ASTVผู้จัดการรายวัน-ตลาดอนุพันธ์ เตรียมจัดโปรโมชั่นกระตุ้นวอลุ่มซิลเวอร์ฟิวเจอร์-โกลด์ฟิวเจอร์ส แจกทองคำแท่งให้นักลงทุน-เจ้าหน้าที่ทำพร็อพเทรดอนุพันธ์ มูลค่าทองคำรวม 29 บาท เงินสดอีก 2.4 แสนบาท เริ่มมิ.ย.-พ.ย.นี้ ด้านชมรมเอฟไอคลับกำหนดค่านายหน้าเทรดซิลเวอร์สฟิวเจอร์ส “เกศรา”เผยพร้อมเปิดเทรดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอัตราแลกเปลี่ยน หลังธปท.ไฟเขียว ด้านก.ล.ต.หวังให้บล.ทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราได้ เพื่อสะดวกหากลูกค้านำเงินไปลงทุนต่างประเทศ
นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)หรือ TFEX เปิดเผยว่า ตลาดอนุพันธ์ฯจะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการซื้อขายสัญญาโลหะเงินล่วงหน้าหรือซิลเวอร์ฟิวเจอร์ส (Silver Futures)และซื้อขายโกลด์ฟิวเจอร์ส ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯจะมีการแจกทองคำ 1 บาท ทุกเดือนเดือนละ 5 รางวัล ให้กับนักลงทุนที่มีการซื้อขายซิลเวอร์ฟิวเจอร์ส โกลด์ฟิวเจอร์ส สูงสุด 5 อันดับแรก โดยจะเริ่มตั้งกรกฎาคมถึงสิงหาคมนี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักลงทุนเข้ามาซื้อขายตัวซิลเวอร์ฟิวเจอร์ส และโกลด์ฟิวเจอร์สมากขึ้น
“ตลาดอนุพันธ์จะมีสูตรคำนวนการซื้อขายของนักลงทุน โดยหากซื้อขายซิลเวอร์ ฟิวเจอร์สก็จะมีคะแนนที่สูงกว่าการซื้อขายโกลด์ฟิวเจอร์ส จากที่เป็นสินค้าใหม่จึงต้องการกระตุ้นให้มีการซื้อขาย”นางเกศรา กล่าว
ทั้งนี้ตลาดอนุพันธ์ก็จะมีการให้รางวัลแก่เจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ซื้อขายอนุพันธ์เพื่อบัญชีหลักทรัพย์ (พร็อพเทรดอนุพันธ์) ที่มีมูลค่าซื้อขายสูงสุดประจำเดือน 1 รางวัล มูลค่า 2 หมื่นบาท และให้แก่เจ้าหน้าที่มีการซื้อขายอนุพันธ์ที่มีมูลค่าสูงสุดเทียบกับเดือนก่อนหน้า 1 รางวัล รางวัลละ 2 หมื่นบาท เป็นเวลา 6 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนพฤศจิกายน
สำหรับเมื่อครบ6 เดือน นั้นตลาดอนุพันธ์จะมอบทองคำ 3 รางวัล ให้กับเจ้าหน้าที่ที่มีมูลค่าซื้อขายสูงสุดอันดับ 1 เป็นทองคำ มูลค่า 5 บาท มูลค่าซื้อขายสูงสุดอันดับ2 ได้รับทองคำมูลค่า 3 บาท และ มูลค่าซื้อขายสูงสุดอันดับ3 ได้ทองคำมูลค่า 1 บาท และ เจ้าหน้าที่ที่มีการซื้อขายสม่ำเสมอและมีวอลุ่มสูงสุดได้รับทองคำมูลค่า 5 บาท จำนวน 1 รางวัล ซึ่งการมอบรางวัลให้กับเจ้าหน้าที่พร็อพเทรดอนุพันธ์ หวังที่จะให้มีการทำพร็อพเทรดอนุพันธ์ให้มากขึ้นและเจ้าหน้าที่จะได้มีความชำนาญในการทำ และยังเป็นการเพิ่มช่องทางการกระจายรายได้ของโบรกเกอร์ในอนาคต ปัจจุบันมีโบรเกอร์ที่มีการทำพร็อพเทรดอนุพันธ์จำนวน10-13 แห่ง
