ASTVผู้จัดการรายวัน - "ประสาร" ยอมรับผลประกอบการแบงก์ชาติปี 53 ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนจากการแทรกแซงค่าเงินบาท เช่นเดียวกับปีนี้แม้ไตรมาสแรกกำไร แต่ทั้งปีน่าจะขาดทุน อ้างระบบการเงินโลกผันผวนสูง แนวโน้มดอลลาร์อ่อนไม่หยุด-ดอกเบี้ยเอเชียขึ้น เผยอิงเงินหยวนต้องใช้เวลาอีก 10 ปี
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ค่าเงินที่ผันผวนใช่วงที่ผ่านมาโดยเฉพาะปี 2553 ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยค่อนข้างมาก การแข็งค่าของเงินบาททำให้ ธปท.ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนจากการเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทไม่ให้แข็งเร็วเกินไป อย่างไรก็ตาม ทุกประเทศได้รับผลกระทบเช่นกัน เป็นปัจจัยลบจากปัญหาของเศรษฐกิจสหรัฐ ส่วนปีนี้ แม้ว่า ไตรมาสแรกค่าเงินบาทจะมีช่วงที่อ่อนค่าลงทำให้งบดุลของ ธปท.มีกำไรจากการตีราคาอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท แต่ทั้งปี ยังน่าจะขาดทุนมากกว่า เพราะหากดออลาร์สหรัฐอ่อนค่าเร็ว ธปท.ก็ต้องดูแลค่าเงินบาท
"ค่าเงินบาทที่มีความผันผวนมากขึ้นในช่วงนี้มีทั้งอ่อนค่าลงและแข็งค่าขึ้น เกิดจากปัจจัยเศรษฐกิจต่างประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในสหภาพยุโรปที่มีปัญหาเรื่องหนี้สินของรัฐบาล รวมทั้งเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังคงมีปัญหาความเปราะบางในเรื่องการฟื้นตัว แต่ในช่วงที่ค่าเงินบาทอ่อนค่า ธปท.จะไม่ค่อยได้เข้าแทรกแซงมากนัก เพราะประเทศไทยเป็นประเทศส่งออก แต่ที่จะต้องดูแลคือ ลดความผันผวนให้ค่าเงินบาทค่อยๆ เคลื่อนไหวแบบนิ่ง ไม่อ่อนค่าหรือแข็งค่าเร็วเกินไป เพราะจะเป็นปัญหาต่อผู้ประกอบการได้"
นายประสารกล่าวย้ำว่า ขณะนี้ระบบการเงินโลกมีความไม่สมดุลสูง เพราะในช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐถดถอยลง มีสัดส่วนในผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ของโลกประมาณ 20% แต่สัดส่วนที่ทั่วโลกใช้เงินดอลลาร์สหรัฐในการค้าขายยังอยู่ที่ 80% แต่ประเทศเศรษฐกิจใหม่อย่างจีน ซึ่งขนาดเศรษฐกิจใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วกลับมีปริมาณเงินในตลาดเงินน้อยมาก ทำให้ทุกประเทศทั่วโลกยังต้องรับมือกับความผันผวนของดอลลาร์ ซึ่งยังมีแนวโน้มอ่อนค่าลงต่อเนื่อง
"ยังไม่มีเงินสกุลอื่นมาใช้แทนดอลลาร์ได้ในขณะนี้ โดยคาดว่า ในกรณีของเงินหยวนคงใช้เวลาอีกประมาณ 10 ปีถึงจะสามารถขึ้นมาเป็นเงินสำรองระหว่างประเทศได้"
ทั้งนี้ ธปท.มีปัญหาในเรื่องงบดุลจากผลตอบแทนในการลงทุนตามกฎหมาย ธปท. ซึ่งส่วนใหญ่ ธปท.ลงทุนในพันธบัตรของประเทศใหญ่และมีความมั่นคง คือ พันธบัตรสหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และปอนด์ อังกฤษ ซึ่งในขณะนี้อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 0-0.25% ต่อปี ขณะที่การออกพันธบัตรธปท.เพื่อสภาพคล่องในระบบการเงินไทย ไม่ให้มากเกินไปจากการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ ธปท.ต้องจ่ายอยู่ที่ 2.75% ต่อปี ทำให้อย่างไรก็หากำไรได้ยาก ธปท.จึงแนวคิดที่จะตั้งนิติบุคคลใหม่ขึ้นมา โดยมีการแก้กฎหมาย ธปท. อาจจะมีเป็นลักษณะกองทุนความมั่งคั่ง หรือบริษัทจำกัดเพื่อลงทุนเพิ่มเติมในหุ้น และตราสารหนี้ประเภทใหม่ๆ ที่ได้ผลตอบแทนมากขึ้น.
