ASTVผู้จัดการรายวัน - ไทยคมพร้อมยิงดาวเทียมไทยคม6 จำนวน 26 ช่องสัญญาณมูลค่า 160 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังบอรด์ไฟเขียวเดินหน้า คาดไตรมาส 3 ปี 56 พร้อมยิงขึ้นวงโคจร เชื่อความต้องการยังมีสูงและมั่นใจถึงจุดคุ้มทุนภายในระยะเวลาสัมปทานที่เหลืออยู่
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ ประธานเจ้าหน้าที่คณะผู้บริหาร บริษัท ไทยคม กล่าวว่า เมื่ออาทิตย์ที่แล้วบริษัทฯ ได้รับจดหมายเห็นชอบจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) อนุมัติให้บริษัทดำเนินโครงการดาวเทียมไทยคม 6 ตามที่เสนอไป ซึ่งทางคณะกรรมการบริษัทเห็นชอบกับการลงทุนที่มีมูลค่าประมาณ 160 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นค่าใช้จ่ายในการยิงดาวเทียมประมาณ 30-40% ที่เหลือเป็นค่าจัดสร้างดาวเทียม โดยใช้แหล่งเงินกู้ซึ่งอยู่ระหว่างการหารือกับเอ็กซ์ซิมแบงก์อยู่
การมีดาวเทียมไทยคม 6 ทางกระทรวงไอซีทีก็จะได้ผลตอบแทนจากค่าสัมปทาน ผู้ใช้คนไทยก็จะได้ใช้ประโยชน์จากดาวเทียมดวงใหม่ รวมถึง บริษัทก็จะสามารถให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้บริการด้านการแพร่ภาพกระจายเสียง (Broadcasting) เช่น โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมความละเอียดสูง (เอชดีทีวี) ซึ่งความต้องการใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมทั้งซีแบนด์และเคยูแบนด์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียใต้ มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ
'ที่ประชุมบอร์ดเห็นชอบให้ดำเนินการได้ทันที จริงๆ แล้วเรื่องนี้ไทยคมได้มีการพูดคุยกับบริษัทผู้ผลิตดาวเทียม ออปบิตอล ชายด์ (Obital Sci) มานานแล้ว จึงทำให้ได้ราคาที่ไม่สูงนัก ทางบริษัทผู้ผลิตได้มีการสั่งของไว้ล่วงหน้าแล้ว ซึ่งเชื่อว่า น่าจะยิงขึ้นสู่วงโครจรได้ประมาณเดือนมิถุยายน 2556 จากปกติแล้วจะต้องใช้เวลาประมาณ 3 ปี'
นายอารักษ์ยังกล่าวอีกว่า หลังจากนี้ไปบริษัทจะเริ่มทำการตลาดล่วงหน้าถึง 2 ปี หลังจากที่ยิงดาวเทียมแล้ว น่าจะมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการทันที ซึ่งเชื่อว่าไทยคม 6 จะถึงจุดคุ้มทุนก่อน 8 ปีซึ่งเป็นเวลาที่หมดสัญญาสัมปทานอย่างแน่นอน
'การยิงดาวเทียมไทยคม 6อยู่ภายใต้อำนาจของกระทรวงไอซีทีอยู่แล้ว เพียงแต่เสนอเรื่องให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบเท่านั้น'
สำหรับดาวเทียมไทยคม 6 จะเป็นดาวเทียมขนาดกลางเช่นเดียวกับดาวเทียมไทยคม 5 โดยเป็นดาวเทียมประเภท 3 แกน มีช่องสัญญาณรวมทั้งสิ้น 26 ช่องสัญญาณ โดยแบ่งออกเป็นช่องสัญญาณประเภทซีแบนด์จำนวน 18 ช่องสัญญาณและช่องสัญญาณประเภทเคยูแบนด์อีก 8 ช่องสัญญาณ และมีอายุการใช้งานทั้งสิ้นประมาณ 15 ปี โดยบริษัทจะจัดส่งดาวเทียมไทยคม 6 ขึ้นสู่วงโคจรที่ 78.5 องศาตะวันออก โดยจะเป็นลักษณะของการ Co-location กับดาวเทียมไทยคม 5
