ASTVผู้จัดการรายวัน-กระทรวงการคลังลงดาบ ถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย 2 บริษัท"ลิเบอร์ตี้-วิคเตอรี"ประกันภัย หลังพบหนี้อื้อ ฐานะการเงินง่อนแง่น ล่าสุดคปภ.จับมือ 19 บริษัทเตรียมให้ความช่วยเหลือผู้ทำประกันกับทั้งสองบริษัท
รายงานข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้มีคำสั่ง ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2554 เรื่อง เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จำกัด เนื่องจากทั้งสองบริษัทมีฐานะการเงินที่ดำรงเงินกองทุนไม่ครบถ้วนตามกฎหมาย โดยมีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2552 จำนวน 65.78 ล้านบาท ซึ่งภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว ทางสำนัก คปภ. ได้สั่งให้บริษัทแก้ไขฐานะการเงินแต่ไม่สามารถดำเนินการได้ กระทั่งได้ออกคำสั่งให้บริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จำกัด หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2553 ระหว่างนี้บริษัทมีปัญหาสินไหมทดแทนค้างจ่ายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งสูงถึง 232.05 ล้านบาท
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังได้มีคำสั่ง เรื่อง เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของ บริษัท วิคเตอรี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2554 เช่นกัน เนื่องจากบริษัททลงทุนประกอบธุรกิจอื่นโดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินของบริษัทให้แก่บุคคลภายนอกโดยมิชอบ และทำธุรกรรมทางการเงินที่ตามปกติวิสัยของผู้ประกอบธุรกิจไม่พึงกระทำ บริษัทจึงมีการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัทฯ ได้ถูกสั่งให้หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว มาตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2554
สำหรับบริษัท บริษัท วิคเตอรี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด มีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน ณ วันที่ 31 มกราคม 2554 เป็นจำนวน 24.61 ล้านบาท รวมถึงสำนักงาน คปภ. ยังได้พบว่าผู้บริหารหรือผู้บริหารร่วมกับบุคคลอื่นกระทำการอันมิชอบ เป็นเหตุให้สินทรัพย์ของบริษัทสูญหายเป็นจำนวนมาก และไม่สามารถแก้ไขฐานะการเงินได้
อย่างไรก็ตามกรณีของทั้ง 2 บริษัททางสำนักงาน คปภ. เห็นว่า หากยังคงดำเนินกิจการต่อไปจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน อาศัยอำนาจตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จำกัด ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2554 ดังกล่าว
สำหรับการเพิกถอนใบอนุญาตธุรกิจประกันวินาศภัยของทั้ง 2 บริษัทในครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อบริษัทประกันวินาศภัยอื่นๆ โดยสำนักงาน คปภ. ได้ร่วมกับบริษัทประกันภัย 19 แห่ง ให้ความช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยในกรณีที่ยังมีระยะเวลาคุ้มครองเหลืออยู่ ให้ทำประกันภัยกับบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ โดยสามารถซื้อความคุ้มครอง 1 ปี แล้วบริษัทประกันภัยจะขยายระยะเวลาความคุ้มครองเพิ่มเติมให้ครอบคลุมระยะเวลาประกันภัยที่เหลือประกันภัยเดิมด้วย หรืออาจให้ส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัยสำหรับระยะเวลาความคุ้มครองที่เหลืออยู่
โดยทั้ง 19 บริษัทที่จะเข้าร่วมประกอบด้วย บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด บริษัท โตเกียวมารีนศรีเมืองประกันภัย จำกัดบริษัทเทเวศประกันภัย จำกัด(มหาชน) บริษัทไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัทไทยศรีประกันภัย จำกัด บริษัทธนชาตประกันภัย จำกัด บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท นิวแฮมพ์เชอร์อินชัวรันส์ สาขาประเทศไทย บริษัทประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) บริษัทมิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ จำกัด (สาขาประเทศไทย) บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด(มหาชน) บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด บริษัท ศรีอยุธยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด บริษัทแอลเอ็มจี ประกันภัย จำกัด
ส่วนกรณีบริษัทเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยของ 2 บริษัทนี้ ให้ยื่นขอรับชำระหนี้ต่อผู้ชำระบัญชีและกองทุนประกันวินาศภัยภายใน 2 เดือนนับแต่วันที่กองทุนประกันวินาศภัยออกประกาศ ซึ่งกองทุนฯ ดังกล่าวถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือเจ้าหนี้ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยในกรณีที่บริษัทล้มละลาย หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งเจ้าหนี้ดังกล่าวมีสิทธิได้รับชำระหนี้ส่วนที่ขาดจากกองทุนฯ แต่รวมกันทุกสัญญาแล้วไม่เกินหนึ่งล้านบาทต่อราย
