วานนี้ (19 พ.ค.) นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (ชพน.) กล่าวถึงการจัดผู้สมัครลงรับเลือกตั้งส.ส.เขต ใน พื้นที่ จ.นครราชสีมาว่า จ.นครราชสีมาเป็นพื้นที่เป้าหมาย เพราะเป็นพื้นที่ดั้งเดิมของพรรค ทั้งยังมีเก้าอี้ส.ส.เขต ถึง 15 ที่นั่ง รวมกับคะแนนในส่วนของปาร์ตี้ลิสต์อีก 5-6 ที่นั่ง
ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นการแย่งชิงระหว่าง 3 พรรค ได้แก่ พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน พรรคเพื่อไทย และพรรคภูมิใจไทย ส่วนพรรคจะได้กี่ที่นั่งนั้น ขึ้นอยู่กับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งพรรคก็จะพยายามนำเสนอนนโยบายในทุกด้าน และจะมีการจัดการปราศรัยใหญ่ในพื้นที่สำคัญๆด้วย
รายงานข่าวแจ้งว่า การแบ่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง พื้นที่ จ.นครราชสีมาทั้ง 15 เขตเลือกตั้งของพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดินนั้น ได้แบ่งโควตาระหว่างกลุ่มนายสุวัจน์ ลิปตพัลล แกนนำพรรค และ กลุ่มโคราชของ ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี ที่เข้ามาทำหน้าที่คุมการเลือกตั้งแทน ว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี สามี ที่เพิ่งเสียชีวิต โดยในส่วนของกลุ่มนายสุวัจน์นั้น ที่ลงตัวแล้ว คือ เขต 1 นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล เขต 2 นายวัชรพล โตมรศักดิ์ เขต 3 นายประเสริฐ บุญชัยสุข โดยเขต 1-3 เป็นการลงรักษาพื้นที่เดิมของทั้ง 3 คน เขต 5 เป็น นายวัชรา ณ วังขนาย และ เขต 6 ส่งนางทิม สอนนา หรือ สุนารี ราชสีมา นักร้องชื่อดัง ลงแทน นายสมชัย ฉัตรพัฒนศิริ ที่ย้ายไปอยู่พรรคภูมิใจไทย
ส่วนพื้นที่ดูแลของกลุ่มโคราช มีดังนี้ เขต 4 น.ส.สุธาสินี ศิริโภคานนท์ อดีต ส.อบจ.โนนสูง ส่วนเขต 7 จะเป็นการชิมลางครั้งแรกของ นายพีรพล สุวรรณฉวี ลูกชายคนกลาง ของครอบครัวสุวรรณฉวี ขณะที่ เขต 8 ส่งนายอนุวัฒน์ วิเศษจินดาวัฒน์ อดีต ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อแผ่นดิน ลงรักษาที่นั่งเดิม ส่วนนายพลพีร์ สุวรรณฉวี อดีต ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อแผ่นดิน ลงที่เขต 9 และที่เขต 15 ได้นายบุญเลิศ ครุฑขุนทด อดีต ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย ย้ายมาลงแทนนายรชตะ ด่านกุล ที่ล่าสุดได้ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย
สำหรับเขตที่เหลืออีก 5 เขต ได้แก่ เขตเลือกตั้งที่ 10 – 14 นั้น ยังอยู่ในระหว่างการสรุปผู้สมัครอีกครั้ง เพราะคนที่วางตัวไว้ เปลี่ยนใจไปลงสมัครในนามพรรคการเมืองอื่น โดยเฉพาะที่เขตเลือกตั้งที่ 10 ซึ่งเป็นพื้นที่เดิมของ นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย แกนนำคนสำคัญของพรรคภูมิใจไทย ที่ก่อนหน้านี้ได้วางตัว นายซ้าย ผลกระโทก อดีต ส.จ.โชคชัย ลงสมัคร แต่ล่าสุดนายซ้าย ได้ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย ทำให้พื้นที่นี้ มีโอกาสเสียท่าให้กับพรรคภูมิใจไทย อีกครั้ง