นอกจากนี้ในส่วนของโบรกเกอร์นั้นทางตลาดอนุพันธ์ฯก็จะให้มอบรางวัลโบรกเกอร์อนุพันธ์ดีเด่นให้กับโบรกเกอร์ที่มีการซื้อขายอนุพันธ์สูงในงานประกาศSET AWARDด้วย ซึ่งการดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมการซื้อขายโดยมอบให้ทั้งนักลงทุน เจ้าหน้าที่ที่ทำพร็อพเทรดของโบรกเกอร์ และโบรกเกอร์ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้มีการทำธุรกรรมในตลาดอนุพันธ์เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้สภาพคล่องการซื้อขายอนุพันธ์เพิ่มมากขึ้นด้วย
ด้านสมาคมผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือเอฟไอคลับ ได้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการซื้อขาย (คอมมิชชั่น)ซิลเวอร์ฟิวเจอร์ โดยลูกค้าทั่วไปสำหรับการซื้อขายปกติหากซื้อขาย 1-25 สัญญา คิดค่าคอมมิชชั่น 90 บาท ต่อสัญญาต่อข้าง สัญญาที่ 26-100 คิดค่าคอมมิชชั่นที่ 70 บาทต่อสัญญาต่อข้าง สัญญาตั้งแต่101 คิดค่าคอมมิชชั่นที่ 50 บาทต่อสัญญาต่อข้าง ส่วนลูกค้าบุคคลทั่วไปซื้อขายผ่านระบบอินเตอร์เน็ตและการส่งคำสั่งซื้อขายตรง(DMA) สัญญาที่1-25 คิดค่าคอมมิชชั่นที่81 บาทต่อสัญญาต่อข้าง สัญญาที่26-100คิดค่าคอมมิชชั่นที่ 63 บาทต่อสัญญาต่อข้าง สัญญาตั้งแต่ 101 คิดค่าคอมมิชชั่นที่ 45 บาทต่อสัญญาต่อข้าง
สำหรับลูกค้าสถาบันที่ส่งคำสั่งซื้อขายปกติ คิดที่อัตรา 50 บาทต่อสัญญาต่อข้าง หากส่งคำสั่งซื้อขายผ่านระบบอินเตอร์นเน็ตและDMA คิดอัตราแล้วแต่ที่ตกลงกับโบรกเกอร์ โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้วันที่20 มิถุนายนนี้ นอกจากนี้นักลงทุนจะต้องมีการเสียค่าธรรมเนียมการซื้อขายให้กับตลาดอนุพันธ์และสำนักหักบัญชี ซึ่งคิดอัตราที่ 10 บาทต่อสัญญาต่อข้าง
นางเกศรา กล่าวถึงกรณีที่นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) จะให้มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอัตราแลกเปลี่ยน ว่า หากในเชิงนโยบายต้องการให้เกิดทางตลาดหลักทรัพย์มีความยินดี และพร้อมจะทำงานในรายละเอียด
อย่างไรก็ตาม ในแผนพัฒนาตลาดทุนระบุไว้ว่าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอัตราแลกเปลี่ยนจะเกิดขึ้นในปี 2555 และที่ผ่านมาทางตลาดได้มีการทำงานกับธปท. ในเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว แต่เนื่องจากธปท.มีกฎเกณฑ์การดูแลอัตราแลกเปลี่ยน จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
นายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กล่าวว่าได้มีทีมทำงานเรื่องดังกล่าวเพื่อหารือกับธปท.ในเรื่องนี้อยู่แล้ว และคงดำเนินการต่อเนื่อง แต่สิ่งที่อยากให้เกิดในเบื้องต้นคงเป็นเรื่องให้บริษัทหลักทรัพย์(โบรกเกอร์)สามารถทำธุรกรรมเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนได้ ถือเป็นเรื่องดี เพราะจะช่วยสนับสนุนธุรกิจของบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน(บลจ.)
