จาก 20 ธันวาคม 2551 ถึง 9 พฤษภาคม 2554 มหาดไทยภายใต้การบริหารงานของ มท.1 ที่มาจากพรรคภูมิใจไทย ได้สร้างตำนานการสูญเสียเกียรติภูมิอันข่มขื่นให้กับชาวมหาดไทยทั้งที่อยู่ในราชการและนอกราชการอย่างมากมาย เป็นประวัติศาสตร์ยากแก่การลบเลือนไปได้
เริ่มจากข่าวอื้อฉาวการทุจริต การจัดซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของกรมการปกครอง จนไม่อาจจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดได้ ส่งผลต่อความเดือดร้อนของประชาชน จนถึงบัดนี้ยังหาผู้รับผิดชอบทั้งอาญาและทางวินัยในกรณีนี้ไม่ได้
ต่อด้วยข่าวการทำลายคุณธรรมและจริยธรรมในระบบราชการมหาดไทย หลายกรณีอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งนายอำเภอขึ้นระดับ 9 ที่ไม่เป็นธรรมจนต้องยกเลิกคำสั่ง การสอบเข้าโรงเรียนนายอำเภอ 144 คนที่ ป.ป.ช.ชี้มูลว่ามีการทุจริต การแต่งตั้งปลัดกระทรวงหลายครั้งหลายหนเพียงเพื่อให้ได้คนของตนจนขาดหลักอาวุโสการแต่งตั้งผู้ว่าฯ อธิบดีที่มีข่าวใช้เงินซื้อขายตำแหน่ง จนเป็นสำนวนฮิตว่า “เป็นกิโล” ฯลฯ เรื่องเหล่านี้ล้วนต้องมีการสอบสวนหาผู้รับผิดชอบทั้งทางอาญาและทางวินัยทั้งสิ้น
เรื่องสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามไปในกระทรวงแห่งนี้ คือการจัดสรรและใช้งบประมาณบางโครงการลงไปในพื้นที่บางจังหวัด เช่น บุรีรัมย์ ฯลฯ อย่างมากมาย การอนุมัติและใช้งบประมาณของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นที่จัดสรรให้บางจังหวัดหรือในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งอย่างผิดสังเกต รวมทั้งการอนุมัติงบประมาณของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เรื่องเหล่านี้คนมหาดไทยย่อมรู้ดีว่ามีความไม่ปกติมากน้อยเพียงใด เพียงแต่รอเวลาของผู้กล้าที่จะมาตรวจสอบการใช้งบประมาณดังกล่าวว่าเป็นไปโดยถูกต้องหรือไม่อย่างไร
แต่สิ่งที่อัปยศมากที่สุดของคนมหาดไทยซึ่งถือหลักการบริหารงานบุคคลเป็นเรื่องสำคัญ คือ คำสั่งการโยกย้ายนายอำเภอ (208 ราย) และแต่งตั้งนายอำเภอขึ้นมาใหม่ (102) ครั้งหลังสุดของกรมการปกครอง ซึ่งผ่านความเห็นชอบของปลัดกระทรวง เพราะผิดธรรมเนียมการปกครอง
หนึ่ง ย้ายนายอำเภอจากอำเภอใหญ่ไปอำเภอเล็ก สอง ย้ายนายอำเภอ ซึ่งเหลือเวลาอีก 4 เดือน จะเกษียณในกันยายนนี้ไปอำเภอใหม่ สาม ตั้งนายอำเภอขึ้นใหม่ซึ่งยังไม่มีประสบการณ์ ไปอยู่อำเภอขนาดใหญ่ทันทีข้ามหัวคนที่เป็นนายอำเภอมาก่อน ที่ถือว่าเลวร้ายกว่านี้ คือ สี่ มีคำสั่งย้ายนายอำเภอบางคนแล้วยังวิ่งเต้นนักการเมืองในกระทรวงนี้ไม่ไปตามคำสั่งและเปลี่ยนเอาบุคคลอื่นไปดำรงตำแหน่งแทนได้ โดยไม่มีการประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน เรียกกันว่าเป็นคำสั่งภายในแต่คนมหาดไทยส่วนหนึ่งเรียกคำสั่งเหล่านี้ว่า “คำสั่งชักเข้าชักออกห้อย”
เรื่องราวทั้งหมดนี้มีหรือที่คนมหาดไทยซึ่งตั้งใจรับราชการด้วยดีจะไม่เจ็บช้ำน้ำใจ
มีหรือที่คนอยากได้ตำแหน่ง ไม่ไปตามคำสั่งเหล่านั้น จะไม่รู้ว่าตนทำในสิ่งที่ต่ำทรามที่คนมหาดไทยเขาไม่ทำกัน
เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 ได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร
จากวันที่ 11 พฤษภาคม 2554 ถึง 3 กรกฎาคม 2554 วันเลือกตั้ง รัฐบาลมีฐานะรักษาการ
เมื่อ มท.1 ต้องอยู่ในภาวะของการรักษาการในตำแหน่งรัฐมนตรี แต่ก็มิได้หมายความว่าหน้าที่ในการดูแลทุกข์สุขของประชาชนจะพ้นความรับผิดชอบ ท่านยังคงมีอำนาจหน้าที่อยู่เพียงแต่กฎหมายได้กำหนดว่าไม่ให้ท่านไปใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ในทางการเมืองเท่านั้น
แต่ภาพที่ปรากฏบรรดารัฐมนตรีที่เป็นนักการเมืองทั้งหลายล้วนแต่ทิ้งงานที่ยังอยู่ในความรับผิดชอบเกือบทั้งหมดหันไปใช้เวลาส่วนใหญ่เพื่อการหาเสียงเลือกตั้งเท่านั้น ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นกับประชาชนจึงถูกเมินเฉย
กรณีเรือขนน้ำตาลล่มที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นตัวอย่างในเรื่องนี้ที่ดี เรือล่มที่เกิดขึ้นถือเป็นภัยพิบัติอย่างหนึ่ง ที่มหาดไทยโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจะต้องเข้าไปดำเนินการแก้ไขทันที ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นภาระของกรมเจ้าท่าซึ่งรับผิดชอบเรื่องลำน้ำ กรมประมงซึ่งรับผิดชอบดูแลเรื่องความเสียหายหรืออันตรายแก่สัตว์น้ำ เมื่อผู้ว่าฯ อยุธยาไม่สามารถดำเนินการกู้เรือได้อย่างรวดเร็วเพราะเกินขีดความสามารถ
มท.1 หรือ ปมท. หรืออธิบดีกรม ปภ. ไม่คิดทำอะไรในเรื่องนี้บ้างหรือ
นับจากวันที่ 4 กรกฎาคม 2554 เป็นต้นไป เมื่อการเลือกตั้งเสร็จสิ้น มีการตั้งรัฐบาลใหม่ ไม่อาจคาดหวังได้ว่า นักการเมืองหรือพรรคการเมืองใด จะมารับผิดชอบในตำแหน่ง มท.1 ถึงตอนนั้นคงมีเรื่องการกวาดล้างแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการมหาดไทยครั้งใหญ่อีก เข้าตำราเอาคนของตนเองมาเป็นแขนขา คงไม่แตกต่างกับสิ่งที่ผ่านมา หรือไม่แน่อาจเลวร้ายกว่าเดิม
ก่อนจะถึงวันนั้น วันนี้จึงเป็นวันที่คนมหาดไทยต้องออกมาร่วมปกป้องสถาบันหลักของมหาดไทยด้วยตนเอง โดยการบอกกล่าวไปยัง ภรรยา สามี ลูกหลาน เครือญาติ เพื่อนสนิท มิตรสหายที่รู้จักเคารพนับถือ และมีสิทธิในการเลือกตั้งครั้งนี้ ที่มีอยู่ทั่วประเทศ ให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างเต็มที่ ถ่ายทอดให้มวลมิตรได้รับรู้ถึงความเจ็บช้ำน้ำใจที่ท่านได้รับจากนักการเมืองผู้มีอำนาจใน มท. ต้องผนึกกำลังไม่เลือกพรรคการเมือง นักการเมืองเลวๆ ที่ครอบงำกระทรวงมหาดไทยที่ผ่านมา เพราะมันเป็นผู้ทำลายเกียรติภูมิ ศักดิ์ศรีของกระทรวงมหาดไทย
คงไม่ต้องบอกว่าเป็นพรรคตาแป๊ะแก่ หรือพรรคคนพิการทางปาก
ได้เวลาแล้วที่คนมหาดไทยต้องสอนนักการเมือง พรรคการเมืองที่ย่ำยีเราได้แล้ว
จะเลือกพรรคการเมืองหรือผู้สมัครพรรคใดก็ได้ ต้องไม่ใช่พรรคการเมืองนักการเมืองจากพรรคนั้น หรือถ้าเกิดเบื่อการเมือง จะไม่เลือกพรรคการเมือง ผู้สมัคร พรรคใดก็ได้
ถึงเวลาของสมาคมนักปกครอง สมาคมข้าราชการบำนาญกระทรวงมหาดไทยและพวกที่จ่ายเงินซื้อตำแหน่งหรือต้องยอมก้มหัวให้มัน ที่ต้องเรียกศักดิ์ศรีคืนได้แล้วอย่างน้อยก็ขอให้คิดถึงพระบรมราโชวาทที่ว่า
“ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ... หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมความดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้”