**"เติ้ง"ลุ้นนักมวยได้ส.ส.เขต
ด้านนายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่า หลังวันที่ 28 พ.ค.ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการรับสมัคร ส.ส.ระบบเขต ทางพรรคจะประเมินสถานการณ์อีกครั้ง โดยจะมีการเปรียบเทียบกับผู้สมัครของพรรค และพรรคการเมืองอื่นในพื้นที่เดียวกันว่ามีความได้เปรียบ เสียเปรียบอย่างไร เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ในการลงพื้นที่หาเสียงต่อไป เบื้องต้นคาดว่าจะลงพื้นที่ในภาคอีสานก่อน เช่น จ.สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด จากนั้นจะลงพื้นที่ภาคกลาง ไม่ว่าจะเป็น จ.สุพรรณบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี อุทัยธานี ปทุมธานี ราชบุรี นครปฐม นครสวรรค์ รวมถึงจ.พิจิตร
" ส่วนตัวไม่ได้ประเมินว่าจะได้ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อเท่าไร เพียงแต่จะทำให้ได้มากที่สุด ส่วนระบบเขต ก็หวังในพื้นที่ภาคอีสาน โดยเฉพาะจ.อุบลราชธานี ที่คาดว่าจะได้ 3 เขต และจ.ขอนแก่น เขตของเรือเอกสมรักษ์ คำสิงห์ และพื้นที่ จ.เพชรบูรณ์ ของนายสุระ แสนคำ หรือ เขาทราย กาแลกซี่ แต่ที่น่าเสียดายคือ นายเฉลิมพล มาลาคำ นักร้องหมอลำชื่อดัง ที่ขอถอนตัว รวมทั้งนายเจริญ ชูมณี หรือ เจริญทอง เกียรติบ้านช่อง อดีตแชมป์มวยชื่อดัง ก็ลงสมัครไม่ได้ เพราะไม่ได้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม จะมีนักร้องหมอลำชื่อดังมาลงสมัครอีกคน แต่ยังบอกไม่ได้ ส่วนที่บอกว่าได้ทาบทามอดีตนางสาวไทยก่อนหน้านี้ ก็ยกเลิกไปแล้ว เพราะมีปัญหามากมาย ไม่รู้จะดูแลอย่างไร แล้วใครจะเป็นผู้ดูแล สุดท้ายก็หนีไม่พ้นที่ผมต้องดูแลเอง" นายบรรหาร กล่าว
** หนุนแนวทางนิรโทษกรรม
สำหรับสถานการณ์ทางการเมืองหลังการเลือกตั้ง คิดว่าน่าจะดีขึ้นบ้างเล็กน้อย แต่ปัญหาความขัดแย้งก็ยังไม่หมด การทะเลาะกันก็ยังไม่หมด จะทำให้เศรษฐกิจ ก็ยังไม่ดีขึ้น ตนเคยเสนอไปก่อนหน้านี้ว่าควรยุบสภา 6 เดือนครั้ง เพื่อลดปัญหาความขัดแย้ง ทั้งนี้เห็นว่าอะไรในอดีต ถ้าให้อภัยกันได้ ก็ควรอภัยกันทุกฝ่าย ที่ผ่านมาก็เห็นความวุ่นวายเต็มไปหมด ฟ้องศาล และอัยการจนต้องมีการขอประกันตัววุ่นวายไปหมด ถึงเวลาแล้วที่ควรให้อภัยกัน โดยควรนิรโทษกรรม แต่กระบวนการดำเนินการต้องมาดูกันว่า อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้