“ทุกวันนี้ผู้ลงทุนจะเอาเงินไปซื้อกองทุน ทางบลจ.ก็ต้องวิ่งไปหาธนาคารเพื่อแลกเปลี่ยนเงินตรา และในส่วนของโบรกเกอร์ที่ผู้ลงทุนตั้งกองทุนส่วนบุคคลไปลงทุนต่างประเทศแต่ก็ต้องไปแลกเปลี่ยนเงินที่ธนาคาร หากเปิดโอกาสให้โบรกเกอร์สามารถทำธุรกรรมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราก็จะเป็นเรื่องดี” นายประเวชกล่าว
นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)หรือ TFEX เปิดเผยว่า ตลาดอนุพันธ์ฯจะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการซื้อขายสัญญาโลหะเงินล่วงหน้าหรือซิลเวอร์ฟิวเจอร์ส (Silver Futures)และซื้อขายโกลด์ฟิวเจอร์ส ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯจะมีการแจกทองคำ 1 บาท ทุกเดือนเดือนละ 5 รางวัล ให้กับนักลงทุนที่มีการซื้อขายซิลเวอร์ฟิวเจอร์ส โกลด์ฟิวเจอร์ส สูงสุด 5 อันดับแรก โดยจะเริ่มตั้งกรกฎาคมถึงสิงหาคมนี้ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักลงทุนเข้ามาซื้อขายตัวซิลเวอร์ฟิวเจอร์ส และโกลด์ฟิวเจอร์สมากขึ้น
“ตลาดอนุพันธ์จะมีสูตรคำนวนการซื้อขายของนักลงทุน โดยหากซื้อขายซิลเวอร์ ฟิวเจอร์สก็จะมีคะแนนที่สูงกว่าการซื้อขายโกลด์ฟิวเจอร์ส จากที่เป็นสินค้าใหม่จึงต้องการกระตุ้นให้มีการซื้อขาย”นางเกศรา กล่าว
ทั้งนี้ตลาดอนุพันธ์ก็จะมีการให้รางวัลแก่เจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ซื้อขายอนุพันธ์เพื่อบัญชีหลักทรัพย์ (พร็อพเทรดอนุพันธ์) ที่มีมูลค่าซื้อขายสูงสุดประจำเดือน 1 รางวัล มูลค่า 2 หมื่นบาท และให้แก่เจ้าหน้าที่มีการซื้อขายอนุพันธ์ที่มีมูลค่าสูงสุดเทียบกับเดือนก่อนหน้า 1 รางวัล รางวัลละ 2 หมื่นบาท เป็นเวลา 6 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนพฤศจิกายน
สำหรับเมื่อครบ6 เดือน นั้นตลาดอนุพันธ์จะมอบทองคำ 3 รางวัล ให้กับเจ้าหน้าที่ที่มีมูลค่าซื้อขายสูงสุดอันดับ 1 เป็นทองคำ มูลค่า 5 บาท มูลค่าซื้อขายสูงสุดอันดับ2 ได้รับทองคำมูลค่า 3 บาท และ มูลค่าซื้อขายสูงสุดอันดับ3 ได้ทองคำมูลค่า 1 บาท และ เจ้าหน้าที่ที่มีการซื้อขายสม่ำเสมอและมีวอลุ่มสูงสุดได้รับทองคำมูลค่า 5 บาท จำนวน 1 รางวัล ซึ่งการมอบรางวัลให้กับเจ้าหน้าที่พร็อพเทรดอนุพันธ์ หวังที่จะให้มีการทำพร็อพเทรดอนุพันธ์ให้มากขึ้นและเจ้าหน้าที่จะได้มีความชำนาญในการทำ และยังเป็นการเพิ่มช่องทางการกระจายรายได้ของโบรกเกอร์ในอนาคต ปัจจุบันมีโบรเกอร์ที่มีการทำพร็อพเทรดอนุพันธ์จำนวน10-13 แห่ง
นอกจากนี้ในส่วนของโบรกเกอร์นั้นทางตลาดอนุพันธ์ฯก็จะให้มอบรางวัลโบรกเกอร์อนุพันธ์ดีเด่นให้กับโบรกเกอร์ที่มีการซื้อขายอนุพันธ์สูงในงานประกาศSET AWARDด้วย ซึ่งการดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมการซื้อขายโดยมอบให้ทั้งนักลงทุน เจ้าหน้าที่ที่ทำพร็อพเทรดของโบรกเกอร์ และโบรกเกอร์ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้มีการทำธุรกรรมในตลาดอนุพันธ์เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้สภาพคล่องการซื้อขายอนุพันธ์เพิ่มมากขึ้นด้วย
