ASTVผู้จัดการรายวัน - “เอแบคโพล” มาแปลก เผยชาวบ้านสนใจจะเลือก ส.ส.ระบบปาร์ตี้ลิตส์ประชาธิปัตย์มากกว่าเพื่อไทย สูงถึงร้อยละ 45.5 ชี้นโยบายพรรคประชาธิปัตย์โดนใจกว่านโยบาย “แม้วคิด เพื่อไทยทำ” นโยบายส่งเสริมระบบคุณธรรม แก้ปัญหาภาคใต้ เศรษฐกิจพอเพียง ความมั่นคง ประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปชป.ชนะขาด! ส่วนนโยบายควบคุมสินค้าแพงยังไม่โดนใจทั้ง 2 พรรค “สวนดุสิตโพล” อยากให้นักการเมืองหาเสียงซื่อสัตย์
วานนี้ (15 พ.ค.) ดร.นพดล กรรณิกา ผอ.สำนักวิจัยเอแบคโพล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ประชันนโยบายของพรรคการเมืองในความชื่นชอบของประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ สระแก้ว ราชบุรี สมุทรปราการ ชลบุรี นครพนม สกลนคร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ อุดรธานี ขอนแก่น ตรัง สงขลา และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 2,447 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่าง 8 - 14 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้นและช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 พบว่า
ประชาชนให้ความชื่นชอบต่อนโยบายที่นำมาสอบถามประชาชนหลายนโยบายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเพราะทิ้งห่างเกินกว่าช่วงความคลาดเคลื่อนที่ค้นพบ โดยพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.0 ชอบนโยบายส่งเสริมระบบคุณธรรมในสังคมไทยของพรรคประชาธิปัตย์ ในขณะที่ร้อยละ 35.7 ชอบของพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 7.3 ระบุของพรรคอื่นๆ นอกจากนี้ ร้อยละ 55.9 ชอบนโยบายปรองดองแห่งชาติของพรรคประชาธิปัตย์ ในขณะที่ร้อยละ 36.2 ชอบของพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 7.9 ระบุของพรรคอื่น ๆ
เมื่อถามถึงนโยบายการใช้แนวทางสันติวิธีในการแก้ปัญหาภาคใต้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.8 ชอบของพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 36.7 ชอบของพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 7.5 ชอบของพรรคการเมืองอื่นๆ และนโยบายเด็กและเยาวชน พบว่า ร้อยละ 55.5 ชอบของพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 38.0 ชอบของพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 6.5 ชอบของพรรคอื่นๆ
ที่น่าพิจารณา นโยบายเศรษฐกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ร้อยละ 55.4 ชอบของพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 38.7 ชอบของพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 5.9 ชอบของพรรคอื่นๆ และนโยบายการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของกองทัพ พบว่า ร้อยละ 54.2 ชอบของพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 38.9 ชอบของพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 6.9 ชอบของพรรคอื่นๆ
สำหรับนโยบายควบคุมพื้นที่เสี่ยงต่อความมั่นคง พบว่า ร้อยละ 52.9 ชอบของพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 40.0 ชอบของพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 7.1 ชอบของพรรคอื่นๆ นอกจากนี้เมื่อถามถึงนโยบายแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น พบว่าร้อยละ 52.8 ชอบของพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 39.7 ชอบของพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 7.5 ชอบของพรรคอื่นๆ
ที่น่าสนใจคือ นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รักษาสุขภาพของประชาชน พบว่า ร้อยละ 52.0 ชอบของพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 42.5 ชอบของพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 5.5 ชอบของพรรคอื่นๆ นอกจากนี้ นโยบายแก้ปัญหาราคาเชื้อเพลิง เช่น แก๊ส น้ำมันเชื้อเพลิง พบว่า ร้อยละ 51.7 ชอบของพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 41.3 ชอบของพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 7.0 ชอบของพรรคอื่นๆ และนโยบายเพื่อชาวนาและเกษตรกร พบว่า ร้อยละ 51.7 ชอบของพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 42.7 ชอบของพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 5.6 ชอบของพรรคอื่นๆ