อย่างไรก็ตามในปี 55 บรรดาพวกที่ติดบ้านเลขที่ 111 จะพ้นโทษจากการถูกตัดสิทธิ์ ซึ่งตรงนี้จะเป็นช่วงสำคัญ แต่ไม่แน่ใจว่าจะมีการยุบสภา เพื่อให้คนกลุ่มนี้เข้ามามีตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่ เพราะต้องรอดูหน้าตาของรัฐบาลใหม่ หรือจะรอให้พวกบ้านเลขที่ 109 พร้อมกันแล้วยุบสภาครั้งเดียว
" คนเราควรจะปลงกันได้แล้ว อีกหน่อยคนเราก็ไปแล้ว ไม่มีอะไรแน่นอน การไปงานศพบ่อย ทำให้ผมปลงได้เยอะ อย่างที่ผ่านมา ผมมีศัตรูเยอะสุด มีคนเล่นผมไว้เยอะในช่วงที่เป็นนายกฯ แต่ตอนนี้ผมลืมหมดแล้ว ให้อภัย ดังนั้นคนเราควรให้อภัยกัน" นายบรรหาร กล่าว
** ดันส.ส.เขตสุพรรณขึ้นปาร์ตี้ลิสต์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับผู้สมัครส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคชาติไทยพัฒนา ใน 10 อันดับแรก เป็นที่น่าสังเกตว่า มี ส.ส.สุพรรณบุรี ต้องลงสมัครแบบบัญชีรายชื่อ ในพื้นที่มีที่มีปัญหาทับซ้อนกัน หลังจาก กกต.แบ่งเขตใหม่ โดย นายนิติวัฒน์ จันทร์สว่าง หลานชายนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีต ส.ส.สุพรรณบุรี ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดได้ขึ้นบัญชีรายชื่อในอันดับ 3 และอันดับที่น่าสนใจ คือ อันดับ 4 นายยุทธพล อังกินันทน์ เลขานุการ รมว.ท่องเที่ยวและการกีฬา อันดับที่ 6 นายปิยะพันธ์ จัมปาสุต อดีตอธิบดีกรมการขนส่งทางบก อันดับ 7 นายฐนนท์ศรณ์ เลิศฤทธิ์ศิริกุล ผู้ช่วยรมต.ประจำสำนักนายกฯ นายเกษมสันต์ วีระกุล ผู้ช่วยเลขา รมว.คลัง อันดับที่ 9 นายวิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและประวัติศ่าสตร์จีน และในอันดับที่ 11 นายเจรจา เที่ยงธรรม อดีต ส.ส.สุพรรณบุรี
ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นการแย่งชิงระหว่าง 3 พรรค ได้แก่ พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน พรรคเพื่อไทย และพรรคภูมิใจไทย ส่วนพรรคจะได้กี่ที่นั่งนั้น ขึ้นอยู่กับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งพรรคก็จะพยายามนำเสนอนนโยบายในทุกด้าน และจะมีการจัดการปราศรัยใหญ่ในพื้นที่สำคัญๆด้วย
รายงานข่าวแจ้งว่า การแบ่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง พื้นที่ จ.นครราชสีมาทั้ง 15 เขตเลือกตั้งของพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดินนั้น ได้แบ่งโควตาระหว่างกลุ่มนายสุวัจน์ ลิปตพัลล แกนนำพรรค และ กลุ่มโคราชของ ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี ที่เข้ามาทำหน้าที่คุมการเลือกตั้งแทน ว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี สามี ที่เพิ่งเสียชีวิต โดยในส่วนของกลุ่มนายสุวัจน์นั้น ที่ลงตัวแล้ว คือ เขต 1 นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล เขต 2 นายวัชรพล โตมรศักดิ์ เขต 3 นายประเสริฐ บุญชัยสุข โดยเขต 1-3 เป็นการลงรักษาพื้นที่เดิมของทั้ง 3 คน เขต 5 เป็น นายวัชรา ณ วังขนาย และ เขต 6 ส่งนางทิม สอนนา หรือ สุนารี ราชสีมา นักร้องชื่อดัง ลงแทน นายสมชัย ฉัตรพัฒนศิริ ที่ย้ายไปอยู่พรรคภูมิใจไทย
