ASTVผู้จัดการรายวัน- เอกชนตบเท้าหารือการท่าเรือเร็วๆ นี้ หวั่นส่งออกไทยเสียหายหนัก เหตุท่าเรือกรุงเทพปิดเปลี่ยนรางปั้นจั่นยกตู้สินค้าทำให้สายเดินเรือชาร์จค่าขนส่งเพิ่ม 50-100 เหรียญฯต่อตู้เหตุรอคิวนาน บางส่วนเริ่มหันมาซบท่าเรือแหลมฉบังส่อแออัดซ้ำเติม เสนอกำหนดการใช้ท่าที่กรุงเทพให้ชัดเจนแทนให้รอคิว
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า เร็วๆนี้ส.อ.ท.และตัวแทนสมาคมเจ้าของเรือและตัวแทนเรือกรุงเทพและผู้ส่งออกบางส่วนจะเข้าหารือกับผู้อำนวยการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อให้เร่งแก้ไขปัญหากรณีการปรับปรุงพื้นที่ท่าเรือกรุงเทพบางส่วนเพื่อทำการเปลี่ยนรางปั้นจั่น(เครน)ยกตู้สินค้าส่งผลให้ท่าเรือแออัดจนส่งผลกระทบให้ผู้ส่งออกและนำเข้ามีภาระต้นทุนขนส่งทางเรือสูงขึ้นแล้ว 5 เดือนไม่น้อยกว่า 875 ล้านบาทเพราะสายเดินเรือเก็บค่าบริการเพิ่มและยังทำให้เรือลูกไม่สามารถที่จะไปต่อเรือแม่ที่ท่าเรือศูนย์ถ่ายลำในสิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง ได้ทันเวลาทำการส่งสินค้าล่าช้าอย่างน้อย 7 วันหากปล่อยไว้จะทำให้ไทยเสียหายมากขึ้น
“ส.อ.ท.ได้รับการร้องเรียนจากสมาชิกถึงปัญหาเรือที่แออัดได้ส่งผลให้สายการเดินเรือเรียกเก็บค่าบริการขนส่งสินค้าเพิ่มเติม 50 เหรียญสหรัฐต่อตู้ขนาด 20 ฟุตและ 100 เหรียญสหรัฐต่อตู้ขนาด 40ฟุตซึ่งหากคิดขั้นต่ำว่าจะต้องจ่ายเพิ่ม 50 เหรียญฯต่อตู้ซึ่งผลกระทบที่ท่าเรือกรุงเทพมีตู้ประมาณ 1.4 ล้านตู้ต่อปีก็เสียหายแล้วไม่น้อยกว่า 875ล้านบาทจึงได้หารือกันและปัญหาดังกล่าวทำให้เรือส่วนหนึ่งหรือประมาณ 11 ลำต่อสัปดาห์หันไปใช้ท่าเรือที่แหลมฉบังแทนและล่าสุดก็เกิดปัญหาที่แหลมฉบังแออัดและยังมีค่าขนส่งสินค้าเพิ่มอีกด้วยหากปล่อยไว้จะกระทบวงกว้าง”นายธนิตกล่าว
สำหรับการขนส่งสินค้าเกิดความล่าช้าทั้งขาเข้าและขาออก ขาเข้าใช้เวลา 1-2 วันและขาออกเวลา 3-7 วัน และกรณีสินค้าขาเข้าบางกลุ่มซัพพลายเออร์ที่อยู่ต่างประเทศจะไม่สามารถที่จะจัดส่งสินค้าไปยังท่าเรืออื่นได้นอกจากท่าเรือกรุงเทพเนื่องจากสายเรือที่ใช้อยู่ไม่มีการให้บริการ นอกจากนี้ช่วงพ.ค.-มิ.ย.การท่าเรือฯยังมีแผนการปรับปรุพื้นที่ลานวางตู้สินค้าในบางพื้นที่เป็นระยะเวลารวม 10 เดือนจะยิ่งส่งผลเสียหายต่อการนำเข้าส่งออกของไทยโดยเฉพาะผู้ประกอบการนำเข้าส่งออกอาจต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มเป็นจำนวนมากขึ้น