ที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งเพราะเสียงสนับสนุนไม่ได้ทิ้งห่างกันเกินช่วงความคลาดเคลื่อนที่ค้นพบคือ นโยบายควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค โดยพบว่า ร้อยละ 49.0 ชอบของพรรคประชาธิปัตย์ แต่ร้อยละ 43.6 ชอบของพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 7.4 ชอบของพรรคอื่นๆ เช่นเดียวกันกับ นโยบายแก้ปัญหาหนี้สินของประชาชน ร้อยละ 49.0 ชอบของพรรคประชาธิปัตย์ แต่ร้อยละ 45.6 ชอบของพรรค เพื่อไทย และร้อยละ 5.4 ชอบของพรรคอื่นๆ และนโยบายแก้ปัญหาสังคม เช่น ยาเสพติด อาชญากรรม พบว่า ร้อยละ 47.7 ชอบของพรรคเพื่อไทย ในขณะที่ร้อยละ 46.7 ชอบของพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 5.6 ชอบของพรรคอื่นๆ
เมื่อถามว่า ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ท่านตั้งใจจะเลือกพรรคการเมืองใดในระบบบัญชีรายชื่อ และวิเคราะห์เฉพาะคนที่ตัดสินใจเลือกแล้ว พบว่า สัดส่วนของคนที่จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 34.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 45.5 และคนที่จะเลือกพรรคเพื่อไทยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 36.4 มาอยู่ที่ร้อยละ 40.5 แต่ไปลดลงจากพรรคการเมืองอื่นๆ จากร้อยละ 29.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 14.0 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามสัดส่วนของคนที่จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทยยังอยู่ในช่วงความคลาดเคลื่อนที่ค้นพบ นั่นหมายความว่า ผลการเลือกตั้งจริงอาจเปลี่ยนแปลงไปได้จากข้อมูลที่ค้นพบในครั้งนี้
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 47.9 เป็นชาย ร้อยละ 52.1 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 4.8 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 20.1 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 19.7 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 20.7 อายุระหว่าง 40-49 ปี และ ร้อยละ 34.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 64.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 26.7 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 8.8 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 32.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 27.6 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 11.6 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 10.5 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 9.0 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 7.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 2.1 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ.
**อยากให้นักการเมืองหาเสียงซื่อสัตย์
“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,554 คน ระหว่างวันที่ 11-14 พฤษภาคม 2554 ในหลายหัวข้อเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็วๆนี้เนื่องจากการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคการเมืองต่างๆ มีการแข่งขันกันสูง ในขณะที่ประชาชนก็มีความคาดหวังสูงเช่นเดียวกัน ดังนั้นเพื่อที่จะให้การเลือกตั้ง การหาเสียงเป็นที่ถูกใจของประชาชน
เริ่มแรกจากที่ว่า ส.ส. ควรหาเสียงอย่างไร? จึงจะได้คะแนนจากประชาชน 38.23% เห็นว่า ควรมีความจริงใจในการหาเสียง แสดงจุดยืนของตัวเอง /ทำให้ประชาชนศรัทธาและเชื่อมั่น ขณะที่ 26.60% มองว่า ควรเข้าถึงประชาชนทุกระดับ เป็นกันเอง ใกล้ชิดกับประชาชน / ลงพื้นที่สม่ำเสมอ ส่วนที่มองว่า นโยบายที่นำเสนอสามารถทำได้จริง ไม่เพ้อฝัน ไม่ชวนเชื่อ /แก้ปัญหาในพื้นที่ให้ตรงจุด อยู่ที่ 19.36% และปิดท้ายด้วยใช้วิธีการหาเสียงที่บริสุทธิ์ ยุติธรรม /ไม่ซื้อเสียง/ไม่ใส่ร้าย โจมตีคู่แข่งหรือพรรคการเมืองอื่น 15.81
หัวข้อ พรรคการเมือง ควรทำอย่างไร? จึงจะเป็นที่ถูกใจของประชาชน 40.52% มองว่า ควรมีจุดยืน ชูนโยบายและแนวทางในการพัฒนาประเทศอย่างชัดเจน /การประชาสัมพันธ์ที่หลากหลายช่องทางและเข้าถึงประชาชนทุกระดับ 26.48%มองว่า มีผู้นำหรือหัวหน้าพรรคที่มีภาพลักษณ์ที่ดี เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากประชาชน ส่วนที่ให้มีการคัดเลือกว่าที่ผู้สมัครได้อย่างเหมาะสม เก่ง ดี มีความรู้ความสามารถ ตรงใจประชาชน อยู่ที่ 18.83% และมีความสามัคคีภายในพรรค /การทำงานเป็นระบบ ทีมงานมีประสิทธิภาพ 14.17%
ส.ส. ควรหาเสียงอย่างไร? จึงจะปลอดภัย ความเห็น อันดับ 1ที่ 37.11% ชี้ว่า ควรมีวิธีการหาเสียงที่ซื่อสัตย์ โปร่งใส ตรงไปตรงมา / ไม่ใส่ร้ายป้ายสีหรือกล่าวร้าย โจมตีคู่แข่ง
ขณะที่ ไล่เลี่ยกัน 32.49% ชี้ต้อง ยึดปฏิบัติตามกฎหมายเลือกตั้งที่ ก.ก.ต. กำหนดอย่างเคร่งครัด /ไม่ซื้อเสียง 19.62% ให้หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีความเสี่ยง อันตราย หรือเป็นพื้นที่ที่เป็นฐานเสียงของคู่แข่ง และตัวผู้สมัครเองจะต้องเพิ่ม.
