดีไปแล้ว ต่อมา ทางป.ป.ช.ได้พิจารณายกคำร้องของนายอนุพงศ์ กับพวก โดยระบุว่า การดำเนินการของพล.ต.อ.ภาณุพงศ์ ไม่ได้เข้าข่ายกระทำความผิด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับผู้ถูกกล่าวหาอีก 2 ราย ที่ไม่ได้เข้าพบพนักงานสอบสวนในวันเดียวกันนี้คือ นายสุกรี มะมิง และนายอับดุลเล๊าะ อาบูคารี และมีผู้ถูกกล่าวหาอีก 1 ราย ที่เสียชีวิตไปแล้วคือ นายอับดุลสอมัด มะหนุ
ด้านนายนัจมุดดิน กล่าวว่าที่เดินทางมาด้วยก็เพราะต้องการมาให้กำลังใจ นายอนุพงศ์ และผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมด เนื่องจากคดีนี้มีสาเหตุสืบเนื่องจากมาจากที่ นายอนุพงศ์ กับพวกได้เป็นพยานในคดีที่ตนตกเป็นจำเลยในความผิดฐานกบฎแบ่งแยกดินแดน ตามที่พนักงานสอบสวนกล่าวหา แต่กลับคำให้การในคดี ทำให้ตนรอดพ้นความผิดในคดีดังกล่าว
ก่อนหน้านี้มีข่าวลือว่าตนถูกเจ้าหน้าที่จับกุม ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะตนไม่ได้ถูกออกหมายเรียกหรือหมายจับในคดีใดๆ จากข่าวลือที่ออกมานั้นส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ จ.นราธิวาส เกิดความสับสน แม้ตนจะลงพื้นที่ชี้แจง และออกหาเสียงอยู่ตลอดเวลา
นายนัจมุดดิน กล่าวด้วยว่า หากพนักงานสอบสวนมีการส่งเรื่องขึ้นศาล ก็จะมีการใช้สิทธิของผู้ที่ถูกกล่าวหา เรียกขอเอกสารจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งในส่วนของของคำพิพากษาศาลอาญา และศาลก็ไม่ได้มีการยื่นอุทธรณ์ นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับการหายตัวไปของนายสมชาย นีละไพจิตร อดีตประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม ได้เข้าไปช่วยว่าความให้กับจำเลยทั้งหมด เพราะเวลานี้ได้มีการนำเรื่องการหายตัวไปของทนายสมชาย ไปเป็นคดีพิเศษของกรมสอบสวนคดีพิเศษ
ดังนั้นหากคดีนี้ไปชั้นศาลเราก็จะใช้สิทธิในการขอเอกสารต่างๆ มาสู้คดี และการที่มีการดำเนินการร้องต่อ ป.ป.ช. ก็เป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ไม่ได้เป็นการใส่ร้ายใคร และโดยส่วนตัวกับ พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ ก็ไม่มีอะไรต่อกัน รู้จักกันดี ทุกฝ่ายเคารพต่อศาลยุติธรรม และเท่าที่พูดคุยผู้ถูกกล่าวทั้งหมดก็บอกว่าประทับใจพนักงานสอบสวนที่ให้ความเป็นธรรม
ด้านนายกมลศักดิ์ เปิดเผยภายหลังรับทราบข้อกล่าวหาว่า ต่อจากนี้คงรอดูการรวบรวมข้อมูลการทำสำนวนของพนักงานสอบสวน เพื่อเสนอความเห็นไปยังอัยการ และดูว่าจะมีการสั่งฟ้องหรือไม่ ซึ่งทางเราก็ได้เก็บข้อมลไว้โดยตลอดตั้งแต่ปี 2547 หากมีการสั่งฟ้องดังกล่าว ก็พร้อมที่จะต่อสู้คดี เพื่อพิสูจน์ว่าสิ่งที่เราให้การกับดีเอสไอ และ ป.ป.ช. เป็นความจริง ไม่ได้เป็นการกลั่นแกล้ง อย่างไรก็ตามการทำสำนวนต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนกว่าจะแล้วเสร็จ