ด้านสมาคมผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หรือเอฟไอคลับ ได้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการซื้อขาย (คอมมิชชั่น)ซิลเวอร์ฟิวเจอร์ โดยลูกค้าทั่วไปสำหรับการซื้อขายปกติหากซื้อขาย 1-25 สัญญา คิดค่าคอมมิชชั่น 90 บาท ต่อสัญญาต่อข้าง สัญญาที่ 26-100 คิดค่าคอมมิชชั่นที่ 70 บาทต่อสัญญาต่อข้าง สัญญาตั้งแต่101 คิดค่าคอมมิชชั่นที่ 50 บาทต่อสัญญาต่อข้าง ส่วนลูกค้าบุคคลทั่วไปซื้อขายผ่านระบบอินเตอร์เน็ตและการส่งคำสั่งซื้อขายตรง(DMA) สัญญาที่1-25 คิดค่าคอมมิชชั่นที่81 บาทต่อสัญญาต่อข้าง สัญญาที่26-100คิดค่าคอมมิชชั่นที่ 63 บาทต่อสัญญาต่อข้าง สัญญาตั้งแต่ 101 คิดค่าคอมมิชชั่นที่ 45 บาทต่อสัญญาต่อข้าง
สำหรับลูกค้าสถาบันที่ส่งคำสั่งซื้อขายปกติ คิดที่อัตรา 50 บาทต่อสัญญาต่อข้าง หากส่งคำสั่งซื้อขายผ่านระบบอินเตอร์นเน็ตและDMA คิดอัตราแล้วแต่ที่ตกลงกับโบรกเกอร์ โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้วันที่20 มิถุนายนนี้ นอกจากนี้นักลงทุนจะต้องมีการเสียค่าธรรมเนียมการซื้อขายให้กับตลาดอนุพันธ์และสำนักหักบัญชี ซึ่งคิดอัตราที่ 10 บาทต่อสัญญาต่อข้าง
นางเกศรา กล่าวถึงกรณีที่นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) จะให้มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอัตราแลกเปลี่ยน ว่า หากในเชิงนโยบายต้องการให้เกิดทางตลาดหลักทรัพย์มีความยินดี และพร้อมจะทำงานในรายละเอียด
อย่างไรก็ตาม ในแผนพัฒนาตลาดทุนระบุไว้ว่าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอัตราแลกเปลี่ยนจะเกิดขึ้นในปี 2555 และที่ผ่านมาทางตลาดได้มีการทำงานกับธปท. ในเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว แต่เนื่องจากธปท.มีกฎเกณฑ์การดูแลอัตราแลกเปลี่ยน จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
นายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กล่าวว่าได้มีทีมทำงานเรื่องดังกล่าวเพื่อหารือกับธปท.ในเรื่องนี้อยู่แล้ว และคงดำเนินการต่อเนื่อง แต่สิ่งที่อยากให้เกิดในเบื้องต้นคงเป็นเรื่องให้บริษัทหลักทรัพย์(โบรกเกอร์)สามารถทำธุรกรรมเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนได้ ถือเป็นเรื่องดี เพราะจะช่วยสนับสนุนธุรกิจของบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน(บลจ.)
“ทุกวันนี้ผู้ลงทุนจะเอาเงินไปซื้อกองทุน ทางบลจ.ก็ต้องวิ่งไปหาธนาคารเพื่อแลกเปลี่ยนเงินตรา และในส่วนของโบรกเกอร์ที่ผู้ลงทุนตั้งกองทุนส่วนบุคคลไปลงทุนต่างประเทศแต่ก็ต้องไปแลกเปลี่ยนเงินที่ธนาคาร หากเปิดโอกาสให้โบรกเกอร์สามารถทำธุรกรรมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราก็จะเป็นเรื่องดี” นายประเวชกล่าว