วานนี้ (15 พ.ค.) ดร.นพดล กรรณิกา ผอ.สำนักวิจัยเอแบคโพล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ประชันนโยบายของพรรคการเมืองในความชื่นชอบของประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ สระแก้ว ราชบุรี สมุทรปราการ ชลบุรี นครพนม สกลนคร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ อุดรธานี ขอนแก่น ตรัง สงขลา และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 2,447 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่าง 8 - 14 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้นและช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 พบว่า
ประชาชนให้ความชื่นชอบต่อนโยบายที่นำมาสอบถามประชาชนหลายนโยบายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเพราะทิ้งห่างเกินกว่าช่วงความคลาดเคลื่อนที่ค้นพบ โดยพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.0 ชอบนโยบายส่งเสริมระบบคุณธรรมในสังคมไทยของพรรคประชาธิปัตย์ ในขณะที่ร้อยละ 35.7 ชอบของพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 7.3 ระบุของพรรคอื่นๆ นอกจากนี้ ร้อยละ 55.9 ชอบนโยบายปรองดองแห่งชาติของพรรคประชาธิปัตย์ ในขณะที่ร้อยละ 36.2 ชอบของพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 7.9 ระบุของพรรคอื่น ๆ
เมื่อถามถึงนโยบายการใช้แนวทางสันติวิธีในการแก้ปัญหาภาคใต้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 55.8 ชอบของพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 36.7 ชอบของพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 7.5 ชอบของพรรคการเมืองอื่นๆ และนโยบายเด็กและเยาวชน พบว่า ร้อยละ 55.5 ชอบของพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 38.0 ชอบของพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 6.5 ชอบของพรรคอื่นๆ
ที่น่าพิจารณา นโยบายเศรษฐกิจตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ร้อยละ 55.4 ชอบของพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 38.7 ชอบของพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 5.9 ชอบของพรรคอื่นๆ และนโยบายการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของกองทัพ พบว่า ร้อยละ 54.2 ชอบของพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 38.9 ชอบของพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 6.9 ชอบของพรรคอื่นๆ
สำหรับนโยบายควบคุมพื้นที่เสี่ยงต่อความมั่นคง พบว่า ร้อยละ 52.9 ชอบของพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 40.0 ชอบของพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 7.1 ชอบของพรรคอื่นๆ นอกจากนี้เมื่อถามถึงนโยบายแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น พบว่าร้อยละ 52.8 ชอบของพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 39.7 ชอบของพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 7.5 ชอบของพรรคอื่นๆ
ที่น่าสนใจคือ นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รักษาสุขภาพของประชาชน พบว่า ร้อยละ 52.0 ชอบของพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 42.5 ชอบของพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 5.5 ชอบของพรรคอื่นๆ นอกจากนี้ นโยบายแก้ปัญหาราคาเชื้อเพลิง เช่น แก๊ส น้ำมันเชื้อเพลิง พบว่า ร้อยละ 51.7 ชอบของพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 41.3 ชอบของพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 7.0 ชอบของพรรคอื่นๆ และนโยบายเพื่อชาวนาและเกษตรกร พบว่า ร้อยละ 51.7 ชอบของพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 42.7 ชอบของพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 5.6 ชอบของพรรคอื่นๆ
ที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งเพราะเสียงสนับสนุนไม่ได้ทิ้งห่างกันเกินช่วงความคลาดเคลื่อนที่ค้นพบคือ นโยบายควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค โดยพบว่า ร้อยละ 49.0 ชอบของพรรคประชาธิปัตย์ แต่ร้อยละ 43.6 ชอบของพรรคเพื่อไทย และร้อยละ 7.4 ชอบของพรรคอื่นๆ เช่นเดียวกันกับ นโยบายแก้ปัญหาหนี้สินของประชาชน ร้อยละ 49.0 ชอบของพรรคประชาธิปัตย์ แต่ร้อยละ 45.6 ชอบของพรรค เพื่อไทย และร้อยละ 5.4 ชอบของพรรคอื่นๆ และนโยบายแก้ปัญหาสังคม เช่น ยาเสพติด อาชญากรรม พบว่า ร้อยละ 47.7 ชอบของพรรคเพื่อไทย ในขณะที่ร้อยละ 46.7 ชอบของพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 5.6 ชอบของพรรคอื่นๆ
เมื่อถามว่า ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ท่านตั้งใจจะเลือกพรรคการเมืองใดในระบบบัญชีรายชื่อ และวิเคราะห์เฉพาะคนที่ตัดสินใจเลือกแล้ว พบว่า สัดส่วนของคนที่จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 34.1 มาอยู่ที่ร้อยละ 45.5 และคนที่จะเลือกพรรคเพื่อไทยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 36.4 มาอยู่ที่ร้อยละ 40.5 แต่ไปลดลงจากพรรคการเมืองอื่นๆ จากร้อยละ 29.5 มาอยู่ที่ร้อยละ 14.0 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามสัดส่วนของคนที่จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทยยังอยู่ในช่วงความคลาดเคลื่อนที่ค้นพบ นั่นหมายความว่า ผลการเลือกตั้งจริงอาจเปลี่ยนแปลงไปได้จากข้อมูลที่ค้นพบในครั้งนี้
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 47.9 เป็นชาย ร้อยละ 52.1 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 4.8 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 20.1 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 19.7 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 20.7 อายุระหว่าง 40-49 ปี และ ร้อยละ 34.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 64.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 26.7 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 8.8 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 32.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 27.6 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 11.6 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 10.5 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 9.0 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 7.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 2.1 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ.