อย่าลืมไปใช้สิทธิจัดการพรรคการเมือง นักการเมืองดังกล่าว 3 กรกฎาคม 2554 ที่หน่วยเลือกตั้ง
เริ่มจากข่าวอื้อฉาวการทุจริต การจัดซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของกรมการปกครอง จนไม่อาจจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดได้ ส่งผลต่อความเดือดร้อนของประชาชน จนถึงบัดนี้ยังหาผู้รับผิดชอบทั้งอาญาและทางวินัยในกรณีนี้ไม่ได้
ต่อด้วยข่าวการทำลายคุณธรรมและจริยธรรมในระบบราชการมหาดไทย หลายกรณีอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งนายอำเภอขึ้นระดับ 9 ที่ไม่เป็นธรรมจนต้องยกเลิกคำสั่ง การสอบเข้าโรงเรียนนายอำเภอ 144 คนที่ ป.ป.ช.ชี้มูลว่ามีการทุจริต การแต่งตั้งปลัดกระทรวงหลายครั้งหลายหนเพียงเพื่อให้ได้คนของตนจนขาดหลักอาวุโสการแต่งตั้งผู้ว่าฯ อธิบดีที่มีข่าวใช้เงินซื้อขายตำแหน่ง จนเป็นสำนวนฮิตว่า “เป็นกิโล” ฯลฯ เรื่องเหล่านี้ล้วนต้องมีการสอบสวนหาผู้รับผิดชอบทั้งทางอาญาและทางวินัยทั้งสิ้น
เรื่องสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามไปในกระทรวงแห่งนี้ คือการจัดสรรและใช้งบประมาณบางโครงการลงไปในพื้นที่บางจังหวัด เช่น บุรีรัมย์ ฯลฯ อย่างมากมาย การอนุมัติและใช้งบประมาณของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นที่จัดสรรให้บางจังหวัดหรือในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งอย่างผิดสังเกต รวมทั้งการอนุมัติงบประมาณของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เรื่องเหล่านี้คนมหาดไทยย่อมรู้ดีว่ามีความไม่ปกติมากน้อยเพียงใด เพียงแต่รอเวลาของผู้กล้าที่จะมาตรวจสอบการใช้งบประมาณดังกล่าวว่าเป็นไปโดยถูกต้องหรือไม่อย่างไร
แต่สิ่งที่อัปยศมากที่สุดของคนมหาดไทยซึ่งถือหลักการบริหารงานบุคคลเป็นเรื่องสำคัญ คือ คำสั่งการโยกย้ายนายอำเภอ (208 ราย) และแต่งตั้งนายอำเภอขึ้นมาใหม่ (102) ครั้งหลังสุดของกรมการปกครอง ซึ่งผ่านความเห็นชอบของปลัดกระทรวง เพราะผิดธรรมเนียมการปกครอง
หนึ่ง ย้ายนายอำเภอจากอำเภอใหญ่ไปอำเภอเล็ก สอง ย้ายนายอำเภอ ซึ่งเหลือเวลาอีก 4 เดือน จะเกษียณในกันยายนนี้ไปอำเภอใหม่ สาม ตั้งนายอำเภอขึ้นใหม่ซึ่งยังไม่มีประสบการณ์ ไปอยู่อำเภอขนาดใหญ่ทันทีข้ามหัวคนที่เป็นนายอำเภอมาก่อน ที่ถือว่าเลวร้ายกว่านี้ คือ สี่ มีคำสั่งย้ายนายอำเภอบางคนแล้วยังวิ่งเต้นนักการเมืองในกระทรวงนี้ไม่ไปตามคำสั่งและเปลี่ยนเอาบุคคลอื่นไปดำรงตำแหน่งแทนได้ โดยไม่มีการประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน เรียกกันว่าเป็นคำสั่งภายในแต่คนมหาดไทยส่วนหนึ่งเรียกคำสั่งเหล่านี้ว่า “คำสั่งชักเข้าชักออกห้อย”
เรื่องราวทั้งหมดนี้มีหรือที่คนมหาดไทยซึ่งตั้งใจรับราชการด้วยดีจะไม่เจ็บช้ำน้ำใจ
มีหรือที่คนอยากได้ตำแหน่ง ไม่ไปตามคำสั่งเหล่านั้น จะไม่รู้ว่าตนทำในสิ่งที่ต่ำทรามที่คนมหาดไทยเขาไม่ทำกัน
เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 ได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร
จากวันที่ 11 พฤษภาคม 2554 ถึง 3 กรกฎาคม 2554 วันเลือกตั้ง รัฐบาลมีฐานะรักษาการ