***เซ็นสัญญาMEASAT
นายอารักษ์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 30 พ.ค.ไทยคมได้ลงนามเซ็นสัญญากับบริษัท มีแซท โกลบอล ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมระดับพรีเมี่ยมหลักในประเทศมาเลเซีย โดยมีแซทฯ เช่าช่องสัญญาณ (แบนด์วิดท์) ส่วนใหญ่ของไทยคม 4 ที่จัดสรรไว้สำหรับการใช้งานในประเทศมาเลเซีย ทำให้มีแซทกลายเป็นผู้ให้บริการหลักแต่เพียงผู้เดียวของไอพีสตาร์ในประเทศมาเลเซีย หรือ National Service Operator (NSO) จำนวนแบนด์วิดท์ของไอพีสตาร์ในมาเลเซียมีทั้งหมด 7 สปอตบีมหรือประมาณ 1,894 เมกกะเฮิรตซ์ ซึ่งจะสามารถให้บริการได้ถึง 3.3 Gbps คิดเป็น 7% ของจำนวนแบนด์วิดท์ทั้งหมดของดาวเทียมไทยคม 4 ภายใต้ชื่อบริการว่ามีแซท 5 (MEASAT 5)
'แบนด์วิดท์ไอพีสตาร์ในประเทศมาเลเซียที่มีแซทเช่าไปนี้มีระยะเวลา 10 ปี ซึ่งพอดีกับอายุของดาวเทียมไทยคม 4 ที่เหลืออายุการใช้งาน 10 ปีเช่นกัน โดยจะมีรายได้ตลอดช่วง 10 ปีนี้ หลายพันล้านบาท ซึ่งราคาแบนด์วิดท์จะแตกต่างกันไปตามสภาพการแข่งขันและความต้องการของตลาดในแต่ละพื้นที่'
นายอารักษ์ กล่าวว่า เวลานี้ไทยคม 5 เลยจุดคุ้มทุนไปแล้ว ซึ่งเชื่อว่า สิ้นปีนี้น่าจะมีผู้ใช้แบนด์วิดท์ไทยคม 4 ประมาณ 30% แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าจะปิดการขายกับประเทศไหนบ้าง เพราะเรื่องนี้ต้องใช้เวลาอย่างกรณีมีแซทเลื่อนการปิดดีลมาหลายรอบ ซึ่งตลาดที่โฟกัสเป็นพิเศษในช่วงนี้ก็คือ ตลาดจีน
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาบริษัทประความสำเร็จในการดำเนินการขายช่องสัญญาณไทยคม 4 หรือไอพีสตาร์ ซึ่งสามารถปิดดีลในประเทศใหญ่ อย่าง ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย ซึ่งสร้างรายได้ในส่วนของดาวเทียมไทยคม 4 รวมกันมากกว่า 50% ของรายได้รวมไทยคมจนปัจจุบันสามารถขายแบนด์วิดท์ของดาวเทียมไทยคม 4 ไปได้แล้วประมาณ 25%
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ ประธานเจ้าหน้าที่คณะผู้บริหาร บริษัท ไทยคม กล่าวว่า เมื่ออาทิตย์ที่แล้วบริษัทฯ ได้รับจดหมายเห็นชอบจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) อนุมัติให้บริษัทดำเนินโครงการดาวเทียมไทยคม 6 ตามที่เสนอไป ซึ่งทางคณะกรรมการบริษัทเห็นชอบกับการลงทุนที่มีมูลค่าประมาณ 160 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นค่าใช้จ่ายในการยิงดาวเทียมประมาณ 30-40% ที่เหลือเป็นค่าจัดสร้างดาวเทียม โดยใช้แหล่งเงินกู้ซึ่งอยู่ระหว่างการหารือกับเอ็กซ์ซิมแบงก์อยู่
การมีดาวเทียมไทยคม 6 ทางกระทรวงไอซีทีก็จะได้ผลตอบแทนจากค่าสัมปทาน ผู้ใช้คนไทยก็จะได้ใช้ประโยชน์จากดาวเทียมดวงใหม่ รวมถึง บริษัทก็จะสามารถให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้บริการด้านการแพร่ภาพกระจายเสียง (Broadcasting) เช่น โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมความละเอียดสูง (เอชดีทีวี) ซึ่งความต้องการใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมทั้งซีแบนด์และเคยูแบนด์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียใต้ มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ
'ที่ประชุมบอร์ดเห็นชอบให้ดำเนินการได้ทันที จริงๆ แล้วเรื่องนี้ไทยคมได้มีการพูดคุยกับบริษัทผู้ผลิตดาวเทียม ออปบิตอล ชายด์ (Obital Sci) มานานแล้ว จึงทำให้ได้ราคาที่ไม่สูงนัก ทางบริษัทผู้ผลิตได้มีการสั่งของไว้ล่วงหน้าแล้ว ซึ่งเชื่อว่า น่าจะยิงขึ้นสู่วงโครจรได้ประมาณเดือนมิถุยายน 2556 จากปกติแล้วจะต้องใช้เวลาประมาณ 3 ปี'
นายอารักษ์ยังกล่าวอีกว่า หลังจากนี้ไปบริษัทจะเริ่มทำการตลาดล่วงหน้าถึง 2 ปี หลังจากที่ยิงดาวเทียมแล้ว น่าจะมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการทันที ซึ่งเชื่อว่าไทยคม 6 จะถึงจุดคุ้มทุนก่อน 8 ปีซึ่งเป็นเวลาที่หมดสัญญาสัมปทานอย่างแน่นอน
'การยิงดาวเทียมไทยคม 6อยู่ภายใต้อำนาจของกระทรวงไอซีทีอยู่แล้ว เพียงแต่เสนอเรื่องให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบเท่านั้น'
สำหรับดาวเทียมไทยคม 6 จะเป็นดาวเทียมขนาดกลางเช่นเดียวกับดาวเทียมไทยคม 5 โดยเป็นดาวเทียมประเภท 3 แกน มีช่องสัญญาณรวมทั้งสิ้น 26 ช่องสัญญาณ โดยแบ่งออกเป็นช่องสัญญาณประเภทซีแบนด์จำนวน 18 ช่องสัญญาณและช่องสัญญาณประเภทเคยูแบนด์อีก 8 ช่องสัญญาณ และมีอายุการใช้งานทั้งสิ้นประมาณ 15 ปี โดยบริษัทจะจัดส่งดาวเทียมไทยคม 6 ขึ้นสู่วงโคจรที่ 78.5 องศาตะวันออก โดยจะเป็นลักษณะของการ Co-location กับดาวเทียมไทยคม 5
***เซ็นสัญญาMEASAT
นายอารักษ์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 30 พ.ค.ไทยคมได้ลงนามเซ็นสัญญากับบริษัท มีแซท โกลบอล ซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการสื่อสารผ่านดาวเทียมระดับพรีเมี่ยมหลักในประเทศมาเลเซีย โดยมีแซทฯ เช่าช่องสัญญาณ (แบนด์วิดท์) ส่วนใหญ่ของไทยคม 4 ที่จัดสรรไว้สำหรับการใช้งานในประเทศมาเลเซีย ทำให้มีแซทกลายเป็นผู้ให้บริการหลักแต่เพียงผู้เดียวของไอพีสตาร์ในประเทศมาเลเซีย หรือ National Service Operator (NSO) จำนวนแบนด์วิดท์ของไอพีสตาร์ในมาเลเซียมีทั้งหมด 7 สปอตบีมหรือประมาณ 1,894 เมกกะเฮิรตซ์ ซึ่งจะสามารถให้บริการได้ถึง 3.3 Gbps คิดเป็น 7% ของจำนวนแบนด์วิดท์ทั้งหมดของดาวเทียมไทยคม 4 ภายใต้ชื่อบริการว่ามีแซท 5 (MEASAT 5)
'แบนด์วิดท์ไอพีสตาร์ในประเทศมาเลเซียที่มีแซทเช่าไปนี้มีระยะเวลา 10 ปี ซึ่งพอดีกับอายุของดาวเทียมไทยคม 4 ที่เหลืออายุการใช้งาน 10 ปีเช่นกัน โดยจะมีรายได้ตลอดช่วง 10 ปีนี้ หลายพันล้านบาท ซึ่งราคาแบนด์วิดท์จะแตกต่างกันไปตามสภาพการแข่งขันและความต้องการของตลาดในแต่ละพื้นที่'
นายอารักษ์ กล่าวว่า เวลานี้ไทยคม 5 เลยจุดคุ้มทุนไปแล้ว ซึ่งเชื่อว่า สิ้นปีนี้น่าจะมีผู้ใช้แบนด์วิดท์ไทยคม 4 ประมาณ 30% แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าจะปิดการขายกับประเทศไหนบ้าง เพราะเรื่องนี้ต้องใช้เวลาอย่างกรณีมีแซทเลื่อนการปิดดีลมาหลายรอบ ซึ่งตลาดที่โฟกัสเป็นพิเศษในช่วงนี้ก็คือ ตลาดจีน
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาบริษัทประความสำเร็จในการดำเนินการขายช่องสัญญาณไทยคม 4 หรือไอพีสตาร์ ซึ่งสามารถปิดดีลในประเทศใหญ่ อย่าง ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย ซึ่งสร้างรายได้ในส่วนของดาวเทียมไทยคม 4 รวมกันมากกว่า 50% ของรายได้รวมไทยคมจนปัจจุบันสามารถขายแบนด์วิดท์ของดาวเทียมไทยคม 4 ไปได้แล้วประมาณ 25%