นายสุวัฒน์ อัศวทองกุล สมาคมเจ้าของและตัวแทนเรือกรุงเทพ กล่าวว่า ขณะนี้การบริการที่ท่าเรือกรุงเทพจะรับเรือได้ประมาณ 42 ลำต่อสัปดาห์
แต่การเปิดกว้างที่จะให้เรือทุกประเภทเข้ามาก่อนแล้วก็ได้รับตามคิวทำให้เกิดปัญหาที่ไม่สามารถจะระบุเวลาให้กับผู้ส่งสินค้าได้ดังนั้นวิธีแก้ไขปัญหาควรจะคัดเรือที่มีประวัติการใช้งานที่ยาวนานแล้วกำหนดท่าการขนส่งให้ชัดเจนไปเลยก็จะแก้ไขปัญหาได้
“เราไม่สามารถบริหารตารางท่าเรือได้เลยหากยังคงเป็นเช่นปัจจุบันซึ่งถ้าเราชัดเจนว่าจะเข้าได้เมื่อใดท่าใดกำหนดมาเราก็คงไม่สามารถจะไปอ้างการขึ้นค่าบริการขนส่งเพิ่มเติมหรือ Congestion Surcharge ได้”นายสุวัฒน์กล่าว
นายโกมล ศรีบางพลีน้อย รองผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเรือและสินค้า ท่าเรือกรุงเทพ กล่าวว่า ขณะนี้ท่าเรือกรุงเทพได้กันพื้นที่ชั่วคราวที่จะรองรับการปรับปรุงไว้แล้ว และภายใน 1-2 เดือนมีการเปลี่ยนรางปั้นจั่นยกตู้สินค้าบางส่วนเสร็จก็จะทำให้การบริการดีขึ้น ส่วนข้อเสนอที่เอกชนระบุให้กำหนดท่าเรือให้ชัดเจนไปเลยนั้นคงจะต้องมาหารือรายละเอียดเนื่องจากนโยบายท่าเรือเองก็จะต้องเปิดกว้างกับทุกภาคส่วนด้วย
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า เร็วๆนี้ส.อ.ท.และตัวแทนสมาคมเจ้าของเรือและตัวแทนเรือกรุงเทพและผู้ส่งออกบางส่วนจะเข้าหารือกับผู้อำนวยการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อให้เร่งแก้ไขปัญหากรณีการปรับปรุงพื้นที่ท่าเรือกรุงเทพบางส่วนเพื่อทำการเปลี่ยนรางปั้นจั่น(เครน)ยกตู้สินค้าส่งผลให้ท่าเรือแออัดจนส่งผลกระทบให้ผู้ส่งออกและนำเข้ามีภาระต้นทุนขนส่งทางเรือสูงขึ้นแล้ว 5 เดือนไม่น้อยกว่า 875 ล้านบาทเพราะสายเดินเรือเก็บค่าบริการเพิ่มและยังทำให้เรือลูกไม่สามารถที่จะไปต่อเรือแม่ที่ท่าเรือศูนย์ถ่ายลำในสิงคโปร์ มาเลเซีย ฮ่องกง ได้ทันเวลาทำการส่งสินค้าล่าช้าอย่างน้อย 7 วันหากปล่อยไว้จะทำให้ไทยเสียหายมากขึ้น
