ASTVผู้จัดการรายวัน- บีโอไอเตรียมรื้อสิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุนใหม่ยกแผงเสนอรัฐบาลใหม่เคาะ ทั้งภาษีนิติบุคคล ประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมให้สอดรับการปรับโครงสร้างภาษีของคลังทั้งระบบ พ่วงด้วยมาตรการส่งเสริมการลงทุนไทยไปต่างประเทศที่จะแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานไร้ฝีมือ
นางอรรชกา ศรีบุญเรือง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) เปิดเผยในงานสัมมนาส”การลงทุนไทยในต่างประเทศ โอกาสและก้าวสู่ความสำเร็จ” จัดโดยบีโอไอว่า ขณะนี้บีโอไออยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดการทบทวนประเภทกิจการและสิทธิประโยชน์ทางภาษีในการส่งเสริมการลงทุนใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับปรุงโครงสร้างภาษีทั้งระบบของกระทรวงการคลัง รวมถึงนโยบายการส่งเสริมการลงทุนไทยไปยังต่างประเทศ เพื่อที่จะเสนอรัฐบาลใหม่ตัดสินใจ
“ สิทธิประโยชน์นั้นบีโอไอคงต้องทำให้สอดคล้องกับการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่รัฐบาลและพรรคการเมืองที่หาเสียงในขณะนี้ มีแนวคิดจะปรับลดลงจากขณะนี้เก็บในอัตรา 30% ของกำไรสุทธิ ดังนั้นบีโอไอต้องปรับสิทธิประโยชน์ของบีโอไอให้เหมาะสม โดยอาจจะลดการยกเว้นลงจาก 8 ปี เพราะถือว่าไทยลดลงให้ในภาพรวมแล้ว”นางอรรชกากล่าว
สำหรับประเภทกิจการนั้นปัจจุบันบีโอไอให้การส่งเสริมฯอยู่ 150 ประเภทกิจการคงจะต้องทบทวนในการปรับลดการส่งเสริมบางกิจการหรือไม่ส่งเสริมเลยเนื่องจากมีการลงทุนในไทยมากแล้ว ขณะที่บางกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศและยังไม่มีการลงทุนก็จะเพิ่มเข้ามาใหม่ซึ่งเมื่อได้ข้อสรุปจะเสนอผ่านไปยังคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บอร์ดบีโอไอ)ให้พิจารณา
นางอรรชกากล่าวว่า ส่วนการส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ บีโอไออยู่ระหว่างปรับปรุงร่างกฏหมายโดยเฉพาะการแก้ไขกฏหมายว่าด้วยการยกเว้นภาษีกำไรที่ได้จากการลงทุนต่างประเทศ รวมถึงการนำค่าใช้จ่ายไปศึกษาดูลู่ทางการลงทุนในต่างประเทศมาลดหย่อนได้ 2 เท่า รวมถึงการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งคาดว่าจะศึกษาเสร็จในเดือนก.ค.-ส.ค.นี้และคาดว่าจะนำสู่การปฏิบัติเป็นรูปธรรมได้ภายในสิ้นปี 2554
อย่างไรก็ตามกรณีผู้ประกอบการมีการร้องเรียนมายังบีโอไอจำนวนมากเพื่อขอให้ปรับลดเงื่อนไขลงที่ขณะนี้กิจการซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์จากบีโอไอจะต้องใช้แรงงานไทยเท่านั้นยกเว้นให้ที่ขาดแคลนจริงจะต้องจัดทำรายละเอียดแผนธุรกิจเข้ามาและต้องมีการลงทุนไม่น้อยกว่าหมื่นล้านบาทดังนั้นการปรับลดเงื่อนไขก็คงจะต้องเสนอเข้าไปให้รัฐบาลใหม่ตัดสินใจด้วยเพรา จะเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมลงทุนไทยไปต่างประเทศเนื่องจากจะสามารถอาศัยแรงงานและวัตถุดิบในต่างประเทศได้
สำหรับการลงทุนไทยไปต่างประเทศช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีไมม่ถึง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จนปี 2553 เพิ่มเป็น 2,700 ล้านดอลลาร์ คาดว่าปีนี้วงเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
“การใช้แรงงานต่างด้าวนั้นถ้าเปิดกว้างจะเกิดปัญหาตามมามาก ทั้งในเรื่องของทางสังคม และการแย่งงานคนไทย เป็นไปได้ไหมที่จะผลักดันให้อุตสาหกรรมที่ขาดแคลนแรงงานไปลงทุนยังต่างประเทศ โดยขณะนี้บีโอไอกำลังเร่งกำหนดมาตรการในการผลักดันอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมากๆ ไปลงทุนยังต่างประเทศด้วย”นางอรรชกากล่าว