ส่วนพื้นที่ดูแลของกลุ่มโคราช มีดังนี้ เขต 4 น.ส.สุธาสินี ศิริโภคานนท์ อดีต ส.อบจ.โนนสูง ส่วนเขต 7 จะเป็นการชิมลางครั้งแรกของ นายพีรพล สุวรรณฉวี ลูกชายคนกลาง ของครอบครัวสุวรรณฉวี ขณะที่ เขต 8 ส่งนายอนุวัฒน์ วิเศษจินดาวัฒน์ อดีต ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อแผ่นดิน ลงรักษาที่นั่งเดิม ส่วนนายพลพีร์ สุวรรณฉวี อดีต ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อแผ่นดิน ลงที่เขต 9 และที่เขต 15 ได้นายบุญเลิศ ครุฑขุนทด อดีต ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย ย้ายมาลงแทนนายรชตะ ด่านกุล ที่ล่าสุดได้ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย
สำหรับเขตที่เหลืออีก 5 เขต ได้แก่ เขตเลือกตั้งที่ 10 – 14 นั้น ยังอยู่ในระหว่างการสรุปผู้สมัครอีกครั้ง เพราะคนที่วางตัวไว้ เปลี่ยนใจไปลงสมัครในนามพรรคการเมืองอื่น โดยเฉพาะที่เขตเลือกตั้งที่ 10 ซึ่งเป็นพื้นที่เดิมของ นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย แกนนำคนสำคัญของพรรคภูมิใจไทย ที่ก่อนหน้านี้ได้วางตัว นายซ้าย ผลกระโทก อดีต ส.จ.โชคชัย ลงสมัคร แต่ล่าสุดนายซ้าย ได้ย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย ทำให้พื้นที่นี้ มีโอกาสเสียท่าให้กับพรรคภูมิใจไทย อีกครั้ง
**"เติ้ง"ลุ้นนักมวยได้ส.ส.เขต
ด้านนายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่า หลังวันที่ 28 พ.ค.ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการรับสมัคร ส.ส.ระบบเขต ทางพรรคจะประเมินสถานการณ์อีกครั้ง โดยจะมีการเปรียบเทียบกับผู้สมัครของพรรค และพรรคการเมืองอื่นในพื้นที่เดียวกันว่ามีความได้เปรียบ เสียเปรียบอย่างไร เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ในการลงพื้นที่หาเสียงต่อไป เบื้องต้นคาดว่าจะลงพื้นที่ในภาคอีสานก่อน เช่น จ.สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด จากนั้นจะลงพื้นที่ภาคกลาง ไม่ว่าจะเป็น จ.สุพรรณบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี อุทัยธานี ปทุมธานี ราชบุรี นครปฐม นครสวรรค์ รวมถึงจ.พิจิตร
" ส่วนตัวไม่ได้ประเมินว่าจะได้ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อเท่าไร เพียงแต่จะทำให้ได้มากที่สุด ส่วนระบบเขต ก็หวังในพื้นที่ภาคอีสาน โดยเฉพาะจ.อุบลราชธานี ที่คาดว่าจะได้ 3 เขต และจ.ขอนแก่น เขตของเรือเอกสมรักษ์ คำสิงห์ และพื้นที่ จ.