**อยากให้นักการเมืองหาเสียงซื่อสัตย์
“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,554 คน ระหว่างวันที่ 11-14 พฤษภาคม 2554 ในหลายหัวข้อเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็วๆนี้เนื่องจากการเลือกตั้งครั้งนี้พรรคการเมืองต่างๆ มีการแข่งขันกันสูง ในขณะที่ประชาชนก็มีความคาดหวังสูงเช่นเดียวกัน ดังนั้นเพื่อที่จะให้การเลือกตั้ง การหาเสียงเป็นที่ถูกใจของประชาชน
เริ่มแรกจากที่ว่า ส.ส. ควรหาเสียงอย่างไร? จึงจะได้คะแนนจากประชาชน 38.23% เห็นว่า ควรมีความจริงใจในการหาเสียง แสดงจุดยืนของตัวเอง /ทำให้ประชาชนศรัทธาและเชื่อมั่น ขณะที่ 26.60% มองว่า ควรเข้าถึงประชาชนทุกระดับ เป็นกันเอง ใกล้ชิดกับประชาชน / ลงพื้นที่สม่ำเสมอ ส่วนที่มองว่า นโยบายที่นำเสนอสามารถทำได้จริง ไม่เพ้อฝัน ไม่ชวนเชื่อ /แก้ปัญหาในพื้นที่ให้ตรงจุด อยู่ที่ 19.36% และปิดท้ายด้วยใช้วิธีการหาเสียงที่บริสุทธิ์ ยุติธรรม /ไม่ซื้อเสียง/ไม่ใส่ร้าย โจมตีคู่แข่งหรือพรรคการเมืองอื่น 15.81
หัวข้อ พรรคการเมือง ควรทำอย่างไร? จึงจะเป็นที่ถูกใจของประชาชน 40.52% มองว่า ควรมีจุดยืน ชูนโยบายและแนวทางในการพัฒนาประเทศอย่างชัดเจน /การประชาสัมพันธ์ที่หลากหลายช่องทางและเข้าถึงประชาชนทุกระดับ 26.48%มองว่า มีผู้นำหรือหัวหน้าพรรคที่มีภาพลักษณ์ที่ดี เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากประชาชน ส่วนที่ให้มีการคัดเลือกว่าที่ผู้สมัครได้อย่างเหมาะสม เก่ง ดี มีความรู้ความสามารถ ตรงใจประชาชน อยู่ที่ 18.83% และมีความสามัคคีภายในพรรค /การทำงานเป็นระบบ ทีมงานมีประสิทธิภาพ 14.17%
ส.ส. ควรหาเสียงอย่างไร? จึงจะปลอดภัย ความเห็น อันดับ 1ที่ 37.11% ชี้ว่า ควรมีวิธีการหาเสียงที่ซื่อสัตย์ โปร่งใส ตรงไปตรงมา / ไม่ใส่ร้ายป้ายสีหรือกล่าวร้าย โจมตีคู่แข่ง
ขณะที่ ไล่เลี่ยกัน 32.49% ชี้ต้อง ยึดปฏิบัติตามกฎหมายเลือกตั้งที่ ก.ก.ต. กำหนดอย่างเคร่งครัด /ไม่ซื้อเสียง 19.62% ให้หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีความเสี่ยง อันตราย หรือเป็นพื้นที่ที่เป็นฐานเสียงของคู่แข่ง และตัวผู้สมัครเองจะต้องเพิ่ม.