เมื่อ มท.1 ต้องอยู่ในภาวะของการรักษาการในตำแหน่งรัฐมนตรี แต่ก็มิได้หมายความว่าหน้าที่ในการดูแลทุกข์สุขของประชาชนจะพ้นความรับผิดชอบ ท่านยังคงมีอำนาจหน้าที่อยู่เพียงแต่กฎหมายได้กำหนดว่าไม่ให้ท่านไปใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ในทางการเมืองเท่านั้น
แต่ภาพที่ปรากฏบรรดารัฐมนตรีที่เป็นนักการเมืองทั้งหลายล้วนแต่ทิ้งงานที่ยังอยู่ในความรับผิดชอบเกือบทั้งหมดหันไปใช้เวลาส่วนใหญ่เพื่อการหาเสียงเลือกตั้งเท่านั้น ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นกับประชาชนจึงถูกเมินเฉย
กรณีเรือขนน้ำตาลล่มที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นตัวอย่างในเรื่องนี้ที่ดี เรือล่มที่เกิดขึ้นถือเป็นภัยพิบัติอย่างหนึ่ง ที่มหาดไทยโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจะต้องเข้าไปดำเนินการแก้ไขทันที ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นภาระของกรมเจ้าท่าซึ่งรับผิดชอบเรื่องลำน้ำ กรมประมงซึ่งรับผิดชอบดูแลเรื่องความเสียหายหรืออันตรายแก่สัตว์น้ำ เมื่อผู้ว่าฯ อยุธยาไม่สามารถดำเนินการกู้เรือได้อย่างรวดเร็วเพราะเกินขีดความสามารถ
มท.1 หรือ ปมท. หรืออธิบดีกรม ปภ. ไม่คิดทำอะไรในเรื่องนี้บ้างหรือ
นับจากวันที่ 4 กรกฎาคม 2554 เป็นต้นไป เมื่อการเลือกตั้งเสร็จสิ้น มีการตั้งรัฐบาลใหม่ ไม่อาจคาดหวังได้ว่า นักการเมืองหรือพรรคการเมืองใด จะมารับผิดชอบในตำแหน่ง มท.1 ถึงตอนนั้นคงมีเรื่องการกวาดล้างแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการมหาดไทยครั้งใหญ่อีก เข้าตำราเอาคนของตนเองมาเป็นแขนขา คงไม่แตกต่างกับสิ่งที่ผ่านมา หรือไม่แน่อาจเลวร้ายกว่าเดิม
ก่อนจะถึงวันนั้น วันนี้จึงเป็นวันที่คนมหาดไทยต้องออกมาร่วมปกป้องสถาบันหลักของมหาดไทยด้วยตนเอง โดยการบอกกล่าวไปยัง ภรรยา สามี ลูกหลาน เครือญาติ เพื่อนสนิท มิตรสหายที่รู้จักเคารพนับถือ และมีสิทธิในการเลือกตั้งครั้งนี้ ที่มีอยู่ทั่วประเทศ ให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างเต็มที่ ถ่ายทอดให้มวลมิตรได้รับรู้ถึงความเจ็บช้ำน้ำใจที่ท่านได้รับจากนักการเมืองผู้มีอำนาจใน มท. ต้องผนึกกำลังไม่เลือกพรรคการเมือง นักการเมืองเลวๆ ที่ครอบงำกระทรวงมหาดไทยที่ผ่านมา เพราะมันเป็นผู้ทำลายเกียรติภูมิ ศักดิ์ศรีของกระทรวงมหาดไทย
คงไม่ต้องบอกว่าเป็นพรรคตาแป๊ะแก่ หรือพรรคคนพิการทางปาก
ได้เวลาแล้วที่คนมหาดไทยต้องสอนนักการเมือง พรรคการเมืองที่ย่ำยีเราได้แล้ว
จะเลือกพรรคการเมืองหรือผู้สมัครพรรคใดก็ได้ ต้องไม่ใช่พรรคการเมืองนักการเมืองจากพรรคนั้น หรือถ้าเกิดเบื่อการเมือง จะไม่เลือกพรรคการเมือง ผู้สมัคร พรรคใดก็ได้
ถึงเวลาของสมาคมนักปกครอง สมาคมข้าราชการบำนาญกระทรวงมหาดไทยและพวกที่จ่ายเงินซื้อตำแหน่งหรือต้องยอมก้มหัวให้มัน ที่ต้องเรียกศักดิ์ศรีคืนได้แล้วอย่างน้อยก็ขอให้คิดถึงพระบรมราโชวาทที่ว่า
“ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ... หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมความดี ให้คนดีปกครองบ้านเมือง และคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้”
อย่าลืมไปใช้สิทธิจัดการพรรคการเมือง นักการเมืองดังกล่าว 3 กรกฎาคม 2554 ที่หน่วยเลือกตั้ง