เพชรบูรณ์ ของนายสุระ แสนคำ หรือ เขาทราย กาแลกซี่ แต่ที่น่าเสียดายคือ นายเฉลิมพล มาลาคำ นักร้องหมอลำชื่อดัง ที่ขอถอนตัว รวมทั้งนายเจริญ ชูมณี หรือ เจริญทอง เกียรติบ้านช่อง อดีตแชมป์มวยชื่อดัง ก็ลงสมัครไม่ได้ เพราะไม่ได้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม จะมีนักร้องหมอลำชื่อดังมาลงสมัครอีกคน แต่ยังบอกไม่ได้ ส่วนที่บอกว่าได้ทาบทามอดีตนางสาวไทยก่อนหน้านี้ ก็ยกเลิกไปแล้ว เพราะมีปัญหามากมาย ไม่รู้จะดูแลอย่างไร แล้วใครจะเป็นผู้ดูแล สุดท้ายก็หนีไม่พ้นที่ผมต้องดูแลเอง" นายบรรหาร กล่าว
** หนุนแนวทางนิรโทษกรรม
สำหรับสถานการณ์ทางการเมืองหลังการเลือกตั้ง คิดว่าน่าจะดีขึ้นบ้างเล็กน้อย แต่ปัญหาความขัดแย้งก็ยังไม่หมด การทะเลาะกันก็ยังไม่หมด จะทำให้เศรษฐกิจ ก็ยังไม่ดีขึ้น ตนเคยเสนอไปก่อนหน้านี้ว่าควรยุบสภา 6 เดือนครั้ง เพื่อลดปัญหาความขัดแย้ง ทั้งนี้เห็นว่าอะไรในอดีต ถ้าให้อภัยกันได้ ก็ควรอภัยกันทุกฝ่าย ที่ผ่านมาก็เห็นความวุ่นวายเต็มไปหมด ฟ้องศาล และอัยการจนต้องมีการขอประกันตัววุ่นวายไปหมด ถึงเวลาแล้วที่ควรให้อภัยกัน โดยควรนิรโทษกรรม แต่กระบวนการดำเนินการต้องมาดูกันว่า อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้
อย่างไรก็ตามในปี 55 บรรดาพวกที่ติดบ้านเลขที่ 111 จะพ้นโทษจากการถูกตัดสิทธิ์ ซึ่งตรงนี้จะเป็นช่วงสำคัญ แต่ไม่แน่ใจว่าจะมีการยุบสภา เพื่อให้คนกลุ่มนี้เข้ามามีตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่ เพราะต้องรอดูหน้าตาของรัฐบาลใหม่ หรือจะรอให้พวกบ้านเลขที่ 109 พร้อมกันแล้วยุบสภาครั้งเดียว
" คนเราควรจะปลงกันได้แล้ว อีกหน่อยคนเราก็ไปแล้ว ไม่มีอะไรแน่นอน การไปงานศพบ่อย ทำให้ผมปลงได้เยอะ อย่างที่ผ่านมา ผมมีศัตรูเยอะสุด มีคนเล่นผมไว้เยอะในช่วงที่เป็นนายกฯ แต่ตอนนี้ผมลืมหมดแล้ว ให้อภัย ดังนั้นคนเราควรให้อภัยกัน" นายบรรหาร กล่าว
** ดันส.ส.เขตสุพรรณขึ้นปาร์ตี้ลิสต์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับผู้สมัครส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคชาติไทยพัฒนา ใน 10 อันดับแรก เป็นที่น่าสังเกตว่า มี ส.ส.สุพรรณบุรี ต้องลงสมัครแบบบัญชีรายชื่อ ในพื้นที่มีที่มีปัญหาทับซ้อนกัน หลังจาก กกต.แบ่งเขตใหม่ โดย นายนิติวัฒน์ จันทร์สว่าง หลานชายนายบรรหาร ศิลปอาชา อดีต ส.ส.สุพรรณบุรี ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดได้ขึ้นบัญชีรายชื่อในอันดับ 3 และอันดับที่น่าสนใจ คือ อันดับ 4 นายยุทธพล อังกินันทน์ เลขานุการ รมว.ท่องเที่ยวและการกีฬา อันดับที่ 6 นายปิยะพันธ์ จัมปาสุต อดีตอธิบดีกรมการขนส่งทางบก อันดับ 7 นายฐนนท์ศรณ์ เลิศฤทธิ์ศิริกุล ผู้ช่วยรมต.ประจำสำนักนายกฯ นายเกษมสันต์ วีระกุล ผู้ช่วยเลขา รมว.คลัง อันดับที่ 9 นายวิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและประวัติศ่าสตร์จีน และในอันดับที่ 11 นายเจรจา เที่ยงธรรม อดีต ส.ส.สุพรรณบุรี