นางอรรชกา ศรีบุญเรือง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) เปิดเผยในงานสัมมนาส”การลงทุนไทยในต่างประเทศ โอกาสและก้าวสู่ความสำเร็จ” จัดโดยบีโอไอว่า ขณะนี้บีโอไออยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดการทบทวนประเภทกิจการและสิทธิประโยชน์ทางภาษีในการส่งเสริมการลงทุนใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับปรุงโครงสร้างภาษีทั้งระบบของกระทรวงการคลัง รวมถึงนโยบายการส่งเสริมการลงทุนไทยไปยังต่างประเทศ เพื่อที่จะเสนอรัฐบาลใหม่ตัดสินใจ
“ สิทธิประโยชน์นั้นบีโอไอคงต้องทำให้สอดคล้องกับการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่รัฐบาลและพรรคการเมืองที่หาเสียงในขณะนี้ มีแนวคิดจะปรับลดลงจากขณะนี้เก็บในอัตรา 30% ของกำไรสุทธิ ดังนั้นบีโอไอต้องปรับสิทธิประโยชน์ของบีโอไอให้เหมาะสม โดยอาจจะลดการยกเว้นลงจาก 8 ปี เพราะถือว่าไทยลดลงให้ในภาพรวมแล้ว”นางอรรชกากล่าว
สำหรับประเภทกิจการนั้นปัจจุบันบีโอไอให้การส่งเสริมฯอยู่ 150 ประเภทกิจการคงจะต้องทบทวนในการปรับลดการส่งเสริมบางกิจการหรือไม่ส่งเสริมเลยเนื่องจากมีการลงทุนในไทยมากแล้ว ขณะที่บางกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศและยังไม่มีการลงทุนก็จะเพิ่มเข้ามาใหม่ซึ่งเมื่อได้ข้อสรุปจะเสนอผ่านไปยังคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บอร์ดบีโอไอ)ให้พิจารณา
นางอรรชกากล่าวว่า ส่วนการส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ บีโอไออยู่ระหว่างปรับปรุงร่างกฏหมายโดยเฉพาะการแก้ไขกฏหมายว่าด้วยการยกเว้นภาษีกำไรที่ได้จากการลงทุนต่างประเทศ รวมถึงการนำค่าใช้จ่ายไปศึกษาดูลู่ทางการลงทุนในต่างประเทศมาลดหย่อนได้ 2 เท่า รวมถึงการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมการลงทุนไทยในต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งคาดว่าจะศึกษาเสร็จในเดือนก.ค.-ส.ค.นี้และคาดว่าจะนำสู่การปฏิบัติเป็นรูปธรรมได้ภายในสิ้นปี 2554
อย่างไรก็ตามกรณีผู้ประกอบการมีการร้องเรียนมายังบีโอไอจำนวนมากเพื่อขอให้ปรับลดเงื่อนไขลงที่ขณะนี้กิจการซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์จากบีโอไอจะต้องใช้แรงงานไทยเท่านั้นยกเว้นให้ที่ขาดแคลนจริงจะต้องจัดทำรายละเอียดแผนธุรกิจเข้ามาและต้องมีการลงทุนไม่น้อยกว่าหมื่นล้านบาทดังนั้นการปรับลดเงื่อนไขก็คงจะต้องเสนอเข้าไปให้รัฐบาลใหม่ตัดสินใจด้วยเพรา จะเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมลงทุนไทยไปต่างประเทศเนื่องจากจะสามารถอาศัยแรงงานและวัตถุดิบในต่างประเทศได้
สำหรับการลงทุนไทยไปต่างประเทศช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีไมม่ถึง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จนปี 2553 เพิ่มเป็น 2,700 ล้านดอลลาร์ คาดว่าปีนี้วงเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
“การใช้แรงงานต่างด้าวนั้นถ้าเปิดกว้างจะเกิดปัญหาตามมามาก ทั้งในเรื่องของทางสังคม และการแย่งงานคนไทย เป็นไปได้ไหมที่จะผลักดันให้อุตสาหกรรมที่ขาดแคลนแรงงานไปลงทุนยังต่างประเทศ โดยขณะนี้บีโอไอกำลังเร่งกำหนดมาตรการในการผลักดันอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมากๆ ไปลงทุนยังต่างประเทศด้วย”นางอรรชกากล่าว