“ส.อ.ท.ได้รับการร้องเรียนจากสมาชิกถึงปัญหาเรือที่แออัดได้ส่งผลให้สายการเดินเรือเรียกเก็บค่าบริการขนส่งสินค้าเพิ่มเติม 50 เหรียญสหรัฐต่อตู้ขนาด 20 ฟุตและ 100 เหรียญสหรัฐต่อตู้ขนาด 40ฟุตซึ่งหากคิดขั้นต่ำว่าจะต้องจ่ายเพิ่ม 50 เหรียญฯต่อตู้ซึ่งผลกระทบที่ท่าเรือกรุงเทพมีตู้ประมาณ 1.4 ล้านตู้ต่อปีก็เสียหายแล้วไม่น้อยกว่า 875ล้านบาทจึงได้หารือกันและปัญหาดังกล่าวทำให้เรือส่วนหนึ่งหรือประมาณ 11 ลำต่อสัปดาห์หันไปใช้ท่าเรือที่แหลมฉบังแทนและล่าสุดก็เกิดปัญหาที่แหลมฉบังแออัดและยังมีค่าขนส่งสินค้าเพิ่มอีกด้วยหากปล่อยไว้จะกระทบวงกว้าง”นายธนิตกล่าว
สำหรับการขนส่งสินค้าเกิดความล่าช้าทั้งขาเข้าและขาออก ขาเข้าใช้เวลา 1-2 วันและขาออกเวลา 3-7 วัน และกรณีสินค้าขาเข้าบางกลุ่มซัพพลายเออร์ที่อยู่ต่างประเทศจะไม่สามารถที่จะจัดส่งสินค้าไปยังท่าเรืออื่นได้นอกจากท่าเรือกรุงเทพเนื่องจากสายเรือที่ใช้อยู่ไม่มีการให้บริการ นอกจากนี้ช่วงพ.ค.-มิ.ย.การท่าเรือฯยังมีแผนการปรับปรุพื้นที่ลานวางตู้สินค้าในบางพื้นที่เป็นระยะเวลารวม 10 เดือนจะยิ่งส่งผลเสียหายต่อการนำเข้าส่งออกของไทยโดยเฉพาะผู้ประกอบการนำเข้าส่งออกอาจต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มเป็นจำนวนมากขึ้น
นายสุวัฒน์ อัศวทองกุล สมาคมเจ้าของและตัวแทนเรือกรุงเทพ กล่าวว่า ขณะนี้การบริการที่ท่าเรือกรุงเทพจะรับเรือได้ประมาณ 42 ลำต่อสัปดาห์
แต่การเปิดกว้างที่จะให้เรือทุกประเภทเข้ามาก่อนแล้วก็ได้รับตามคิวทำให้เกิดปัญหาที่ไม่สามารถจะระบุเวลาให้กับผู้ส่งสินค้าได้ดังนั้นวิธีแก้ไขปัญหาควรจะคัดเรือที่มีประวัติการใช้งานที่ยาวนานแล้วกำหนดท่าการขนส่งให้ชัดเจนไปเลยก็จะแก้ไขปัญหาได้
“เราไม่สามารถบริหารตารางท่าเรือได้เลยหากยังคงเป็นเช่นปัจจุบันซึ่งถ้าเราชัดเจนว่าจะเข้าได้เมื่อใดท่าใดกำหนดมาเราก็คงไม่สามารถจะไปอ้างการขึ้นค่าบริการขนส่งเพิ่มเติมหรือ Congestion Surcharge ได้”นายสุวัฒน์กล่าว
นายโกมล ศรีบางพลีน้อย รองผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเรือและสินค้า ท่าเรือกรุงเทพ กล่าวว่า ขณะนี้ท่าเรือกรุงเทพได้กันพื้นที่ชั่วคราวที่จะรองรับการปรับปรุงไว้แล้ว และภายใน 1-2 เดือนมีการเปลี่ยนรางปั้นจั่นยกตู้สินค้าบางส่วนเสร็จก็จะทำให้การบริการดีขึ้น ส่วนข้อเสนอที่เอกชนระบุให้กำหนดท่าเรือให้ชัดเจนไปเลยนั้นคงจะต้องมาหารือรายละเอียดเนื่องจากนโยบายท่าเรือเองก็จะต้องเปิดกว้างกับทุกภาคส่วนด้วย