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ค่าเงินที่ผันผวนใช่วงที่ผ่านมาโดยเฉพาะปี 2553 ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยค่อนข้างมาก การแข็งค่าของเงินบาททำให้ ธปท.ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนจากการเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทไม่ให้แข็งเร็วเกินไป อย่างไรก็ตาม ทุกประเทศได้รับผลกระทบเช่นกัน เป็นปัจจัยลบจากปัญหาของเศรษฐกิจสหรัฐ ส่วนปีนี้ แม้ว่า ไตรมาสแรกค่าเงินบาทจะมีช่วงที่อ่อนค่าลงทำให้งบดุลของ ธปท.มีกำไรจากการตีราคาอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท แต่ทั้งปี ยังน่าจะขาดทุนมากกว่า เพราะหากดออลาร์สหรัฐอ่อนค่าเร็ว ธปท.ก็ต้องดูแลค่าเงินบาท
"ค่าเงินบาทที่มีความผันผวนมากขึ้นในช่วงนี้มีทั้งอ่อนค่าลงและแข็งค่าขึ้น เกิดจากปัจจัยเศรษฐกิจต่างประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในสหภาพยุโรปที่มีปัญหาเรื่องหนี้สินของรัฐบาล รวมทั้งเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังคงมีปัญหาความเปราะบางในเรื่องการฟื้นตัว แต่ในช่วงที่ค่าเงินบาทอ่อนค่า ธปท.จะไม่ค่อยได้เข้าแทรกแซงมากนัก เพราะประเทศไทยเป็นประเทศส่งออก แต่ที่จะต้องดูแลคือ ลดความผันผวนให้ค่าเงินบาทค่อยๆ เคลื่อนไหวแบบนิ่ง ไม่อ่อนค่าหรือแข็งค่าเร็วเกินไป เพราะจะเป็นปัญหาต่อผู้ประกอบการได้"
นายประสารกล่าวย้ำว่า ขณะนี้ระบบการเงินโลกมีความไม่สมดุลสูง เพราะในช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐถดถอยลง มีสัดส่วนในผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ของโลกประมาณ 20% แต่สัดส่วนที่ทั่วโลกใช้เงินดอลลาร์สหรัฐในการค้าขายยังอยู่ที่ 80% แต่ประเทศเศรษฐกิจใหม่อย่างจีน ซึ่งขนาดเศรษฐกิจใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วกลับมีปริมาณเงินในตลาดเงินน้อยมาก ทำให้ทุกประเทศทั่วโลกยังต้องรับมือกับความผันผวนของดอลลาร์ ซึ่งยังมีแนวโน้มอ่อนค่าลงต่อเนื่อง
"ยังไม่มีเงินสกุลอื่นมาใช้แทนดอลลาร์ได้ในขณะนี้ โดยคาดว่า ในกรณีของเงินหยวนคงใช้เวลาอีกประมาณ 10 ปีถึงจะสามารถขึ้นมาเป็นเงินสำรองระหว่างประเทศได้"
ทั้งนี้ ธปท.มีปัญหาในเรื่องงบดุลจากผลตอบแทนในการลงทุนตามกฎหมาย ธปท. ซึ่งส่วนใหญ่ ธปท.ลงทุนในพันธบัตรของประเทศใหญ่และมีความมั่นคง คือ พันธบัตรสหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และปอนด์ อังกฤษ ซึ่งในขณะนี้อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 0-0.25% ต่อปี ขณะที่การออกพันธบัตรธปท.เพื่อสภาพคล่องในระบบการเงินไทย ไม่ให้มากเกินไปจากการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ ธปท.ต้องจ่ายอยู่ที่ 2.75% ต่อปี ทำให้อย่างไรก็หากำไรได้ยาก ธปท.จึงแนวคิดที่จะตั้งนิติบุคคลใหม่ขึ้นมา โดยมีการแก้กฎหมาย ธปท. อาจจะมีเป็นลักษณะกองทุนความมั่งคั่ง หรือบริษัทจำกัดเพื่อลงทุนเพิ่มเติมในหุ้น และตราสารหนี้ประเภทใหม่ๆ ที่ได้ผลตอบแทนมากขึ้น.