รายงานข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้มีคำสั่ง ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2554 เรื่อง เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จำกัด เนื่องจากทั้งสองบริษัทมีฐานะการเงินที่ดำรงเงินกองทุนไม่ครบถ้วนตามกฎหมาย โดยมีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2552 จำนวน 65.78 ล้านบาท ซึ่งภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว ทางสำนัก คปภ. ได้สั่งให้บริษัทแก้ไขฐานะการเงินแต่ไม่สามารถดำเนินการได้ กระทั่งได้ออกคำสั่งให้บริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จำกัด หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2553 ระหว่างนี้บริษัทมีปัญหาสินไหมทดแทนค้างจ่ายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งสูงถึง 232.05 ล้านบาท
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังได้มีคำสั่ง เรื่อง เพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของ บริษัท วิคเตอรี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด ลงวันที่ 6 มิถุนายน 2554 เช่นกัน เนื่องจากบริษัททลงทุนประกอบธุรกิจอื่นโดยฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินของบริษัทให้แก่บุคคลภายนอกโดยมิชอบ และทำธุรกรรมทางการเงินที่ตามปกติวิสัยของผู้ประกอบธุรกิจไม่พึงกระทำ บริษัทจึงมีการดำเนินการอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัทฯ ได้ถูกสั่งให้หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว มาตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2554
สำหรับบริษัท บริษัท วิคเตอรี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด มีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน ณ วันที่ 31 มกราคม 2554 เป็นจำนวน 24.61 ล้านบาท รวมถึงสำนักงาน คปภ. ยังได้พบว่าผู้บริหารหรือผู้บริหารร่วมกับบุคคลอื่นกระทำการอันมิชอบ เป็นเหตุให้สินทรัพย์ของบริษัทสูญหายเป็นจำนวนมาก และไม่สามารถแก้ไขฐานะการเงินได้
อย่างไรก็ตามกรณีของทั้ง 2 บริษัททางสำนักงาน คปภ. เห็นว่า หากยังคงดำเนินกิจการต่อไปจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน อาศัยอำนาจตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จำกัด ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2554 ดังกล่าว
สำหรับการเพิกถอนใบอนุญาตธุรกิจประกันวินาศภัยของทั้ง 2 บริษัทในครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อบริษัทประกันวินาศภัยอื่นๆ โดยสำนักงาน คปภ. ได้ร่วมกับบริษัทประกันภัย 19 แห่ง ให้ความช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยในกรณีที่ยังมีระยะเวลาคุ้มครองเหลืออยู่ ให้ทำประกันภัยกับบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ โดยสามารถซื้อความคุ้มครอง 1 ปี แล้วบริษัทประกันภัยจะขยายระยะเวลาความคุ้มครองเพิ่มเติมให้ครอบคลุมระยะเวลาประกันภัยที่เหลือประกันภัยเดิมด้วย หรืออาจให้ส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัยสำหรับระยะเวลาความคุ้มครองที่เหลืออยู่
โดยทั้ง 19 บริษัทที่จะเข้าร่วมประกอบด้วย บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด บริษัท โตเกียวมารีนศรีเมืองประกันภัย จำกัดบริษัทเทเวศประกันภัย จำกัด(มหาชน) บริษัทไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัทไทยศรีประกันภัย จำกัด บริษัทธนชาตประกันภัย จำกัด บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท นิวแฮมพ์เชอร์อินชัวรันส์ สาขาประเทศไทย บริษัทประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) บริษัทมิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ จำกัด (สาขาประเทศไทย) บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด(มหาชน) บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด บริษัท ศรีอยุธยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด บริษัทแอลเอ็มจี ประกันภัย จำกัด
ส่วนกรณีบริษัทเจ้าหนี้ตามสัญญาประกันภัยของ 2 บริษัทนี้ ให้ยื่นขอรับชำระหนี้ต่อผู้ชำระบัญชีและกองทุนประกันวินาศภัยภายใน 2 เดือนนับแต่วันที่กองทุนประกันวินาศภัยออกประกาศ ซึ่งกองทุนฯ ดังกล่าวถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือเจ้าหนี้ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยในกรณีที่บริษัทล้มละลาย หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งเจ้าหนี้ดังกล่าวมีสิทธิได้รับชำระหนี้ส่วนที่ขาดจากกองทุนฯ แต่รวมกันทุกสัญญาแล้วไม่เกินหนึ่งล้านบาทต่อราย